Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์ทั่วไป > ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 05 ธันวาคม 2004, 14:17
WiZz WiZz ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 28 ตุลาคม 2004
ข้อความ: 15
WiZz is on a distinguished road
Post มีคัยรู้จัก Fast Fourier Transform มั่งคับ

ช่วยอธิบายหน่อยคับว่า มันคืออะไรแล้วต่างจาก Fourier Transform ธรรมดายังงัยคับ

แล้วผมอยากรู้ว่า Fourier Transform สัมพันธ์ Laplace Transform ยังงัยคับ
คือผมกำลังเรียนอยู่แต่ว่างงมากๆ ว่ามันมีที่มายังงัยคับ (ช่วยอธิบายละเอียดหน่อยนะคับ)
ขอบคุณมากๆคับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 05 ธันวาคม 2004, 18:09
M@gpie's Avatar
M@gpie M@gpie ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 ตุลาคม 2003
ข้อความ: 1,227
M@gpie is on a distinguished road
Post

อะไรคือ fast fourier อ่ะ ไม่เคยรู้จัก
ผมเรียนพวกนี้เหมือนกัน แอดเมล์มาคุย msn กันได้คับ
__________________
PaTa PatA pAtA Pon!
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 05 ธันวาคม 2004, 21:22
<คิดด้วยคน>
 
ข้อความ: n/a
Post

ผมก็รู้ไม่มากนัก อธิบายเท่าที่จำได้นะครับ

การทำ Fourier Transform จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามลักษณะของฟังก์ชันครับ กล่าวคือ
1. หากเป็นฟังก์ชันรายคาบแบบต่อเนื่อง (Periodic and Continous) จะมีชื่อเรียกว่า อนุกรมฟูเรียร์ (Fourier Series : FS)
2. หากเป็นฟังก์ชันไม่มีคาบแบบต่อเนื่อง (Non Periodic and Continous) จะมีชื่อเรียกว่า ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์ม (Fourier Transform : FT)
3. หากเป็นฟังก์ชันรายคาบแบบไม่ต่อเนื่อง (Periodic and Discrete) จะมีชื่อเรียกว่า อนุกรมฟูเรียร์ไม่ต่อเนื่อง (Discrete Fourier Series : DFS)
4. หากเป็นฟังก์ชันไม่มีคาบแบบไม่ต่อเนื่อง (Non Periodic and Discrete) จะมีชื่อเรียกว่า ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มไม่ต่อเนื่อง (Discrete Fourier Transform : DFT)

ฟังก์ชันแบบที่ 3 และ 4 จะใช้ในงาน DSP (Discrete Time Signal Processing) มาก แต่หากคำนวณการแปลงตรงๆจะมีปัญหา เพราะใช้เวลาคำนวณนานมาก และเกิดความผิดพลาดสะสมในการคำนวณมากด้วย จึงมีผู้คิดเทคนิคหลายแบบ ที่ช่วยให้คำนวณได้เร็วขึ้นและมีความผิดพลาดสะสมลดลง เรียกว่า Fast Fourier Transform (FFT)

ผลการแปลง Laplace Transform ไม่มีความหมายทางกายภาพแต่อย่างใด แต่ช่วยวิเคราะห์ผลตอบของระบบเชิงเส้น และแก้สมการดิฟเฟอเรนเชียลได้ โดเมนผลลัพธ์ของ Laplace Transform นั้นกว้างกว่าของ Fourier Transform โดย โดเมนผลลัพธ์ของ Fourier Transform เป็นเพียงแกนจินตภาพของ S Plane ของ Laplace Transform เท่านั้น

หมายเหตุ : Laplace Transform ที่รู้จักกันทั่วไป มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า ลาปลาสทรานส์ฟอร์มข้างเดียว ยังมีลาปลาสทรานส์ฟอร์มสองข้าง ที่อินทิเกรตจาก ลบอนันต์ไปจนถึงอนันต์ด้วย และหากเราแทน s ในลาปลาสทรานส์ฟอร์มสองข้าง ด้วย jw ก็จะได้การแปลงฟูเรียร์นั่นเอง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 06 ธันวาคม 2004, 23:58
<DividedByZero>
 
ข้อความ: n/a
Post

Fast Fourier Transform เป็น algorithm การทำ Discrete Fourier Transform ที่ complexity ลดลงครับ
ผมจำไม่ได้ว่าลดจากเท่าไรเป็นเท่าไร (คิดว่าจาก O(n^2) เป็น O(nlogn))
โดยผลลัพธ์การทำ FFT ที่ได้จะตรงกับการทำ DFT ทุกประการนะครับ เพียงแต่เร็วกว่า (ในแง่ของ complexity)
โดย FFT ก็ไม่ได้หมายถึง algorithm ใด algorithm หนึ่งเฉพาะเจาะจงนะครับ มีคนเสนอมาหลายแบบ แต่ก็จะมีแบบหนึ่งที่นิยมใช้กัน (ผมจำไม่ได้อีกแล้วว่าของใคร ขอโทษด้วยครับ)
อย่างไรก็ตาม ก็ยังมี FFT แบบที่ให้คำตอบไม่ตรงเป๊ะด้วยนะ แลกกันกับความเร็วครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 10 ธันวาคม 2004, 11:22
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Smile

เห็นว่ามีการนำ FFT ไปใช้คำนวณหาค่า p ด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 11 ธันวาคม 2004, 02:47
warut warut ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไร้สภาพ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 พฤศจิกายน 2001
ข้อความ: 1,627
warut is on a distinguished road
Smile

ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดการใช้ FFT ในการหาค่า p หรือเลขอื่นๆที่มีจำนวนหลักเยอะๆนั้น
มีจุดประสงค์เพื่อเร่งความเร็วในการคูณเป็นสำคัญครับ การคูณเลข n bits 2 ตัวเข้าด้วยกัน
แบบธรรมดา (long multiplication) จะมี complexity เป็น O(n2) แต่ถ้าใช้
FFT multiplication จะลดเหลือเพียง O(nlog(n)loglog(n)) (มั้ง ) ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 05 เมษายน 2015, 10:24
chevasit's Avatar
chevasit chevasit ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 02 มิถุนายน 2009
ข้อความ: 4
chevasit is on a distinguished road
Default

ผมเรียนมาทางไฟฟ้า สื่อสารครับ และก็มีการใช้ Fourier Transform ในการคำนวนด้วย แต่ไม่มีรายละเอียดที่มา ที่ไปของการนำสูตรนี้มาใช้เลย จนต้องทิ้งความไม่เข้าใจอันนี้เอาไว้ก่อน แล้วก็เพียงจำสูตรไปใช้ก็พอ เพราะมีอีกหลายเรื่องต้องเรียน(ถ้ายังอยากจะจบ!!!)...จนวันหนึ่งผมกลับมาใคร่ครวญ กับมันใหม่ จนได้ความรู้แบบใหม่ จึงจะสามารถเข้าใจ Fourier transform ,Laplace transform และความหมายของจำนวนจินตภาพ(i), (complex number) จำนวนเชิงซ้อนและระบบจำนวนทั้งหมดครับ ทั้งหมดนี้ผมเขียนไว้ใน blog หนึ่งชื่อ ฟิสิกส์ของฉัน:ฟิสิกส์ทางเลือกและการหมุน
http://chevasit.blogspot.com/2012/01...e-physics.html
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


หัวข้อคล้ายคลึงกัน
หัวข้อ ผู้ตั้งหัวข้อ ห้อง คำตอบ ข้อความล่าสุด
Z-Transform M@gpie ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป 5 11 ธันวาคม 2004 12:11


กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 12:40


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha