Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 21 มกราคม 2012, 02:32
ผู้หลงใหลในการคำนวณ ผู้หลงใหลในการคำนวณ ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 เมษายน 2010
ข้อความ: 11
ผู้หลงใหลในการคำนวณ is on a distinguished road
Default โจทย์จำนวนเชิงซ้อนครับ รบกวนด้วยครับ

$Z_1,Z_2,Z_3$ มีค่าต่างกัน แต่ $\left|\,\right. Z_1\left.\,\right| =\left|\,\right. Z_2\left.\,\right| =\left|\,\right. Z_3\left.\,\right|=2$ และ w เป็นจำนวนเชิงซ้อนซึ่ง $w^3=1$ และ $w\not= 1$ ถ้า $Z_1,Z_2,Z_3$ สอดคล้องกับ $Z_1w^2+Z_2w+Z_3=0$ แล้ว $\left|\,\right. Z_2+3Z_3\left.\,\right| =?$

รบกวนขอวิธีทำด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 21 มกราคม 2012, 10:22
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon17

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ผู้หลงใหลในการคำนวณ View Post
$Z_1,Z_2,Z_3$ มีค่าต่างกัน แต่ $\left|\,\right. Z_1\left.\,\right| =\left|\,\right. Z_2\left.\,\right| =\left|\,\right. Z_3\left.\,\right|=2$ และ w เป็นจำนวนเชิงซ้อนซึ่ง $w^3=1$ และ $w\not= 1$ ถ้า $Z_1,Z_2,Z_3$ สอดคล้องกับ $Z_1w^2+Z_2w+Z_3=0$ แล้ว $\left|\,\right. Z_2+3Z_3\left.\,\right| =?$

รบกวนขอวิธีทำด้วยครับ
วิธีที่ 1.

$w^3-1=0 \Rightarrow w^2+w+1=0$ เมื่อ $w \ne 1$

$w = -\frac{1}{2} + \frac{\sqrt{3}}{2}i = e^{i2\pi/3}$

$w^2 = -\frac{1}{2} - \frac{\sqrt{3}}{2}i = e^{i4\pi/3}$

ให้ $z_1 = 2e^{i\theta_1}, z_2 = 2e^{i\theta_2}, z_3 = 2e^{i\theta_3}$

แทนค่า $z_1, z_2, z_3$ ลงในสมการ $z_1w^2+z_2w+z_3 = 0$ จะได้ $$2e^{i(\theta_1 + 4\pi/3)} + 2e^{i(\theta_2 + 2\pi/3)} + 2e^{i(\theta_3)} = 0$$

เทียบส่วนจริงและจินตภาพได้ว่า $$\cos(\theta_1+4\pi/3)+\cos(\theta_2+2\pi/3)+\cos(\theta_3)=0 ~~, ~~ \sin(\theta_1+4\pi/3)+\sin(\theta_2+2\pi/3)+\sin(\theta_3)=0$$
ซึ่งเป็นจริงเมื่อ $\theta_1, \theta_2, \theta_3$ เป็นรากของสมการ $\cos 3A = \cos 3\theta ... (1)$ และ $\sin 3A = \sin 3\theta ... (2)$

หรือกล่าวง่าย ๆ ว่า $\theta_1, \theta_2, \theta_3$ ต้องทำมุม $2\pi/3$ ซึ่งกันและกัน

พิจารณาสมการ $z_1w^2+z_2w+z_3=0$ อีกครั้ง

จะเห็นว่าอาร์กิวเมนต์ของ $w^2, w, 0$ มีค่าเท่ากับ $4\pi/3, 2\pi/3, 0$ ตามลำดับ

ดังนั้น ถ้าให้สอดคล้องสมการ (1) กับ (2) แสดงว่าอาร์กิวเมนต์ของ $z_1, z_2, z_3$ จะต้องมีค่าเป็น $0, 4\pi/3, 2\pi/3$ ตามลำดับ

นั่นคือ
$z_1 = 2$,

$z_2 = 2e^{i4\pi/3} = 2(-1/2 - \sqrt{3}i/2) = -1 - \sqrt{3}i$

$z_3 = 2e^{i2\pi/3} = 2(-1/2 + \sqrt{3}i/2) = -1 + \sqrt{3}i$

ทำให้ได้ว่า $|z_2+3z_3| = |-4+2\sqrt{3}i| = 2\sqrt{7}$

วิธีที่ 2.
ให้ $x = z_1w^2$ แล้วจะได้ $|x| = |z_1w^2| = 2$

ให้ $y = z_2w$ แล้วจะได้ $|y| = |z_2w| = 2$

ให้ $z = z_3$ แล้วจะได้ $|z| = |z_3| = 2$

ดังนั้น $x, y, z$ เป็นจำนวนเชิงซ้อนซึ่ง $x + y + z = 0$ โดยที่$ |x| = |y| = |z| = 2$ ซึ่งจะเป็นไปได้เมื่อ $x, y, z$ เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า (มองว่าเป็นเวกเตอร์) จากนั้นก็เล่นเกมดูอาร์กิวเมนต์แบบวิธีที่ 1

21 มกราคม 2012 11:32 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
เหตุผล: เพิ่มวิธีที่ 2
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 21 มกราคม 2012, 22:21
ผู้หลงใหลในการคำนวณ ผู้หลงใหลในการคำนวณ ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 เมษายน 2010
ข้อความ: 11
ผู้หลงใหลในการคำนวณ is on a distinguished road
Default

ขอบคุณ คุณ gon มากครับ
ว่าแต่ โจทย์จำนวนเชิงซ้อน ม.ปลาย มันขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย
พอดีมีเด็กเอามาถามครับ

ผมรบกวนอีกสักข้อครับ
ถ้า $Z=sin \frac{5\pi }{14}+icos\frac{9\pi}{14}$ แล้ว $\left(\,\right. \frac{1-\overline{Z} }{1+Z}\left.\,\right)^7=? $

ผมจัดได้ $Z=cos\frac{-\pi}{7}+isin\frac{-\pi}{7}$
ส่วนตัว $\left(\,\right. \frac{1-\overline{Z} }{1+Z}\left.\,\right)^7$ นี้ ผมไม่รู้ว่าจะจัดการยังไงให้สวยๆ
รบกวนด้วยครับผม

21 มกราคม 2012 23:25 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ ผู้หลงใหลในการคำนวณ
เหตุผล: ถามโจทย์เพิ่มอีกข้อ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 22 มกราคม 2012, 07:17
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon20

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ผู้หลงใหลในการคำนวณ View Post
ขอบคุณ คุณ gon มากครับ
ว่าแต่ โจทย์จำนวนเชิงซ้อน ม.ปลาย มันขนาดนี้เลยเหรอเนี่ย
พอดีมีเด็กเอามาถามครับ

ผมรบกวนอีกสักข้อครับ
ถ้า $Z=sin \frac{5\pi }{14}+icos\frac{9\pi}{14}$ แล้ว $\left(\,\right. \frac{1-\overline{Z} }{1+Z}\left.\,\right)^7=? $

ผมจัดได้ $Z=cos\frac{-\pi}{7}+isin\frac{-\pi}{7}$
ส่วนตัว $\left(\,\right. \frac{1-\overline{Z} }{1+Z}\left.\,\right)^7$ นี้ ผมไม่รู้ว่าจะจัดการยังไงให้สวยๆ
รบกวนด้วยครับผม
ถอนคำพูดครับ.

22 มกราคม 2012 22:09 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 22 มกราคม 2012, 20:31
Real Matrik's Avatar
Real Matrik Real Matrik ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 386
Real Matrik is on a distinguished road
Default

น่าจะเป้นข้อสอบสมาคม ม. ปลายปี 53 มั้งครับถ้าจำไม่ผิด
ใช้มุขนี้ครับ
$$1+\cos\theta+i\sin\theta=1+(2\cos^2\frac{\theta}{2}-1)+2\sin\frac{\theta}{2}\cos\frac{\theta}{2}=2\cos\frac{\theta}{2}(\cos\frac{\theta}{2}+i\sin\frac{\theta}{2})$$
$$(1+cis\theta)^n=2^n\cos^n\frac{\theta}{2}cis(\frac{n\theta}{2})$$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 22 มกราคม 2012, 22:08
gon's Avatar
gon gon ไม่อยู่ในระบบ
ผู้พิทักษ์กฎขั้นสูง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 มีนาคม 2001
ข้อความ: 4,608
gon is on a distinguished road
Icon16

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Real Matrik View Post
น่าจะเป้นข้อสอบสมาคม ม. ปลายปี 53 มั้งครับถ้าจำไม่ผิด
ใช้มุขนี้ครับ
$$1+\cos\theta+i\sin\theta=1+(2\cos^2\frac{\theta}{2}-1)+2\sin\frac{\theta}{2}\cos\frac{\theta}{2}=2\cos\frac{\theta}{2}(\cos\frac{\theta}{2}+i\sin\frac{\theta}{2})$$
$$(1+cis\theta)^n=2^n\cos^n\frac{\theta}{2}cis(\frac{n\theta}{2})$$
มุกนี้เยี่ยมมากครับ

ผมขอถอนคำพูดข้างบน คำตอบสวยแล้วครับ แต่ถ้าไม่มีตัวเลือก คงเดาใจยากหน่อยว่าจะตอบยังไงดี

ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 22 มกราคม 2012, 23:00
Real Matrik's Avatar
Real Matrik Real Matrik ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 14 พฤษภาคม 2011
ข้อความ: 386
Real Matrik is on a distinguished road
Default

#6 ให้เครดิตกับสมาคมคณิตศาสตร์ฯ ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 24 มกราคม 2012, 09:14
bell18's Avatar
bell18 bell18 ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 มีนาคม 2003
ข้อความ: 295
bell18 is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Real Matrik View Post
น่าจะเป้นข้อสอบสมาคม ม. ปลายปี 53 มั้งครับถ้าจำไม่ผิด
ใช้มุขนี้ครับ
$$1+\cos\theta+i\sin\theta=1+(2\cos^2\frac{\theta}{2}-1)+2\sin\frac{\theta}{2}\cos\frac{\theta}{2}=2\cos\frac{\theta}{2}(\cos\frac{\theta}{2}+i\sin\frac{\theta}{2})$$
$$(1+cis\theta)^n=2^n\cos^n\frac{\theta}{2}cis(\frac{n\theta}{2})$$
ทั้ง2ข้อนี้ เป็นข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ ม.ปลายปี 52 ครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 28 มกราคม 2012, 00:12
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ผู้หลงใหลในการคำนวณ View Post
$Z_1,Z_2,Z_3$ มีค่าต่างกัน แต่ $\left|\,\right. Z_1\left.\,\right| =\left|\,\right. Z_2\left.\,\right| =\left|\,\right. Z_3\left.\,\right|=2$ และ w เป็นจำนวนเชิงซ้อนซึ่ง $w^3=1$ และ $w\not= 1$ ถ้า $Z_1,Z_2,Z_3$ สอดคล้องกับ $Z_1w^2+Z_2w+Z_3=0$ แล้ว $\left|\,\right. Z_2+3Z_3\left.\,\right| =?$

รบกวนขอวิธีทำด้วยครับ
ข้อนี้มีวิธีทำสวยๆ แนวคิดคล้ายกับ shortlist TMO ปีใดปีหนึ่ง แต่อาจดูยุ่งเหยิงไปนิด

จาก $z_1w^2+z_2w+z_3=0$ คูณ $w$ และ $w^2$ ออกมาเป็นระบบสมการ

$z_1+z_2w^2+z_3w=0$

$z_1w+z_2+z_3w^2=0$

นำสมการแรกลบสมการสองได้ $(1-w)z_1+(w^2-1)z_2+(w-w^2)z_3=0$

หาร $1-w$ ตลอดแล้วจัดรูปจนได้ $z_2-z_1=w(z_3-z_2)$

ถึงตรงนี้ก็เห็นได้ชัดแล้วว่า $|z_2-z_1|=|z_3-z_2|$

ในทำนองเดียวกัน ก็จะได้ว่า $|z_1-z_3|=|z_2-z_1|=|z_3-z_2|$

ซึ่งให้ผลลัพธ์เดียวกันกับพี่ gon ทำไว้คือ $z_1,z_2,z_3$ แต่ละคู่ทำมุมกัน $120^{\circ}$ พอดี (พิจารณาในมุมมองของเวคเตอร์จะเข้าใจง่าย)

ที่เหลือก็คล้ายๆกันครับ
__________________
keep your way.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:04


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha