Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > คณิตศาสตร์อุดมศึกษา
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 16 พฤศจิกายน 2011, 01:00
Yuka Yuka ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 กรกฎาคม 2011
ข้อความ: 38
Yuka is on a distinguished road
Default ช่วยหาค่าอนุกรมอนันต์ให้หน่อยครับบบบ

ช่วยแสดงวิธีพิสูจน์อนุกรมอนันต์ด้านล่างให้หน่อยครับ ว่าเป็นอนุกรมลู่เข้า

$$\sum_{n=1}^\infty[(\sum_{i=1}^{k-1} \frac{1}{kn-(k-i)})-(\frac {k-1}{kn})]$$


ไม่ทราบว่าเราต้องหาค่าอนุกรมจำกัด $$\sum_{i=1}^{k-1} \frac{1}{kn-(k-i)}$$ ก่อนรึป่าวครับ แล้วค่อยมาหาค่าผลบวกอนุกรมอนันต์

ผมหาค่าอนุกรมจำกัดไม่เป็นครับ(ยอมรับโง่มาก) ไม่ทราบว่ามันมีสูตรสำหรับหาค่าอนุกรมจำกัดรึป่าวครับ


อนุกรมจำกัดนี้ $$\sum_{i=1}^{k-1} \frac{1}{kn-(k-i)}$$ มีวิธีหาค่าอย่างไงเหรอคับ




ช่วยสอนผมหน่อย ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 16 พฤศจิกายน 2011, 08:22
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

$$S=\sum_{i=1}^{k-1}(\frac{1}{kn-(k-i)})-\frac{k-1}{kn}=\frac{1}{kn-(k-1)}+\frac{1}{kn-(k-2)}+...+\frac{1}{kn-1}-\frac{k-1}{kn}$$ $$=\frac{1}{k(n-1)+1}+\frac{1}{k(n-1)+2}+...+\frac{1}{k(n-1)+(k-1)}-\frac{k-1}{k(n-1)+k}$$ $$\sum_{n=1}^{\infty}S=(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k-1}-\frac{k-1}{k})+(\frac{1}{k+1}+\frac{1}{k+2}+...+\frac{1}{2k-1}-\frac{k-1}{2k})+....$$ $$=(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k-1}+\frac{1}{k}-1)+(\frac{1}{k+1}+\frac{1}{k+2}+...+\frac{1}{2k-1}+\frac{1}{2k}-\frac{1}{2})+....$$ $$=(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k}+\frac{1}{k+1}+...+\frac{1}{2k}+...)-(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k}+\frac{1}{k+1}+...+\frac{1}{2k}+...)=0$$
ไม่แน่ใจนะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM

16 พฤศจิกายน 2011 08:44 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ poper
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 17 พฤศจิกายน 2011, 00:13
Yuka Yuka ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 กรกฎาคม 2011
ข้อความ: 38
Yuka is on a distinguished road
Default

ขอบคุณครับคุณpoper น่าจะไม่ผิดหรอกครับ ลองคิดตามดูแล้ว ผมว่าน่าจะใช่

ขอถามนิดนึงนะครับ บรรทัดสุดท้ายเทอมที่เป็นลบ เรารู้หรือสังเกตได้ไงว่ามีลบเศษหนึ่งส่วนเค บลาๆๆ

ทั้งเทอมนั้นเราจะรู้ได้ไงครับว่ามันจะเหมือนกับเทอมที่เป็นบวกด้านหน้าทุกตัว แล้วเวลาคุณpoperเจอโจทย์สามารถรู้ได้ไงว่าจัดรูปแล้วจะได้อย่างนี้ สุดยอดดดด ผมยังคิดไม่ถึงเลย ช่วยแนะนำหน่อยครับ



แล้วก็อีกคำถามนะครับ เวลาเราเจอซัมเมชั่นซ้อนกันสองอันแบบนี้ เราสามารถรันจากข้างในมาข้างนอก(แบบวิธีคุณpoper)ได้มั้ยครับ แล้วถ้ารันจากด้านนอกมาด้านในได้มั้ย(ผมว่าวิธีนี้ต้องยุ่งยากแน่ เพราะถ้าทำแบบนั้นอนุกรมจำกัดก็จะติดอยู่ทุกเทอม ผมเข้าใจถูกป่าวครับ) หรือเราต้องรันมันทั้งสองไปพร้อมๆกัน งง ครับ



ขอบคุณคร้าบบบ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 17 พฤศจิกายน 2011, 08:29
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
$$S=\sum_{i=1}^{k-1}(\frac{1}{kn-(k-i)})-\frac{k-1}{kn}=\frac{1}{kn-(k-1)}+\frac{1}{kn-(k-2)}+...+\frac{1}{kn-1}-\frac{k-1}{kn}$$ $$=\frac{1}{k(n-1)+1}+\frac{1}{k(n-1)+2}+...+\frac{1}{k(n-1)+(k-1)}-\frac{k-1}{k(n-1)+k}$$ $$\sum_{n=1}^{\infty}S=(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k-1}-\frac{k-1}{k})+(\frac{1}{k+1}+\frac{1}{k+2}+...+\frac{1}{2k-1}-\frac{k-1}{2k})+....$$ $$=(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k-1}+\frac{1}{k}-1)+(\frac{1}{k+1}+\frac{1}{k+2}+...+\frac{1}{2k-1}+\frac{1}{2k}-\frac{1}{2})+....$$ $$=(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k}+\frac{1}{k+1}+...+\frac{1}{2k}+...)-(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{k}+\frac{1}{k+1}+...+\frac{1}{2k}+...)=0$$
ไม่แน่ใจนะครับ
เอาอนุกรมลู่ออกสองตัวมาลบกันแล้วมันจะลู่เข้าเสมอไปหรือครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 17 พฤศจิกายน 2011, 21:29
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

ไม่แน่ใจอ่ะครับ ถ้าลองคิดเป็นอนุกรมจำกัดก่อน คือ
$$\sum_{n=1}^{m}S=(1+\frac{1}{2}=\frac{1}{3}+..+\frac{1}{k}-1)+(\frac{1}{k+1}+\frac{1}{k+2}+...+\frac{1}{2k}-\frac{1}{2})+...+(\frac{1}{(m-1)k+1}+\frac{1}{(m-1)k+2}+...+\frac{1}{mk}-\frac{1}{m})$$
$$=(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{mk})-(1+\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{m})$$ $$=\frac{1}{m+1}+\frac{1}{m+2}+...+\frac{1}{mk}$$
ซึ่งเป็นอนุกรมลู่ออก พอถึงตรงนี้ก็ไม่แน่ใจแล้วครับว่าจะไปทางไหนต่อ
ถ้าพิจารณา $m\to\infty$ ก็น่าจะได้ 0 แต่สับสนเหมือนมีคนบอกว่าคิดแบบนี้ไม่ได้
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 17 พฤศจิกายน 2011, 21:37
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Yuka View Post
ขอบคุณครับคุณpoper น่าจะไม่ผิดหรอกครับ ลองคิดตามดูแล้ว ผมว่าน่าจะใช่

ขอถามนิดนึงนะครับ บรรทัดสุดท้ายเทอมที่เป็นลบ เรารู้หรือสังเกตได้ไงว่ามีลบเศษหนึ่งส่วนเค บลาๆๆ

ทั้งเทอมนั้นเราจะรู้ได้ไงครับว่ามันจะเหมือนกับเทอมที่เป็นบวกด้านหน้าทุกตัว แล้วเวลาคุณpoperเจอโจทย์สามารถรู้ได้ไงว่าจัดรูปแล้วจะได้อย่างนี้ สุดยอดดดด ผมยังคิดไม่ถึงเลย ช่วยแนะนำหน่อยครับ



แล้วก็อีกคำถามนะครับ เวลาเราเจอซัมเมชั่นซ้อนกันสองอันแบบนี้ เราสามารถรันจากข้างในมาข้างนอก(แบบวิธีคุณpoper)ได้มั้ยครับ แล้วถ้ารันจากด้านนอกมาด้านในได้มั้ย(ผมว่าวิธีนี้ต้องยุ่งยากแน่ เพราะถ้าทำแบบนั้นอนุกรมจำกัดก็จะติดอยู่ทุกเทอม ผมเข้าใจถูกป่าวครับ) หรือเราต้องรันมันทั้งสองไปพร้อมๆกัน งง ครับ



ขอบคุณคร้าบบบ
อย่าพึ่งตั้งความหวังกับผมไว้มากขนาดนี้เลยครับ
บางครั้งก็ต้องลองผิดลองถูกบ้างนะครับ อย่างข้อนี้ขั้นแรกผมก็คิดว่ามันต้องมีรูปแบบแน่ๆ
ขีดๆเขียนๆแล้วก็ออกมาแบบที่เห็น
ส่วนเทอมหลังนั้นก็มาจากพจน์หลังสุด คือ $-\frac{k-1}{kn}=\frac{1}{kn}-\frac{1}{n}
$ ครับ
นั่นคือ พจน์ที่เป็นลบคือ $\sum_{n=1}^{\infty}\frac{1}{n}$ อ่ะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM

18 พฤศจิกายน 2011 20:06 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ poper
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 18 พฤศจิกายน 2011, 09:19
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
$$S=\sum_{i=1}^{k-1}(\frac{1}{kn-(k-i)})-\frac{k-1}{kn}$$

$$=\frac{1}{kn-(k-1)}+\frac{1}{kn-(k-2)}+\cdots+\frac{1}{kn-1}-\frac{k-1}{kn}$$

$$=\frac{1}{k(n-1)+1}+\frac{1}{k(n-1)+2}+...+\frac{1}{k(n-1)+(k-1)}-\frac{k-1}{k(n-1)+k}$$
ลองสังเกตจากที่คุณ poper ทำไว้จะเห็นว่า $S>0$ เสมอครับ

ดังนั้นถ้าเอา $S$ เหล่านี้มาบวกกันยังไงก็ไม่ได้ศูนย์ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 18 พฤศจิกายน 2011, 14:28
-Math-Sci- -Math-Sci- ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 มกราคม 2010
ข้อความ: 724
-Math-Sci- is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ poper View Post
ส่วนเทอมหลังนั้นก็มาจากพจน์หลังสุด คือ $\frac{k-1}{kn}=\frac{1}{kn}-\frac{1}{n}$ ครับ
$\frac{k-1}{kn}=\frac{1}{n}-\frac{1}{nk}$ ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 18 พฤศจิกายน 2011, 20:07
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ -Math-Sci- View Post
$\frac{k-1}{kn}=\frac{1}{n}-\frac{1}{nk}$ ครับ
ขอโทษทีครับพอดีรีบไปหน่อย (แก้แล้วนะครับ)
สรุปข้อนี้ก็จะกลายเป็นลู่ออกสินะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 19 พฤศจิกายน 2011, 11:46
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Yuka View Post
$$\sum_{n=1}^\infty\left[\left(\sum_{i=1}^{k-1} \frac{1}{kn-(k-i)}\right)-\left(\frac {k-1}{kn}\right)\right]$$
ให้ $\displaystyle{a_n=\left(\sum_{i=1}^{k-1} \frac{1}{kn-(k-i)}\right)-\left(\frac {k-1}{kn}\right)}$

จะได้

$a_n=\left(\dfrac{1}{k(n-1)+1}-\dfrac{1}{kn}\right)+\left(\dfrac{1}{k(n-1)+2}-\dfrac{1}{kn}\right)+\cdots+\left(\dfrac{1}{k(n-1)+(k-1)}-\dfrac{1}{kn}\right)$

$~~~=\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)+1]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)+2]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)+(k-1)]}$

$~~~<\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)]}$

$~~~=\dfrac{k-1}{2kn(n-1)}$

แต่อนุกรม $\displaystyle{\sum_{n=2}^{\infty}\dfrac{k-1}{2kn(n-1)}}$ ลู่เข้า

ดังนั้น $\displaystyle{\sum_{n=1}^{\infty}a_n}$ ลู่เข้า โดยการทดสอบแบบเปรียบเทียบ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น

19 พฤศจิกายน 2011 11:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 19 พฤศจิกายน 2011, 19:17
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

ขอบคุณท่าน nooonuii ครับ
สุดยอดครับ แบบนี้ถ้าจัดรูปผิดก็ผิดเลยใช่มั้ยครับ
มองไม่ออกเลยครับว่า $\frac{k-1}{kn}=\sum_{i=1}^{k-1}\frac{1}{kn}$ นั่นเอง
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 01 ธันวาคม 2011, 11:39
Yuka Yuka ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 กรกฎาคม 2011
ข้อความ: 38
Yuka is on a distinguished road
Default

ขอบคุณ คุณpoper และคุณnooonuii มากนะครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 01 ธันวาคม 2011, 12:16
Yuka Yuka ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 กรกฎาคม 2011
ข้อความ: 38
Yuka is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
เอาอนุกรมลู่ออกสองตัวมาลบกันแล้วมันจะลู่เข้าเสมอไปหรือครับ
ผมเพิ่งไปอ่านพื้นฐานใหม่ ความจริงแล้ว $\sum_{n = 1}^{\infty}(a_n)\pm \sum_{n = 1}^{\infty}(b_n)$

ถ้า$ลู่เข้า\pm ลู่เข้า$ จะได้ "ลู่เข้า"

ถ้า$ลู่ออก\pm ลู่เข้า$ หรือ $ลู่เข้า\pm ลู่ออก$ จะได้"ลู่ออก"

ถ้า$ลู่ออก\pm ลู่ออก$ สรุปไม่ได้





--------

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
ให้ $\displaystyle{a_n=\left(\sum_{i=1}^{k-1} \frac{1}{kn-(k-i)}\right)-\left(\frac {k-1}{kn}\right)}$

จะได้

$a_n=\left(\dfrac{1}{k(n-1)+1}-\dfrac{1}{kn}\right)+\left(\dfrac{1}{k(n-1)+2}-\dfrac{1}{kn}\right)+\cdots+\left(\dfrac{1}{k(n-1)+(k-1)}-\dfrac{1}{kn}\right)$

$~~~=\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)+1]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)+2]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)+(k-1)]}$

$~~~<\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)]}$

$~~~=\dfrac{k-1}{2kn(n-1)}$

แต่อนุกรม $\displaystyle{\sum_{n=2}^{\infty}\dfrac{k-1}{2kn(n-1)}}$ ลู่เข้า

ดังนั้น $\displaystyle{\sum_{n=1}^{\infty}a_n}$ ลู่เข้า โดยการทดสอบแบบเปรียบเทียบ


ขอบคุณครับ ผมรู้ว่าคำตอบมันลู่เข้า แต่คิดเท่าไหร่ก็ได้ลู่ออก ปวดหมองแล้วกัน

คุณช่วยแนะหน่อยได้มั้ยครับว่า

$~~~\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)]}$

$~~~=\dfrac{k-1}{2kn(n-1)}$ มาได้อย่างไง



ผมคิดได้อย่างนี้ครับ ไม่แน่ใจว่าคิดถูกรึป่าว

$~~~\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)]}$

$$=\frac{1+2+3+4+...+ k-4 + k-3 + k-2 + k-1}{kn[k(n-1)]}$$


$$=\frac{k}{kn[k(n-1)]}\bullet(k-1)$$


$$=\frac{k-1}{kn(n-1)}$$

ช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ

01 ธันวาคม 2011 14:55 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Yuka
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 01 ธันวาคม 2011, 18:19
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Yuka View Post

คุณช่วยแนะหน่อยได้มั้ยครับว่า

$~~~\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)]}$

$~~~=\dfrac{k-1}{2kn(n-1)}$ มาได้อย่างไง



ผมคิดได้อย่างนี้ครับ ไม่แน่ใจว่าคิดถูกรึป่าว

$~~~\dfrac{k-1}{kn[k(n-1)]}+\dfrac{k-2}{kn[k(n-1)]}+\cdots+\dfrac{1}{kn[k(n-1)]}$

$$=\frac{1+2+3+4+...+ k-4 + k-3 + k-2 + k-1}{kn[k(n-1)]}$$


$$=\frac{k}{kn[k(n-1)]}\bullet(k-1)$$


$$=\frac{k-1}{kn(n-1)}$$

ช่วยแนะนำด้วยครับ ขอบคุณครับ
ตก $2$ ไปตัวนึงที่เหลือถูกหมด

$1+2+3+\cdots+(k-1)=\dfrac{(k-1)(k)}{2}$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 01 ธันวาคม 2011, 21:18
Yuka Yuka ไม่อยู่ในระบบ
หัดเดินลมปราณ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 กรกฎาคม 2011
ข้อความ: 38
Yuka is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii View Post
ตก $2$ ไปตัวนึงที่เหลือถูกหมด

$1+2+3+\cdots+(k-1)=\dfrac{(k-1)(k)}{2}$

คิดอย่างไงเหรอครับ ถึงมีหารด้วยสอง มาจากสูตรรึป่าวครับ

ขอบคุณครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 14:21


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha