|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
|||
|
|||
ขอถามแบบฝึกหัด ทฤษฎีจำนวน หนังสือ สอวน. (บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น)
ขอรบกวนถามหน่อยนะคะ เพิ่งเริ่มต้นอ่าน สอวน.ทฤษฎีจำนวนค่ะ ไม่ค่อยจะเข้าใจเลยยากมาก รบกวนผู้รู้เข้ามาตอบ แสดงแนวคิด จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ปัญหา 4 (หน้า 14) ให้ n!=n(n-1)(n-2)...(3)(2)(1) จงพิสูจน์ว่า n! > 2^n เป็นจริงสำหรับทุกจำนวนเต็มบวก n ที่ n มากกว่าหรือเท่ากับ 4 23 กันยายน 2015 14:06 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ <KAB555> |
#2
|
|||
|
|||
พิสูจน์โดยอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์เป็นรึยังครับ อันนี้เป็นวิธีมาตรฐาน
อีกวิธีก็ลองสังเกตว่า $n! = 1\cdot 2\cdot 3\cdot 4\cdot (5\cdots n)=24\cdot 5\cdots n >16\cdot \underbrace{2\cdots 2}_{n-4}=2^n$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#3
|
|||
|
|||
ขอบคุณมากๆค่ะ
ปัญหา 5 (หน้า 16) จงหาจำนวนเต็มบวก n ทั้งหมดที่ n สามารถเขียนได้ในรูปผลบวกของจำนวนเต็มบวกเรียงต่อเนื่องกันอย่างน้อย 2 จำนวน คือปัญหานี้ ที่แน่ๆเลยคือ จำนวนคี่ทุกตัว แต่ว่าในส่วนที่ n เป็นจำนวนคู่ มันจะเขียนอยู่ในรูปไหนบ้างคะ |
#4
|
|||
|
|||
ลองดูหน้า 50 ปัญหา 11 ครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#5
|
|||
|
|||
แบบฝึกหัดเรื่อง ความรู้เบื้องต้น หน้า 27 ข้อ 2
จงพิสูจน์ว่า $\frac{1}{\sqrt{1} } +\frac{1}{\sqrt{2} } +\frac{1}{\sqrt{3} } +...+\frac{1}{\sqrt{n} } > \sqrt{n} $ เป็นจริงสำหรับทุกจำนวนเต็มบวก n ที่ $n\geqslant 2$
|
#6
|
|||
|
|||
พิสูจน์อสมการนี้ได้มั้ยครับ
$\sqrt{n}+\dfrac{1}{\sqrt{n+1}}>\sqrt{n+1}$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#7
|
|||
|
|||
ลองทำดูก็ปรากฏว่า จะต้องพิสูจน์อสมการนี้ แต่ไม่รู้จะพิสูจน์อย่างไรค่ะ
|
#8
|
|||
|
|||
ถ้าเอา $\sqrt{n+1}$ คูณตลอดอสมการจะกลับข้างมั้ยครับ
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#9
|
|||
|
|||
ขอถามต่อเลยนะคะ
หน้า 28 13. จงแสดงว่า ถ้า $2\leqslant k\leqslant n-2$ แล้ว $\binom{n}{k}=\binom{n-2}{k-2}+2\binom{n-2}{k-1} +\binom{n-2}{k} $ สำหรับ $n\geqslant 4$ |
#10
|
||||
|
||||
ลองมาฟังนิทานกันครับ
พิจารณางานปาร์ตี้ที่มีคน $n$ คน ในนั้นมี I,J อยู่ด้วย พิธีกรจะเชิญคน $k$ ออกมาเต้นรำในคืนพระจันทร์เต็มดวง พิธีกรมั่นใจแน่นอนว่า เขามีวิธีเชิญทั้งหมด $\binom{n}{k}$ วิธี แต่เนื่องจาก I,J เป็นคู่รักกัน เขาจึงกลับมามองต่างมุม โดยพิจารณาในกรณีต่างๆ คือ 1.) เชิญมาทั้งสองคน พิธีกรจะต้องเชิญคน $k-2$ คนจากที่เหลือ $n-2$ คน คิดเป็น $\binom{n-2}{k-2}$ วิธี 2.) เชิญมาแค่คนเดียว พิธีกรเลือกระหว่าง I,J ได้ $2$ วิธี และพิธีกรจะต้องเชิญคน $k-1$ คนจากที่เหลือ $n-2$ คน คิดเป็น $\binom{n-2}{k-1}$ รวมเป็น $2\binom{n-2}{k-1}$ วิธี 3.) ไม่เชิญมาทั้งสองคน พิธีกรจะต้องเชิญคน $k$ คนจากที่เหลือ $n-2$ คน คิดเป็น $\binom{n-2}{k}$ รวมแล้วได้ $\binom{n-2}{k-2}+2\binom{n-2}{k-1}+\binom{n-2}{k}$ ซึ่งเท่ากับที่เขาเคยคิดในตอนแรก ดังนั้นแล้ว พิธีกรจึงได้เอกลักษณ์ $$\binom{n}{k}=\binom{n-2}{k-2}+2\binom{n-2}{k-1}+\binom{n-2}{k}$$ ตามต้องการ #
__________________
I'm Back |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|