Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ค้นหา ข้อความวันนี้ ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 17 พฤษภาคม 2015, 13:30
mathislifeyess's Avatar
mathislifeyess mathislifeyess ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 กันยายน 2013
ข้อความ: 90
mathislifeyess is on a distinguished road
Exclamation ปัญหาหาจำนวน

ให้ n เป็นจำนวนเฉพาะที่ n+1 เป็นจำนวนแห่งลาบ
โดยให้จำนวนแห่งลาบคือจำนวนที่ผลรวมของของตัวประกอบบวกทั้งหมดของมันเป็น2เท่าของตัวมันเอง
จงหาค่าnที่น้อยที่สุดซึ่งn>2015

17 พฤษภาคม 2015 13:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ mathislifeyess
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 17 พฤษภาคม 2015, 14:06
กขฃคฅฆง's Avatar
กขฃคฅฆง กขฃคฅฆง ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 เมษายน 2015
ข้อความ: 419
กขฃคฅฆง is on a distinguished road
Default

จากนิยามได้ว่า จำนวนแห่งลาบคือจำนวนสมบูรณ์

ซึ่งมีทฤษฎีบทอยู่ว่า ถ้า $2^a-1$ เป็นจำนวนเฉพาะ(จะได้ว่า $a$ เป็นจำนวนเฉพาะด้วย) แล้ว $2^{a-1}(2^a-1)$ เป็นจำนวนสมบูรณ์

ถ้า $a=2$ จะได้ว่าจำนวนนั้นคือ 6 นั่นคือ n=5 ซึ่งขัดแย้งกับ n>2015

ถ้า $a>2$ จะได้ว่า $2^{a-1}(2^a-1) -1 \equiv -3 \equiv 0 \pmod{3} $

จะได้ว่า n ไม่เป็นจำนวนเฉพาะ

ซึ่งเท่าที่ผมหาข้อมูลมา ยังไม่มีใครหาจำนวนสมบูรณ์ที่ไม่อยู่ในรูป $2^{a-1}(2^a-1)$ ได้

จึงยังไม่มีใครหาค่า n ที่ต้องการได้ครับ
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 18 พฤษภาคม 2015, 17:36
Pitchayut Pitchayut ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 มกราคม 2015
ข้อความ: 352
Pitchayut is on a distinguished road
Default

เดี๋ยวก่อนนะครับ เรื่องจำนวนสมบูรณ์นี่ ออยเลอร์พิสูจน์ไว้แล้วนี่ว่า ให้ $n$ เป็นจำนวนสมบูรณ์คู่ จะได้ว่ามีจำนวนนับ $k$ ที่ทำให้ $2^{k-1}(2^k-1)$ ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดว่า $n$ ที่ว่าต้องเป็นจำนวนคู่อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มี $n$ ที่ต้องการ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 18 พฤษภาคม 2015, 22:45
กขฃคฅฆง's Avatar
กขฃคฅฆง กขฃคฅฆง ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 21 เมษายน 2015
ข้อความ: 419
กขฃคฅฆง is on a distinguished road
Default

จริงด้วยครับ 5555 (พอดีตอนนั้นหาข้อมูลมาไม่ครบ ขออภัยครับ)
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ

18 พฤษภาคม 2015 22:53 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กขฃคฅฆง
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 19 พฤษภาคม 2015, 17:07
mathislifeyess's Avatar
mathislifeyess mathislifeyess ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 01 กันยายน 2013
ข้อความ: 90
mathislifeyess is on a distinguished road
Default

ขอบคุณ คุณpitchayutและคุณ กขขคคฆงมากครับ

โจทย์อาจจะมีข้อผิดพลาด
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 20 พฤษภาคม 2015, 18:37
Pitchayut Pitchayut ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 20 มกราคม 2015
ข้อความ: 352
Pitchayut is on a distinguished road
Default

สำหรับทฤษฎีที่ผมและคุณ กขฃคฅฆง นำมาอ้างนั้นมีชื่อว่า Euclid-Euler Theroem (Euclid พิสูจน์ขาไป Euler พิสูจน์ขากลับ) และสามารถไปดูบทพิสูจน์ได้ที่ wikipedia
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
ค้นหาในหัวข้อนี้:

ค้นหาขั้นสูง

กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 16:04


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha