Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 10 มกราคม 2015, 21:06
pont494 pont494 ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 มกราคม 2011
ข้อความ: 405
pont494 is on a distinguished road
Default ผลบวกและผลคูณ

รบกวนช่วยเฉลยด้วยครับ ถ้าแสดงวิธีทำด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

1.สำหรับแต่ละจำนวนเต็มบวก n จงคำนวณค่าในเทอมของ n ของ
$(4-\frac{2}{1})(4-\frac{2}{2})(4-\frac{2}{3})...(4-\frac{2}{n}) $

2.จงหาสูตรสำหรับผลบวกต่อไปนี้
2.1) $2+4+10+28+...(n พจน์)$
2.2) $r+2r^2+3r^3+...+nr^n$
2.3) $1*2*3+2*3*4+...+n(n+1)(n+2)$
2.4) $\sum_{k = 1}^{n}\frac{1}{(k+1)\sqrt{k}+k\sqrt{k+1}}$

3.ก และ ข ออกเดินทางจากที่เดียวกันพร้อมกัน ก เริ่มเดินทางด้วยความเร็ว 2 กม./ชม. ในชม.ถัดไปเดินทางด้วยความเร็ว 4,8,16,... กม./ชม.ตามลำดับ ส่วน ข เริ่มเดินทางด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. ในชม.ถัดไปเดินทางด้วยความเร็ว 20,10,5,... กม./ชม.ตามลำดับ จงหาว่า ก และ ข จะเดินทางไปทันกันภายหลังจากได้เดินทางกี่กิโลเมตร
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 10 มกราคม 2015, 22:07
FranceZii Siriseth's Avatar
FranceZii Siriseth FranceZii Siriseth ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 03 พฤษภาคม 2013
ข้อความ: 344
FranceZii Siriseth is on a distinguished road
Default

2.2
$L=r+2r^2+3r^3+...+nr^n$
$rL=0+r^2+2r^3+3r^4+...+(n-1)r^n+nr^{n+1}$
$L-rL=r+r^2+...+r^n-nr^{n+1}$
$L(1-r)=\frac{r(r^n-1)}{r-1}-nr^{n+1}$

2.3 กระจาย $n(n+1)(n+2)$ take sigma ทีละตัว

2.4
$\frac{1}{\sqrt{k(k+1)}}\bigg(\frac{1}{\sqrt{k}+\sqrt{k+1}}\bigg)$
$=\frac{1}{\sqrt{k(k+1)}}\bigg(\sqrt{k+1}-\sqrt{k}\bigg)$
$= \frac{1}{\sqrt{k}}-\frac{1}{\sqrt{k+1}}$
__________________
Hope is what makes us strong.
It's why we are here.
It is what we fight with when all else is lost.

10 มกราคม 2015 22:08 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ FranceZii Siriseth
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 10 มกราคม 2015, 22:47
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Lightbulb

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ pont494 View Post
รบกวนช่วยเฉลยด้วยครับ ถ้าแสดงวิธีทำด้วยก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

1.สำหรับแต่ละจำนวนเต็มบวก n จงคำนวณค่าในเทอมของ n ของ
$(4-\frac{2}{1})(4-\frac{2}{2})(4-\frac{2}{3})...(4-\frac{2}{n}) $

2.จงหาสูตรสำหรับผลบวกต่อไปนี้
2.1) $2+4+10+28+...(n พจน์)$
2.2) $r+2r^2+3r^3+...+nr^n$
2.3) $1*2*3+2*3*4+...+n(n+1)(n+2)$
2.4) $\sum_{k = 1}^{n}\frac{1}{(k+1)\sqrt{k}+k\sqrt{k+1}}$

3.ก และ ข ออกเดินทางจากที่เดียวกันพร้อมกัน ก เริ่มเดินทางด้วยความเร็ว 2 กม./ชม. ในชม.ถัดไปเดินทางด้วยความเร็ว 4,8,16,... กม./ชม.ตามลำดับ ส่วน ข เริ่มเดินทางด้วยความเร็ว 40 กม./ชม. ในชม.ถัดไปเดินทางด้วยความเร็ว 20,10,5,... กม./ชม.ตามลำดับ จงหาว่า ก และ ข จะเดินทางไปทันกันภายหลังจากได้เดินทางกี่กิโลเมตร
โจทย์พวกลำดับและอนุกรม โดยทั่วไป ควรจะบอกพจน์ที่ n มาให้เลย จะได้คิดตรงกัน

ไม่งั้นจะมีคำตอบได้หลายแบบนับไม่ถ้วน ในที่นี้จะสมมติว่าคิดภายใต้เนื้อหาทั่ว ๆ ไปของ ม.ปลายครับ.

อย่างข้อ 2.1 ถ้าเรานำพจน์ที่ติดลบมาลบกัน แล้วได้ลำดับเรขาคณิตปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก แสดงว่า รูปแบบหนึ่งที่เป็นไปได้คือ เกิดจาก ลำดับเรขาคณิต + ลำดับคงตัว

ในที่นี้ 2, 4, 10, 28 ถ้านำพจน์ที่ติดกันมาลบกัน จะได้ 2, 6, 18 ซึ่งเป็นลำดับเรขาคณิตที่มี r = 3 ครั้งแรก แสดงว่ารูปแบบหนึ่งคือ $a_n = a\cdot 3^n + b$ แทนค่าแล้วแก้สมการจะได้ $a_n = 3^{n-1} + 1$ ที่เหลือก็ใช้สูตรปกติ

ข้อ 2.3 อันนี้เข้ารูปแบบงดงามครับ อาจจะใช้คอมบิแก้ก็ได้ ถ้าชอบคอมบิ ลองสังเกตดูว่า

$\Sigma_{i=1}^n i = \frac{n(n+1)}{2}$

$\Sigma_{i=1}^n i(i+1) = \frac{n(n+1)(n+2)}{3}$

ดังนั้น
$\Sigma_{i=1}^n i(i+1)(i+2) = ?$

10 มกราคม 2015 22:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 11 มกราคม 2015, 10:51
nooonuii nooonuii ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎทั่วไป
 
วันที่สมัครสมาชิก: 25 พฤษภาคม 2001
ข้อความ: 6,408
nooonuii is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ pont494 View Post
1.สำหรับแต่ละจำนวนเต็มบวก n จงคำนวณค่าในเทอมของ n ของ
$(4-\frac{2}{1})(4-\frac{2}{2})(4-\frac{2}{3})...(4-\frac{2}{n}) $
อยากให้ลองคิดเองครับ แต่จะแนะบางส่วนให้

$(4-\frac{2}{1})(4-\frac{2}{2})(4-\frac{2}{3})...(4-\frac{2}{n}) =\dfrac{(4\cdot 1 - 2)(4\cdot 2-2)\cdots (4n-2)}{1\cdot 2\cdots n} $

$=\dfrac{2^n[1\cdot 3\cdot 5\cdots (2n-1)]}{n!}$

$=\cdots$

$=\binom{2n}{n}$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 18:13


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha