Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ฟรีสไตล์ (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=6)
-   -   ท่านมีความคิดเห็นอย่่างไรเกี่ยวกับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=10280)

หยินหยาง 11 มีนาคม 2010 23:02

ท่านมีความคิดเห็นอย่่างไรเกี่ยวกับระบบการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย
 
กติกาคือ ห้ามด่า ห้ามใช้คำผรุสวาท แต่ถ้าอัดอั้นมาก จะเหน็บ จะเสียดสี ประชดประชันเพื่อให้เกิดสีสรร ไม่ว่ากันครับ:)
และถ้าวิจารณ์ เสนอความคิดเห็นและสิ่งที่ควรจะเป็นได้ด้วยละก็ สุโค้ย ครับ:great:

เอกสิทธิ์ 11 มีนาคม 2010 23:07

o-net มีสอบวิชาคณิตศาสตร์หรือเปล่าครับ มันสอบอะไรบ้าง ที่เห็นในทีวี คล้ายจะเป็นวิชาสังคม การงานพื้นฐานอาชีพ ภาษาไทย (การอ่าน) อะไรทำนองนั้น ใครรู้ช่วยตอบทีครับ

เพิ่มเติมครับ ถ้าข้อสอบ 0-net มีแต่ข้อสอบตามแนวที่ออกทีวี ถือว่าการออกข้อสอบคัดคนเข้ามหาวิทยาลัยค่อนข้างไร้สาระมาก ๆ ๆ ๆ เลยครับ
แต่ถ้ามีหลายนวิชาผมมองว่าปกติครับ ตอนผมสอบเอ็นทรานซ์ยังมีคนเอนติดวิศวะเพราะวิชาภาษาไทยและสังคม กับวิชาภาษาอังกฤษ เลย

passer-by 12 มีนาคม 2010 07:10

ผมจะไม่เน้น ประเด็นที่ถกเถียงตามรายการโทรทัศน์แล้วกันครับ เพราะพูดกันไปเยอะแล้ว

ขอเน้น 1-2 อย่างเกี่ยวกับข้อสอบบาง paper ที่ผมเห็นแล้วขัดใจมากคือ....

1. ผมไม่เข้าใจว่าทำไม ต้องมีการสอบ GAT เชื่อมโยง ซึ่งผลที่ตามมา คือ ผมเห็นเด็กแห่ไปเรียนพิเศษ GAT เชื่อมโยงมากขึ้น แล้วมันจะแก้ปัญหาเด็กไปเรียนนอกระบบได้อย่างไร

2. หลังจากที่ผมเห็นข้อสอบ pack 5 : สุขศึกษา พลศึกษา การงาน ศิลปะ ดนตรี แล้วผมมี 2 ความรู้สึก คือ ใครมันจะไปทำทัน กับ ใครมันจะไปรู้หมดทุกอย่างที่เขาถาม (กล้ามเนื้อสีแดง สีขาวคืออะไร ผมก็เพิ่งเคยเห็นในข้อสอบครั้งนี้แหละ)

คำถามบางอย่าง น่าจะเก็บไว้ให้พวก สอบเอกดนตรี เอกศิลปะ จะเหมาะกว่า

แต่ถ้า สทศ. บอกว่า เป็นไปตามหลักสูตร ถ้าจะโทษ ต้องไปโทษคนเขียนหลักสูตร

ผมก็จะถามต่อไปว่า

- หลักสูตรต้องการจากเด็ก ม.ปลาย มากเกินไปมั้ย (ผมจำได้ว่า รุ่นผมศิลปะ ดนตรี พอถึง ม.ปลาย มันก็เป็นเหมือนวิชาเลือกเสรี ออกมาในรูปแบบชมรม ชุมนุมมากกว่า และอีกประเด็น คือรุ่นผมไม่มีสอบ ดาราศาสตร์ แต่รุ่นนี้มี)

- เด็กที่จะเอนทรานซ์สายวิทย์ จำเป็นต้องรู้ ศิลปะ ดนตรี ในระดับที่เข้มข้นขนาดนี้เลยหรือ และสิ่งที่ตามมา จากการที่จำนวนวิชามากขึ้น ก็คืองานจะมากขึ้น สอบกลางภาค-ปลายภาคมีน้ำหนักคะแนนลดลง เกรดเฟ้อขึ้น เวลาอ่านหนังสือวิชาอื่นน้อยลง (มันดีแล้วหรือ....)

- เราบังคับให้โรงเรียนทั่วประเทศ เรียนกีฬาแบบเดียวกันไม่ได้ มันขึ้นกับโรงเรียน ขึ้นกับท้องถิ่น ขึ้นกับจำนวนคนสอน เพราะฉะนั้น จะมาเลือกออกข้อสอบแต่กีฬาตามใจคนตั้งโจทย์ เหมือนใน onet ครั้งนี้ ก็ไม่ค่อยแฟร์เท่าไหร่

ผมว่า อะไร ลดได้ ตัดได้ ขยับได้ ทั้งในหลักสูตร และในข้อสอบ ก็ทำกันบ้างเถอะครับ ไม่งั้นยิ่งแก้หลักสูตร อาจจะยิ่งแย่ขึ้น

p.s. ไม่แน่ใจว่า ผมทำผิดเจตนาคนตั้งกระทู้นี้หรือเปล่า เพราะคำว่า ด่า กับแสดงความเห็น ดูเหมือนจะแค่มีเส้นบางๆคั่นอยู่เท่านั้น:laugh:

หยินหยาง 12 มีนาคม 2010 14:33

#3 ไม่ได้ผิดเจตนาเลยครับ และคำด่าก็ไม่มี แถมยังได้เนื้อหาสาระซะอีก :great:
ที่ผมตั้งกระทู้นี้เพราะในส่วนตัวผมคิดว่าระบบการศึกษาของไทยยิ่งแก้ยิ่งยุ่งและมีปัญหามาก ผมจึงอยากสะท้อนความคิดเห็นต่างพร้อมเหตุผลเพื่อให้นักการศึกษาหรือใครที่มีส่วนผลักดันทางด้านการศึกษาไทยได้รับรู้และมีสติที่จะเปลี่ ยนแปลงและแก้ไข ผมเห็นปัญหาตั้งแต่พยายามใช้แนวคิดการสอนแบบบูรณการเข้ามาอยู่ในหลักสูตร ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีตามความเห็นผมแต่ปัญหาก็คือขาดบุคคลากรที่มีความรู้ และยังทำให้ความห่างทางด้านการศึกษายิ่งห่างไปอีกโดยเฉพาะโรงเรียนในต่างจังหวัด
ผมขอแสดงความคิดเห็นเป็นเรื่องๆ เพื่อให้ง่ายในการเห็นปัญหา และอาจไม่ได้แสดงความเห็นทั้งหมดในวันเดียว ทั้งนี้เพื่อให้ท่านอื่นร่วมแสดงความเห็นด้วย

1. หนังสือยืมเรียน เจตนาดีเพื่อที่จะลดภาระให้กับคนยากจนที่ไม่มีกำลังทรัพย์ แต่ไม่ได้คำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าระบบการศึกษาจะมีการวัดผลเป็นช่วงชั้น และการสอบเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องใช้ความรู้ทั้งช่วงชั้นในการสอบ เพราะหนังสือยืมเรียนพอขึ้นชั้นใหม่ต้องคืนเพื่อให้รุ่นต่อไปได้เรียน ผมก็ยังสงสัยว่าพอถึง ม.6 แล้วจะเอาหนังสือ ม.4-5 ที่ไหนมาทบทวน ทำไมไม่ให้ยืมเรียนเป็นช่วงชั้น คือให้ยืมเรียนเป็นช่วงชั้นคือ 3 ปีไปเลย เด็กจบ ป.6 ม.3 หรือ ม.6 จะได้ไม่มีปัญหา อีกอย่างการบันทึกหรือการจดย่อก็ถูกห้ามอีกในบางโรงเรียน ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกของการเรียนหนังสือ ผมก็เลยไม่เข้าใจว่าคนคิดใช้อะไรคิด หรือเค้าไม่มีลูกหลานที่จะต้องไปสอบเข้าที่อื่นหรือมีก็ใช้สิทธิพิเศษเข้าได้เลยมั้ง จึงไม่ได้คำนึงถึงข้อนี้

2. จำเป็นด้วยหรือที่ต้องเรียน ม.6 การสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยนั้นมีการคัดเลือกได้หลายทางหลายรูปแบบ ตั้งแต่รับตรง โควต้า แอดมิชชั่นกลาง ในกรณีรับตรงหรือโควต้าที่แต่ละมหาวิทยาลัยรับกันเอง จะเปิดให้สมัครช่วงเดือน กค.-สค. และประกาศผลประมาณเดือน พ.ย. เด็กจะต้องวิ่งรอกไปสมัครแต่ละมหาวิยาลัย และสอบแต่ละที่ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเปลืองโดยสิ้นเชิง อีกอย่างก็ใ้ห้มีการสอบ แกะ-แพะ (GAT_PAT) ปีละ 3 ครั้ง ซึ่งเมื่อก่อนให้สอบตั้งแต่ ม.5 พึ่งมาคิดได้ว่าคงเดินผิดทางก็เลยเปลี่ยนใหม่ตั้งแต่ปีการศึกษาหน้าให้สอบเฉพาะ ม.6 ลองคิดดูว่า ถ้าให้เด็ก ม.5 สอบได้ เด็กจะเอาความรู้ ม.6 จากที่ไหน สรุปก็คือผู้มีอันจะกินก็ไปเรียนพิเศษ ผมถึงบอกว่ายิ่งแก้ปัญหาการศึกษาโดยที่เคยบอกว่าเป็าหมายหนึ่งของการแก้ระบบการศึกษาก็คือจะทำให้พวกโรงเรียนกวดวิชาทั้งหลายหมดไป แต่ยิ่งทำยิ่งขยายสาขา และการให้มีการสอบหลายครั้งก็เป็นอีกเรื่องในระบบการแข่งขันที่ผมเห็นว่าไม่เกิดความเป็นธรรม เพราะเท่าที่เห็นมาตัวข้อสอบของแต่ละครั้งมีข้อผิดพลาดมาก อย่างเช่นถ้าจำไม่ผิดของการสอบเมื่อปีที่แล้วมีอยู่ครั้งหนึ่งในการ สอบ แพะ 4 กับแพะ 5 ให้คะแนนฟรีไปตั้ง 30 คะแนน มันจะวัดกันได้อย่างไร และยังไม่นับที่มีการออกข้อสอบผิดพลาดหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งก็มีการวิจารณ์ในกระทู้ของ math center ก็มี นี่ยังไม่นับรวมระดับของความยากในการสอบแต่ละครั้ง ถ้าคนที่เคยสอบ แพะ-1 ครั้งแรกสุดจะรู้ว่าข้อสอบง่ายกว่าครั้งหลังๆมาก การจัดสอบลักษณะนี้ควรเป็นข้อสอบที่ได้มาตรฐานเหมือน ข้อสอบ toefl และคะแนนที่ได้ก็เป็นส่วนประกอบเท่านั้นไม่ใช่ชี้เป็นชี้ตาย กลับมาเข้าเรื่องที่ให้ตรงกับหัวข้อดีกว่า จะเห็นว่าเด็ก ม.5 หรือ ม.6 ทีสอบครั้งแรกคือเดือน กค. ต้องไปเรียนพิเศษเพื่อให้มีความรู้ ม.6 ยิ่งถ้าได้คะแนน แกะ-แพะ สูงด้วยแล้วไม่ต้องพูดถึงการเรียนที่โรงเรียนเลย และถ้ายื่นรับตรงผลออกมาว่าติด ก็จบกันไม่รู้จะเรียน ม.6 ไปทำไมเพราะหลายโรงเรียนก็สอนน่าเบื่อยู่แล้วไม่เชื่อก็ไปถามเด็กที่เรียนพิเศษดูครับ
ขอพอแค่นี้ก่อน มีเวลาเดี๋ยวจะมาต่อให้ครับ:nooo::sweat:

-SIL- 12 มีนาคม 2010 14:56

นานเท่าไหร่แล้วไม่รู้ที่ความศรัทธาในระบบการศึกษาไทยหมดไป :)

gon 12 มีนาคม 2010 15:26

ปัญหาด้านการศึกษามันมีหลายตัวแปรเยอะจัดครับ ถ้าจำไม่ผิด ผมกับ Top เคยถกกันเรื่องนี้เมื่อประมาณสิบกว่าปีก่อน :rolleyes: ตอนนั้นกำลังไฟแรงครับ ได้ข้อสรุปว่าไม่สามารถแก้ได้ อีกเรื่องก็คือ ไม่ต้องคาดหวังว่า ผู้ใหญ่ที่เราเห็นหรือรู้จักตอนนี้จะสามารถแก้อะไรได้ ถ้าคิดจะแก้หรืออยากจะทำอะไร ต้องลงมือทำด้วยตัวเองเท่านั้นครับ สิ่งที่เรารู้หรือเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องใดควรไม่ควร คนที่มีอำนาจในเรื่องนี้กลับทำให้มันอิรุงตุงนังขึ้นไปอีก

ผมเห็นเรื่องแบบนี้จนชาชิน :o จึงไม่เขียนแสดงความคิดเห็นเรื่องนี้ที่ไหนอีก ไว้ถึงเวลาถ้าเรามีอำนาจเข้าไปจัดการตรงนั้นได้(สมมติ) เราก็จัดการโละเลยครับ :yum: การแสดงหรือระดมความคิดเห็นเป็นเรื่องที่ดี แต่ความคิดเห็นที่ดีต้องมีผู้นำไปปฏิบัติ ถ้าเรานั่งคิดเขียนพิมพ์ แล้วก็จบ ไม่มีคนทำ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมก็จะไม่เป็นไปตามที่เราอยากให้เป็นครับ ซึ่งมันก็วนลูปไปเรื่อย ๆ จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง ในทางปฏิบัติจริงก็อย่างเช่น บางคนอาจจะตั้งเป้าไว้ว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีอำนาจในการจัดการศึกษาในบ้านเรา แล้วมุ่งตรงไปทางนั้น เป็นต้นครับ. :great:

nooonuii 12 มีนาคม 2010 22:23

ให้ $f(t)=$ มาตรฐานการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ณ เวลา $t$

Theorem : $\displaystyle{\lim_{t\to\infty}f(t)=0}$

Proof : ................. :sung:

หยินหยาง 12 มีนาคม 2010 23:41

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณ gon ครับ แต่ผมถือคติที่ว่าถ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แล้วแม้จะไม่สำเร็จก็ทำครับ

สำหรับท่าน nooonuii การที่จะพิสูจน์ทฤษฎีบทของ ท่าน nooonuii คงต้องรู้จัก lemma นี้ก่อนครับ

$\displaystyle{\lim_{t\to x}f(x)=0} ,\forall x$

KizPer 13 มีนาคม 2010 13:00

จากการที่อ่านกระทู้เกี่ยวกับ Pat2 (รอบ4 ที่ผ่านมา ซึ่งผมไม่ได้สอบ) + การฟังเพื่อนๆเล่า
รู้สึกข้อสอบเคมี จะออกถึง Organic Chem. กันเลยทีเดียว(ซึ่งบางบอร์ด บอกว่า คนออกข้อสอบ คือ อ.สอนคณะวิทยาศาสตร์ เคมี ของจุฬา)
และข้อสอบ ปลายภาค ของปี 1 ก้เหมือนกับ Pat2 เป้ะ ๆ
ผมนึกภาพไม่ออกเลยว่า ต่อไป การกวดเด็กไทยจะกวดวิชากันล่วงหน้าไปถึงมหาลัยกันเลย จะเป็นอย่างไรบ้าง

Little Penguin 13 มีนาคม 2010 13:27

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง (ข้อความที่ 81925)
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณ gon ครับ แต่ผมถือคติที่ว่าถ้าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์แล้วแม้จะไม่สำเร็จก็ทำครับ

สำหรับท่าน nooonuii การที่จะพิสูจน์ทฤษฎีบทของ ท่าน nooonuii คงต้องรู้จัก lemma นี้ก่อนครับ

$\displaystyle{\lim_{t\to x}f(x)=0} ,\forall x$

จริงๆถ้าอันนี้เป็นจริงล่ะก็... $f(x)=0 \forall x$ แล้วล่ะครับ

Jew 13 มีนาคม 2010 16:43

เท่าที่ดูข้อสอบ onet
ปีนี้ผมว่ามันตอบได้หลายคำตอบมากเลยนะครับเนี่ย
ข้อสอบแนววิเคราะห์มันแนวนี้เหรอครับ?
มันวัดเด็กได้จริงๆเหรอครับ
ในความคิดของผม
ENtrance ดีสุดครับ

Siren-Of-Step 13 มีนาคม 2010 16:50

ระบบเก่าอะครับ ที่ไม่ต้องมี GAT PAT Onet อะไรเนี่ย
ผมอยากจะบอกอย่างนึงว่า " การศึกษามันผิดมาตั้งแต่ต้นแล้ว "

LightLucifer 13 มีนาคม 2010 18:53

รบกวนใครก็ได้ครับ ช่วย plot กราฟ ของฟังก์ชัน ที่คุณ nooonuii เขียนไว้ที่ครับ ^^

ผมว่าการศึกษามันมีหลายตัวแปรนะครับ ทั้ง สภาพสังคม เศรษฐกิจ และค่านิยมนะ

เรื่องที่จะแก้ไขต้องแก้ตั้งแต่พื้นฐานชีวิตครับ ไม่ใช่ไปแค่ที่ ระบบ และ โรงเรียน

nooonuii 13 มีนาคม 2010 22:15

ผมไม่รู้ว่าวิชาอื่นเขามีปัญหาอะไรบ้าง

ขอพูดถึงเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ก็แล้วกัน

มีปัญหาหนึ่งที่ผมคิดว่าควรแก้กันได้แล้วเพราะเรื้อรังมานานหลายปี

นั่นคือข้อผิดพลาดของข้อสอบ ผมว่าแก้ได้ไม่ยากเลย แค่เพิ่มความระมัดระวัง

และตรวจทานให้รอบคอบก่อนเอาข้อสอบไปพิมพ์แค่นั้นเอง

ถ้าจะให้รอบคอบมากขึ้น ทีมออกข้อสอบจะต้องมีอย่างน้อยสองคน

คนนึงออกข้อสอบ อีกคนจะเป็นคนเช็คความถูกต้องของข้อสอบ

โดยการเอาข้อสอบมานั่งทำด้วยตัวเอง จะได้เห็นข้อผิดพลาดชัดเจนขึ้น

ผมว่าใช้เวลาตรวจทานตรงส่วนนี้แค่วันเดียวก็เสร็จ

แต่กระบวนการตรงส่วนนี้มันซับซ้อนซ่อนเงื่อนขนาดนั้นเลยเหรอถึงแก้กันไม่ได้

เสียงบ่นจากข้อผิดพลาดนี้มีทุกปี เสียงเหล่านี้ไม่สะท้อนเข้าหูผู้ที่เกี่ยวข้องเลยเหรอ

หรือคิดกันแค่ว่าข้อสอบผิดก็แจกคะแนนให้เด็กฟรีๆแล้วก็จบกันไป

แต่คุณจะรู้กันไหมหนอว่าข้อสอบผิดๆเหล่านี้มันวัดอะไรไม่ได้เลย

แถมยังทำให้การวัดผลโดยรวมผิดพลาดด้วย เพราะเด็กต้องเสียเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

กับข้อสอบผิดๆเหล่านี้ :rolleyes:

ป.ล. กราฟของ $f(t)$ น่าจะวาดได้ไม่ยากครับ แต่ผมคงไม่กล้านำมาเสนอ

เพราะเห็นแล้วมันสะเทือนใจ :laugh:

หยินหยาง 14 มีนาคม 2010 00:10

ก่อนที่จะแสดงความคิดเห็นต่อ ขออนุญาตให้รู้ถึงความหมายของคำต่างๆ ที่มีในเว็บหรือกระทู้อื่นได้แสดงไว้เพื่อให้สะท้อนบางสิ่งบางอย่างครับ

entrance & admission
http://writer.dek-d.com/yod_tong/sto....php?id=423166
http://entrance1.blogspot.com/2008/03/admission.html
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=830322

ความหมายของ สทศ.
http://dek-d.com/board/view.php?id=1605203

ส่วนกราฟ f(t) ของท่าน nooonuii ที่บอกว่าวาดได้ไม่ยาก ก็คงจริงครับ แต่ผมดูทีไรไม่เห็นสะเทือนเลยนิครับ เพราะมันก็คือ แกน x ดีๆนี่เอง:D
ขอต่อเลยนะครับ

3. O-NET(โอ้ ลา ล้า การศึกษาของไทย) มีไว้ทำอะไรเมื่ออ่านความคิดเห็นต่อไปนี้แล้วอาจจะรู้ว่ามีไว้ทำอะไรก็ได้นะครับ ทั้งคุณ nooonuii และคุณ passer-by ได้แสดงความคิดเห็นถึงคุณภาพของข้อสอบไว้แล้วว่ามันแย่อย่างไร ผมคงไม่ต้องไปพูดอีก แต่ขอพูดนิดเดียวครับในกรณี o-net เลขปีนี้ซึ่งผมก็ยังไม่ได้ดูทั้งหมดผมดูแค่ข้อเดียว ก็บอกได้เลยเซ็งมากๆๆๆๆๆๆ พาลไม่ดูต่อเพราะไม่รู้ว่าจะไปเจออะไรอีก ที่เป็นข้อ $(-1)^{0.2} ,(-1)^{0.4},(-1)^{0.8},(-1)^0$ แล้วถามว่าค่าใดที่มีค่าแตกต่าง อยากจะบอกว่าใครเป็นคนออกข้อนี้ออกได้อย่างไร ที่ผ่านมาข้อสอบถ้าผิดพลาดคือโจทย์ทำแล้วไม่มีคำตอบในตัวเลือก แต่ข้อนี้ไม่ใช่มันผิดหลักคิดแบบรับไม่ได้จริงๆ ผมได้วิจารณ์ข้อนี้ในกระทู้หนึ่งแล้ว ผมเคยเห็นงานวิจัยของ สทศ. วิเคราะห์ตัวข้อสอบแต่ละข้อว่ามีคนทำได้ทั้งหมดกี่คนซึ่งโดยปกติของการออกข้อสอบผู้ออกข้อสอบที่ดีต้องบอกได้ว่าข้อนี้ออกเพื่อต้องการว ัดอะไรหรือต้องการทดสอบว่าเด็กเข้าใจเรื่องอะไร ดังนั้นงานวิจัยนี้น่าจะช่วยได้มากว่าเด็กยังไม่เข้าใจตรงไหน แต่ทุกปีก็มีงานวิจัยออกมาแต่ไม่เห็นว่ามีอะไรดีขึ้นแถมยังออกมาแก้ตัวแบบ...ถ้าใครได้ดูรายการวู๊ดดี้ ก็จะเห็นได้ จริงๆเรื่องนี้ไม่ใช่บอกว่าแค่มีหลักสูตรแล้ว เป็นหน้าที่ของครูผู้สอนต้องสอนให้ตรงหลักสูตร ผมว่าพูดง่ายไป ผมว่าน่าจะลองให้ครูที่สอนสอบข้อสอบชุดเดียวกันกับเด็กดูซิ ดูว่าครูจะเข้าใจหลักสูตรและเนื้อหาสาระของหลักสูตรมั้ย และที่ตลกไปกว่านั้นอ้่างว่าจะนำข้อมูลนี้ไปปรับปรุงโรงเรียนที่เด็กนักเรียนทำคะแนนโอเน็ตได้น้อย ซึ่งข้อมูลที่ได้รับสำหรับชั้น ม.ต้น นั้นบางโรงเรียนครูไม่ได้คุมเด็ก ปล่อยให้เด็กลอกกันก็มี หรือบางทีช่วยใบ้ให้ก็มี แล้วจะวัดไปทำไม ถ้ามาถึงตรงนี้ผมก็คงเข้าใจว่า โอเน็ตมีไว้ทำให้มันวุ่นไง หรือไม่ก็มีไว้ให้ทำใจ หรือแล้วแต่จะคิดก็ได้ครับ และเป็นเรื่องที่ตลกมากทาง สทศ.ออกสรุปสัมนาเชิงวิชาการรูปแบบข้อสอบ โอเน็ต ตามลิงค์ที่ให้ไว้ข้างล่าง ลองดูก็แล้วกัน ผมยังงอยู่ว่าเค้าไม่ได้ยินเสียงสะท้อนเลยหรือ ถึงได้สรุปออกมาเป็นอย่างนี้ มิน่าละ ถึงได้มีคำย่อของ สทศ. ตามที่ได้มีคนให้ไว้
http://img359.imageshack.us/img359/1697/123.pdf

nooonuii 14 มีนาคม 2010 01:46

เรื่อง misconception หรือ ความผิดพลาดเกี่ยวกับเนื้อหาวิชานี่น่าเกลียดมากครับ

หมดเรื่องคุยตรงส่วนนี้ ถ้าไม่แก้ไขก็ไม่รู้จะว่าอะไรแล้วล่ะครับ

Keehlzver 14 มีนาคม 2010 04:20

ตลอดเวลาที่ผ่านมาผมก็เพิ่งรู้เพิ่งเห็นว่าระบบนี้มันไม่ดีตอนที่มีการถกกันขึ้นในกระทู้นี้เเหละครับ ไม่เช่นนั้นก็คงไม่รู้ไปตลอดเลยว่าระบบมันไม่โอเคขนาดนี้

ผมดู lemma ของคุณหยินหยางเเล้วนั้นหมายความว่ามันเป็นศูนย์ทุกจุดตราบเท่าที่ $t$ ยิ่งเข้าใกล้ $x$ โดยส่วนตัวผมคิดว่าระบบเอนทรานซ์เเบบรับตรงที่เเต่ละวิชาเต็ม 100 ก็น่าจะเวิร์กกว่า อีกอย่างปกติผมไม่ดูทีวี ถ้ามีการประชาสัมพันธ์เรื่องการสอบ ทำผ่านโรงเรียนดีกว่าครับ หากเเต่ว่าทุกครัวเรือนจะมีทีวีเเละรับหนังสือพิมพ์จริงๆ

ปกติผมจะไม่ตอบหรือเเสดงความเห็นกับกระทู้ที่ไม่มีคณิตศาสตร์มาเกี่ยวเเบบที่เป็นความรู้จริงๆ เเต่การที่ผมมาตอบเเบบนี้อยากจะให้ผู้ที่มีอำนาจที่ได้เข้ามาดูการถกกันในครั้งนี้ได้ทราบว่าผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่มีความเห็นตามที่ได้ถกกันไว้ครับ ซึ่งผมไม่อยากให้ปัญหาเเบบนี้เกิดขึ้นกับผมในอนาคต

cenia 23 มีนาคม 2010 05:00

ถ้ามาตอบตอนนี้ยังทันไหมนี่ ...

ในส่วนของข้อสอบเชื่อมโยงของ GAT นั้น ส่งผลหลายกระทบกันเลยทีเดียว เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ถ้าจะเรียนต่อทางคณะแพทยศาสตร์และทันตแพทยศาสตร์ ทางที่จะเข้าได้ไม่ลำบากสักเท่าไหร่นัก (?) คงจะเป็นการสอบ กสพท. ซึ่งมีข้อสอบเชื่อมโยงอยู่ด้วย

ซึ่งในสมัยก่อนๆ นั้น ข้อสอบเชื่อมโยง ถือเป็นข้อสอบที่ วัดอนาคตการเ็ป็นหมอได้เลยทีเดียวนะครับ (อันนี้รุ่นพี่เล่ามา) เพราะว่าเป้นข้อสอบแบบที่เด็กไม่เคยเจอมาก่อน มีวิธีทำที่พิสดารมากๆ ใครสามารถทำได้นี่ มีโอกาสติดสูงเลยทีเดียว

แต่เมื่อมี GAT พาร์ทเชื่อมโยงเข้ามา ,,, แน่นอน คนได้เต็ม 100 กันเยอะมาก ทำให้คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นจากปีก่อนที่มี GAT-PAT อยู่เล็กน้อย ส่วนคะแนนต่ำสุด และสูงสุดยังคงอยู่ในพิสัยเดิม


เรื่อง Pat ... ส่วนอื่นผมคงไม่วิจารณ์อะไรมากครับ นอกจากคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะสอบอยู่สองวิชาเท่านั้น

คณิตศาสตร์ ถ้าได่สอบครั้งแรก ก็พอทราบได้ว่า ครั้งแรกง่ายที่สุด แต่ตอนสอบ ผมยังตะลึงกับข้อสอบอยู่ครับ เลยทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร (ตอนเข้าไปสอบ ความรู้เท่าหางอึ่ง เนื้อหาม.6 ก็เยอะอยู่ บวกกับพึ่งขึ้นม.6 มา ยังไม่มีความรู้เลย) และพอมาสอบครั้งที่สาม มีอัตนัยมาด้วยซะงั้น แต่เราก็ไม่บ่นอะไรมากมาย เพราะถึงเป็นปรนัย ถ้าเลขมันใกล้เคียงกันมากๆ เราก็ต้องหาคำตอบที่แน่นอน เราก็คิดซะว่า เรากำลังทำข้อสอบปรนัยอยู่แล้วกัน ^^

แต่ปัญหานั้น อยู่ที่ว่า การฝนนั่นเอง จะให้่ฝนตั้ง 6 หลักเชียวหรือ (จริงๆ PAT1 ครั้งที่ 1 ปี 2553 สามารถฝนเพียง 4 ช่ิองหน้าก็ได้ ไม่ต้องฝนทศนิยม (หากทศนิยมนั้นเป็น 00) แต่เขาก็ไม่แจ้งออกทางหน้าเว็บ) มันเยอะไป เสียเวลาฝนมากครับ Y Y ทำเอาคิดไม่ทันกันเลยทีเดียว

ในส่วนของวิทยาศาสตร์ ก็ ขอบอกคำเดียวว่า ยากเกินไปมากๆครับ ในส่วนของชีววิทยา ฟิสิกส์ และวิทย์กายภาพ อันนี้ ยังพอถูไุถ ไม่ได้เพราะชอบหรืออะไร แต่รู้สึกว่า ตรงกับเรื่องที่เรียนในชั้นเรียนมากที่สุด

แต่เมื่อได้มาพบเจอกับเคมี .... ก็ต้องขอยอมแพ้กันไปตามๆกัน เนื่องจากระดับความยากมัน เกินจากที่ตัวผมเองเคยเรียนในชั้นเรียน (รวมถึงที่เรียนพิเศษด้วย) เช่น ให้โครงสร้างยาพาราเซตามอน มา แล้วถามว่า ถ้านำไปทดสอบกับสารต่างๆจะได้ผล"อย่างไรบ้าง" เจอแบบนี้คงอุทานในใจว่า


"ดอกเตอร์เลยทีเดียว" :)

ปล.มาช้าไปไหมเรา

ครูนะ 01 เมษายน 2010 06:20

ตอนนี้ระบบการศึกษาไทยเป็นอะไรไปแล้ว เละมากครับ

ไอ้ที่ว่า ลิมิต f(t) t เข้าสู่อินฟินิตี้ = 0 ไม่ต้องพิสูจน์ เพราะมันเป็นสัจพจน์ที่เป็นจริงเสมอ

ผมเห็นระบบการศึกษาไทย แล้วอยากจะอาเจียน โดยเฉพาะพวก..... ทำจนเละ พวกนี้ไม่รักและสนใจเยาวชนของชาติเลยครับ

ครูในระบบการศึกษาไทย ผมสงสารมากครับ อยากจะร้องไห้ ท่านถูกระบบบีบจนจะแย่อยู่แล้ว และเงินเดือนก็น้อยนิด รวมทั้งถูกบังคับให้ทำอะไรไร้สาระ

ไม่เข้าใจเลยว่าจะทำลายสมองของประเทศไทยทำไมกัน

ปัญหาพวกนี้ถูกเชื่อมโยงกับระบบโครงสร้าง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงแนวคิดของคนในประเทศ

MirRor 01 เมษายน 2010 11:37

http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1594460

อันนี้เป็นอีกหนึ่งบทสัมภาษณ์ อ.อุ๊ กวดวิชาเคมีที่ออกความคิดเห็นต่อระบบรับคัดเลือกเข้าระดับอุดมศึกษาครับ

อยากบอกว่าโดนใจสุดๆ กับคำพูดที่ว่า "ทุกคนต้องร้อยเหรอ" กับ "เด็กไม่ใช่หนูทดลอง" ฮ่าฮ่า

ปล. ล่าสุดท่านดอกเตอร์อุทุมพรได้ไปปรึกษาเกี่ยวกับระบบการรับคัดเลือกเข้ามหาลัยกับ อ.อุ๊ งานนี้มี นพ.พิชญ์มาแจมด้วย(ใครเคยเรียนกับพี่แกคงรู้ว่าพี่แกอัดอั้นขนาดไหน 555+ ปรากฎว่าทั้งข้อสอบเคมี กับ ชีวะผิดกันเยอะเลยทีเดียว บางข้อก็ถูกมากกว่า 1 คำตอบ ) แต่คาดว่าหลังจากที่ปรึกษาแล้ว ได้ยินครูอุ๊ออกมาบอกว่า รุ่นต่อจากนี้ข้อสอบคงได้มาตรฐานขึ้นมาแน่นอนครับ ไม่ต้องห่วง ส่วนพวกข้อที่ให้เลือกตอบ 3 ข้อ ก็ได้ยินมาว่า ถ้าตอบถูก 2 ข้อก็จะได้คะแนนครับ แต่ก็ต้องลดกันไปตามระดับ ยังไงก็คงต้องติดตามต่อไป แต่เชื่อว่าหลังปีนี้ไป ข้อสอบก็น่าจะได้มาตรฐานกว่าเดิม:)

banker 01 เมษายน 2010 14:19

1 ไฟล์และเอกสาร
เก็งข้อสอบแพะ-แกะ ครั้งต่อไป

บูรณาการวิชาคอมพิวเตอร์กับวิชาสุขศึกษา



วิธีป้องกันคอมพิวเตอร์ของเราติดไวรัส

ก. ฉีดวัคซีนป้องกันแบบเดียวกับไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009

ข . ใช้เครื่องคอมพิใตอร์ของคนอื่น

ค. หมั่นปัดฝุ่นล้างน้ำด้วยด่างทับทิม

ง. ใช้ถุงยางอนามัย
Attachment 2833

SolitudE 01 เมษายน 2010 15:00

^
^
^
ถ้ามือถือ จะ bluetooth ส่งข้อมูลกัน

ไม่ต้องสวมทั้งคู่เลยหรอครับ :haha:

banker 01 เมษายน 2010 15:24

1 ไฟล์และเอกสาร
เก็งข้อสอบ แพะ-แกะ ข้อต่อไป


วิธีป้องกันโลกร้อน

ก. เอาโซลาเซลล์ติดหลังคาบ้าน แดดจะได้สะท้อนกลับ แถมได้พลังงานไฟฟ้ามาใช้

ข. สร้างสระน้ำบนดาดฟ้า

ค. เอาโลกไว้ในตู้เย็น

ง. ไม่ใช้ถุง
Attachment 2834


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 13:24

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha