Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 17 มกราคม 2006, 07:07
Punk Punk ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณบริสุทธิ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 เมษายน 2005
ข้อความ: 108
Punk is on a distinguished road
Post Alternating series (and Abel's theorem)

หลังจากโดนขับไล่จากหัวข้ออื่น ... เอ้ยไม่ช่าย

1. อนุกรมอนันต์
$$
1-\frac{1}{2}+\frac{1}{3}-\frac{1}{4}+\cdots
$$
เรียกว่าอนุกรมสลับ (alternating series) เพราะเทอมมีลักษณะเครื่องหมายสลับกันระหว่างบวกและลบ

2. เนื่องจากเทอมลู่เข้าหาศูนย์ ดังนั้นอนุกรมลู่เข้า (ความรู้แคลเบื้องต้นครับ )

Q: คำถามคือให้หาค่าของอนุกรมข้างบน hint ให้ว่าเหมือนกับการหาค่าของลิมิต (ทำไม )
$$
\lim_{n\to\infty}\left(\frac{1}{n+1}+\frac{1}{n+2}+\cdots+\frac{1}{2n}\right)
$$
แล้วลิมิตข้างบนได้เท่าไหร่ละ

ปล. ถ้าใครต้องการ hint เพิ่มก็บอกนะครับ กระทู้จะได้ไม่เดี้ยง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 17 มกราคม 2006, 09:51
Coco's Avatar
Coco Coco ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 กรกฎาคม 2005
ข้อความ: 48
Coco is on a distinguished road
Post

ขอลองทำข้อนี้หน่อยครับพี่ Punk
ให้ $a_{n} = 1 - \frac{1}{2} + \frac{1}{3} - ... + (-1)^{n+1}\frac{1}{n} $

$ a_{1} = 1 $
$ a_{2} = 1 - \frac{1}{2} = \frac{1}{2}$
$ a_{3} = a_{2} + \frac{1}{3} = \frac{1}{2} + \frac{1}{3} $
$ a_{4} = a_{3} - \frac{1}{4} = \frac{1}{3} + \frac{1}{4}$
$ a_{5} = a_{4} + \frac{1}{5} = \frac{1}{3} + \frac{1}{4} + \frac{1}{5} $
$ a_{6} = a_{5} - \frac{1}{6} = \frac{1}{4} + \frac{1}{5} + \frac{1}{6} $

จากการสังเกตและตรวจสอบโดยหลักอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์พบว่า
$$ a_{2n} = \frac{1}{n+1} + \frac{1}{n+2} + ... + \frac{1}{2n}$$

เนื่องจาก {$a_{n}$} เป็นลำดับลู่เข้า จึงได้ว่า
$$ \lim_{n \to \infty}a_{n} = \lim_{n \to \infty}a_{2n} $$

ในการหา $ \lim_{n \to \infty}a_{2n} $ ให้พิจารณาพื้นที่ใต้กราฟ $ y = \frac{1}{x+1}$ บนช่วง [0, 1]

แบ่งช่วง [0, 1] ออกเป็น n ส่วนเท่า ๆ กันโดยใช้ผลแบ่งกั้น {$ 0, \frac{1}{n} , \frac{2}{n}, ... ,\frac{n}{n} = 1$}

ให้ $x_{0} = 0$ และสำหรับ $1 \leq i \leq n $ ให้ $x_{i} = \frac{i}{n}$ และ $\Delta x_{i} = x_{i} - x_{i-1}$ จะได้ $\Delta{x_{i}}f(x_{i}) = (\frac{1}{n})(\frac{n}{n + i}) = \frac{1}{n + i}$

ดังนั้นพื้นที่ใต้กราฟคือ $ \lim_{n \to \infty}(\Delta x_{1}f(x_{1}) + \Delta x_{2}f(x_{2}) + ... + \Delta x_{n}f(x_{n}))$ ซึ่งมีค่าเท่ากับ
$$ \lim_{n \to \infty}(\frac{1}{n+1}+\frac{1}{n+2}+...+\frac{1}{2n}) = \lim_{n \to \infty} a_{2n}$$
แต่โดย Fundamental Theorem of Calculus ได้ว่า พื้นที่ดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 0$\int^{1} \frac{1}{x+1} dx = ln(2)$

ทำให้ได้ว่า $ \lim_{n \to \infty} a_{2n} = ln(2)$ และ $1 - \frac{1}{2} + \frac{1}{3} - ... + (-1)^{n+1}\frac{1}{n} + ... = ln(2) $
__________________
สนใจคณิตศาสตร์ครับ ช่วยชี้แนะด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 17 กรกฎาคม 2012, 21:02
เทพเวียนเกิด's Avatar
เทพเวียนเกิด เทพเวียนเกิด ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 มิถุนายน 2012
ข้อความ: 191
เทพเวียนเกิด is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Punk View Post
หลังจากโดนขับไล่จากหัวข้ออื่น ... เอ้ยไม่ช่าย

1. อนุกรมอนันต์
$$
1-\frac{1}{2}+\frac{1}{3}-\frac{1}{4}+\cdots
$$
เรียกว่าอนุกรมสลับ (alternating series) เพราะเทอมมีลักษณะเครื่องหมายสลับกันระหว่างบวกและลบ
ใช้อนุกรมเทย์เลอร์เลยครับ โดย$In(1+x) = x-\frac{x^2}{2}+\frac{x^3}{3}+\frac{x^4}{4}-...ได้เลย$
__________________
ปีนี้ ต้องไม่พลาด สู้เพื่อ มศว ปทุมวัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 17 กรกฎาคม 2012, 21:05
เทพเวียนเกิด's Avatar
เทพเวียนเกิด เทพเวียนเกิด ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 23 มิถุนายน 2012
ข้อความ: 191
เทพเวียนเกิด is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Punk View Post
หลังจากโดนขับไล่จากหัวข้ออื่น ... เอ้ยไม่ช่าย

2. เนื่องจากเทอมลู่เข้าหาศูนย์ ดังนั้นอนุกรมลู่เข้า (ความรู้แคลเบื้องต้นครับ )

Q: คำถามคือให้หาค่าของอนุกรมข้างบน hint ให้ว่าเหมือนกับการหาค่าของลิมิต (ทำไม )
$$
\lim_{n\to\infty}\left(\frac{1}{n+1}+\frac{1}{n+2}+\cdots+\frac{1}{2n}\right)
$$
แล้วลิมิตข้างบนได้เท่าไหร่ละ
ตอบว่า In2 หรือป่าวครับ
__________________
ปีนี้ ต้องไม่พลาด สู้เพื่อ มศว ปทุมวัน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Sequences and Series Marathon Timestopper_STG คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 161 01 พฤษภาคม 2015 16:45
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 22: Infinite Series warut คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 4 02 พฤศจิกายน 2006 05:35
ทำไมจึงเรียก Completeness Theorem rigor ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 6 02 กรกฎาคม 2006 16:39
Series intarapaiboon คณิตศาสตร์อุดมศึกษา 3 02 ตุลาคม 2005 10:58
Mean Value Theorem kanji ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 8 27 มกราคม 2005 18:06


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 04:03


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha