Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=31)
-   -   มาราธอน ม.ต้น (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=12744)

Amankris 03 มกราคม 2011 18:40

อ่าว โจทย์หมด???

Ne[S]zA 03 มกราคม 2011 18:48

จงหาพหุนามดีกรี $n$ ซึ่งสอดคล้องกับ $P(0)=0$ และ $P(1)=P(2)=P(3)=..=P(n)=1$

Cachy-Schwarz 03 มกราคม 2011 19:07

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Ne[S]zA (ข้อความที่ 107266)
จงหาพหุนามดีกรี $n$ ซึ่งสอดคล้องกับ $P(0)=0$ และ $P(1)=P(2)=P(3)=..=P(n)=1$

ให้ $P(x)$ เป็นพหุนามดีกรี n โดยที่ $P(1)=P(2)=...=P(n)=1$
จะได้ $P(1)-1=P(2)-1=P(3)-1=...=P(n)-1=0$
ดังนั้น $p(x)-1=k(x-1)(x-2)(x-3)...(x-n)$
จาก $P(0)=0$ แทนค่าจะได้
$-1=k(-1)(-2)(-3)...(-n)$
$1=kn!$ ----->$k=\frac{1}{n!}$

ดังนั้นจะได้$P(x)=\frac{1}{n!}(x-1)(x-2)(x-3)...(x-n)$
อย่างนี้หรือป่าวครับช่วยตรวจสอบด้วย

Ne[S]zA 03 มกราคม 2011 19:35

ยังไม่ใช่ครับ

~ArT_Ty~ 03 มกราคม 2011 19:45

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ๛Cachy–Schwarz๛ (ข้อความที่ 107268)
ให้ $P(x)$ เป็นพหุนามดีกรี n โดยที่ $P(1)=P(2)=...=P(n)=1$
จะได้ $P(1)-1=P(2)-1=P(3)-1=...=P(n)-1=0$
ดังนั้น $p(x)-1=k(x-1)(x-2)(x-3)...(x-n)$
จาก $P(0)=0$ แทนค่าจะได้
$-1=k(-1)(-2)(-3)...(-n)$
$1=kn!$ ----->$k=\frac{1}{n!}$

ดังนั้นจะได้$P(x)=\frac{1}{n!}(x-1)(x-2)(x-3)...(x-n)$
อย่างนี้หรือป่าวครับช่วยตรวจสอบด้วย

$P(0)$ มันไม่เท่ากับ 0 นี่ครับ

อ่อรู้แล้วครับว่าลืมอะไรไป

~ArT_Ty~ 03 มกราคม 2011 19:47

ใช่ $P(x)=\frac{1}{n!}(x-1)(x-2)...(x-n)+1$ หรือเปล่าครับ

Ne[S]zA 03 มกราคม 2011 19:49

รู้ได้ไงครับว่า $(-1)(-2)(-3)...(-n)$ เป็นจำนวนลบหรือจำนวนบวก

Amankris 03 มกราคม 2011 19:50

#51 เกือบถูกแล้วครับ

Cachy-Schwarz 03 มกราคม 2011 19:52

ต้องเเบ่งออกเป็น2 กรณีเหรอคับ

~ArT_Ty~ 03 มกราคม 2011 19:58

น่าจะเป็น

$$P(x)=\frac{(-1)^{\frac{(n+2)(n-1)}{2}}}{n!}(x-1)(x-2)(x-3)...(x-n)+1$$ :sweat:

Ne[S]zA 03 มกราคม 2011 20:01

$$P(x)=\dfrac{1}{(-1)^{n+1}n!}(x-1)(x-2)(x-3)...(x-n)+1$$

Cachy-Schwarz 03 มกราคม 2011 20:07

ขอบคุณค้าบๆ เชิญตั้งข้อต่อไปเลยคับ

Influenza_Mathematics 03 มกราคม 2011 20:58

ถ้าจำนวนนับ $a$ เขียนในรูปฐานสิบได้เป็น $a=d_1d_2\dots d_n$ และ $$a= d_1^n + d_2^n + \dots + d_n^n$$ แล้วเราจะเรียก $a$ ว่าเป็น narcissistic number
ผลบวกของกำลังสามของเลขโดดสามจำนวนเท่ากับจำนวนเลขสามหลักที่เลขโดดสามตัวนั้นเรียงกันดังตัวอย่าง $1^3 + 5^3 + 3^3 = 153 $ จงหาเลขสามหลักที่มีสมบัติดังกล่าวทั้งหมด :great:

~ArT_Ty~ 03 มกราคม 2011 21:36

ตอนนี้ผมได้ 370 371 153 คาดว่าน่าจะมีอีก

Influenza_Mathematics 03 มกราคม 2011 21:37

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ~ArT_Ty~ (ข้อความที่ 107297)
ตอนนี้ผมได้ 370 371 153 คาดว่าน่าจะมีอีก

แสดงวิธีทำด้วยครับ :)


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 13:04

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha