|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
||||
|
||||
โจทย์ ทบ.จำนวน สอวน.2556
โจทย์ ทบ.จำนวน สอวน.2556
1. จงพิสูจน์ทบใที่กล่าวว่า ฺฺฺฺฺ++ ให้ $a,b\in \mathbb{Z} $โดยที่ $a\not= 0\vee b\not= 0$จะได้ว่า$\exists x,y\in \mathbb{Z} $ที่ทำให้ $(a,b)=ax+by$ 2. ให้$\rho เป็นจำนวนเฉพาะ จงพิสูจน์ว่า (\rho -1)!+1=\rho ^\varrho สำหรับจำนวนเต็ม\varrho $บางตัวก็ต่อเมื่อ $\rho =2,3,5$
__________________
โลกนี้ช่าง... 30 ตุลาคม 2013 21:12 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ นกกะเต็นปักหลัก |
#2
|
||||
|
||||
3.ถ้า p และ$8p^2+1$ เป็นจำนวนเฉพาะ แล้ว $8p^2+2p+1$ เป็นจำนวนเฉพาะ
4. จงพิสูจน์ว่ามีจำนวนเต็มบวก$\vartheta $ไม่จำกัดจำนวน ที่ทำให้ $10^\vartheta +3$เป็นจำนวนประกอบ
__________________
โลกนี้ช่าง... |
#3
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
สมมติให้ $p\not= 3$ $gcd(p,3)=1$ ดังนั้น $8p^2+1 \equiv 0 \pmod{3} $ โดย $Fermat$ $little$ $thm.$ Contradiction ดังนั้น $p=3$ |
#4
|
||||
|
||||
ไม่ให้ใช่คอนกรูเอนซ์ครับ
__________________
โลกนี้ช่าง... |
#5
|
||||
|
||||
ทำทำนองนั้นแหละครับ พิสูจน์ว่า p=3 only
|
#6
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
4. ข้อนี้ไม่รู้ทำัยังไงแบบไม่ใช้มอดูโล ถ้าใช้ได้ ให้คิดถึงแบบฟอร์มของ 10 กำลังอะไรซักอย่างก่อน เรารู้จากแฟร์มาว่า $10^p \equiv 10 \pmod p$ สำหรับ $(10,p)=1$ จะสามารถใช้ไอเดียของ $10^{p-1} \equiv 1 \pmod p$ ได้ โดยการเขียนตัวแปร $p$ ในรูปของ $n$ เริ่มจากให้ $p$ เป็นจำนวนเฉพาะซักตัวที่ $p \mid 10^t+3$ บาง $t$ ดังนั้น $10^t+3 \equiv 0 \pmod p$ และจาก $10^{p-1} \equiv 1 \pmod p$ ยัดเยียดความเป็นอนันต์ให้มันซะสำหรับ $k \in \mathbb{N}$ จะได้ $10^{k(p-1)} \equiv 1 \pmod p$ จากสมมติตอนต้น $10^t+3 \equiv 0 \pmod p$ มันจะได้ $(10^t+3)(10^{k(p-1)})\equiv 0 \pmod p$ ซึ่งทำให้ $10^{k(p-1)+t}+3 \equiv 0 \pmod p$ ด้วย ดังนั้นได้ว่า $10^{k(p-1)+t}+3$ มี $p$ เป็นตัวประกอบ จากการที่ $10^t+3$ และ $10^{k(p-1)+t}+3$ เป็นจำนวนเต็มบวกที่แตกต่างกันที่มี $p$ เป็นตัวประกอบร่วมกัน สามารถสรุปได้ว่า $10^{k(p-1)+t}+3$ เป็นจำนวนประกอบสำหรับ $k \in \mathbb{N}$ ดังนั้นมี $n$ ในรูป $k(p-1)+t$ อยู่เป็นอนันต์ที่สอดคล้องโจทย์ |
#7
|
|||
|
|||
ข้อ n^3+3^p ทำยังไงก็ไม่หลุดซะที 5-6 รอบละ
อันนี้เป็นข้อ 4 แบบไม่ใช้คอนกรูเอนซ์ claim1 : พิสูจน์ existance ของ $p_{i}$ เพราะว่า $10^p-10$ มี $10$ เป็นตัวประกอบ ดังนั้นมีบางจำนวนเต็ม $q_{i}$ ที่ทำให้ $10^p-10 = 10q_{i}$ สมมติว่ามี $p_{i} \in \mathbb{P}$ ที่ $p_{i} \mid q_{i}$ และ $p_{i}$ ไม่มีตัวประกอบเฉพาะร่วมกันกับ $2,5$ จะได้ว่า $10^p-10 =10p_{i}s_{i}$ บางจำนวนเต็ม $s_{i}$ จากนิยามการหารจะได้ว่า $10^p-10$ มี $p_{i}$ เป็นตัวประกอบ claim2 : ถ้า $p_{i} \mid 10^{p-1}-1$ แล้ว $p_{i} \mid 10^{k(p-1)}-1$ เช่นกัน จะพิสูจน์โดยการอุปนัย จาก $10^p-10$ มี $p_{i}$ เป็นตัวประกอบ ต้องได้ว่า $10(10^{p-1}-1)$ มี $p_{i}$ เป็นตัวประกอบด้วย จากการที่ $p_{i}$ ไม่มีตัวประกอบร่วมกันกับ $2,5$ ดังนั้น $p_{i} \mid 10^{p-1}-1$ จากนิยามของการหาร จะได้ว่ามี $q_{i} \in \mathbb{N}$ ที่ทำให้ $10^{p-1}-1=p_{i}q_{i}$ สมมติสำหรับจำนวนเต็มบวก $k$ $10^{k(p-1)}-1=p_{i}q_{j}$ บาง $q_{j} \in \mathbb{N}$ พิจารณา $10^{(k+1)(p-1)}-1=10^{k(p-1)}\cdot 10^{p-1}-1=(p_{i}q_{j}+1)(p_{i}q_{i}+1)-1=p_{i}(q_{i}+q_{j}+p_{i}q_{i}q_{j})$ ดังนั้น $p_{i} \mid 10^{k(p-1)}-1$ โดยอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ claim 2 เป็นจริง claim 3 แสดง existance ของ $p_{i}$ สมมติว่ามี $t \in \mathbb{N}$ ที่ $p_{i} \mid 10^t+3$ จะได้ว่า $p_{i} \mid (10^t+3)(10^{k(p-1)})$ แต่ว่า $p_{i} \mid (10^t+3)(10^{k(p-1)})=10^{k(p-1)+t}+3\cdot 10^{k(p-1)}=10^{k(p-1)+t}+3(p_{i}q_{j}+1)=10^{k(p-1)+t}+3+3p_{i}q_{j}$ เพราะว่า $p_{i} \mid (10^t+3)(10^{k(p-1)})$ ต้องได้ว่า $10^{k(p-1)+t}+3+3p_{i}q_{j}$ เช่นกัน ดังนั้น $p_{i} \mid 10^{k(p-1)+t}+3$ จากข้อสมมติมี $t \in \mathbb{N}$ ที่ $p_{i} \mid 10^t+3$ เลือก $t=3$ และ $p_{i}=17$ ทำให้ $17 \mid 10^3+3$ พิจารณาค่าของ $10^t+3$ และ $10^{k(p-1)}+3$ ซึ่งทั้งสองจำนวนเป็นจำนวนเต็มบวกต่างกันที่มี $p_{i}$ เป็นตัวประกอบร่วมกัน สรุปว่ามีจำนวนเต็มบวกในรูปของ $n=k(p-1)+t$ สำหรับ $k \in \mathbb{N}$ อยู่เป็นอนันตน์ที่ทำให้ $10^n+3$ เป็นจำนวนประกอบ |
#8
|
|||
|
|||
มาเฉลยให้ ผิดก็บอกเนอะ
ข้อ $n^p+3^p$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์ Lemma: สำหรับจำนวนเต็มบวก $n$ ใดๆ จะมี $(t,k)$ unique ที่ทำให้ $n=2^{t}k$ จากโจทย์สมมติให้มีจำนวนเต็มบวก $m$ ที่ทำให้ $n^p+3^p=m^2$ เป็นการเพียงพอที่จะพิจารณากรณีที่ $n\geq 2$ และ $p \geq 3$ สมมติให้ $t \geq 2$ จาก Lemma $2^{tp}k^p=m^2-3^p$ ต้องได้ว่า $4 \mid m^2-3^p$ จะได้ $3^p \equiv m^2 \pmod{4}$ และบังคับว่า $m$ ต้องเป็นคี่ด้วย ให้ $m=2a+1$ บาง $a$ จะได้ $3^p \equiv m^2=4a^2+4a+1 \equiv 1 \pmod{4}$ ........................(*) เพราะว่า $p$ เป็นคี่ จะได้ $p\equiv 1,3 \pmod{4}$ สมมติ $p\equiv 1 \pmod{4}$ จะได้ $3^p \equiv 3^{4k}\cdot 3 \equiv 3 \pmod{4}$ ขัดแย้งกับ (*) ในทำนองเดียวกันกับ $p\equiv 3 \pmod{4}$ จะได้ว่าขัดแย้งกับ (*) ด้วย เพราะฉะนั้น $t=0,1$ กรณีที่ 1 $n=k$ โดยที่ $k$ เป็นจำนวนเต็มคี่ จะได้ $4 \mid m^2$ ..............................(**) ถ้า $n=4k+1$ ใช้ทวินามกระจายออกมา สมการเขียนได้ในรูปของ $4t+1+3^p=m^2$ จากสมการนี้ $4t+3^p=(m-1)(m+1)$ จะได้ $2 \mid (m-1)(m+1)$ ซึ่งบังคับว่า $2 \mid 3^p$ เป็นไปไม่ได้ ถ้า $n=4k+3$ จากสมการ $(4k+3)^p+3^p=m^2$ ใช้ทวินามกระจายออกมา จาก (**) บังคับว่า $2\cdot 3^p \equiv 0 \pmod{4}$ ซึ่งก็เป็นไปไม่ได้อีก กรณีที่ 2 $n=2k$ ได้ $2^p\cdot k^p+3^p=m^2$ พิจารณาเศษใน mod 4 ของกำลังสองสมบูรณ์ที่เป็นคี่ มันจะบังคับว่า $m^2 \equiv 3^p \equiv 1 \pmod{4}$ ............................(***) พิจารณาในทำนองเดียวกันกับ $p=4k+1,4k+3$ กรณีที่ 1 จะได้ว่าขัดแย้งกับ (***) ทั้งสองกรณี เพราะฉะนั้นต้องได้ว่า $p \leq 2$ หรือ $n=1$ (ซึ่งกรณีหลังเป็นไปไม่ได้) พิจารณากรณี $p=2$ ได้ว่า $3^2=(m-n)(m+n)$ $m+n,m-n$ เป็นตัวประกอบของ $3^2$ ต้องอยู่ในรูป $3^i$ $0 \leq i \leq 2$ $m+n > m-n$ ดังนั้นเพียงพอที่จะเชค $(m+n,m-n)=(3^2,1)$ ซึ่งได้ว่า $m=5,n=4$ ดังนั้น มี $p=2$ และ $n=4$ ที่ทำให้ $n^p+3^p$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์ |
#9
|
||||
|
||||
ยังไงนะครับ
|
#10
|
|||
|
|||
โทษทีครับ ผมมั่วไปมองเป็น $2 \mid m(m-1)$ เฉยเลย ถึงว่าหลุดออกมาง่ายแปลกๆ
ปล.ผมลองแก้บทพิสูจน์ตัวเองดูแล้ว ยังไปต่อไม่ได้กรณี $n=4k+1$ ผมมีความรู้สึกว่าโจทย์ข้อนี้ไม่ได้ออกแบบมาให้ทุบด้วยมอดุโล 4 แล้วละ คงต้องหาวิธีอื่น ใครทำได้ก็โพสเลยครับ สนุกแน่นอน |
#11
|
||||
|
||||
ข้อนี้ผมก็อยากเห็นเฉลยเหมือนกันครับ ผมยังไม่เคยเห็นใครทำข้อนี้ได้เลย ถ้าใครทำได้ก็ช่วยโพสลงหน่อยครับ
|
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
ข้อสอบ สอวน ปี 2556 ค่ายหนึ่ง ที่สวนกุหลาบ | นกกะเต็นปักหลัก | ข้อสอบโอลิมปิก | 14 | 12 กรกฎาคม 2014 13:19 |
สอบ สพฐ. ม.ต้น 2556 | peatarry park | ปัญหาคณิตศาสตร์ ม. ต้น | 5 | 10 สิงหาคม 2013 21:53 |
การสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556 | Puriwatt | ข่าวคราวแวดวงประถม ปลาย | 9 | 04 สิงหาคม 2013 12:51 |
การสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556 | Puriwatt | ข่าวคราวแวดวง ม.ต้น | 5 | 31 กรกฎาคม 2013 22:22 |
การสมัครสอบคัดเลือกโอลิมปิก สอวน. กรุงเทพมหานคร รุ่นที่ 14 ปีการศึกษา 2556 | mymaths | ข่าวคราวแวดวง ม.ต้น | 0 | 12 กรกฎาคม 2013 16:16 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|