|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
|||
|
|||
อินทิเกรตไม่ออก ขอช่วยหน่อยครับ
ช่วยหาค่าอินทิเกรต2ข้อนี้ให้หน่อยครับ
คิดเท่าไรก็ไม่ออกสักที ขอแบบระเอียดนะครับ เรื่องปริพันธ์ไม่ตรงแบบผมยิ่งไม่เข้าใจเอามากๆ ขอบคุณครับ $เมื่อ t>0 ,n\geqslant 1, i\geqslant 1$ $$\int_{0}^{\infty}e^{-nt} t^{i-1}dt$$ $$\int_{0}^{\infty}t^{i-1}\frac{e^{-t}}{1-e^{-t}}dt$$ 17 กุมภาพันธ์ 2012 11:50 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Yuka |
#2
|
||||
|
||||
ข้อแรกใช้นิยามของฟังก์ชันแกมมาครับ แล้วเปลี่ยนตัวแปร $t \rightarrow nt$ ได้ว่า
$$\Gamma (i)=n^i \int_0^{\infty} e^{-nt}t^{i-1}\, dt$$ นิยามแกมมาฟังก์ชัน $$\Gamma (i)=\int_0^{\infty} e^{-t}t^{i-1}\, dt$$ เปลี่ยนตัวแปร $t \rightarrow nt$ $$\Gamma (i)=\int_0^{\infty} e^{-nt}(nt)^{i-1}\, d(nt)$$ $$\Gamma (i)=n^i \int_0^{\infty} e^{-nt}t^{i-1}\, dt$$ $$\int_0^{\infty} e^{-nt}t^{i-1}\, dt = \frac{\Gamma (i)}{n^i}$$
__________________
keep your way.
16 กุมภาพันธ์ 2012 22:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine |
#3
|
|||
|
|||
ขอบคุณ คุณ PP_nine มากครับ
ผมนึกไม่ถึงเลยครับว่าต้องใช้ฟังก์ชันแกมมาเข้ามาช่วย เหลือข้อ2 มันต้องใช้อะไรรึป่าว แบบธรรมดาก็งงอยู่แล้ว นี่มีลูกเล่นเข้ามาอีก แย่แน่ ขอช่วยสอนข้อ2ผมหน่อยครับ |
#4
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
$\dfrac{e^{-t}}{1-e^{-t}}=\dfrac{1}{e^t-1}$ แล้วอินทิเกรตทีละเทอม คำตอบติด Riemann Zeta function
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#5
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
ผมคิดได้$\dfrac{e^{-t}}{1-e^{-t}}=-(1+\dfrac{1}{e^{-t}-1})$ $\dfrac{e^{-t}}{1-e^{-t}}=\dfrac{1}{e^t-1}$ คิดอย่างไงหรอครับ แล้วอินทิเกรตทีละเทอม เทอมของ $-\dfrac{t^{i-1}}{e^{-t}-1}$ ใช้เทคนิคอะไรครับ ผมติดอยู่เทอมนี้แหละครับคิดไม่ออกซะที ขอบคุณครับ |
#6
|
|||
|
|||
$e^{-t}=\dfrac{1}{e^t}$
$\dfrac{1}{e^t-1}=-\dfrac{1}{1-e^t}=-(1+e^t+e^{2t}+\cdots)$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#7
|
|||
|
|||
ตอนเข้าสอบละก็เจอรูปที่ไม่เคยเห็นจะงง กว่าจะมั่นใจก็กินเวลาเป็นนาทีๆ มัวนั่งงงก็เสียรู้ จะพึ่งสูตรในเครื่องคิดเลขก็ไม่ได้บอกถึงจำนวนค่านัยสำคัญที่ใช้ คิดเองก็มีแต่ง่ายๆ เป็นผมนะ จำฟังก์ชั่นแปลกๆ ไม่ได้สมัยเรียนปีหนึ่งกับเค้า แก้ยาวๆ ก็ค่าผิดพลาดเยอะตามไปด้วย แก้สั้นๆ ก็ได้แค่ค่าประมาณ
เห็นคนอื่นทำข้อสอบได้ นัยว่าเรียนโรงเรียนคริสต์ ยังพอมีอะไรติดหัวมากกว่าพวกที่เรียนพิเศษตามสถาบันดังๆ มา เป็นเด็กกรุงเทพก็มีส่วนมาก สังเกตุคนในเวปนี้ไม่คิดมาก ดีครับไปเรื่อยๆ ผมเองก็ศึกษาเป็นงานอดิเรกที่ชื่นชอบ |
#8
|
|||
|
|||
ขอบคุณครับ
ผมคงโง่จริงๆ ที่คิดต่อไม่ได้ มันมี $t^{i-1}$ ติดอยู่ อีกอย่าง ที่คุณบอกว่าติด Riemann Zeta function ผมไม่รู้จักมันมาก่อนเลย มันคืออะไร? แต่ลองหาข้อมูลในเน็ตแล้ว มันเป็นอนุกรมอนันต์ ผมต้องหาค่าอนุกรมนี้อีกด้วยใช่มั้ยครับ ไม่เข้าใจว่าอินทิเกรตข้อ2 ลู่เข้าอย่างไง และจะจัดการกับ$t^{i-1}$ อย่างไง 20 กุมภาพันธ์ 2012 17:13 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Yuka |
#9
|
|||
|
|||
รู้สึกว่าโจทย์ข้อนี้เข้ารูปอนุกรมเวลา (Time Series) ชุดฟอร์มสำหรับแก้ปัญหานี้มีอยู่นะ เป็นหนังสือเลย แบบว่าเคยเห็นเป็นชื่อหนังสือ ติดที่ว่าต้องดูก่อนว่าปํญหานี้ลู่เข้าหรือไม่ ? ที่ต้องเช็คก่อนนะ อาจจะมีการปรับปรุงรูปให้อินทิเกรตง่าย เนื้อหาในโจทย์เรื่องนี้ใช้ในเรื่องนี้มีตั้งแต่พยากรณ์ตลาดหุ้น เรดาห์ วิเคราะห์คลื่นหัวใจทางการแพทย์ เป็นต้น
ความแม่นยำขึ้นกับโมเดลที่ใช้ เด็กไทยรุ่นใหม่คงชอบเขียนโปรแกรมแก้โจทย์แบบนี้ละครับผม |
#10
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
แตกอนุกรมได้แล้วเอา $t^{i-1}e^{-t}$ คูณเข้าไปทุกเทอม จากนั้นใช้ที่ PP_nine ทำไว้ให้ก็ได้แล้วมิใช่หรือ Riemann zeta function คำนวณค่าไม่ได้ทั้งหมดครับ คงต้องติดไว้อย่างนั้น แต่ผมคิดว่าจุดประสงค์หลักของ paper อาจจะไม่ได้ต้องการให้คำนวณโดยตรง
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#11
|
|||
|
|||
ขอบคุณนะครับ คุณnooonuii
ครับ ผมต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามันลู่เข้า รบกวนช่วยแนะนำผมอีกครั้งนะครับ ถ้า ใช้อย่างคุณ PP_nine มันก็ลู่ออกใช่มั้ยครับ เพราะมันต้องหาค่าไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด แล้วถ้าวิธีติด Riemann zeta function ก็ลู่ออกอีก เพราะมันเป็นอนุกรมอนันต์ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...B8%99%E0%B9%8C ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ ถ้าอย่างั้นพอจะมีวิธีพิสูจน์ว่าอินทิเกรตข้อนี้ลู่เข้าป่าวครับ ขอบคุณครับ 27 กุมภาพันธ์ 2012 00:59 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Yuka |
#12
|
|||
|
|||
ทำไมถึงคิดว่าลู่ออกครับ อนุกรมอนันต์มีทั้งลู่เข้าและลู่ออกมิใช่หรือ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#13
|
|||
|
|||
แล้วถ้าคิดอย่างนี้ได้ป่าวครับ
เนื่องจาก $i>0$ ผมจึงแยกคิดเป็นกรณี กรณีที่ $i=1$ ก็แทนค่าลงไปเลย แล้วหาค่าอินทิเกรต $$\int_{0}^{\infty}\frac{e^{-t}}{1-e^{-t}}dt$$ กรณีที่ $i>1$ $$\int_{0}^{\infty}t^{i-1}\frac{e^{-t}}{1-e^{-t}}dt= \zeta (i)\Gamma (i)<\infty $$ ที่ผมแยกกรณีเพราะผมคิดว่าถ้า i=1 Riemann Zeta function มันจะได้อนุกรมฮาโมนิกส์ครับ ผมเข้าใจถูกป่าวครับ และสามารถตอบแบบนี้ได้มั้ย ขอบคุณครับที่ช่วยสอน 27 กุมภาพันธ์ 2012 16:51 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Yuka เหตุผล: พิมพ์สัญลักษณ์ซีต้าให้ถูกต้อง |
#14
|
|||
|
|||
อย่างอื่นเข้าใจถูกหมดแล้ว แต่คำตอบน่าจะเป็น $\zeta(i)\Gamma(i-1)$ มากกว่านะ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น 27 กุมภาพันธ์ 2012 14:36 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ nooonuii |
#15
|
|||
|
|||
ขอบคุณครับ
ผมเอามาจากสูตรในเว็ปนี้ครับ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%...B8%A1%E0%B8%B2 ตรงหัวข้อ ความสัมพันธ์กับฟังก์ชันอื่น บรรทัดก่อนแผนภาพอ่าครับ |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|