Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=1)
-   -   ผมพิสูจน์ทฤษฏีบทสุดท้ายของแฟร์มาร์ได้แล้ว (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=23311)

สๅEaมllx'JควๅมxวัJ 22 มิถุนายน 2016 23:07

อยากดูเร็วๆแล้วสิ

อัจฉริยะ 22 มิถุนายน 2016 23:13

้เสร็จนานแล้ว ไม่รู้จะอัพลง arxiv ยังไง เค้าให้มีผู้รับรองด้วยอ่ะ ทำไมยุ่งยากจังแฮะ

ยังไงผมก็ต้องมีหลักฐานให้ได้ก่อนว่า ผมคิดได้เป็นคนแรก ไม่งั้นก็ยังไม่โพสครับ

บทพิสูจน์ผมถูกต้องแน่นอน สวยงามทุกขั้นตอนครับ :D

จะไปจดลิขสิทธิ์ได้มั้ย? ค่อยเผยแพร่

อัจฉริยะ 23 มิถุนายน 2016 15:45

มันให้ใส่ endorse ด้วยอ่ะ ไปต่อไม่ได้ ทำไงดี :please:

อัจฉริยะ 23 มิถุนายน 2016 22:44

มีเว็ปอื่นนอกจาก arxiv มั๊ยครับ ที่มันง่ายๆกว่านี้หน่อย :p

ครูนะ 24 มิถุนายน 2016 17:38

ทฤษฎีบทนี้ กำหนดให้เลขยกกำลังเป็นจำนวนนับ ถ้าไม่ใช่จำนวนนับ ยังไงก็จริงครับ ต้องพิสูจน์ในกรณีที่เลขยกกำลังเป็นจำนวนน้บเท่านั้น เคสที่ยากคือกรณีเลขยกกำลังเป็นจำนวนคี่ กรณีเลขยกกำลังเป็นคู่พิสูจน์ไม่ยากครับ

อัจฉริยะ 24 มิถุนายน 2016 18:55

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ ครูนะ (ข้อความที่ 182021)
ทฤษฎีบทนี้ กำหนดให้เลขยกกำลังเป็นจำนวนนับ ถ้าไม่ใช่จำนวนนับ ยังไงก็จริงครับ ต้องพิสูจน์ในกรณีที่เลขยกกำลังเป็นจำนวนน้บเท่านั้น เคสที่ยากคือกรณีเลขยกกำลังเป็นจำนวนคี่ กรณีเลขยกกำลังเป็นคู่พิสูจน์ไม่ยากครับ

พอจะรู้ช่องทางการเผยแพร่งานวิจัยมั๊ยครับ ผมอยากเผยแพร่บทพิสูจน์นี้

ผมลองเข้า arxiv แล้ว มันติดอ่ะครับ ต้องมี endorsement ด้วย ผมติดตรงนี้ ไปต่อไม่ได้


ส่วนบทพิสูจน์นี้มีคนพิสูจน์กันเยอะเลยครับ แต่ยังไม่มีใครพิสูจน์ได้แบบถูกต้องเลย (นอกจาก แอนดรู ไวล์)

แต่ของผมก็ถูกครับ มั่นใจ พร้อมให้ทุกคนตรวจสอบ

อัจฉริยะ 24 มิถุนายน 2016 19:03

ครั้งหนึ่ง แอนดรู ไวล์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า เค้าไม่เชื่อว่า แฟมาร์ จะพิสูจน์ทฤษฏีนี้ได้จริง เพียงหลอกให้คนเชื่อเท่านั้นเอง

และบอกอีกว่า ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่ 17 ไม่เพียงพอจะสามารถพิสูจน์ทฤษฏีนี้ได้

แต่ผมพิสูจน์ให้ดูแล้วครับ ว่า ''มันทำได้'' จริงๆ :cool: ไม่ได้ใช้ความรู้สูงเลย แต่ต้องใช้ทริคนิดหน่อย

คือมันแก้แบบธรรมดาไม่ได้อ่ะครับ ต้องใช้เทคนิค+จินตนาการ ในการแก้โจทย์ให้มากๆด้วย

สๅEaมllx'JควๅมxวัJ 24 มิถุนายน 2016 22:21

อยากดูแล้วครับ รอๆๆ นาานล่ะๆ

อัจฉริยะ 24 มิถุนายน 2016 22:55

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ สๅEaมllx'JควๅมxวัJ (ข้อความที่ 182024)
อยากดูแล้วครับ รอๆๆ นาานล่ะๆ

ผมก็เสร็จนานแล้วครับ อยากให้ดูเหมือนกัน แต่มันอัพลง arxiv ไม่ได้ :cry:

ไม่ได้อยากยื้อให้มันนานเลยนะ เกิดมีคนคิดได้แบบเดียวกับผม แล้วตัดหน้าก่อน ผมก็อดเป็นคนแรกน่ะสิ :tired:

อัจฉริยะ 24 มิถุนายน 2016 23:11

นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนที่พิสูจน์ FLT แบบสั้นๆ แต่ผมเห็นข้อผิดอยู่นะ :rolleyes:



วิธีนี้ผมเคยพิสูจน์คล้ายๆกัน แต่มันใช้ไม่ได้ มันผิด

Thgx0312555 25 มิถุนายน 2016 00:22

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ อัจฉริยะ (ข้อความที่ 182026)
นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนที่พิสูจน์ FLT แบบสั้นๆ แต่ผมเห็นข้อผิดอยู่นะ :rolleyes:

>> vixra.org/pdf/1204.0040v1.pdf

วิธีนี้ผมเคยพิสูจน์คล้ายๆกัน แต่มันใช้ไม่ได้ มันผิด

วิธีนี้มันผิดตรงไหนเหรอ อยากรู้จริงๆ

อัจฉริยะ 25 มิถุนายน 2016 11:52

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Thgx0312555 (ข้อความที่ 182027)
วิธีนี้มันผิดตรงไหนเหรอ อยากรู้จริงๆ

จะว่าผิดก็ไม่เชิง แต่มันไม่ชัดเจน ในเรื่อง จำนวนอตรรกยะ น่ะครับ

ผมว่าเค้าข้ามขั้นตอนบางอย่างไป

ตอนนี้ผมไม่สะดวกพิมพ์น่ะครับ ทำงานอยู่ เด่วค่อยคุยกัน:D

อัจฉริยะ 25 มิถุนายน 2016 12:47

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Thgx0312555 (ข้อความที่ 182027)
วิธีนี้มันผิดตรงไหนเหรอ อยากรู้จริงๆ

ผมพักกลางวันละ คุยได้ๆ

ลองดูการพิสูจน์จำนวนอตรรกยะ ของค่า K ของเค้าสิครับ ผมว่ามันผิด

ควรที่จะพิสูจน์ค่า K ว่าเป็นจำนวนอตรรกยะจริงๆในทุกค่าของ n

แน่ใจได้ยังไงว่า K คือจำนวนอตรรกยะจริงๆ ?

ถ้าพิสูจน์ว่าค่า K เป็นจำนวนอตรรกยะได้จริงๆ บทพิสูจน์นี้ถึงจะถูกครับ

อัจฉริยะ 25 มิถุนายน 2016 18:02

ค่า K ต้องเป็นจำนวนอตรรกยะนั้นถูกต้องแล้วครับ เพราะถ้าเป็นจำนวนตรรกยะเมื่อไหร่ ล่ะก็ FLT จะผิดทันที ซึ่งมันไม่ใช่

แต่การพิสูจน์ว่าค่า K เป็นอตรรกยะนั้นแหละครับ ยาก ซึ่งจากบทพิสูจน์ดังกล่าวนั้น พิสูจน์ไม่ถูกต้องครับ

มันแก้แบบตรงๆไม่ได้จริงๆครับปัญหานี้ FLT ไม่ได้หมูขนาดนั้น

ไม่งั้นคงไม่มีอายุยาวถึง 350 ปีได้

อัจฉริยะ 26 มิถุนายน 2016 23:21

ยังโพสใน arxiv ไม่ได้เลยครับ ต้องใส่ endorsement :cry: ร้อนวิชาอยากเผยแพร่ ใครก็ได้เป็น endorse ให้ที


ตอนนี้ผมยังแก้สมมุติฐานของรีมันน์ไม่ได้เลยครับ มันยากไป :blood: เลิกคิดไปก่อนดีกว่า ปวดหัว

เลยหันมาพิสูจน์ Goldbach's Conjecture แทน คิดว่าน่าจะง่ายกว่าเยอะ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 10:10

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha