Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบในโรงเรียน ม.ปลาย (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=21)
-   -   โจทย์บางข้อของกสพท.ปี2553 (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=11900)

ดุ๊กดิ๊กคุง 18 มกราคม 2011 22:37

อ๊ากกก :blood:

คิดใหม่ได้คำตอบ $8log2-2log5-5log3+3$
ชี้แนะอีกทีครับ

Amankris 18 มกราคม 2011 22:43

@#76

ลองพิมพ์ solution มาใหม่นะครับ

ดุ๊กดิ๊กคุง 18 มกราคม 2011 22:54

ผมคงรั่วเอามากเลยสินะครับ :wacko:

$2log2+log5+7log15-7log16+5log24-5log25+3log80-3log81$
$2log2+log5+7log5+7log3-28log2+15log2+5log3-10log5+9log2+3-12log3$
$3-2log5-2log2$
$-[(log5^2+log2^2)-3]$
$-(2-3)$
$=1$

คำตอบเปลี่ยนเรื่อยเลย :confused:
ชี้แนะด้วยครับ

Amankris 18 มกราคม 2011 23:16

@#78

ยินดีด้วยครับ ถูกแล้วครับ

ดุ๊กดิ๊กคุง 18 มกราคม 2011 23:39

ขอบคุณครับ :kaka:
กว่าจะได้ ลายตามากเลย :tired:

lek2554 19 มกราคม 2011 01:25

ให้น้องดุ๊กดิ๊กคุง เอาไปอีกวิธี
$log20+7log\frac{15}{16}+5log\frac{24}{25}+3log\frac{80}{81}$

=$log20+log\left(\dfrac{15}{16}\right)^7 +log\left(\dfrac{24}{25}\right)^5 +log\left(\dfrac{80}{81}\right)^3$

=$log\left[20\left(\dfrac{15}{16}\right)^7\left(\dfrac{24}{25}\right)^5\left(\dfrac{80}{81}\right)^3\right] $

แล้วลองทำต่อโดยแยกตัวประกอบ แล้วใช้กฎของเลขยกกำลังนะครับ

ดุ๊กดิ๊กคุง 19 มกราคม 2011 17:39

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ lek2554 (ข้อความที่ 108186)
ให้น้องดุ๊กดิ๊กคุง เอาไปอีกวิธี
$log20+7log\frac{15}{16}+5log\frac{24}{25}+3log\frac{80}{81}$

=$log20+log\left(\dfrac{15}{16}\right)^7 +log\left(\dfrac{24}{25}\right)^5 +log\left(\dfrac{80}{81}\right)^3$

=$log\left[20\left(\dfrac{15}{16}\right)^7\left(\dfrac{24}{25}\right)^5\left(\dfrac{80}{81}\right)^3\right] $

แล้วลองทำต่อโดยแยกตัวประกอบ แล้วใช้กฎของเลขยกกำลังนะครับ

ขอบคุณเช่นกันครับ
วิธีนี้ลายตาน้อยกว่า :)

PaoBunJin 02 สิงหาคม 2011 22:17

ขอขุดกระทู้นิดนะครับ พอดีเข้ามาหาโจทย์เลข กสพท
เสนอวิธีคิดอีกวิธีของข้อ 9 ครับ

$\frac{\sin(9x)+6\sin(7x)+17\sin(5x)+12\sin(3x)}{\sin(8x)+5\sin(6x)+12\sin(4x)}$

$=\frac{(\sin(9x)+\sin(7x))+5(\sin(7x)+\sin(5x))+12(\sin(5x)+\sin(3x)}{\sin(8x)+5\sin(6x)+12\sin(4x)}$

$=\frac{2\sin(8x)\cos(x)+5(2)\sin(6x)\cos(x)+12(2)\sin(4x)\cos(x)}{\sin(8x)+5\sin(6x)+12\sin(4x)}$

$=\frac{(2\cos(x))(\sin(8x)+5\sin(6x)+12\sin(4x))}{\sin(8x)+5\sin(6x)+12\sin(4x)}$

$=2\cos(x)$

อยากได้ข้อสอบฉบับเต็มครับ ใครมีบ้าง

แม่ให้บุญมา 03 เมษายน 2012 11:57

มีคนมาเพิ่งมาบอกผม ว่ามีให้ download อยู่ที่
http://www.unigang.com/Article/5416 คืออันล่างนี้ครับ
http://files.unigang.com/pic/2587.pdf
มี 25 ข้อ 5 หน้าด้วยกัน ช่วยกันเฉลยต่อเป็นวิทยาทานให้เด็กกันดีไหมครับ ผมดูแล้วยากพอสมควร

Relaxation 04 เมษายน 2012 21:31

22.
 
ข้อ 22 . จำนวนเต็ม a,b,c หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษ 1,3,5 ตามลำดับ ข้อใดต่อไปนี้ หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษมากที่สุด

1. $a^2+b^2+c^2$
2. $-a^2+b^2+c^2$
3. $a^2-b^2+c^2$
4. $a^2-b^2-c^2$
5. $-a^2-b^2+c^2$

วิธีทำ
จากสิ่งที่โจทย์บอก จะได้ว่า $a\equiv 1(mod7)$ , $b\equiv 3(mod7)$ และ $c\equiv 5(mod7)$
จะได้ว่า
$a^2\equiv 1^2(mod7)\equiv 1(mod7)$________________(1)
$b^2\equiv 3^2(mod7)\equiv 9(mod7)\equiv 2(mod7)$______(2)
$c^2\equiv 5^2(mod7)\equiv 25(mod7)\equiv 4(mod7)$_____(3)
จาก
ตัวเลือกที่ 1. นำ (1)+(2)+(3) ได้ $a^2+b^2+c^2 \equiv 1+2+4(mod7)\equiv 7(mod7)\equiv 0(mod7)$ ก็คือ เหลือเศษ = 0
ตัวเลือกที่ 2. นำ -(1)+(2)+(3) ได้ $-a^2+b^2+c^2 \equiv -1+2+4(mod7)\equiv 5(mod7)$ ก็คือ เหลือเศษ = 5
ตัวเลือกที่ 3. นำ (1)-(2)+(3) ได้ $a^2-b^2+c^2 \equiv 1-2+4(mod7)\equiv 3(mod7)$ ก็คือ เหลือเศษ = 3
ตัวเลือกที่ 4. นำ (1)-(2)-(3) ได้ $a^2-b^2-c^2 \equiv 1-2-4(mod7)\equiv -5(mod7)\equiv 2(mod7)$ ก็คือ เหลือเศษ = 2
ตัวเลือกที่ 5. นำ -(1)-(2)+(3) ได้ $-a^2-b^2+c^2 \equiv -1-2+4(mod7)\equiv 1(mod7)$ ก็คือ เหลือเศษ = 1
$\therefore$ ข้อที่หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษมากที่สุด คือ ตัวเลือกที่ 2 ครับ

ปล. ผิดพลาดตรงไหนขออภัยด้วยนะครับ

banker 04 เมษายน 2012 22:33

ข้อ 22 . จำนวนเต็ม a,b,c หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษ 1,3,5 ตามลำดับ ข้อใดต่อไปนี้ หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษมากที่สุด

ข้อนี้ผมทำแบบนี้ครับ

จำนวนเต็ม a,b,c หารด้วย 7 แล้วเหลือเศษ 1,3,5 ตามลำดับ

จะได้ว่า a = 1, b=3, c = 5

แทนค่าแต่ละตัวเลือกแล้ว ได้ว่า

ตัวเลือกที่1 หารด้วย 7 ลงตัว เศษ = 0

ตัวเลือกที่2 หารด้วย 7 ลงตัว เศษ = 5

ตัวเลือกที่3 หารด้วย 7 ลงตัว เศษ = 3

ตัวเลือกที่4 หารด้วย 7 ลงตัว เศษ = -5

ตัวเลือกที่5 หารด้วย 7 ลงตัว เศษ = 1

ตอบตัวเลือกที่ 2

เอาง่ายๆแบบนี้แหละครับ ไม่เสียเวลาทำมาก :haha:

แม่ให้บุญมา 12 เมษายน 2012 08:53

9. ในงานเลี้ยงสังสรรค์มีคนเข้าร่วมงาน 50 คน โดยแต่ละคนจะจับมือทักทายกับคนอื่นได้เพีง 3 คนเท่านั้น จงหาว่าในงานเลี้ยงนี้จะมีการจับมือเกิดขึ้นทั้งหมดกี่ครั้ง

วิธีทำ

แม่ให้บุญมา 12 เมษายน 2012 09:00

6. จงหา \[{{f}^{-1}}(x)\] เมื่อ \[f(x)=\frac{{{10}^{x}}+{{10}^{-x}}}{{{10}^{x}}-{{10}^{-x}}}\]

banker 12 เมษายน 2012 09:46

1 ไฟล์และเอกสาร
อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ แม่ให้บุญมา (ข้อความที่ 138235)
9. ในงานเลี้ยงสังสรรค์มีคนเข้าร่วมงาน 50 คน โดยแต่ละคนจะจับมือทักทายกับคนอื่นได้เพีง 3 คนเท่านั้น จงหาว่าในงานเลี้ยงนี้จะมีการจับมือเกิดขึ้นทั้งหมดกี่ครั้ง

วิธีทำ


ตรวจสอบสูตรด้วยจำนวนคนน้อยๆคน ดังรูป

Attachment 8690

Suwiwat B 12 เมษายน 2012 11:18

ข้อ 9. มองเป็นทฤษฎีกราฟก็ได้ครับ โดยมองว่าคนทุกคนเป็นจุดยอดเเละเเต่ละคนต้องมีเส้นเชื่อม 3 เส้นพุ่งออกมาจากจุดนั้น หมายความว่า ทุกจุดยอดต้องมีดีกรี 3 ให้ L เเทนจำนวนครั้งของการจับมือ
จาก $\sum_{k = 1}^{n}deg(a_k) = 2L $
$3 x 50 = 2L$
$L = 75$


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 13:23

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha