Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 03 มีนาคม 2006, 18:59
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Question ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 16: Prime of the form 2^n-777149?

จงหาจำนวนเต็มบวก $n$ ที่น้อยที่สุดที่ทำให้ $2^n-777149$ เป็นจำนวนเฉพาะ

09 มีนาคม 2006 01:07 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 04 มีนาคม 2006, 02:13
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Icon15

ยังคิดไม่ออก แต่ลงเท่าที่คิดได้บางส่วนก่อนนะครับ

ให้ $m(n):=2^n-777149$
จาก $m(n)\equiv\cases{ -1\pmod3&,\ n\ คู่\cr 0\pmod3&,\ n\ คี่}$ และ $5|m(4k+2)$ จะได้ว่า $m(n)$ จะเป็นจำนวนเฉพาะได้เมื่อ $4|n$
จากการทดลองทดและคำนวณค่าใน mathematica จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า $m(4k)$ ไม่เป็นจำนวนเฉพาะสำหรับ $k=1,\dots,50$
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.

04 มีนาคม 2006 02:51 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nongtum
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 18 มีนาคม 2006, 23:13
R-Tummykung de Lamar R-Tummykung de Lamar ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 ธันวาคม 2004
ข้อความ: 566
R-Tummykung de Lamar is on a distinguished road
Post

ผมไล่ไปจนถึง k = 200 000 แล้ว ยังไม่เจอเลยครับ

ขอ hint ซักเล็กน้อยได้ปะครับ ไม่มีแนวทางเลย
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] ||
(a,b,c > 0,a+b+c=3)
$$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 26 มีนาคม 2006, 07:35
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Icon16

ต้องขออภัยเป็นอย่างสูงครับ ที่ช่วงนี้หายหน้าไปเลย

Hint: จริงๆแล้วมันไม่มีหรอกครับ จำนวนเฉพาะที่อยู่ในรูปนี้น่ะ ดังนั้นจุดสำคัญคือการแสดงว่า $2^n-777149$ เป็นจำนวนประกอบ สำหรับทุกจำนวนเต็มบวก $n$

ป.ล. (= Hint #2) แล้วระหว่างที่มองหาจำนวนเฉพาะอยู่นั้น ได้สังเกตเห็น pattern อะไรบ้างไหมครับ ถ้าไม่ได้ปล่อยให้คอมพิวเตอร์ทำแบบ blind mode ก็น่าจะเห็นอะไรบ้างนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 26 มีนาคม 2006, 21:33
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Talking

ต่อจากด้านบนนะครับ
ให้ $m'(a)=16^a-777149$ และ a,r,s เป็นจำนวนเต็ม จะแสดงข้อความต่อไปนี้
i) a=3r+1 => 7|m'(a)
ii) a=3r+2 => 13|m'(a)
iii) a=3r
$\qquad$a) a=9s+3 => 19|m'(a)
$\qquad$b) a=9s+6 => 73|m'(a)
$\qquad$c) a=9s => 37|m'(a)

พิสูจน์
i) $m'(a)\equiv2^{3r}\cdot2-2=8^r \cdot 2 -2\equiv2-2\equiv0\pmod7$
ii) $m'(a)\equiv3^{3r}\cdot9-9=27^r\cdot9-9\equiv9-9\equiv0\pmod{13}$
iii)
a) $m'(a)\equiv(-3)^{9s}(-27)-11\equiv(-8)^{3s}(-8)+8\equiv-8+8\equiv0\pmod{19}$
b) $m'(a)\equiv8^{3s}\cdot64-64\equiv64-64\equiv0\pmod{73}$
c) $m'(a)\equiv26^{3s}-1\equiv(-11)^{3s}-1\equiv1-1\equiv0\pmod{37}$
และเนื่องจาก m(n) ไม่เท่ากับ 3,5,7,13,19,37,73 ดังนั้น m(n) เป็นจำนวนประกอบทุกจำนวนเต็มบวก n ###

ปล: หากคำนวณสั้นไปนิด ต้องขอโทษด้วยนะครับ ไม่เข้าใจสามารถถามได้ครับ
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.

26 มีนาคม 2006 22:40 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ warut
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 26 มีนาคม 2006, 22:40
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ถูกต้องแล้วคร้าบ (มีพิมพ์เลขตกไปนิดนึง ซึ่งผมแก้ให้แล้ว) คุณ nongtum รับไปอีก 5 คะแนน ทำให้ตอนนี้นำโด่งเลยครับ

เมื่อมีโอกาสผมจะมาเขียนความเห็นเพิ่มเติมอีกทีนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 26 กรกฎาคม 2006, 17:30
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

มาอธิบายเพิ่มเติมต่อตามที่สัญญาไว้ครับ

ปรากฎการณ์แบบที่เห็นในข้อนี้ เค้าเรียกกันว่า "covering congruences" ครับ จำนวนที่อยู่ในรูป $2^n-777149$ จะมีตัวประกอบเป็นหนึ่งในสมาชิกของ "covering set" $\{ 3, 5, 7, 13, 19, 37, 73 \}$ เสมอ ดังนั้นมันจึงไม่มีโอกาสเป็นจำนวนเฉพาะเลย

ตัวอย่างอื่นๆก็เช่น จำนวนที่อยู่ในรูป $78557\cdot2^n+1$ หรือ $509203\cdot2^n-1$ ก็จะเป็นจำนวนประกอบเสมอเช่นกัน

เราเรียกจำนวนคี่บวก $k$ ที่ทำให้ $k \cdot 2^n +1$ เป็นจำนวนประกอบเสมอ ว่า Sierpinski number เพราะ Sierpinski ได้ค้นพบเป็นคนแรกในปี 1960 ตัวอย่างของ Sierpinski number ได้แก่ 78557, 271129, 271577, 322523, 327739

เราเรียกจำนวนคี่บวก $k$ ที่ทำให้ $k \cdot 2^n -1$ เป็นจำนวนประกอบเสมอ ว่า Riesel number เนื่องจาก Riesel ได้ค้นพบเป็นคนแรกในปี 1956 ตัวอย่างของ Riesel number ก็เช่น 509203, 762701, 777149, 790841, 992077

เป็นที่น่าสังเกตว่า ถึงแม้ปรากฎการณ์แบบนี้จะไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์ชั้นสูงมาอธิบาย แต่เราก็เพิ่งค้นพบมันเมื่อไม่นานมานี้เอง ผมคิดว่าน่าจะเป็นเพราะไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะมีค่า $k$ เช่นนั้นอยู่ เนื่องจากโดยสามัญสำนึกมันชวนให้เราคิดว่า ไม่ว่า $k$ จะเป็นจำนวนใด ก็น่าจะมีค่า $n$ ที่ทำให้ $k \cdot 2^n +1$ หรือ $k \cdot 2^n -1$ เป็นจำนวนเฉพาะได้เสมอ แม้ว่าอาจจะต้องหากันไปไกลสักหน่อยก็เถอะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 18: Numbers of the form m^n + n^m warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 10 03 พฤษภาคม 2006 20:08
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 1: Primes of the form n^n+1 warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 6 18 มกราคม 2006 14:37


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 11:09


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha