#1
|
|||
|
|||
โจทย์ข้อที่สาม
โจทย์ข้อสามนี้เป็นเรื่องอนุกรม(อีกแล้ว)
กำหนดให้ S เป็นผลบวกของอนุกรม 1/(n^2+n+1) ตั้งแต่ n=1 ถึง infinity ให้หาผลบวกของอนุกรม 1/(n^4+n^2+1) ตั้งแต่ n=1 ถึง infinity ในเทอมของ S ข้อนี้อาจจะต้องใช้ concept อย่างนึงที่ได้เรียนใน Calculus ปี 1 ด้วยนะ (ถ้าหากทำแบบเดียวกับผม) หมายเหตุ สำหรับผู้ที่สนใจ จริงๆแล้ว S มีค่าเท่ากับ pi/sqrt(3)*tanh(sqrt(3)*pi/2) - 1 = 0.79814... |
#2
|
|||
|
|||
ในเมื่อไม่มีใครยอมตอบก็จะใบ้ล่ะนะ คำใบ้คือ ลองใช้ partial fraction ดูสิครับ
|
#3
|
|||
|
|||
โดย partial fraction จะได้
1/(n^4+n^2+1) = (1/2)[(n+1)/(n^2+n+1) - (n-1)/(n^2-n+1)] จัดรูปเป็น 1/(n^4+n^2+1) = (1/2)[(n+1)/(n^2+n+1) - n/(n^2-n+1) + 1/(n^2-n+1)] แยกพิจารณาเป็น 2 ส่วน 1) A = ผลบวกของ (n+1)/(n^2+n+1) - n/(n^2-n+1) 2) B = ผลบวกของ 1/(n^2-n+1) จะได้ ผลบวกของ 1/(n^4+n^2+1) = (1/2)(A + B) ส่วนแรก เพราะ (n+1)/(n^2+n+1) = (n+1)/[(n+1)^2-(n+1)+1] จะได้ (n+1)/(n^2+n+1) - n/(n^2-n+1) = (n+1)/[(n+1)^2-(n+1)+1] - n/(n^2-n+1) ผลบวกของ (n+1)/[(n+1)^2-(n+1)+1] - n/(n^2-n+1) ตั้งแต่ n=1 ถึง n เป็น (n+1)/[(n+1)^2-(n+1)+1] - 1 เมื่อ n เข้าสู่ infinity จะได้ A = 0 - 1 = -1 ส่วนหลัง เนื่องจาก 1/(n^2+n+1) = 1/[(n+1)^2-(n+1)+1] จะได้ S (โจทย์กำหนด) คือ ผลบวกของ 1/[(n+1)^2-(n+1)+1] ตั้งแต่ n=1 ถึง infinity หรือ S คือ ผลบวกของ 1/(n^2-n+1) ตั้งแต่ n=2 ถึง infinity จะได้ B = 1 + S ดังนั้น ผลบวกของ 1/(n^4+n^2+1) = (1/2)(A + B) = (1/2)(-1 + 1 + S) = S/2 |
#4
|
|||
|
|||
คุณ Muggle ตอบได้ถูกต้องสมบูรณ์แบบมากครับ เอ...คุณ
Muggle นี่ทำโจทย์ของผมไปได้สองข้อแล้วสิเนี่ย เป็นโจทย์ เกี่ยวกับอนุกรมทั้งสองข้อซะด้วย ทำคะแนนนำโด่งเลยนะครับ |
#5
|
|||
|
|||
สำหรับคนที่สนใจค่าของอนุกรม Sum(1/(n^2+n+1)) ให้พิจารณาฟังก์ชัน
f(z) = Pi tan(Pi z) / (z^2 + 3/4) จะเห็นว่ามี simple pole ที่ z = n + 1/2 จาก tan(Pi z) และ z = +-sqrt[3]i / 2 จาก z^2 + 3/4 integrate รอบจะได้ 0 = sum{1/[(n+1/2)^2 + 3/4] - 2 Pi tanh(Pi sqrt[3]/2)/sqrt[3] = 0 นั่นคือ S = Pi tanh(Pi sqrt[3]/2) / sqrt[3] - 1 (ตัดตัว 0 แล้วเอาครึ่งบวก) |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|