Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   อสมการ (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=18)
-   -   กระทู้รวมเทคนิคการแก้โจทย์อสมการ (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=2439)

TS_SME 24 พฤษภาคม 2008 21:30

คุณเอาเทคนิคมากจากไหน
ครับ

nooonuii 25 พฤษภาคม 2008 01:42

ประสบการณ์ครับ

The Got_SME 25 พฤษภาคม 2008 13:54

ขอโทษที่เปลี่ยนเรื่องครับ
แต่ผมอยากถามว่าจะทำการ
อ้างอิงยังไงครับ

nooonuii 26 พฤษภาคม 2008 00:39

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ The Got_SME (ข้อความที่ 32855)
ขอโทษที่เปลี่ยนเรื่องครับ
แต่ผมอยากถามว่าจะทำการ
อ้างอิงยังไงครับ

ถ้าเป็นอสมการที่มีชื่อเรียกอยู่แล้วก็สามารถอ้างอิงเลยได้ครับ
แต่ถ้าไม่มีชื่อเรียกเฉพาะอย่างในอสมการกึ่งสำเร็จรูป
ก็ควรแสดงวิธีพิสูจน์ให้ดูด้วย

วิหก 22 กรกฎาคม 2008 14:16

NormalizationandHomogenizationคืออะไรและแปลว่าอะไรครับพี่
รบกวนด้วยครับ

Char Aznable 22 กรกฎาคม 2008 21:58

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ วิหก (ข้อความที่ 36412)
NormalizationandHomogenizationคืออะไรและแปลว่าอะไรครับพี่
รบกวนด้วยครับ

Homogenization ก็เป็นการทำให้อสมการดีกรีเท่ากันทุกพจน์น่ะครับ

วิหก 23 กรกฎาคม 2008 07:01

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Char Aznable (ข้อความที่ 36450)
Homogenization ก็เป็นการทำให้อสมการดีกรีเท่ากันทุกพจน์น่ะครับ

ขอตัวอย่างหน่อยครับ:please::please::please:

nooonuii 23 กรกฎาคม 2008 08:29

$\clubsuit$ Normalization กับ Homogenization เป็นกระบวนการที่ตรงข้ามกันครับ

ทั้งสองอย่างนี้เกี่ยวข้องกับ Homogeneous Function

ขออธิบายเฉพาะสามตัวแปรนะครับ

ให้ $F(a,b,c)$ เป็นฟังก์ชันของสามตัวแปร $a,b,c$ เช่น $F(a,b,c)=a+b+c$

เรากล่าวว่า $F$ เป็น homogeneous function of degree n ถ้า

$$F(\lambda a,\lambda b,\lambda c)=\lambda^nF(a,b,c)$$

ทุก $\lambda$ ที่อยู่ในเซตที่เราสนใจ เช่น จำนวนจริงบวก หรือ จำนวนจริง

ตัวอย่าง $F(a,b,c)=a+b+c$ เป็น homogeneous function degree 1

$F(a,b,c)=a^2+b^2+c^2$ เป็น homogeneous function degree 2

แต่ $F(a,b,c)=a+b+c+1$ ไม่เป็น homogeneous function

ทำไมต้อง homogeneous function ?

ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้

สมมติ $F(a,b,c)=\dfrac{a}{b+c}+\dfrac{b}{c+a}+\dfrac{c}{a+b}$

จะเห็นว่า $F$ เป็น homogeneous function degree 0

สมมติเราสร้างตัวแปรใหม่เป็น

$x=\dfrac{a}{a+b+c}$

$y=\dfrac{b}{a+b+c}$

$z=\dfrac{c}{a+b+c}$

เราจะได้ $x+y+z=1$ และ

$F(x,y,z)=F(a,b,c)$ (why?)

ดังนั้น ค่าสูงสุดและต่ำสุดของ $F(a,b,c)$ กับ $F(x,y,z)$ จะมีค่าเท่ากัน

แต่การหาจาก $F(x,y,z)$ น่าจะดีกว่าเ้พราะเรามีเงื่อนไข $x+y+z=1$ แถมมาด้วย

กระบวนการเปลี่ยนตัวแปรจาก $a,b,c$ เป็น $x,y,z$ นี้เราเรียกว่า normalization ครับ

นี่คือที่มาว่าทำไมเราถึงสามารถสมมติว่า $a+b+c=1$ ในการพิสูจน์อสมการ

$$\dfrac{a}{b+c}+\dfrac{b}{c+a}+\dfrac{c}{a+b}\geq\dfrac{3}{2}$$

ซึ่งจริงๆแล้ว $a,b,c$ ที่สอดคล้องเงื่อนไข $a+b+c=1$ ก็คือตัวแปร $x,y,z$ ที่นิยามตามแบบข้างบนนี่เอง

เราสามารถ normalize ฟังก์ชันได้เยอะแยะมากมายครับ เช่น ให้

$x=\dfrac{3a}{a+b+c}$

$y=\dfrac{3b}{a+b+c}$

$z=\dfrac{3c}{a+b+c}$

เราก็ยังได้ $F(a,b,c)=F(x,y,z)$ เหมือนเดิม แต่คราวนี้ได้เงื่อนไข

$x+y+z=3$ มาแทน

$\spadesuit$ กระบวนการ Homogenization ก็คือการทำอสมการที่มีเงื่อนไข

ให้กลับไปเป็นอสมการของ homogeneous function ที่ไม่มีเงื่อนไขนั่นเอง

เช่น เรามีอสมการ $a+b+c\geq 3$ เมื่อ $abc=1$

เราอาจจะ homogenize ให้เป็น

$a+b+c\geq 3\sqrt[3]{abc}$

ซึ่งก็คืออสมการ $AM-GM$ นั่นเอง

โดยทั่วไป homogenization ทำยากกว่า normalization ครับ

เำพราะเราไม่รู้ว่าจะคืนตัวแปรไปอยู่ส่วนไหนดี แต่หลักๆก็คือ

หลังจาก homogenize แล้ว ฟังก์ชันจะต้อง homogeneous ครับ

The jumpers 29 ธันวาคม 2008 21:52

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nooonuii (ข้อความที่ 17785)
ตามคำแนะนำของ Web Master ครับ
กระทู้นี้เป็นกระทู้รวบรวมเทคนิคการแก้โจทย์อสมการ ใครมีเทคนิคการคิดอย่างไรบ้าง ขอเชิญเข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กันดีกว่าครับ ผมขอเขียนหัวข้อไว้คร่าวๆก่อน แล้วจะเข้ามาเติมในตอนหลัง ใครมีเทคนิคอะไรเพิ่มเติมก็เข้ามาเติมได้เลยครับ :please:

1. การใช้อสมการพื้นฐาน
2. การใช้อสมการสำเร็จรูป/อสมการกึ่งสำเร็จรูป
3. การทำย้อนกลับ/การจัดรูปไปสู่อสมการอื่นที่สมมูลกัน
4. การแทนค่าตัวแปร
5. สมมาตรของตัวแปร
6. การใช้เอกลักษณ์พีชคณิต
ุ7. การแยกกรณี
8. การพิจารณาเงื่อนไขที่ทำให้อสมการเป็นจริง
9. การหาข้อขัดแย้ง
10. Normalization
ุ11. Homogenization
12. การแทนค่าด้วยฟังก์ชันตรีโกณมิติ
13. Calculus
14. อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์

15. การกระจาย:haha:

RoSe-JoKer 13 มกราคม 2009 20:50

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ The jumpers (ข้อความที่ 46706)
15. การกระจาย:haha:

ถ้าเป็นไปได้พยายามอย่ากระจายดีกว่าครับ คุณจะได้เห็นไอเดียดีๆอีกเยอะจากการทำอสมการโดยไม่กระจายนะครับ น้อง The Jumpers

FranceZii Siriseth 14 กุมภาพันธ์ 2015 08:17

ส่วนใหญ่เวลาเราจะ bound ให้มันชิดๆกัน ส่วนใหญ่จะใช้อสมการไหนหรอครับ แบบไม่ให้มัน bound เกิน พอจะมีข้อสังเกตไหมครับ

nooonuii 14 กุมภาพันธ์ 2015 08:40

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ FranceZii Siriseth (ข้อความที่ 176379)
ส่วนใหญ่เวลาเราจะ bound ให้มันชิดๆกัน ส่วนใหญ่จะใช้อสมการไหนหรอครับ แบบไม่ให้มัน bound เกิน พอจะมีข้อสังเกตไหมครับ

ขึ้นอยู่กับโจทย์ครับ มันคือเสน่ห์อย่างหนึ่งของวิชาอสมการเลยนะ เขาจึงชอบเอามาออกเป็นข้อสอบโอลิมปิก

เพราะอะไรที่มันสำเร็จรูปหรือมีวิธีการแน่นอนแล้ว มันไม่มีประโยชน์ที่จะเอามาวัดอัจฉริยภาพของคนครับ

ตอนนี้โจทย์อสมการลดความนิยมลงมากในโจทย์ระดับโอลิมปิกเพราะมีคนคิดสูตรสำหรับพิสูจน์อสมการยากๆได้เยอะขึ้น

นั่นคือมีคนรู้ทัน trick ของการพิสูจน์อสมการมากขึ้น จึงหันมาเล่นสมการเชิงฟังก์ชันแทนซึ่งก็เป็นอีกวิชานึงที่ไม่ค่อยจะมี

ระเบียบแบบแผนอะไรเลยครับ :great:

Pitchayut 03 พฤษภาคม 2015 17:09

แวะมาเพิ่มอสมการกึ่งสำเร็จรูปให้

1. $(a_1+a_2+a_3+...+a_n)^k\leq n^{k-1}(a_1^k+a_2^k+a_3^k+...+a_n^k)$

2. $a_1 \sqrt{b_1}+a_2\sqrt{b_2}+a_3\sqrt{b_3}+...+a_n\sqrt{b_n}\leq \sqrt{(a_1+a_2+a_3+...+a_n)(a_1b_1+a_2b_2+a_3b_3+...+a_nb_n)}$

3. $\dfrac{1}{a_1+b_1}+\dfrac{1}{a_2+b_2}+\dfrac{1}{a_3+b_3}+...+\dfrac{1}{a_n+b_n}\leq \dfrac{1}{4}\left(\dfrac{1}{a_1}+\dfrac{1}{a_2}+\dfrac{1}{a_3}+...+\dfrac{1}{a_n}\right)+\dfrac{1}{4}\left(\dfrac{1}{b_1}+\dfrac {1}{b_2}+\dfrac{1}{b_3}+...+\dfrac{1}{b_n}\right)$

mathwarrior 27 พฤศจิกายน 2015 13:19

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Pitchayut (ข้อความที่ 177741)
แวะมาเพิ่มอสมการกึ่งสำเร็จรูปให้

1. $(a_1+a_2+a_3+...+a_n)^k\leq n^{k-1}(a_1^k+a_2^k+a_3^k+...+a_n^k)$

2. $a_1 \sqrt{b_1}+a_2\sqrt{b_2}+a_3\sqrt{b_3}+...+a_n\sqrt{b_n}\leq \sqrt{(a_1+a_2+a_3+...+a_n)(a_1b_1+a_2b_2+a_3b_3+...+a_nb_n)}$

3. $\dfrac{1}{a_1+b_1}+\dfrac{1}{a_2+b_2}+\dfrac{1}{a_3+b_3}+...+\dfrac{1}{a_n+b_n}\leq \dfrac{1}{4}\left(\dfrac{1}{a_1}+\dfrac{1}{a_2}+\dfrac{1}{a_3}+...+\dfrac{1}{a_n}\right)+\dfrac{1}{4}\left(\dfrac{1}{b_1}+\dfrac {1}{b_2}+\dfrac{1}{b_3}+...+\dfrac{1}{b_n}\right)$

ข้อ 1 กับ 2 มีวิธีที่ไม่ต้องใช้ jensen หรือเปล่าครับ
ข้อ 3 บัคครับ เครื่องหมายในวิธีทำผิด(กลับข้าง):confused::confused::confused:

mathwarrior 27 พฤศจิกายน 2015 13:23

ข้อ 2
 
ข้อสองแค่โคชีก็ออกแล้วครับ ไม่เห็นจะต้องเจนเสนเลย
ป.ล.ทุกข้อนี่ ค่าของตัวแปรเป็นอะไรบ้างครับ ถ้าเป็นจริงลบอสมการจะผิดนะครับ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 04:59

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha