Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > พีชคณิต
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 10 เมษายน 2001, 20:57
xlover13 xlover13 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2001
ข้อความ: 30
xlover13 is on a distinguished road
Post cos A + cos 2A + cos 3A + ... + cos nA = ??

ผมได้อ่านเสริมประสบการณ์ชุดที่ 18 แล้วครับ
แล้วก็ เลยนั่งคิด
cos A + cos 2A + cos 3A + ... + cos nA
ดูว่าเท่ากับเท่าไหร่ แต่ทำแล้วมันติดน่ะครับ
(ที่ได้ตอนนี้ได้แต่
cos A + cos 3A + cos 5A + ... + cos (2n-1)A
น่ะครับ)
ช่วยคิดหน่อยนะครับ
ขอบคุณมากครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 10 เมษายน 2001, 22:31
KS KS ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 เมษายน 2001
ข้อความ: 12
KS is on a distinguished road
Post

cos A + cos 2A + ... + cos nA

= (e^Ai + e^-Ai)/2+ (e^2Ai + e^-2Ai)/2+...+(e^2nAi + e^-nAi)/2

= 1/2(sum e^ANi)+1/2(sum e^-ANi) ; N=1:n

= 1/2(1-e^A(n+1)i)/(1-e^Ai)
+1/2(1-e^-A(n+1)i)/(1-e^-Ai)

ทำการ simplify กับใช้ Euler และ trick Identity...
จะได้คำตอบกลับมาในรูปของตรีโกณ
ขออนุญาตไม่ทำนะครับ ลองทำดูจะได้เก่งขึ้น แนะแนวทางแล้ว แต่จะมาตรวจคำตอบให้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 10 เมษายน 2001, 23:29
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Talking

น้องไม่ได้อ่านเสริมชุดที่ 1. เลยไม่เข้าใจว่า
เราต้องเอาค่าของ 2sin มุม ? มาคูณ เพื่อให้เกิดผลต่างที่ตัดกันได้
คือ เราต้องเอา 2sin (delta/2) มาคูณ เมื่อ delta คือผลต่างร่วมของมุม
อ่านในเสริมชุดที่ 1. สิครับ. ทั้งวิธีคิด และก็ข้อที่น้องว่ามานี้
ก็ตรงกับ แบบฝึกหัดข้อที่ 3. ไงครับ. เฉลยก็มีแล้ว
ส่วนวิธีการของคุณ KS. นั้น น้องจะต้องทราบ ทฤษฎีบทของเดอมัวร์ที่ว่า
e^(ix) = cos(x) + i sin(x) .....(1) ซะก่อน
ถ้าเราแทนค่า x ด้วย -x ลงไป จะได้
e^(-ix) = cos(-x) + isin(-x)
= cos(x) - i sin(x) .....(2)
จากนั้นนำสมการ (1) และ (2) มาบวกกันและลบกันจะได้ค่าของ
cos(x) และ sin(x) ในรูปของ e และ i
แล้วจากนั้น จะต้องมีความรู้เรื่องลำดับเรขาคณิต
คือหาผลบวกของมันได้ โดยใช้สูตร S = a(1) [ 1 - r^n ] / [ 1 - r ]
note . a(1) แทน a ตัวห้อย 1
ซึ่งเนื้อหาอยู่ในเรื่องลำดับและอนุกรม ม.6
note. ส่วนการจะพิสูจน์ว่า ทำไม e^(ix) = cos(x) + i sin(x)
เราจะต้องรู้เนื้อหาไปอีกว่า sin(x) และ cos(x) จะสามารถเขียนกระจายออกมาเป็นผลบวกของ
พหุนาม เช่น สมมติว่า sin (x) = x - x^3/3! + x^5/5! - .....อะไรเป็นต้น..(มั่ว ๆ ตัวเลขเอานะครับ)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 11 เมษายน 2001, 07:52
xlover13 xlover13 ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 31 มีนาคม 2001
ข้อความ: 30
xlover13 is on a distinguished road
Post

ขอบคุณพี่มังกรกับคุณ ks มากนะครับ
แต่ว่าที่คุณ ks แนะนำ ผมยังไม่ได้เรียน
เลยครับ (เพิ่งจบ ม.6 ครับ ^_^)
เดี๋ยวผมจะไปอ่านเสริม 1 นะครับพี่มังกร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 11 เมษายน 2001, 21:26
KS KS ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 เมษายน 2001
ข้อความ: 12
KS is on a distinguished road
Cool

ลืมไปครับว่า แถวนี้มี น้องมัธยมอยู่ด้วย
ขอให้โชคดีครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 01:11


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha