![]() |
|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
![]() ![]() |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
|||
|
|||
![]() แบบฝึกหัดเรื่อง จำนวนเฉพาะ
1) กำหนดลำดับของจำนวนเต็มบวก $101, 10101,1010101, ...$ จงตรวจสอบว่ามีสมาชิกใดบ้างในลำดับข้างต้นที่เป็นจำนวนเฉพาะ 2) จงหาจำนวนเต็ม $n$ ทั้งหมด ที่ทำให้ $n^4+4$ เป็นจำนวนประกอบ 3) จงแสดงว่า ถ้า $p$ เป็นจำนวนเฉพาะที่ $p,p+2,p+4$ เป็นจำนวนเฉพาะ แล้ว $p=3$ 4) ให้ $p$ เป็นจำนวนเฉพาะซึ่ง $p>3$ จงแสดงว่า $p^2-1$ หารด้วย $24$ ลงตัว 5) จงหาจำนวนเต็มบวก $n$ ทั้งหมดที่ทำให้ $n^4+4^n$ เป็นจำนวนเฉพาะ 6) จงหาจำนวนเฉพาะ $p$ ทั้งหมดที่ทำให้ $17p+1$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์ 7) จงหาจำนวนเฉพาะ $p$ และ $q=p+2$ ทั้งหมดที่ทำให้ $pq-2$ เป็นจำนวนเฉพาะ 8) ในการเขียน $1000000!$ ในรูปของจำนวนเต็ม จะมี $0$ ลงท้ายเรียงต่อเนื่องกันกี่ตัว 9) ให้ $n=p^r$ , $p$ เป็นจำนวนเฉพาะ จงหาจำนวนของจำนวนเต็ม $k$ ซึ่ง $1\leqslant k<n$ และ $(n,k)=1$ 10) จงหาจำนวนเต็มบวก $n$ ที่มีค่าน้อยที่สุดที่ทำให้ $n^2+n+17$ เป็นจำนวนประกอบ 11) จงแสดงว่ามีจำนวนเฉพาะ $p$ เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เขียนอยู่ในรูป $p=n^3-1$ สำหรับจำนวนเต็ม $n$ บางจำนวน 12) จงแสดงว่า ถ้า $p$ และ $p+2$ เป็นจำนวนเฉพาะทั้งคู่ ที่ $p>3$ แล้วผลบวกของ $p$ และ $p+2$ หารด้วย $12$ ลงตัว 13) ถ้า $p$ และ $p^3+3$ เป็นจำนวนเฉพาะ จงแสดงว่า $p^3+4$ เป็นจำนวนประกอบ 14) ให้ $n$ เป็นจำนวนเต็มบวกที่มากกว่า 2 จงแสดงว่า ถ้า $2^n-1$ หรือ $2^n+1$ ตัวใดตัวหนึ่งเป็นจำนวนเฉพาะ แล้วอีกตัวหนึ่งจะเป็นจำนวนประกอบ 15) ถ้าจำนวนเต็มบวก $n>1$ ไม่เขียนอยู่ในรูป $6k+3$ จงแสดงว่า $n^2+2^n$ เป็นจำนวนประกอบ 16) ให้ $n\in \mathbb{N} $ จงพิสูจน์ว่า $2^{2^n}+2^{2^{n-1}}+1$ จะมีตัวประกอบที่เป็นจำนวนเฉพาะที่แตกต่างกันอย่างน้อย $n$ จำนวน 17) ให้ $p$ เป็นจำนวนเฉพาะซึ่ง $3p+1$ เป็นจำนวนกำลังสองสมบูรณ์ จงพิสูจน์ว่า $p=5$ 18) จงหาจำนวนเฉพาะ $p$ และ $q$ ทั้งหมดที่สอดคล้องกับสมการ $p-q=3$ 19) ให้ $n\in \mathbb{N} $ ที่ $n>1$ จงแสดงว่า $n!$ ไม่สามารถเขียนได้ในรูปกำลังสองสมบูรณ์ 20) จงหาจำนวนเต็มบวกทั้งหมดที่ทำให้ $n!+(n+1)!+(n+2)!$ เป็นกำลังสองสมบูรณ์ |
#2
|
|||
|
|||
![]() ติดข้อ 16 แล้วก็ 19 ค่ะ ช่วยแนะนำด้วยค่ะ
|
#3
|
||||
|
||||
![]() ข้อ 16 $$2^{2^{n}}+2^{{2^{n-1}}}+1=(2^{2^{n-1}}-2^{2^{n-2}}+1)(2^{2^{n-2}}-2^{2^{n-3}}+1)(2^{2^{n-3}}-2^{2^{n-4}}+1)...(2^{2^1}-2^{2^0}+1)(2^{2^1}+2^{2^0}+1)$$
ซึ่งมี $n$ วงเล็บพอดีครับ เเต่ตอนนี้ผมยังเเสดงไม่ได้ว่าทุกวงเล็บให้กำเนิดตัวเฉพาะที่เเตกต่างกัน ส่วนข้อ 19 มีเฉลยหลายรอบมากๆเเล้วนะครับลองหาดูครับๆ ![]()
__________________
Vouloir c'est pouvoir 15 มกราคม 2016 01:38 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ จูกัดเหลียง |
#4
|
||||
|
||||
![]() 19. ลองหาเรื่อง Bertrand's postulate ดูครับ
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล ---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้ |
![]() ![]() |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|