#1
|
|||
|
|||
โจทย์ข้อที่หนึ่ง
วันนี้ลองเอาโจทย์มาให้ 2 ข้อเป็นการชิมลางดูสิว่าจะมีใครเล่นด้วยรึเปล่า
โจทย์ข้อแรกคือ ให้ m และ n เป็นจำนวนเต็มที่สามารถเขียนได้ในรูปของผลบวกของเลขกำลังสองสมบูรณ์สองจำนวน ให้พิสูจน์ว่า mn ก็สามารถเขียนให้อยู่ในรูปของผลบวกของเลขกำลังสองสมบูรณ์สองจำนวนได้เช่นกัน |
#2
|
|||
|
|||
เห็นไม่มีคนตอบซักที ผมขอตอบเลยละกันครับ
ให้ m = a^2 + b^2 n = c^2 + d^2 mn = (ac)^2 + (ad)^2 + (bc)^2 + (bd)^2 บวก 2abcd - 2abcd เข้าไป mn = [(ac)^2 + 2abcd + (bd)^2] + [(ad)^2 - 2abcd + (bc)^2] mn = [ac+bd]^2 + [ad - bc]^2 แค่นี้แหละครับ น่าสนใจดีนะครับ ผมอยากรู้เหมือนกันว่ามันเป็นทฤษฎีบทอะไรรึป่าว ดูมันมีประโยชน์ดีนะครับ ฝากถามเจ้าของกระทู้หน่อย |
#3
|
|||
|
|||
ขอแสดงความยินดีกับคุณ Rudolph ด้วยครับ คุณคือผู้ตอบถูกเป็นคนแรก
จริงๆแล้วการตอบคำถามของผมทั้งสองข้อไม่จำเป็นต้องใช้ความรู้เกินม.6 เลย เพียงแต่อาจต้องมีการพลิกแพลงกันบ้าง และเพื่อความแปลกใหม่ผมก็เลยเอา โจทย์ที่ไม่ได้มาจากข้อสอบแข่งขันใดๆ(เท่าที่รู้นะครับ) สำหรับในคำถามข้อแรกเนี่ยเป็นผลที่ตามมาโดยตรงของสมบัติของจำนวนเชิงซ้อนที่ว่า โมดูลัสของผลคูณของจำนวนเชิงซ้อนสองจำนวนมีค่าเท่ากับ ผลคูณของโมดูลัสของจำนวนเชิงซ้อนทั้งสองนั้น |z1*z2| = |z1|*|z2| (พิสูจน์ได้โดยง่ายโดยใช้ polar form) นั่นคือ |a+bi|*|c+di| = |(a+bi)(c+di)| = |(ac-bd)+(ad+bc)i| ซึ่งก็คือ (a^2 + b^2)(c^2 + d^2) = (ac-bd)^2 + (ad+bc)^2 ส่วนในกรณีคำตอบของคุณ Rudolph เนี่ยจะเป็นการใช้ |a-bi|*|c+di| แทน แค่นี้เองล่ะครับ ยังไงก็ตามถ้ามีท่านผู้รู้ท่านใดทราบรายละเอียดอะไรที่ลึกซึ้งไปกว่านี้ ช่วยบอกมาด้วยนะครับ ขอบคุณคุณ Rudolph นะครับที่ช่วยทำให้คำถามของผมไม่เป็นหมัน |
#4
|
|||
|
|||
น่าสนใจดีครับ
ใช้เชิงซ้อนแล้ว มันเป็นเรื่องง่าย ๆ อย่างนี้นี่เอง เผอิญผมเคยเห็นเรื่องเกี่ยวกับจำนวนที่สามารถแยกเป็นผลบวกของกำลังสัมบูรณ์ได้นะครับ คิดว่าโจทย์ข้อนี้อาจจะเป็นทฤษฎีหนึ่ง |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|