|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
||||
|
||||
Mathcenter Contest Round 1/2012 Longlist
pdf version (click to download)
ระดับโอลิมปิก 1. จงพิสูจน์โดยไม่ใช้สมภาคว่า ไม่มีจำนวนเต็ม $a,b,c$ ซึ่งสอดคล้องกับ $a^2+b^2-8c = 6$ (เสนอโดย คุณ Metamorphosis) 2. ให้ $p=2^n+1$ เเละ $3^{(p-1)/2}+1\equiv 0 \pmod p$ จงเเสดงว่า $p$ เป็นจำนวนเฉพาะ (เสนอโดย คุณ จูกัดเหลียง) 3. ถ้า $p,p^2+2$ ต่างก็เป็นจำนวนเฉพาะ มีจำนวนนับกี่จำนวนที่หาร $p^5+2p^2$ ลงตัว (เสนอโดย คุณ จูกัดเหลียง) 4. ให้ $a,b,c$ เเทนความยาวด้านของสามเหลี่ยมใดๆ จงเเสดงว่า $$\frac{a}{\sqrt{2b^2+2c^2-a^2}}+\frac{b}{\sqrt{2c^2+2a^2-b^2}}+\frac{c}{\sqrt{2a^2+2b^2-c^2}}\ge \sqrt{3}$$ (เสนอโดย คุณ จูกัดเหลียง) 5. ให้ $a,b,c>0$ เเละ $a+b+c+abc=4$ จงเเสดงว่า $$\frac{a}{\sqrt{b+c}}+\frac{b}{\sqrt{c+a}}+\frac{c}{\sqrt{a+b}}\ge \frac{1}{\sqrt{2}}(a+b+c)$$ (เสนอโดย คุณ จูกัดเหลียง) 6. ให้ $a,b,c>0$ เเละ $abc=1$ จงเเสดงว่า $$\frac{a}{b^2(c+a)(a+b)}+\frac{b}{c^2(a+b)(b+c)}+\frac{c}{a^2(c+a)(a+b)}\ge \frac{3}{4}$$ (เสนอโดย คุณ จูกัดเหลียง) 7. ฟังก์ชันเลขคณิต $\nu$ นิยามโดย $$\nu (n) = \begin{cases}0, & n=1 \\ k, & n=p_1^{a_1} p_2^{a_2} \cdots p_k^{a_k}\end{cases}$$ เมื่อ $n=p_1^{a_1} p_2^{a_2} \cdots p_k^{a_k}$ แทนการเขียนในรูปแบบบัญญัติ จงแสดงว่า สำหรับจำนวนนับ $m,n$ ใดๆ, $$\tau (n^m) = \sum_{d|n} m^{\nu (d)}$$ (เสนอโดย คุณ PP_nine) 8. (6 คะแนน) สำหรับเมตริกซ์ $A=[a_{ij}]_{m \times m}$ และ $B=[b_{ij}]_{m \times m}$ ซึ่ง $A,B \in \mathbb{Z} ^{m \times m}$ ให้ $A \equiv B \pmod{n}$ ก็ต่อเมื่อ $a_{ij} \equiv b_{ij} \pmod{n}$ สำหรับทุก $i,j \in \{ 1,2,...,m \}$ นั่นคือ $A-B=nZ$ สำหรับบาง $Z \in \mathbb{Z}^{m \times m}$ (สัญลักษณ์ $A \in \mathbb{Z} ^{m \times m}$ หมายถึงสมาชิกทุกตัวใน $A$ เป็นจำนวนเต็ม) จงแสดงว่า สำหรับ $A \in \mathbb{Z} ^{m \times m}$ จะมี $B \in \mathbb{Z} ^{m \times m}$ ซึ่ง $AB \equiv I \pmod{n}$ ก็ต่อเมื่อ $(\det (A),n)=1$ พร้อมทั้งหาค่าของ $B$ ในรูปของ $A$ เมื่อ $I$ แทนเมตริกซ์เอกลักษณ์มิติ $m \times m$ (เสนอโดย คุณ PP_nine) 9. (5 คะแนน) สำหรับ $a,b,c \in \mathbb{R}^+$ ซึ่ง $a^2+b^2+c^2=1$ จงหาค่าต่ำสุดของ $$a+b+c+\frac{3}{ab+bc+ca}$$ (เสนอโดย คุณ PP_nine) 10. ตารางขนาด $8 \times 8$ บรรจุเลข $1,2,...,8$ ลงไปจำนวนละเท่าไหร่ก็ได้ โดยมีเงื่อนไขว่า สองจำนวนที่ติดกันในแนวตั้ง, แนวนอน, แนวทแยง เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กัน พิสูจน์ว่ามีตัวเลขบางตัวปรากฎในตารางอย่างน้อย 12 ครั้ง (เสนอโดย คุณ PP_nine) 11. (4 คะแนน) กำหนดลำดับของจำนวนเฉพาะบวก $p_1,p_2,p_3,...$ ให้เซต $A$ คือเซตอนันต์ของจำนวนเต็มบวกที่สมาชิกแต่ละตัวมี prime divisor ไม่เกิน $p_n$ แล้ว จะต้องเลือกสมาชิกจากเซต $A$ อย่างน้อยเท่าใด จึงจะมั่นใจว่าจะมี 2 จำนวนซึ่งผลคูณเป็นกำลังสองสมบูรณ์ (เสนอโดย คุณ PP_nine) 12. (6 คะแนน) กำหนดจำนวนนับ $n>2$ ให้เซต $\{ a_1,a_2,...,a_{\phi (n)} \} \subset \mathbb{Z}$ คือเซต Reduced Residue System (RRS) ของมอดุโล $n$ (หรือก็คือ เซตของจำนวนเต็ม $k$ โดยที่ $(k,n)=1$ และไม่มีคู่ใดคอนกรูเอนซ์กันในมอดุโล $n$) ถ้าเขียน $$\frac{1}{a_1}+\frac{1}{a_2}+\cdots+\frac{1}{a_{\phi (n)}}=\frac{a}{b}$$ โดยที่ $a,b \in \mathbb{N}$ และ $(a,b)=1$ แล้ว จงพิสูจน์ว่า $n|a$ (เสนอโดย คุณ PP_nine) 13. (4 คะแนน) กำหนดฟังก์ชัน $f : \mathbb{R}^+ \rightarrow \mathbb{R}$ เป็นฟังก์ชันเพิ่มโดยแท้ซึ่ง $$f(\sqrt{xy})=\frac{f(x)+f(y)}{2}$$ ทุกจำนวนจริงบวก $x,y$ จงพิสูจน์ว่ามีบางจำนวนจริงบวก $a$ ซึ่ง $f(a)<0$ (เสนอโดย คุณ PP_nine) 14. (6 คะแนน) สำหรับจำนวนจริง $a,b,c>0$ ซึ่ง $bc-ca-ab=1$ จงหาค่าสูงสุดของ $$P=\frac{4024}{1+a^2}-\frac{4024}{1+b^2}-\frac{2555}{1+c^2}$$ พร้อมทั้งหาว่าเกิดเมื่อใด (เสนอโดย คุณ PP_nine) ระดับมัธยมปลาย 1. (5 คะแนน) หารากจริงบวกจากสมการ $x \lfloor x \lfloor x \rfloor \rfloor =2012$ (เสนอโดย คุณ PP_nine) 2. นำเชือกยาว $L$ มาตัดเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่งนำมาตัดเป็นรูปครึ่งวงกลม ส่วนที่ 2 นำมาขดเป็นรูปครึ่งของครึ่งวงกลม ถ้า พื้นที่วงกลมทั้งสองรูปรวมกันมีค่าน้อยที่สุด แล้วเชือกส่วนที่หนึ่งขาวเท่าใด กำหนด $\pi =3$ (เสนอโดย คุณ Metamorphosis) 3. (5 คะแนน) กำหนดเซต $A=\left\{\,\right. 2012, 2013, 2014,...,2555\left.\,\right\} $ และ $\emptyset \ne B\subseteq A$ นำสมาชิกใน $B$ มาเรียงค่าจากมากไปหาน้อย แล้วใส่เครื่องหมาย $+,-,+,-$ สลับไปทีละสมาชิกจนครบทุกสมาชิกในสับเซต แล้วเรียกผลบวกสลับเครื่องหมายของสมาชิกในสับเซตนั้นว่า $S(B)$ เช่น $B_1=\left\{\,\right. 2012,2013,2014\left.\,\right\} $ จะได้ $S(B_1)=2014-2013+2012$ ถ้าผลบวกของ $S(B)$ ที่เกิดจากสับเซต $B$ ที่ไม่ใช่เซตว่างทั้งหมดใน A มีค่าเป็น $c\cdot 2^x$ จงหาค่าของ $c+x$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 4. ถ้าทราบว่าสมการ $x^3-(5+i)x^2+(9+4i)x+k(1+i)=0$ มีคำตอบหนึ่งเป็น $1+i$จงหาค่า $k$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 5. (4 คะแนน) กำหนดให้ลำดับชุดหนึ่งมีความสัมพันธ์เป็น $$a_{n}=a_{n-1}-a_{n-2}+a_{n-3}$$ ถ้า $a_{333}+a_{666}+a_{999}=2555$ และ $a_{2554}=2012$ จงหาค่าของ $a_{2012}$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 6. (5 คะแนน) จงหาค่าที่มากที่สุดของฟังก์ชัน $$f(x,y)=\sqrt{(x-45)^2+(y-23)^2}+\sqrt{(x-23)^2+(y-45)^2} $$ โดยที่ $x^2+y^2=1$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 7. (5 คะแนน) กำหนดให้ $f_1(x)=\dfrac{10}{11}-\dfrac{121}{11x+1} $ และ $f_n(x)=f_1(f_{n-1}(x))$ สำหรับทุกๆ $n\geqslant 2$ ถ้ามีค่า $x$ ที่ทำให้ $f_{2555}(x)=x-3$ สามารถเขียนให้อยู่ในรูป $\frac{m}{n} $ โดยที่ $m$ และ $n$ เป็นจำนวนเต็มบวกและเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์ต่อกันแล้ว จงหาค่าของ $mn$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) ระดับมัธยมต้น 1. (2 คะแนน) ให้ $ a,b,c $ เป็นจำนวนจริงที่ $ c> b> a > 0 $ ถ้า $\dfrac{a}{b} - \dfrac{b}{c} + \dfrac{c}{a} = \dfrac{7}{2} , \dfrac{c}{b} - \dfrac{b}{a} = \dfrac{3}{2} $ จงหาค่าของ $( \dfrac{12c}{a} + 8 )^2 + (\dfrac{12a}{b} - 3 )^2 + 19 $ (เสนอโดย คุณ Coke) 2. (2 คะแนน) ให้ $ a_1,\dots,a_{26}$ เป็นจำนวนจริง และ $A = a_1 + a_2 +\dots +a_{26} $ ถ้า $ \dfrac{A - a_i}{a_i} = 2^i - 1 $ สำหรับ $i=1,2\dots,25$ จงหา $ \dfrac{A }{a_{26}}$ (เสนอโดย คุณ Coke) 3. จงหาชุดของจำนวนจริง $x,y,z$ ที่สอดคล้องกับระบบสมการ $$x+y+z = 6,\qquad x^2+y^2+z^2 = 14,\qquad xz+yz = (xy+1)^2$$ (เสนอโดย คุณ Metamorphosis) 4. (3 คะแนน) จงหาจำนวนจริงบวกทั้งหมด (ถ้ามี) ที่สอดคล้องกับ $$x^3+y^3+z^3 =x+y+z,\qquad x^2+y^2+z^2 = xyz$$ (เสนอโดย คุณ Metamorphosis) 5. กำหนดให้ $A , B , C$ และ $D$ เป็น จำนวนเต็มบวก ซึ่ง $A^3=B^4$ และ $C^3=D^2$ โดยที่ $C-A=200$ จงหาค่าของ $\sqrt[3]{BD} $ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 6. กำหนดให้ $$x^2+y^2=7,\qquad x^3+y^3=10.$$ จงหาค่าที่มากที่สุดที่เป็นไปได้ของ $x+y$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 7. (3 คะแนน) กำหนดให้ $$ \frac{x}{668}+\frac{y}{669}+\frac{z}{670}= \frac{x}{670}+\frac{y}{671}+\frac{z}{672}= \frac{x}{674}+\frac{y}{675}+\frac{z}{676}=1$$ จงหาค่าของ $x+y+z-3$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 8. จงหาจำนวนเต็มที่มากที่สุดที่ทำให้ $n^3+100$ หารด้วย $n+10$ ลงตัว (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 9. (4 คะแนน) จงหาค่าของ $90x+99y+999$ เมื่อ $x,y$ เป็นจำนวนนับที่สอดคล้องกับสมการ $$y^2+15x^2y^2=8145x^2+2556$$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 10. จงหาค่าของ $$(\sqrt{42} +\sqrt{43} +\sqrt{44})( \sqrt{42} -\sqrt{43} +\sqrt{44})( \sqrt{42} +\sqrt{43} -\sqrt{44})( -\sqrt{42} +\sqrt{43} +\sqrt{44})$$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 11. กล่องใบหนึ่งมีจุดยอดเป็น ABCDEFGH ดังรูป วัดระยะทางจากจุด A ไปยังจุด F ได้ 65 หน่วย ระยะทางที่สั้นที่สุดจากส่วนของเส้นตรง AF ไปยังจุด B คือ $\dfrac{42\sqrt{116}}{65}$ หน่วย ระยะทางที่สั้นที่สุดจากส่วนของเส้นตรง AF ไปยังจุด G คือ $\dfrac{24\sqrt{3649}}{65}$ หน่วย ระยะทางที่สั้นที่สุดจากส่วนของเส้นตรง AF ไปยังจุด C คือ $\dfrac{300}{13}$ หน่วย จงหาปริมาตรของกล่อง (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 12. (3 คะแนน) จำนวนนับสองจำนวน มีผลหารจากการหารค.ร.น.ด้วยห.ร.ม.เป็น 9950 และผลบวกของสองจำนวนนั้นมีค่า 7221 จงหาผลต่างของสองจำนวนนั้น (เสนอโดย คุณScylla\_Shadow ) 13. (3 คะแนน) เมื่อเขียนจำนวน 300! ในระบบเลขฐานสิบเอ็ดจะมี 0 ลงท้ายกี่ตัว (เสนอโดย คุณScylla\_Shadow ) 14. (4 คะแนน) ให้ $AB$ เป็นจุดปลายของเส้นผ่านศูนย์กลางบนวงกลม $O$ ต่อเส้นตรง $AB$ จากจุด $B$ ไปยังภายนอกวงกลมไปถึงจุด $C$ โดยที่ระยะ $BC$ เป็น 74 หน่วย แล้วลากเส้นจากจุด $C$ ไปกับสัมผัสกับวงกลมที่จุด $D$ ต่อ $CD$ จากจุด $D$ ไปถึงจุด $F$ ทำให้ $AF,DF$ เป็นเส้นสัมผัสวงกลม ถ้าความยาวของ $AF$ เป็น 2220 หน่วยแล้ว จงหารัศมีของวงกลม $O$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 15. (4 คะแนน) กำหนดสี่เหลี่ยมจัตุรัส ABCD มีความยาวแต่ละด้าน 12 หน่วย มีจุด P อยู่บนแนวเส้นทแยงมุม AC โดย AP ยาวกว่า CP ลาก PB,PD จากนั้นวาดวงกลมแนบในสามเหลี่ยม ABP และสามเหลี่ยม CDP กำหนดให้จุดศูนย์กลางของวงกลมเป็น $O_1$ และ $O_2$ ตามลำดับ วัดมุม $O_1PO_2$ ได้ 150 องศา ถ้าความยาวด้าน AP เขียนได้ในรูป $a \sqrt{b} +c\sqrt{d} $ เมื่อ $a,b,c$ และ $d$ เป็นจำนวนเต็มบวกและ $b>d>a>c$ จงหาค่าของ $11a+22b+33c+44d$ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 16. (4 คะแนน) สี่เหลี่ยมนูน ABCD มีเส้นทแยงมุม AC, BD ตัดตั้งฉากกันที่ X ถ้าเส้นที่ลากจาก X ไปตั้งฉากด้าน AB, BC, CD ยาว $\sqrt{5},\, \sqrt{73},\, \sqrt{7}$ ตามลำดับแล้ว จงหาความยาวเส้นที่ลากจาก X ไปตั้งฉากด้าน DA (เสนอโดย คุณ PP_nine) 17. กำหนด P(x) เป็นพหุนามดีกรีสาม ซึ่ง $P(x)=\frac{1}{x}$ สำหรับ $x=1,2,3,4$ จงหาค่าของ $P(5)$ (เสนอโดย คุณScylla_Shadow ) 18. (4 คะแนน) กำหนดจำนวนจริงบวก $a<b<c$ เป็นความยาวด้านของสามเหลี่ยมที่มีอัตราส่วนมุมภายในเป็น 2:3:4 ถ้า $\dfrac{c^2}{a+b}=29$ แล้ว $c^2-ab$ มีค่าเท่าไร (เสนอโดย คุณScylla_Shadow ) 19. (4 คะแนน) สี่เหลี่ยม ABCD มี AB ยาว 13 หน่วย , BC ยาว 45 หน่วย และ CD ยาว 52 หน่วย และ มุมBAD= มุมADC ถ้ามีครึ่งวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางอยู่บน AD และสัมผัสกับด้านที่เหลือทั้งสาม สี่เหลี่ยม ABCD มีพื้นที่เท่าไร (เสนอโดย คุณScylla_Shadow ) 20. (4 คะแนน) จากภาพ สี่เหลี่ยมจัตุรัส ABCD มีพื้นที่ 29 ตารางหน่วย CE เป็นเส้นสัมผัสครึ่งวงกลม F ตัดครึ่งวงกลม G ที่ H และ DH ตัดครึ่งวงกลม F ที่ I จงหาอัตราส่วนความยาว DI ต่อ IH (เสนอโดย คุณScylla_Shadow ) ระดับประถมปลาย 1. (3 คะแนน) จงหาผลรวมของจำนวนนับ ที่มีสมบัติว่า เมื่อบวกด้วย 4242 หรือลบด้วย 2424 ก็จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นพหุคูณของจำนวนนั้นเอง (เสนอโดย คุณScylla_Shadow ) 2. (3 คะแนน) ตั้งนาฬิกาสามเรือนให้ตั้งปลุกทุก 24 ,44 และ 42 นาที หลังจากที่นาฬิกาทั้งสามปลุกในเวลาเดียวกันเป็นครั้งที่สาม จะได้ว่ามีการปลุกในช่วงเวลาที่แตกต่างกันทั้งหมดกี่ครั้ง (เสนอโดย คุณScylla_Shadow ) 3. (4 คะแนน) นักมายากลบอกให้ผู้ร่วมแสดงนึกเลขสามหลัก ซึ่งเลขโดดแต่ละหลักแตกต่างกันไว้ในใจ จากนั้นให้สลับหลักของเลขสามหลักนั้นมาสร้างเลขสามหลักอีก 5 จำนวน เช่น ถ้าคิดเลข 123 ไว้ในใจให้สร้างเลขสามหลักอีก 5 จำนวนดังนี้ 132; 213; 231; 312; 321 แล้วนำเลขทั้ง 5 จำนวนที่ได้มานั้นบวกกันได้ผลลัพธ์เป็น 1209 ก็บอกค่า 1209 นี้แก่นักมายากล นักมายากลก็ทราบได้ว่าเลขที่ผู้ร่วมแสดงคิดในใจคือ 123 ถ้าสมมติว่าท่านเป็นนักมายากลแล้วผู้ร่วมแสดงบอกค่าผลรวมตัวเลข 5 จำนวนแก่ท่านว่าเป็น 3839 จงหาว่าผู้ร่วมแสดงคิดจำนวนสามหลักใดไว้ในใจ (เสนอโดย คุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่าย) 4. (2 คะแนน) กำหนดการกระทำ $x\otimes y$ ถ้า $1 \otimes 2 \ = \ 5$ และ $3 \otimes 4 \ = \ 25$ ดังนั้นจงหาค่าของ $12 \otimes 34 $ (เสนอโดย คุณScylla_Shadow )
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ) Stay Hungry. Stay Foolish. |
#2
|
||||
|
||||
ว้าว longlist มาแล้ววววว
ส่วนใครที่สนใจข้อ matrix ในระบบ modular (ระดับโอลิมปิก) สามารถดูโจทย์ส่วนขยายของข้อนี้ได้ครับ ผมเคยโพสไว้เมื่อนานมาแล้ว Number Theory Marathon
__________________
keep your way.
13 พฤษภาคม 2012 12:48 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ PP_nine |
#3
|
||||
|
||||
ทำไมช่วงนี้ดูเงียบเหงาจัง สงสัยเป็นช่วงก่อน TMO ล่ะมั้ง
เฉลยของผมเรียงตาม Longlist ________________________________________________________________________________ ถ้า $f$ เป็นฟังก์ชันแยกคูณไม่เป็นฟังก์ชันศูนย์แล้ว ฟังก์ชัน $F$ ซึ่งนิยามโดย $$F(n)=\sum_{d|n} f(d)$$ ก็เป็นฟังก์ชันแยกคูณด้วย พิสูจน์ : เนื่องจาก $f$ ไม่เป็นฟังก์ชันศูนย์ ดังนั้น $f(1)=1$ เสมอ และทำให้ $F(1)=1$ กำหนดจำนวนนับ $x,y>1$ โดยที่ $(x,y)=1$ ดังนั้น สำหรับจำนวนนับ $d$ ซึ่ง $d|xy$ จะมีคู่อับ $(d_1,d_2)$ เพียงคู่เดียวที่ $d=d_1d_2$ และ $d_1|x$ และ $d_2|y$ ซึ่ง $(d_1,d_2)=1$ เสมอ แสดงว่า $$F(xy) = \sum_{d_1d_2|n} f(d_1d_2)$$ $$F(xy) = \sum_{d_1|n, \, d_2|n} f(d_1)f(d_2)$$ $$F(xy) = \sum_{d_1|n} f(d_1) \sum_{d_2|n} f(d_2)$$ $$F(xy) = F(x)F(y)$$ ดังนั้น $F$ ก็เป็นฟังก์ชันแยกคูณ # $\nu$ เป็นฟังก์ชันแยกบวก พิสูจน์ : ให้ $x=p_1^{a_1}p_2^{a_2} \cdots p_k^{a_k}$ และ $y=q_1^{b_1}q_2^{b_2} \cdots q_l^{b_l}$ แทนการเขียนในรูปแบบัญญัติของ $x,y$ โดยที่ $(x,y)=1$ (นั่นคือ $p_1,p_2,...,p_k,q_1,q_2,...q_l$ แตกต่างกันหมด) แสงดว่า $\nu (xy) = k+l = \nu (x) + \nu (y)$ นั่นคือ $\nu$ เป็นฟังก์ชันแยกบวก # กำหนดให้ $$F(n)=\sum_{d|n} m^{\nu (d)}$$ โดย Lemma 2 ได้ว่า $\nu$ เป็นฟังก์ชันแยกบวก ดังนั้น $m^{\nu (n)}$ เป็นฟังก์ชันแยกคูณ และโดย Lemma 1 ส่งผลให้ $F$ เป็นฟังก์ชันแยกคูณด้วย จึงเป็นการเพียงพอทีจะหาค่าของ $F(p^a)$ เมื่อ $p$ เป็นจำนวนเฉพาะ นอกจากนี้ยังได้ว่า $\nu (d)=1$ เสมอ สำหรับ $d|p^a$ และ $d>1$ $$F(p^a) = \sum_{d|p^a} m^{\nu (d)}$$ $$F(p^a) = m^0+\underbrace{m^1+m^1+\cdots+m^1}_{a}$$ $$F(p^a) = ma+1$$ ดังนั้น ถ้าให้ $n=p_1^{a_1} p_2^{a_2} \cdots p_k^{a_k}$ แทนการเขียนในรูปแบบบัญญัติ จะได้ว่า $$F(n)=F(p_1^{a_1})F(p_2^{a_2}) \cdots F(p_k^{a_k})$$ $$F(n)=(ma_1+1)(ma_2+1) \cdots (ma_k+1)$$ ในขณะที่ $$\tau (n^m)=(ma_1+1)(ma_2+1) \cdots (ma_k+1)$$ ดังนั้น $$\tau (n^m) = \sum_{d|n} m^{\nu (d)}$$ # ________________________________________________________________________________ ถ้า $A \equiv B \pmod{n}$ แล้ว $\det (A) \equiv \det (B) \pmod{n}$ พิสูจน์ : โดยนิยามของเมตริกซ์ไมเนอร์, ถ้า $A \equiv B \pmod{n}$ แล้ว การตัดแถว,หลักที่ตำแหน่งเดียวกันของ $A,B$ ย่อมไม่มีผลต่อตำแหน่งอื่นของสมาชิกในเมตริกซ์ไมเนอร์ ดังนั้น $M_{ij} (A) \equiv M_{ij} (B) \pmod{n}$ ต่อไปจะพิสูจน์โดยการใช้อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ ให้ $P(k)$ คือข้อความ "สำหรับเมตริกซ์ $A,B$ มิติ $k \times k$ ใดๆ ถ้า $A \equiv B \pmod{n}$ แล้ว $\det (A) \equiv \det (B) \pmod{n}$" พิจารณาเมตริกซ์ $A,B$ มิติ $1 \times 1$ พบว่า $\det (A)=a_{11} \equiv b_{11} = \det (B) \pmod{n}$ ดังนั้น $\det (A) \equiv \det (B) \pmod{n}$ พิจารณาเมตริกซ์มิติ $2 \times 2$ พบว่า $\det (A)=a_{11}a_{22}-a_{12}a_{21} \equiv b_{11}b_{22}-b_{12}b_{21} = \det (B) \pmod{n}$ ดังนั้น $\det (A) \equiv \det (B) \pmod{n}$ ดังนั้น $P(1),P(2)$ เป็นจริง ต่อไปสมมติให้ $P(k)$ เป็นจริง จะแสดงว่า $P(k+1)$ ก็เป็นจริง กำหนดให้เมตริกซ์ $A,B$ มีมิติ $(k+1) \times (k+1)$ เราได้แสดงไว้แล้วว่า $M_{ij} (A) \equiv M_{ij} (B) \pmod{n}$ แต่ทั้ง $M_{ij} (A),M_{ij} (B)$ ต่างเป็นเมตริกซ์มิติ $k \times k$ ดังนั้น $\det (M_{ij} (A)) \equiv \det (M_{ij} (B)) \pmod{n}$ จากนิยาม $\det (A) = \sum (-1)^{i+j} a_{ij} \det (M_{ij} (A))$ ก็จะได้ว่า $\det (A) \equiv \det (B) \pmod{n}$ ดังนั้น $\det (A) \equiv \det (B) \pmod{n}$ เป็นจริงสำหรับเมตริกซ์ $A,B$ มิติ $m \times m$ ใดๆ # $(a,n)=1$ ก็ต่อเมื่อมีจำนวนเต็ม $a^{-1}$ ซึ่ง $a \cdot a^{-1} \equiv 1 \pmod{n}$ และเรียก $a^{-1}$ ว่าเป็น อินเวอร์สมอดุโล $n$ พิสูจน์ : $(\Rightarrow)$ จาก $(a,n)=1$ จะได้ว่ามีจำนวนเต็ม $x,y$ ซึ่ง $ax+by=1$ นั่นคือ $ax \equiv 1 \pmod{n}$ $(\Leftarrow)$ จาก $ab \equiv 1 \pmod{n}$ แต่ $(1,n)=1$ ดังนั้น $(ab,n)=1$ ด้วย สมมติว่า $(a,n)=d>1$ ก็จะได้ว่า $(ab,n)=d' \ge d >1$ ขัดแย้งกับที่ได้แสดงไว้ ดังนั้น $(a,n)=1$ # $(\Rightarrow)$ ถ้ามี $B \in \mathbb{Z}^{m \times m}$ ซึ่ง $AB \equiv I \pmod{n}$ โดย Lemma 1 ได้ว่า $\det (AB) \equiv 1 \pmod{n}$ แต่ $(1,n)=1$ ดังนั้น $(\det(AB),n)=1$ ด้วย สมมติว่า $(\det(A),n)=d>1$ ก็จะได้ว่า $(\det(AB),n)=(\det(A)\det(B),n)=d' \ge d >1$ ขัดแย้งกับที่ได้แสดงไว้ ดังนั้น $(\det(A),n)=1$ # $(\Leftarrow)$ ถ้า $(\det(A),n)=1$ แสดงว่ามีจำนวนเต็ม $x,y$ ซึ่ง $\det(A) x + ny =1$ ดังนั้น $\det(A) I \cdot x + nyI \equiv I$ แต่ $A \cdot adj(A) = \det(A)I$ $A (x \cdot adj(A)) +nyI=I$ นั่นคือ $A (x \cdot adj(A)) \equiv I \pmod{n}$ แสดงว่ามีเมตริกซ์ $B=x \cdot adj(A)$ ซึ่ง $AB \equiv I \pmod{n}$ # เนื่องจาก $A \cdot adj(A) = adj(A) \cdot A = \det(A) I$ ดังนั้น $adj(A) \cdot A \equiv \det(A) I \pmod{n}$ ให้เมตริกซ์ $A^{-1}$ แทนเมตริกซ์อินเวอร์สมอดุโล $n$, กล่าวคือ $A \cdot A^{-1} \equiv I \pmod{n}$ ดังนั้น $\det(A) \cdot A^{-1} \equiv adj(A) \pmod{n}$ และโดย Lemma 2 จะได้ว่ามีจำนวนเต็ม $(\det(A))^{-1}$ ที่เป็นอินเวอร์สมอดุโล $n$ $\therefore A^{-1} \equiv (\det(A))^{-1} \cdot adj(A) \pmod{n}$ เป็นรูปทั่วไปของอินเวอร์สเมตริกซ์ $A$ มอดุโล $n$ # จาก $a^2+b^2+c^2=1$ โดย Power mean ได้ว่า $\dfrac{a+b+c}{3} \le \sqrt{\dfrac{1}{3}}$ หรือก็คือ $a+b+c \le \sqrt{3}$ นอกจากนี้, $ab+bc+ca \le \dfrac{1}{3}(a+b+c)^2$ (สมมูลกับ $ab+bc+ca \le a^2+b^2+c^2$ ซึ่งจริงโดย Cauchy-Schwarz) ดังนั้น $$a+b+c+\frac{3}{ab+bc+ca} \ge \frac{(a+b+c)^2}{\sqrt{3}}+\frac{3}{ab+bc+ca}$$ $$a+b+c+\frac{3}{ab+bc+ca} \ge \frac{(a+b+c)^2}{\sqrt{3}}+\frac{9}{(a+b+c)^2}$$ แบ่งก้อนหลังสุดของ RHS เป็นสองก้อนดังนี้ $$a+b+c+\frac{3}{ab+bc+ca} \ge \frac{(a+b+c)^2}{\sqrt{3}}+\frac{3\sqrt{3}}{(a+b+c)^2}+\frac{9-3 \sqrt{3}}{(a+b+c)^2}$$ โดย AM-GM กับสองก้อนแรกใน RHS ได้ว่า $$a+b+c+\frac{3}{ab+bc+ca} \ge 2 \sqrt{3}+\frac{9-3 \sqrt{3}}{(a+b+c)^2}$$ เนื่องจาก $9-3\sqrt{3}>0$ ดังนั้นจาก $a+b+c \le \sqrt{3}$ จึงได้ว่า $$a+b+c+\frac{3}{ab+bc+ca} \ge 2 \sqrt{3}+\frac{9-3 \sqrt{3}}{3}$$ $$a+b+c+\frac{3}{ab+bc+ca} \ge 3+\sqrt{3}$$ ค่าต่ำสุดคือ $3+\sqrt{3}$ โดยเกิดเมื่อ $a=b=c=\dfrac{1}{\sqrt{3}}$ # แบ่งเป็นตารางย่อย $2 \times 2$ ได้ 16 ตารางย่อย ซึ่งในแต่ละตารางย่อยจะมีจำนวนที่เป็นพหุคูณของ 2 ได้อย่างมาก 1 ตัว (จากเงื่อนไขที่กำหนด) ดังนั้นจะมีช่องที่เป็นพหุคูณของ 2 ได้อย่างมาก 16 ช่อง นั่นคือ ช่องที่เหลืออย่างน้อย 64-16=48 ช่องจะต้องเป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กับ 2 ซึ่งเป็นได้เพียง 1,3,5,7 โดยหลักรังนกพิราบได้ว่ามีอย่างน้อย $\left\lceil\, \dfrac{48}{4} \right\rceil =12$ ช่องที่เป็นตัวเดียวกัน # เนื่องจากสมาชิกของ $A$ ต้องอยู่ในรูปของ $p_1^{a_1}p_2^{a_2} \cdots p_n^{a_2}$ เมื่อ $a_1,a_2,...,a_n \in \mathbb{N} \cup \{ 0 \}$ แบ่งภาวะคู่คี่ของ $a_1,a_2,...,a_n$ ได้ $2^n$ แบบ เพราะแต่ละตัวเป็นได้สองแบบคือคู่หรือคี่ นั่นคือ เราต้องการเลือก 2 ตัวให้มีภาวะคู่คี่เดียวกัน (เพราะถ้ามีภาวะเดียวกันแล้ว เลขชี้กำลังของ $p_k$ ใดๆในผลคูณสองตัวนั้นย่อมเป็นเลขคู่ หรือก็คือเป็นกำลังสองสมบูรณ์) ดังนั้น โดยหลักรังนกพิราบ จำนวนที่เราต้องเลือกก็คือ $x$ ที่น้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องสมการ $\Big\lceil \dfrac{x}{2^n} \Big\rceil=2$ ซี่งก็คือ $x=2^n+1$ นั่นเอง # ________________________________________________________________________________ อินเวอร์สมอดุโล $n$ ของ $a_1,a_2,...,a_{\phi (n)}$ แตกต่างกันหมด (อินเวอร์สมอดุโล $n$ ของ $x$ คือจำนวนเต็มเขียนแทนด้วย $x^{-1}$ ซึ่ง $x \cdot x^{-1} \equiv 1 \pmod{n}$) พิสูจน์ : สมมติว่ามีบางคู่ซึ่งใช้อินเวอร์สร่วมกัน สมมติเป็น $a_i,a_j$ เมื่อ $i \not= j$ นั่นคือ $a_i^{-1} \equiv a_j^{-1} \pmod{n}$ คูณ $a_ia_j$ ได้ว่า $a_j \equiv a_i \pmod{n}$ ขัดแย้งกับที่ $\{ a_1,a_2,...a_{\phi (n)}\}$ เป็น RRS ดังนั้น อินเวอร์มอดุโล $n$ ของ $a_1,a_2,...,a_{\phi (n)}$ แตกต่างกันหมด # และส่งผลให้อินเวอร์สของ $a_1,a_2,...,a_{\phi (n)}$ เป็นการเรียงสับเปลี่ยนของตัวเอง (แปลว่า $a_1^{-1}+a_2^{-1}+\cdots+a_{\phi (n)}^{-1} \equiv a_1+a_2+\cdots+a_{\phi (n)} \pmod{n}$) สำหรับจำนวนนับ $n>2$ ได้ว่า $\phi (n)$ เป็นเลขคู่เสมอ พิสูจน์ : ถ้าให้ $n=p_1^{a_1}p_2^{a_2} \cdots p_k^{a_k}$ แทนการเขียนในรูปแบบบัญญัติ เนื่องจาก $\phi (n)=(p_1^{a_1}-p_1^{a_1-1})(p_2^{a_2}-p_2^{a_2-1}) \cdots (p_k^{a_k}-p_k^{a_k-1})$ ดังนั้น ถ้า $n$ มีจำนวนเฉพาะคี่ $p_i$ เป็นตัวประกอบแล้ว แฟคเตอร์ $p_i^{a_i}-p_i^{a_i-1}$ เป็นจำนวนคู่เสมอ และทำให้ $\phi (n)$ เป็นจำนวนคู่ และถ้า $n$ ไม่มจำนวนเฉพาะคี่ แสดงว่า $n=2^k$ เมื่อ $k \ge 2$ และทำให้ $\phi (n)=2^k-2^{k-1}$ เป็นจำนวนคู่ด้วย ดังนั้น สำหรับ $n>2$ ได้ว่า $\phi (n)$ เป็นเลขคู่เสมอ ถ้า $\{ b_1,b_2,...,b_{\phi (n)} \}$ คือเซต Reduced Residue System (RRS) ที่เป็นบวกน้อยที่สุดของมอดุโล $n$ แล้ว $b_1+b_2+\cdots+b_{\phi (n)} = \dfrac{n \phi (n)}{2}$ พิสูจน์ : เนื่องจาก $(n-b_i,n)=1$ ด้วย ดังนั้น $\{n-b_1,n-b_2,...,n-b_{\phi (n)}\}$ ก็เป็น RRS ที่เป็นบวกน้อยสุดของมอดุโล $n$ แสดงว่า $b_1+b_2+\cdots+b_{\phi (n)}=n-b_1+n-b_2+\cdots+n-b_{\phi (n)}$ $b_1+b_2+\cdots+b_{\phi (n)} = \dfrac{n \phi (n)}{2}$ # ให้ $A=a_1a_2a_3 \cdots a_{\phi (n)}$ จะได้ว่า $A \dfrac{a}{b}$ เป็นจำนวนเต็ม เพราะ $b|[a_1,a_2,...,a_{\phi (n)}]$ และ $[a_1,a_2,...,a_{\phi (n)}]|A$ ซึ่งจะได้ว่า $b|A$ เสมอ นอกจากนี้ยังได้ว่า $$A \cdot a_i^{-1} \equiv a_1a_2 \cdots a_{i-1}a_{i+1} \cdots a_{\phi (n)} \equiv \frac{A}{a_i} \pmod{n}$$ $$\therefore A\frac{a}{b} = A \Big( \frac{1}{a_1}+\frac{1}{a_2}+\cdots+\frac{1}{a_{\phi (n)}} \Big) \equiv A(a_1^{-1}+a_2^{-1}+\cdots+a_{\phi (n)}^{-1}) \pmod{n}$$ แต่โดย Lemma 1 ได้ว่า $$a_1^{-1}+a_2^{-1}+\cdots+a_{\phi (n)}^{-1} \equiv a_1+a_2+\cdots+a_{\phi (n)} \pmod{n}$$ ถ้า $\{ b_1,b_2,...,b_{\phi (n)} \}$ คือเซต Reduced Residue System (RRS) ที่เป็นบวกน้อยที่สุดของมอดุโล $n$ แล้ว $$a_1+a_2+\cdots+a_{\phi (n)} \equiv b_1+b_2+\cdots+b_{\phi (n)} \pmod{n}$$ แต่โดย Lemma 3 ได้ว่า $$b_1+b_2+\cdots+b_{\phi (n)} \equiv \frac{n \phi (n)}{2} \pmod{n}$$ และโดย Lemma 2 ได้ว่า $\dfrac{\phi (n)}{2}$ เป็นจำนวนเต็ม ดังนั้น $$n \frac{\phi (n)}{2} \equiv 0 \pmod{n}$$ จากเดิมจึงได้ว่า $$\frac{A}{b}a \equiv 0 \pmod{n}$$ แต่เพราะ $(A,n)=1$ ดังนั้น $\Big( \dfrac{A}{b} ,n \Big)=1$ ด้วย (เพราะถ้ามากกว่า 1 ก็จะทำให้ $(A,n)>1$ ซึ่งขัดแย้งกัน) จึงได้ว่า $a \equiv 0 \pmod{n}$ หรือก็คือ $n|a$ # พิจารณา $x,\, \sqrt{xy},\, y$ เป็นลำดับเรขาคณิต ในขณะที่ $f(x),\, f(\sqrt{xy}),\, f(y)$ เป็นลำดับเลขคณิต ดังนั้น เราสมารถเลือกลำดับเรขาคณิตลดโดยแท้ใดๆที่มีค่าของฟังก์ชันเป็นลำดับเลขคณิตลดโดยแท้ได้เรื่อยๆไม่จำกัด เช่น $1,\, \frac{1}{2},\, \frac{1}{4},\, \frac{1}{8},\, ...$ ซึ่ง $f(1),\, f(\frac{1}{2}),\, f(\frac{1}{4}),\, f(\frac{1}{8}),\, ...$ เป็นลำดับเลขคณิตที่ลดโดยแท้ แต่ลำดับเลขคณิตที่ลดโดยแท้ต้องมีบางสมาชิกซึ่งมีค่าติดลบเสมอ นั่นคือ มีบางจำนวนจริงบวก $a$ ในลำดับดังกล่าวที่ทำให้ $f(a)<0$ # จากสมการที่กำหนดให้ สามารถจัดรูปได้เป็น $$bc=ac+ab+1$$ $$1=\frac{a}{b} + \frac{a}{c} + \frac{1}{bc}$$ $$1=a \cdot \frac{1}{b} + a \cdot \frac{1}{c} + \frac{1}{b} \cdot \frac{1}{c}$$ เนื่องจาก สำหรับจำนวนจริงบวก $x,y,z$ ใดๆ $xy+yz+zx=1$ ก็ต่อเมื่อมี $A,B,C \in (0,\pi )$ ซึ่ง $A+B+C=\pi$ และ $$x=\tan \frac{A}{2}$$ $$y=\tan \frac{B}{2}$$ $$z=\tan \frac{C}{2}$$ ในที่นี้คือ $x=a$, $y=\dfrac{1}{b}$, $z=\dfrac{1}{c}$ ดังนั้น มี $A,B,C \in (0,\pi )$ ซึ่ง $A+B+C=\pi$ และ $$a=\tan \frac{A}{2}$$ $$b=\cot \frac{B}{2}$$ $$c=\cot \frac{C}{2}$$ เราจึงสามารถจัดรูปของ $P$ ได้เป็น $$P=4024 \cos^2 \frac{A}{2} - 4024 \sin^2 \frac{B}{2} - 2555 \sin^2 \frac{C}{2}$$ $$P=2012 (1+\cos A) - 2012 (1-\cos B) - 2555 \sin^2 \frac{C}{2}$$ $$P=2012 (\cos A + \cos B) -2555 \sin^2 \frac{C}{2}$$ $$P=4024 \sin \frac{C}{2} \cos \frac{A-B}{2} - 2555 \sin^2 \frac{C}{2}$$ ให้ $p=\sin \dfrac{C}{2}$ และ $q=\cos \dfrac{A-B}{2}$ ได้ว่า $$P=4024pq-2555p^2$$ $$P=-2555 \Big( p^2-2 \cdot \frac{2012}{2555} pq \Big)$$ $$P=-2555 \Big( p^2-2 \cdot \frac{2012}{2555} pq +\Big( \frac{2012}{2555} \Big)^2 q^2\Big) + \frac{2012^2}{2555}q^2$$ $$P=-2555 \Big( p-\frac{2012}{2555}q \Big)^2 + \frac{2012^2}{2555} q^2$$ ดังนั้น ค่าสูงสุดคือ $P=\dfrac{2012^2}{2555}$ เกิดเมื่อ $p-\dfrac{2012}{2555}q=0$ และ $q=1$ หรือก็คือ $$\cases{\sin \frac{C}{2}=\frac{2012}{2555} \cr \cos \frac{A-B}{2}=1 }$$ $$\therefore c=\cot \dfrac{C}{2} = \frac{\sqrt{2555^2-2012^2}}{2012}=\frac{\sqrt{543 \cdot 4567}}{2012}$$ และจาก $A=B$ แสดงว่า $ab=1$ แทนกลับสมการเดิมได้ว่า $$b-a=\frac{2}{c}$$ $$\therefore b+a = \sqrt{\frac{4}{c^2}+4}$$ $$b+a=\frac{2}{c} \cdot \sqrt{1+c^2}$$ $$b+a=\frac{2}{c} \cdot \frac{2555}{2012}$$ แก้ระบบสมการได้ $$b=\frac{1}{c} \cdot \frac{4567}{2012}=\sqrt{\frac{4567}{543}}$$ $$a=\frac{1}{c} \cdot \frac{543}{2012}=\sqrt{\frac{543}{4567}}$$ สรุป : ค่าสูงสุดคือ $$P=\frac{2012^2}{2555}$$ เกิดเมื่อ $$a=\sqrt{\frac{543}{4567}}$$ $$b=\sqrt{\frac{4567}{543}}$$ $$c=\frac{\sqrt{543 \cdot 4567}}{2012}$$ เนื่องจาก $\lfloor a \rfloor \le a$ ดังนั้น $2012 = x \lfloor x \lfloor x \rfloor \rfloor \le x^2 \lfloor x \rfloor \le x^3$ $x^3 \ge 2012$ $x > 12$ แต่ถ้าสมมติดว่า $x \ge 13$ ก็จะได้ $\lfloor x \rfloor \ge 13$ $\therefore 2012 = x \lfloor x \lfloor x \rfloor \rfloor \ge13^3 = 2197$ เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น $12<x<13$ ทำให้ $\lfloor x \rfloor = 12$ เท่านั้น สมการเดิมเปลี่ยนเป็น $x \lfloor 12x \rfloor =2012$ นอกจากนี้ จาก $x^3 \ge 2012$ ได้ว่า $x>12.624>12+\dfrac{7}{12}$ ถ้า $12+\dfrac{7}{12}<x<12+\dfrac{8}{12}$ ดังนั้น $\lfloor 12x \rfloor=144+7=151$ ได้ $151x=2012$ $x=\dfrac{2012}{151}>13$ $\therefore$ ในกรณีนี้ไม่มีคำตอบ ถ้า $12+\dfrac{8}{12} \le x<12+\dfrac{9}{12}$ ดังนั้น $\lfloor 12x \rfloor=144+8=152$ ได้ $152x=2012$ $x=\dfrac{2012}{152}>13$ $\therefore$ ในกรณีนี้ไม่มีคำตอบ ถ้า $12+\dfrac{9}{12} \le x<12+\dfrac{10}{12}$ ดังนั้น $\lfloor 12x \rfloor=144+9=153$ ได้ $153x=2012$ $x=\dfrac{2012}{153}>13$ $\therefore$ ในกรณีนี้ไม่มีคำตอบ ถ้า $12+\dfrac{10}{12} \le x<12+\dfrac{11}{12}$ ดังนั้น $\lfloor 12x \rfloor=144+10=154$ ได้ $154x=2012$ $x=\dfrac{2012}{154}>13$ $\therefore$ ในกรณีนี้ไม่มีคำตอบ ถ้า $12+\dfrac{11}{12} \le x<12+\dfrac{12}{12}$ ดังนั้น $\lfloor 12x \rfloor=144+11=155$ ได้ $155x=2012$ $x=\dfrac{2012}{155}$ โดยที่ $12+\dfrac{11}{12} < \dfrac{2012}{155} < 13$ $\therefore$ ในกรณีมีคำตอบเดียวคือ $x=\dfrac{2012}{155}$ จากทุกกรณี ได้ว่ามีคำตอบเดียวคือ $x=\dfrac{2012}{155}$ # สามเหลี่ยมสมมติ PQR มีมุม Q เป็นมุมฉาก ให้เส้นที่ลากจาก Q มาตั้งฉากด้าน PR ยาว h และด้านประกอบมุมฉากยาว p, r แล้ว พื้นที่สามเหลี่ยมรูปนี้คือ $\dfrac{1}{2}pr=\dfrac{1}{2} h \cdot \sqrt{p^2+r^2}$ ซึ่งสามารถจัดรูปได้เป็น $\dfrac{1}{p^2}+\dfrac{1}{r^2}=\dfrac{1}{h^2}$ จากโจทย์ ถ้าให้ $XA=a,\, XB=b,\, XC=c,\, XD=d$ และให้เส้นที่ลากจาก X มาตั้งฉากด้าน AB, BC, CD, DA ยาว $x_1,\, x_2,\, x_3,\, x_4$ แล้ว จากที่ได้แสดงไว้ตอนแรก สามารถสร้างระบบสมการได้เป็น $$\frac{1}{a^2}+\frac{1}{b^2}=\frac{1}{x_1^2}$$ $$\frac{1}{b^2}+\frac{1}{c^2}=\frac{1}{x_2^2}$$ $$\frac{1}{c^2}+\frac{1}{d^2}=\frac{1}{x_3^2}$$ $$\frac{1}{d^2}+\frac{1}{a^2}=\frac{1}{x_4^2}$$ สังเกตว่า $$\frac{1}{x_4^2}=\frac{1}{x_1^2}+\frac{1}{x_3^2}-\frac{1}{x_2^2}$$ จากที่โจทย์กำหนด จึงได้ว่า $$\frac{1}{x_4^2}=\frac{1}{5}+\frac{1}{7}-\frac{1}{73}$$ $$\frac{1}{x_4^2}=\frac{841}{2555}$$ ดังนั้น ความยาวเส้นที่ลากจาก X มาตั้งฉาก DA คือ $x_4=\dfrac{\sqrt{2555}}{29}$ #
__________________
keep your way.
|
#4
|
||||
|
||||
เงียบเหงาจริงๆด้วยครับ
ผลยังไม่ออกอีกเหรอครับเนี่ย
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม คณิตศาสตร์ คือ ความจริง ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่ https://youtube.com/@krupoper?si=-iA8pgGliomfAUPA |
#5
|
||||
|
||||
เรขามัธยม ยากมากๆครับ
|
#6
|
||||
|
||||
รู้สึกว่าโจทย์ผมง่ายที่สุดเลยนะเนี่ย- - เดี๋ยวครั้งหน้าจะเอาใหม่
|
#7
|
||||
|
||||
หรอๆๆๆๆครับผมเกือบทำไม่ได้
|
#8
|
||||
|
||||
ก็ตอนแรกโจทย์มันผิดอ่ะ ทําได้ก็แปลกแล้ว
|
#9
|
||||
|
||||
ไม่รู้มีคนสังเกตเห็นหรือยัง
$2555+2012=4567$ เลขสวยดี ผมเลยเอามาทำเป็นโจทย์ olympic#14
__________________
keep your way.
|
#10
|
||||
|
||||
คงมิได้หมายถึงเรขาของข้าพเจ้าสินะ
ของคุณ กระบี่เดียวดายแสวงพ่ายยากกว่ามากมาย |
#11
|
||||
|
||||
ของท่านด้วยหล่ะครับ ทำเรขาไม่ได้สักข้อ
|
#12
|
|||
|
|||
คุณnongtumกลับมาแล้ววว เย้....
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ (ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี) (แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด) |
#13
|
||||
|
||||
เย้ๆๆๆๆ รออยู่นะครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม คณิตศาสตร์ คือ ความจริง ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่ https://youtube.com/@krupoper?si=-iA8pgGliomfAUPA |
#14
|
|||
|
|||
เฉลยเหมือนบทความที่ผมเคยอ่านมาก่อนเลยตรับ ทราบมาว่าเป็นเอกสารเตรียมสอบคัดเลือกโอลิมปิคสมัยหนึ่ง
โลกเค้าไปไกลแล้ว เป็นครูอาจารย์ใช่มั้ยครับเลยย่ำอยู่ที่เก่า เอาเลยครับลองตรองดู เผื่อได้ไอเดียใหม่ๆ สายวิศวกรรมด่ากลับ แต่สายวิทย์เชิญชวน |
#15
|
||||
|
||||
เหอๆๆ ผมหายไปนาน มีอะไรมันส์ๆให้ตามย้อนอ่านเยอะแยะเลยนะครับ...
คนเก่าๆหายหน้าไป คนใหม่ๆผมเริ่มไม่รู้จัก แต่เอาเป็นว่าจะค่อยๆกลับสู่วงการนี้อีกรอบครับ เริ่มจากสรุปผลการแข่งที่ค้างข้ามปีก่อนล่ะ รู้สึกว่าพอค้างไว้ ทำอะไรอย่างอื่นต่อไม่ได้สักที ทุกๆท่าน ขออภัยและโปรดอดใจรอครับ
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ) Stay Hungry. Stay Foolish. |
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
Mathcenter Contest Round 2/2009 Longlist | nongtum | ปัญหาเก็บตก | 20 | 24 กันยายน 2009 08:55 |
Mathcenter Contest Round 1/2009 Longlist | nongtum | ปัญหาเก็บตก | 24 | 25 มิถุนายน 2009 17:35 |
Mathcenter Contest Round 3 Olympic Longlist | nongtum | ปัญหาเก็บตก | 4 | 14 กุมภาพันธ์ 2009 19:25 |
Mathcenter Contest Round 1 Olympic Longlist | nongtum | ปัญหาเก็บตก | 10 | 09 สิงหาคม 2008 16:24 |
Mathcenter Contest Round 0 Longlist | nongtum | ปัญหาเก็บตก | 27 | 05 พฤษภาคม 2008 01:27 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|