Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > ข้อสอบโอลิมปิก
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #16  
Old 08 พฤษภาคม 2005, 18:23
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

ข้อ 18
พิจารณา k= 1และ k= 1273
เนื่องจาก tan (1273p/2548) =tan(p/2 - p/2548)=cot(p/2548)
ดังนั้น เทอมที่ k=1 และ1273 รวมกันได้ 1 (ลองบวกดูนะครับ)
และจะเกิดเหตุการณ์ เช่นนี้ สำหรับ k=2 &1272 , k=3 & 1271,....,k=636 & 638
ส่วน k =0, 637 แทนค่าปกติ จะได้ sumที่โจทย์ถามเท่ากับ 637.5

ข้อ 21 ให้ A=a-b ,B=b-g ,C=g-a
ดังนั้น A+B+C=0 และจะได้
\( \begin{array}{rcl} \large cos(A)+cos(B)+cos(C) =cos(A)+cos(B)+cos(A+B) =2cos(\frac{A+B}{2})cos(\frac{A-B}{2})+cos(A+B)\geq -2cos(\frac{A+B}{2})+cos(A+B)\\=-2cos(\frac{A+B}{2}) +2cos^{2}(\frac{A+B}{2})-1=2(cos\frac{A+B}{2}-\frac{1}{2})^{2}-\frac{3}{2}\geq \frac{-3}{2}
\end{array}\)
ดังนั้น ค่าตำสุด คือ -1.5 (เช่น a,b,g= 60,300,180 องศา ตามลำดับ)
หมายเหตุ :ใครมีวิธีสั้นกว่านี้หรือว่าผมทำผิด ช่วยบอกเป็นวิทยาทานด้วยนะครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #17  
Old 08 พฤษภาคม 2005, 18:57
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

ได้แล้วครับ วันที่ 2 ข้อที่ 6

08 พฤษภาคม 2005 20:35 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gools
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #18  
Old 08 พฤษภาคม 2005, 19:29
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

เมื่อวานก็บ้าโจทย์ข้อ 6 ไปวันนึงครับ แต่ก็คว้าน้ำเหลวฮิฮิ วิธีคิดของน้อง gool นี่ใช้ได้ทีเดียวแต่ยังไม่ได้ลองคิดตามดูครับ แต่ที่เห็นได้ชัดคือ ตอนสร้างตัวแปรใหม่ น่าจะมีปัญหาเรื่องการหารด้วยศูนย์นิดหน่อยนะครับ เพราะโจทย์ข้อนี้ทุกตัวแปรเป็นจำนวนจริง จึงมีตัวนึงเป็นศูนย์ได้ แต่กรณีนี้มันจะเห็นได้ชัดครับ พิสูจน์ไม่ยาก
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #19  
Old 08 พฤษภาคม 2005, 20:00
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

จริงด้วยครับ เคยแต่พิสูจน์อสมการที่เป็นจำนวนจริงบวก มาเจอข้อนี้ก็เล่นเอาชะงักไปเหมือนกัน
กรณีที่มีจำนวนใดจำนวนหนึ่งเป็นศูนย ์(เนื่องจาก \(a,b,c\) เป็นจำนวนจริงที่แตกต่างกัน) สมมติให้เป็น \(a\)
จะได้ว่า \(2^2+(\frac{2b-c}{b-c})^2+1^2 \geq 5\) ซึ่งเป็นจริงเสมอครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #20  
Old 08 พฤษภาคม 2005, 21:06
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

ข้อ 3 วันที่สอง
จับคู่เลขคี่ \( (1,3),(5,7),(9,11),\ldots\) เรียกว่า \( (a_i,b_i)\) นิยาม
\[
f(n)=\begin{cases}b_i,&\text{ถ้า}\,\,n=a_i\\
2a_i,&\text{ถ้า}\,\,n=b_i\\
2f(n/2),&\text{ถ้า}\,\,n\,\,\text{เป็นเลขคู่}
\end{cases}
\]
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #21  
Old 08 พฤษภาคม 2005, 21:20
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post

ข้อ 6 วันที่สอง
กรณี \( abc\neq0 \) ให้ \( x=a/(a-b),y=b/(b-c),z=c/(c-a) \) ซึ่งจะได้ว่า
\[
bx=(x-1)a,cy=(y-1)b,az=(z-1)c\Longrightarrow abc(xyz-(x-1)(y-1)(z-1))=0
\]
ดังนั้น \( x+y+z=xy+yz+zx+1 \)

พิจารณาเทอมซ้ายมือของอสมการ ซึ่งเท่ากับ
\[
(x+1)^2+(y+1)^2+(z+1)^2=x^2+y^2+z^2+2(xy+yz+zx)+5=(x+y+z)^2+5\geq5
\]
กรณี \( abc=0 \) ก็ทำแบบเดียวกับของน้อง gools

08 พฤษภาคม 2005 23:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Punk
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #22  
Old 08 พฤษภาคม 2005, 21:42
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Post

มาแล้วครับ เซียนของจริง
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #23  
Old 09 พฤษภาคม 2005, 02:52
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

ข้อ 13 ผมว่าจัดรูปได้ m(2k+5(m-1)) =2373 นะครับ หลังจากนั้น ก็คิดคล้ายๆ คุณ nongtum ก็จะได้ k= 181
ข้อ 1(วันแรก) รบกวนคุณ nongtum ขยายความบรรทัดที่หา AD แบบละเอียดกว่านี้นิดนึงได้ไหมครับ

ส่วนข้อ 3 (วันแรก) ขอเสนออีกวิธีที่คำนวณออกมาเป็น ค่าที่ไม่ติด sin ครับ
ลาก เส้นแบ่งครึ่งมุม BD พบ AC ที่ D
ถ้า AB=a ,BC=b จะได้ AD=BD=b และ DC=a-b
พิจารณา สามเหลี่ยม ABD ,by law of sine จะได้
\( \large \frac{a}{sin72^{\circ}}= \frac{b}{sin36^{\circ}} \) หรือ จัดรูปเป็น \( \large \frac{a}{b}= 2cos36^{\circ}\).....(1)
พิจารณา สามเหลี่ยม BDC ,by law of sine จะได้
\( \large \frac{b}{sin72^{\circ}}= \frac{a-b}{sin36^{\circ}} \) หรือ จัดรูปเป็น \( \large \frac{a}{b}-1= \frac{1}{2cos36^{\circ}}\).....(2)
ให้ x= a/b ซึ่งคือค่าที่โจทย์ต้องการ ดังนั้น จาก (1) ,(2) จะได้
x2 -x-1=0 ได้ \( \large x=\frac{1+\sqrt{5}}{2} \)
หมายเหตุ : จากคำตอบของคุณ nongtum ผสมกับ คำตอบของผม ยังได้วิธีการ derive ค่า sine ของมุม 18 องศา อีกทางเลือกหนึ่งด้วย

ปิดท้ายด้วย ข้อ 1 วันที่ 2
หลังจากวาดรูปเสร็จแล้ว reflect สามเหลี่ยม BFC และ GH ไปอีกครึ่งของวงกลม กลายเป็น สามเหลี่ยม BfC และ gH ตามลำดับ
จะได้คอร์ด Gg ตัด BC ที่ H ดังนั้น (GH)(GH)=(GH)(gH) = (BH)(HC).....(1)
ถ้า กำหนด มุม ABE เป็น x องศา จะได้มุม BFC= 90+x = BfC และ มุม BAC=90-x
ดังนั้น BfC +BAC =180 องศา แสดงว่า สี่เหลี่ยม ABfC เป็น cyclic
ด้วยเหตุผลคล้ายกับสมการ (1) จะได้(AH)(HF)= (AH)(Hf)=(BH)(HC) ........(2)
จาก (1),(2) completes the proof

หมายเหตุ : ผมชอบฟังก์ชันที่คุณ Punk ตอบข้อ 3 วันที่ 2 มากครับ ถ้า unique ด้วยก็เจ๋งเลยครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว

09 พฤษภาคม 2005 02:56 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ passer-by
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #24  
Old 09 พฤษภาคม 2005, 04:12
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
[QB]ข้อ 13 ผมว่าจัดรูปได้ m(2k+5(m-1)) =2373 นะครับ หลังจากนั้น ก็คิดคล้ายๆ คุณ nongtum ก็จะได้ k= 181
ข้อ 1(วันแรก) รบกวนคุณ nongtum ขยายความบรรทัดที่หา AD แบบละเอียดกว่านี้นิดนึงได้ไหมครับ
AYE! รวมเลขผิดอีกแล้ว -_-' ตามไปแก้และขยายที่กระทู้ข้างบนแล้วครับ

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
ส่วนข้อ 3 (วันแรก) ขอเสนออีกวิธีที่คำนวณออกมาเป็น ค่าที่ไม่ติด sin ครับ
ลาก เส้นแบ่งครึ่งมุม BD พบ AC ที่ D
ถ้า AB=a ,BC=b จะได้ AD=BD=b และ DC=a-b
พิจารณา สามเหลี่ยม ABD ,by law of sine จะได้
\( \large \frac{a}{sin72^{\circ}}= \frac{b}{sin36^{\circ}} \) หรือ จัดรูปเป็น \( \large \frac{a}{b}= 2cos36^{\circ}\).....(1)
พิจารณา สามเหลี่ยม BDC ,by law of sine จะได้
\( \large \frac{b}{sin72^{\circ}}= \frac{a-b}{sin36^{\circ}} \) หรือ จัดรูปเป็น \( \large \frac{a}{b}-1= \frac{1}{2cos36^{\circ}}\).....(2)
ให้ x= a/b ซึ่งคือค่าที่โจทย์ต้องการ ดังนั้น จาก (1) ,(2) จะได้
x2 -x-1=0 ได้ \( \large x=\frac{1+\sqrt{5}}{2} \)
หมายเหตุ : จากคำตอบของคุณ nongtum ผสมกับ คำตอบของผม ยังได้วิธีการ derive ค่า sine ของมุม 18 องศา อีกทางเลือกหนึ่งด้วย
ขอสารภาพครับว่าตอนคิดเองเมื่อวานคิดค่า sin 18 ไม่ออก ทั้งๆที่เคยคิดได้ตอนอยู่มอห้า (หกเจ็ดปีก่อน) ขอบคุณคุณ passer-by ครับที่ช่วยรื้อกรุเทคนิคในสมองผม

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
ปิดท้ายด้วย ข้อ 1 วันที่ 2
หลังจากวาดรูปเสร็จแล้ว reflect สามเหลี่ยม BFC และ GH ไปอีกครึ่งของวงกลม กลายเป็น สามเหลี่ยม BfC และ gH ตามลำดับ
จะได้คอร์ด Gg ตัด BC ที่ H ดังนั้น (GH)(GH)=(GH)(gH) = (BH)(HC).....(1)
ถ้า กำหนด มุม ABE เป็น x องศา จะได้มุม BFC= 90+x = BfC และ มุม BAC=90-x
ดังนั้น BfC +BAC =180 องศา แสดงว่า สี่เหลี่ยม ABfC เป็น cyclic
ด้วยเหตุผลคล้ายกับสมการ (1) จะได้(AH)(HF)= (AH)(Hf)=(BH)(HC) ........(2)
จาก (1),(2) completes the proof
ข้อนี้ผมคิดไปคิดมาออกทะเลไปเลย ที่จริงคิดไม่ลึกเลยนะนี่
อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
หมายเหตุ : ผมชอบฟังก์ชันที่คุณ Punk ตอบข้อ 3 วันที่ 2 มากครับ ถ้า unique ด้วยก็เจ๋งเลยครับ
ข้อนี้ผมคิดได้แค่ว่า f(f(m+n))=f(f(m))+f(f(n)) เท่านั้นเองครับ
เพราะมีคนเก่งๆแบบนี้ไงครับถึงชอบบอร์ดนี้ เวลาเล่นทีไรไม่ต้องทำอย่างอื่นกัน
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #25  
Old 09 พฤษภาคม 2005, 19:39
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

เป็นอันว่าคำตอบ ข้อ 1 วันแรก ของผมกับ คุณ nongtum ตรงกันครับ เพียงแต่คิดคนละวิธี (รู้สึก วิธีของผมจะคิดมากไปหน่อย) ยังไงก็ขอบคุณ คุณ nongtum ที่ปลีกเวลายุ่งๆจากการบ้านมหาศาล มาตอบให้ครับ
ตอนนี้ คำถามที่เหลือส่วนใหญ่ ก็เป็น number theory ,combinatorics (และ geometry อีก 1ข้อ) รอเซียนที่ว่างๆ สำแดงเดช ตามสบายเลยครับ
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #26  
Old 10 พฤษภาคม 2005, 09:59
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

ข้อ 2 ครับ คำตอบคือ \(\frac{1}{2}\) เพราะเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #27  
Old 10 พฤษภาคม 2005, 17:25
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Post

อ้างอิง:
ข้อความเดิมของคุณ gools:
ข้อ 2 ครับ คำตอบคือ \(\frac{1}{2}\) เพราะเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่า
ช่วยขยายความหรือพิสูจน์ได้ไหมครับ ว่าทำไม H จึงเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม (ที่เหลือ clear ครับ)
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #28  
Old 10 พฤษภาคม 2005, 20:40
gools's Avatar
gools gools ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 เมษายน 2004
ข้อความ: 390
gools is on a distinguished road
Post

ขอโทษทีครับ คิดตื้น ๆ ไปหน่อย
เราได้ว่า
\[\frac{AB\times BC \times CA}{4 \times \text{พท. สามเหลี่ยม ABC}}=\frac{AB\times BC \times CA}{4 \times \frac{1}{2} \times BC \times CA \sin C}=\frac{AB}{2 \sin C}=\frac{A'B}{2 \sin \angle BAA' \sin C }=BH\]
\[\text{ดังนั้น}\qquad \sin \angle BAA' =\frac{A'B}{AB}= \frac{A'B}{2 BH \sin C }=\frac{1}{2}\]

ข้อ 11 ลองแยกตัวประกอบ \(x^{2005}+1\) ดูครับ จะพบว่าไม่มีคำตอบ

10 พฤษภาคม 2005 20:43 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gools
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #29  
Old 11 พฤษภาคม 2005, 04:06
passer-by passer-by ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 เมษายน 2005
ข้อความ: 1,442
passer-by is on a distinguished road
Post

เพิ่งถึงบางอ้อเมื่อกี๊นี้เอง ว่าทำไม คนตั้งโจทย์ ถึงกำหนด BH เท่ากับรัศมี circumscribed circle
งั้น ผมขอเสนอ อีกวิธีสำหรับข้อ 2 (วันแรก) แล้วกันครับ
จาก law of sine
\(\huge \frac{AB}{sin(C)}=2R=2BH \) ......(1) (R: radius of circumscribed circle)
แต่สามเหลี่ยม A'BH คล้ายกับสามเหลี่ยม BB'C ดังนั้น มุม C เท่ากับมุม BHA'
จาก (1) ประกอบกับเหตุผลบรรทัดก่อน จะได้
\( \huge \frac{AB}{2BH}=sin(C)=sin(BHA')= \frac{A'B}{BH} \)
ดังนั้น \( \huge \frac{A'B}{AB}= \frac{1}{2} \)
__________________
เกษียณตัวเอง ปลายมิถุนายน 2557 แต่จะกลับมาเป็นครั้งคราว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #30  
Old 11 พฤษภาคม 2005, 08:39
nongtum's Avatar
nongtum nongtum ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 3,246
nongtum is on a distinguished road
Post

ข้อ 10 (คิดตั้งนาน กว่าจะรู้ว่าใช้ทฤษฎีที่เพิ่งเรียนมาใช้ได้ ใครที่ทำง่ายกว่านี้ หรือหาที่ผิดเจอ ช่วยบอกด้วยนะครับ)
ตอนนี้คงเหลือแต่โจทย์แนว combinatorics ละมังครับ ^_^
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ
ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ)

Stay Hungry. Stay Foolish.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:43


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha