Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 05 ธันวาคม 2010, 18:47
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default Hyperbola Equation

จงหาสมการของเส้นสัมผัสกราฟไฮเปอร์โบลา $\dfrac{x^2}{9}-\dfrac{y^2}{16} = 1$ ที่จุด $(5,\dfrac{-16}{3})$

ผมเห็นในหนังสือมันแยกเป็น $\dfrac{xx_0}{9}-\dfrac{yy_0}{16} = 1 , x_0 = 5$ และ $ y_0 = -\dfrac{16}{3}$ แล้วก็หาตามปกติ อยากทราบว่าที่มาของอันนี้คืออะไร มีวิธีอื่นในการหาหรือไม่

05 ธันวาคม 2010 18:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Influenza_Mathematics
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 05 ธันวาคม 2010, 19:06
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

$\frac{x^2}{9}-\frac{y^2}{16}=(\frac{x}{3}-\frac{y}{4})(\frac{x}{3}
+\frac{y}{4}) =1 $
แทนจุดตัดไปทีละวงเล็บ
$(\frac{5}{3}+\frac{16}{12})(\frac{x}{3}
+\frac{y}{4}) =1 $
$x+\frac{3}{4}y=1$
$4x+3y-4=0$
แทนอีกวงเล็บหนึ่ง
$(\frac{x}{3}-\frac{y}{4})(\frac{5}{3}-\frac{16}{12})=1$
$\frac{x}{9}-\frac{y}{12}=1$
$4x-3y-36=0$

ไม่รู้ว่าทำแบบนี้ได้ไหมครับ
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 05 ธันวาคม 2010, 20:45
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default

ผมแทนวิธีที่หนังสือเขาทำกัน คิดว่าคำตอบของ คุณกิตติ มันผิดอะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 05 ธันวาคม 2010, 21:10
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

สมการเส้นสัมผัสที่ว่า คือ $5x+3y-9 =0$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 05 ธันวาคม 2010, 21:45
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

มัวไปเที่ยวเวปอื่น
วิธีที่ผมทำก็แค่มั่วเล่นๆครับ แต่ถ้าลองนำไปหาจุดตัดระหว่างสมการเส้นตรงกับสมการไฮเปอร์โบลา มันก็ได้จุดสองจุด
วิธีมาตรฐานน่าจะหาได้แล้วมั้งครับ
มีเพียงสมการที่ซือแป๋ตอบที่มีจุดตัดจุดเดียว
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

05 ธันวาคม 2010 21:45 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 05 ธันวาคม 2010, 21:48
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ กิตติ View Post
มัวไปเที่ยวเวปอื่น
วิธีที่ผมทำก็แค่มั่วเล่นๆครับ แต่ถ้าลองนำไปหาจุดตัดระหว่างสมการเส้นตรงกับสมการไฮเปอร์โบลา มันก็ได้จุดสองจุด
วิธีมาตรฐานน่าจะหาได้แล้วมั้งครับ
มีเพียงสมการที่ซือแป๋ตอบที่มีจุดตัดจุดเดียว
เส้นตรงที่ว่า มันเป็นเส้นสัมผัส ดังนั้นจะมีเพียงแค่จุดเดียวที่สอดคล้องทั้งสองสมการครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 05 ธันวาคม 2010, 22:13
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

สมการเส้นสัมผัสนั้นมีจุดตัดเพียงจุดเดียว ของที่ผมหามานั้นมันตัดสองจุดเลยใช้ไม่ได้ครับ
เขียนให้ชัดเจนเดี๋ยวคนอ่านเข้าใจผิด
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 05 ธันวาคม 2010, 22:38
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

$\frac{x^2}{a^2}-\frac{y^2}{b^2}=1$ มีเส้นสัมผัสที่จุด $P(x_0,y_0)$ แล้ว สมการเส้นสัมผัสคือ
$y-y_0=y'(x-x_0)$ และจุด $P$ อยู่บนไฮเพอร์โบลาด้วย ดังนั้น $\frac{x_0^2}{a^2}-\frac{y_0^2}{b^2}=1$
หาความชันเส้นสัมผัสจาก
$\frac{x^2}{a^2}-\frac{y^2}{b^2}=1$
$b^2x^2-a^2y^2-a^2b^2=0$ $\ \ \ y'=\frac{b^2x_0}{a^2y_0}$
ดังนั้นสมการคือ
$y-y_0=(\frac{b^2x_0}{a^2y_0})(x-x_0)$
$a^2yy_0-a^2y_0^2=b^2xx_0-b^2x_0^2$
$b^2xx_0-a^2yy_0=b^2x_0^2-a^2y_0^2$
$\frac{xx_0}{a^2}-\frac{yy_0}{b^2}=\frac{x_0^2}{a^2}-\frac{y_0^2}{b^2}$
$\frac{xx_0}{a^2}-\frac{yy_0}{b^2}=1$
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM

05 ธันวาคม 2010 22:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ poper
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 06 ธันวาคม 2010, 10:34
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default

ถามหน่อยครับ
สมการที่อยู่รูปแบบ $xy = c$

ถ้าเราเลื่อนแกนไปจุด $(h,k)$ คือ $(x-h)(y-k) = c$

สามารถหาจุดโฟกัส จุดยอด และอื่น ๆ ได้ไหมครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 06 ธันวาคม 2010, 11:45
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Influenza_Mathematics View Post
ถามหน่อยครับ
สมการที่อยู่รูปแบบ $xy = c$

ถ้าเราเลื่อนแกนไปจุด $(h,k)$ คือ $(x-h)(y-k) = c$

สามารถหาจุดโฟกัส จุดยอด และอื่น ๆ ได้ไหมครับ
เมื่อ $x\not=0$ จะได้ว่า $y=\frac{c}{x}$ ซึ่งเป็นฟังก์ชันเศษส่วน
ถ้าเลื่อนแกนจะได้ $y-k=\frac{c}{x-h}$ กราฟจะเป็นรูปคล้ายกราฟไฮเพอร์โบลา มีสมการเส้นกำกับคือ
$x=h,y=k$ ไม่แน่ใจว่ามีการหาจุดยอดกับจุดโฟกัสหรือไม่นะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 06 ธันวาคม 2010, 12:20
Influenza_Mathematics's Avatar
Influenza_Mathematics Influenza_Mathematics ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 27 พฤศจิกายน 2010
ข้อความ: 568
Influenza_Mathematics is on a distinguished road
Default

สมการภาึคตัดกรวยซึ่งมีผลบวกของระยะทางจุดใดๆบนกราฟไปยังจุด $(1,0)$ และ $(-5,c)$ มีค่าเท่ากับ $12$ หน่วย คือสมการในข้อใด
__________________
ขว้างมุขเสี่ยว ๆ ใส่กันน่าจะมันแฮะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 06 ธันวาคม 2010, 12:36
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

ให้ $P(x,y),A(1,0),B(-5,0)$ (ถ้าเป็นตามที่คุณ lek2554 บอก)
ดังนั้น $PA+PB=\sqrt{(x-1)^2+y^2}+\sqrt{(x+5)^2+y^2}=12$---(1)
$\sqrt{(x-1)^2+y^2}=12-\sqrt{(x+5)^2+y^2}$
$(x-1)^2+y^2=144-24\sqrt{(x+5)^2+y^2}+(x+5)^2+y^2$
$\sqrt{(x+5)^2+y^2}=\frac{x}{2}+7$
$x^2+10x+25+y^2=\frac{x^2}{4}+7x+49$
$\frac{(x+2)^2}{36}+\frac{y^2}{27}=1$
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM

06 ธันวาคม 2010 13:35 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ poper
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 06 ธันวาคม 2010, 12:56
MiNd169's Avatar
MiNd169 MiNd169 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 15 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 444
MiNd169 is on a distinguished road
Default

ผมว่าน่าจะตั้งสมการเป็น $\sqrt{(x-1)^2+y^2} + \sqrt{(x+5)^2+(y-c)^2} = 12$ มากกว่านะครับ
__________________
แข่งคณิตฯ คิดได้ ง่ายดายเหลือ
แข่งทุกเมื่อ ร้อนแรง แจ้งประจักษ์
รับรางวัล หลากหลาย มากมายนัก
แต่แข่งรัก ยากแท้ แพ้ใจเธอ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 06 ธันวาคม 2010, 13:05
lek2554's Avatar
lek2554 lek2554 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 07 กันยายน 2010
ข้อความ: 1,035
lek2554 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
ให้ $P(x,y),A(1,0),B(-5,c)$
ดังนั้น $PA=\sqrt{(x-1)^2+y^2}=12$ และ $PB=\sqrt{(x+5)^2+(y-c)^2}=12$---(1)
สมการภาึคตัดกรวยซึ่งมีผลบวกของระยะทางจุดใดๆบนกราฟไปยังจุด (1,0) และ (-5,c) มีค่าเท่ากับ 12 หน่วย $PA + PB = 12$ ครับ

ข้อนี้ไม่ทราบว่า คุณ Influenza_Mathematics พิมพ์ผิด จาก (-5, 0) เป็น (-5, c) หรือเปล่าครับ
เพราะข้อมูลที่กำหนด ก็คือนิยามของวงรีนั่นเอง $ PF_1 + PF_2 = 2a$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 06 ธันวาคม 2010, 13:10
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

จริงด้วยครับ อ่านโจทย์ผิดไป
ขอบคุณคุณ MiNd169 ครับ
แกไขแล้วนะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM

06 ธันวาคม 2010 13:36 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ poper
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
ถามแนวทางแก้โจทย์ differential equation thai_be คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 1 13 พฤษภาคม 2009 15:16
differential equationครับ Sir Aum คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 6 25 เมษายน 2009 11:50
Equation Like Pell's Equation Anonymous314 ทฤษฎีจำนวน 11 07 มกราคม 2009 00:26
Functional Equation Spotanus พีชคณิต 1 03 ตุลาคม 2008 21:58
ภาคตัดกรวย:Hyperbola ครับ RETRORIAN_MATH_PHYSICS ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย 4 12 กุมภาพันธ์ 2008 21:51


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 14:55


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha