Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > Calculus and Analysis
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 25 มกราคม 2009, 02:12
gnopy's Avatar
gnopy gnopy ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 มกราคม 2006
ข้อความ: 516
gnopy is on a distinguished road
Icon21 ความหมายของ integral 3 ชั้น

1 คือผมอยากทราบความหมายของการอินทิเกรตสามชั้น เหนือรูปทรงสามมิติใดๆ

เช่น
กำหนดให้รูปทรงสามมิติ $G$ ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ผิวที่รอบล้อมด้วยระนาบ x+3y+z=6 และระนาบพิกัด
จงใส่ลิมิตในการหาค่า $\int f(x,y,z)dV$ เมื่อลำดับการอินทิเกรตเป็น dzdxdy

ผมเห็น dV คิดว่าน่าจะเป็นการหาปริมาตร แต่ปริมาตรของอะไรนั้นยังไม่แน่ใจ ถ้าข้อนี้ให้ f(x,y,z)=x แล้วปริมาตรที่เราหาจะเป็นปริมาตรของ???

2 นิยามการหาปริพันธ์สามชั้นในระบบพิกัดฉาก
คำว่าผลแบ่งกั้นคืออะไรครับ คล้ายๆกับเราแบ่ง (a,b) เป็น n ช่อง(ในปริพันธ์ชั้นเดียวไหมครับ) concept การหายังงงๆอยู่ครับ รู้ว่าเป็นการแบ่งเป็นชิ้นๆเล็กๆ
แล้วก็

ความหมายของตัวนี้ัครับ $\sum_{k= 1}^{n} f(x_k,y_k,z_k)dV$
ชอบคุณครับ เย้ยๆ

ขอบคุณครับ

25 มกราคม 2009 02:13 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gnopy
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 26 มกราคม 2009, 12:45
คุณชายน้อย คุณชายน้อย ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 05 กรกฎาคม 2008
ข้อความ: 156
คุณชายน้อย is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gnopy View Post
2. นิยามการหาปริพันธ์สามชั้นในระบบพิกัดฉาก
คำว่าผลแบ่งกั้นคืออะไรครับ คล้ายๆกับเราแบ่ง (a,b) เป็น n ช่อง(ในปริพันธ์ชั้นเดียวไหมครับ) concept การหายังงงๆอยู่ครับ รู้ว่าเป็นการแบ่งเป็นชิ้นๆเล็กๆ แล้วก็
ความหมายของตัวนี้ัครับ $\sum_{k= 1}^{n} f(x_k,y_k,z_k)dV$
ก่อนจะตอบข้อที่ 1. ต้องไปรู้จักกับ concept ของอินทิกรัลสองชั้น (คลิก) และอินทิกรัลสามชั้น (คลิก) ก่อนนะครับ เพราะเล่นถามมาเป็นชุด ต้องเรียงลำดับความคิดและพื้นฐานของผู้อ่านก่อน

ผลแบ่งกั้นตามความคิดของ Riemann คือผลลัพธ์ที่ได้จากการแบ่งโดเมนออกเป็นส่วนย่อย ๆ ณ ที่นี้จะอธิบายอินทิกรัลสามชั้น เราแบ่งโดเมน G ของฟังก์ชัน f(x,y,z) ออกเป็นส่วนย่อย ๆ โดยให้แบ่งนั้นให้แบ่งขนานกับแกนพิกัดทั้งสาม(ตามลักษณะการแบ่ง) จะได้รูปทรงลูกบาศก์เล็ก ๆ ในโดเมน G มากมาย(สมมติให้มี n ลูกบาศก์) สมมติทรงลูกบาศก์เล็ก ๆ ที่ k ในโดเมน G มีปริมาตรคือ $\Delta v_k$ เราจะได้ผลของการแบ่งกั้น ณ n = k ใด ๆ คือ $\Delta v_k f(x_k,y_k,z_k)$ เมื่อ $(x_k,y_k,z_k)\in บริเวณ \Delta v_k$ ซึ่ง concept ผลการแบ่งกั้นก็คือ ค่าที่ได้จากการคำนวณ ปริมาตร($\Delta v_k$) คูณกับความลึก $f(x_k,y_k,z_k)$ ในมิติที่ 4 ของฟังก์ชัน f(x,y,z) จะเกิดค่า
$$\lim_{n \to \infty}\sum_{k = 1}^{n}\Delta v_k f(x_k,y_k,z_k)=\lim_{n \to \infty}\sum_{k = 1}^{n}f(x_k,y_k,z_k)\Delta v_k $$
ซึ่งเป็นผลรวมของค่าของ ปริมาตร($\Delta v_k$) คูณกับความลึก $f(x_k,y_k,z_k)$ ในมิติที่ 4 ของฟังก์ชัน f(x,y,z) เมื่อมีการแบ่งกั้นมาก ๆ ($n\rightarrow \infty $)
โดยอาศัยแนวคิดเชิง Riemann จะนิยามอินทิกรัลสามชั้นของฟังก์ชัน f(x,y,z) บนบริเวณ G ดังนี้
$$\int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,f(x,y,z)\,dV = \lim_{n \to \infty}\sum_{k = 1}^{n}f(x_k,y_k,z_k)\Delta v_k$$
หรือ

อินทิกรัลสามชั้นมี concept คือการคำนวณ ผลรวมของปริมาตร($\Delta v_k$) คูณกับความลึกในมิติที่ 4 ของ $f(x_k,y_k,z_k)$ ซึ่งทางคณิตศาสตร์เรายังไม่ได้นิยามว่าเป็นอะไร ขึ้นอยู่กับการนำไปประยุกต์ใช้ เช่นถ้าฟังก์ชัน f(x,y,z) เป็นฟังก์ชันความหนาแน่น(หรือ $\rho (x,y,z)$) ของวัตถุ G โดยใช้สมบัติทางฟิสิกส์ $M=\rho (x,y,z) v$ โดยที่ M เป็นมวลของวัตถุ และ v เป็นปริมาตรของวัตถุ เราจะได้ว่า
$$ มวลของ G = \lim_{n \to \infty}\sum_{k = 1}^{n}\rho(x_k,y_k,z_k)\Delta v_k$$
ซึ่งเป็นผลรวมของค่าของ ปริมาตร($\Delta v_k$) คูณกับ $\rho(x_k,y_k,z_k)$ เมื่อมีการแบ่งกั้นมาก ๆ ($n\rightarrow \infty $) หรือมวลเล็ก ๆ ของวัตถุในทุก ๆ จุดของวัตถุมารวมกันมาก ๆ
โดยอาศัยแนวคิดเชิง Riemann จะนิยามอินทิกรัลสามชั้นของฟังก์ชัน $\rho(x,y,z)$ คือมวล(M) ของวัตถุ G ดังนี้
$$M = \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,\rho(x,y,z)\,dV = \lim_{n \to \infty}\sum_{k = 1}^{n}\rho(x_k,y_k,z_k)\Delta v_k$$

ทำนองเดียวกัน

อินทิกรัลสองชั้นมี concept คือการคำนวณ ผลรวมของพื้นที่($\Delta A_k$) คูณกับค่าที่ได้(ความสูง) ของ $f(x_k,y_k)$ เมื่อมีการแบ่งกั้นมาก ๆ ($n\rightarrow \infty $) ซึ่งทางคณิตศาสตร์นิยามว่าเป็นปริมาตร และสามารถนิยามได้เป็นอย่างอื่นอีกมากมาย

อินทิกรัลหนึ่งชั้นมี concept คือการคำนวณ ผลรวมของความกว้าง($\Delta x_k$) คูณกับค่าที่ได้(ความยาว) ของ $f(x_k)$ เมื่อมีการแบ่งกั้นมาก ๆ ($n\rightarrow \infty $) ซึ่งทางคณิตศาสตร์นิยามว่าเป็นพื้นที่ และสามารถนิยามได้เป็นอย่างอื่นอีกมากมาย

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ gnopy View Post
1. คือผมอยากทราบความหมายของการอินทิเกรตสามชั้น เหนือรูปทรงสามมิติใดๆ

เช่น
กำหนดให้รูปทรงสามมิติ $G$ ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ผิวที่รอบล้อมด้วยระนาบ x+3y+z=6 และระนาบพิกัด
จงใส่ลิมิตในการหาค่า $\int f(x,y,z)dV$ เมื่อลำดับการอินทิเกรตเป็น dzdxdy
ผมเห็น dV คิดว่าน่าจะเป็นการหาปริมาตร แต่ปริมาตรของอะไรนั้นยังไม่แน่ใจ ถ้าข้อนี้ให้ f(x,y,z)=x แล้วปริมาตรที่เราหาจะเป็นปริมาตรของ???
จากคำตอบในข้อที่ 2. คงจะมองเห็นความหมายของการอินทิเกรตสามชั้น เหนือรูปทรงสามมิติใดๆ
มาดูตัวอย่างที่ถามนะครับ พิจารณารูปประกอบ

รูป A เป็นรูปทรงสามมิติ G ของฟังก์ชัน f(x,y,z) และรูป B เป็นภาพฉาย (projection) ของทรงสามมิติ G บนระนาบ XY โดยมีการวางแถบสี (strip) ตั้งฉากแกน Y (ตามโจทย์ที่ถาม) จะได้ว่า
$\int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,f(x,y,z)\,dV$
$=\int\!\!\!\int \int_{0}^{6-x-3y}\,f(x,y,z)\,dz dA$
$=\int_{0}^{2} \int_{0}^{6-3y} \int_{0}^{6-x-3y}\,f(x,y,z)\,dz dx dy$

ซึ่งจะเป็นปริมาตรของรูปทรงสามมิติ G เมื่อ f(x,y,z) = 1 ทุก ๆ จุด (x,y,z) บนบริเวณ G หรือ
$$ปริมาตรของทรงสามมิติ G = \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,1\,dV = \int_{0}^{2} \int_{0}^{6-3y} \int_{0}^{6-x-3y}\,1\,dz dx dy$$

ส่วนคำถามสุดท้าย ถ้า f(x,y,z) = x จะเกิดอะไรขึ้น
โดยสมบัติทางฟิสิกส์ โมเมนต์ของวัตถุ G รอบระนาบ YZ คือ $M_{YZ}=x\rho (x,y,z) v$ และแนวคิดเชิงรีมานน์ เรานิยาม โมเมนต์ของวัตถุ G รอบระนาบ YZ ($M_{YZ}$) คือ
$$M_{YZ} = \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \rho(x,y,z)\,dV = \lim_{n \to \infty}\sum_{k = 1}^{n}x_k \rho(x_k,y_k,z_k)\Delta v_k$$
เมื่อ $\rho(x,y,z)$ เป็นฟังก์ชันความหนาแน่นของวัตถุ G
ซึ่งเป็นผลรวมของค่าของ $x_k$ คูณกับ $\rho(x_k,y_k,z_k)$ คูณกับ ปริมาตร($\Delta v_k$) เมื่อมีการแบ่งกั้นมาก ๆ ($n\rightarrow \infty $) ดังนั้น
$$M_{YZ} = \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \rho(x,y,z)\,dV = โมเมนต์ของวัตถุ G รอบระนาบ YZ $$
เพราะฉะนั้น
$ \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \,dV=M_{YZ} $ ซึ่งก็เป็นค่าของโมเมนต์ของวัตถุ G รอบระนาบ YZ โดยที่ความหนาแน่น $\rho(x,y,z)$ มีค่าเป็น 1 ทุก ๆ จุดบนวัตถุ G

เราสามารถหาจุดศูนย์ถ่วง $\overline{x} $ ของมวลของรูปวัตถุ G ได้ ถ้าฟังก์ชัน $\rho(x,y,z) = c$ เมื่อ c เป็นค่าคงที่ หรือความหนาแน่น $\rho$ คงที่ จะได้ว่า
$\overline{x} = \frac{M_{YZ}}{M}= \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \rho(x,y,z)\,dV / \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,\rho(x,y,z)\,dV $
$= \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x c\,dV / \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,c\,dV $
$= c\int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \,dV / c\int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,1\,dV $
$= \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \,dV / \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,1\,dV $
$= \frac{1}{ปริมาตรของ G} \int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \,dV $
เพราะฉะนั้น อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า
$\int\!\!\!\int\int_{G}^{}\,x \,dV = (ปริมาตรของ G)\overline{x} $ ซึ่งก็คือ ปริมาตรของวัตถุ G คูณกับจุดศูนย์ถ่วงของมวลของวัตถุ G เมื่อความหน่าแน่นของวัตถุ G คงที่ นั่นเอง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 26 มกราคม 2009, 15:03
gnopy's Avatar
gnopy gnopy ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 มกราคม 2006
ข้อความ: 516
gnopy is on a distinguished road
Default

ขอบคุณ คุณชายน้อยมากครับ สำหรับความรู้

ผมคงลืมนึกไปถึงมิติที่สี่
โดยสามัญสำนึก ผมรู้ว่า องค์ประกอบของปริมาตร คือต้องรู้ความกว้าง ยาว และลึก (ในสามมิติ) เลยนึกไม่ออกว่าf(x,y,z) คืออะไร ที่แท้ก็เป็นหน่วยของความยาวนั่นเอง ผมก็เลยไม่รู้ว่าความหมายของสัญลักษณ์นี้คืออะไร

แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วครับ

ขอบคุณมากๆอีกทีครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
การ integral Eng_Day Calculus and Analysis 6 19 มกราคม 2009 00:30
ช่วยจัดการ integral ตัวนี้ทีครับ Rossix Calculus and Analysis 4 11 กันยายน 2008 20:17
โจทย์ Integral ค่ะ ช่วยคิดทีนะๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ Ding Dong Calculus and Analysis 7 25 กรกฎาคม 2006 15:23
Integral M@gpie ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 4 01 กุมภาพันธ์ 2005 01:42
integral จำกัดเขตข้อนี้ทำไงครับ xlover13 ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 14 03 มกราคม 2002 20:04


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 03:37


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha