#1
|
|||
|
|||
เริ่มไม่ถูกค่ะ
ตอนนี้ ลูกชายเรียนอยู่ ป.4 รร ชายมีชื่อนิดนึงคะ การเรียนก็อยู่ในเกณฑ์ดีคะ ดูแล้วก็ง่ายๆ ไม่ต้องสอนอะไรเวลาทำการบ้าน ช่วงนี้เห็นคนอื่นพูดถึงสอบเข้า ม.1 กัน (รร มีถึง ม.6) ก็อยากจะให้ลูกลองสอบบ้าง ก็เริ่มแอบดูข้อสอบเข้า หรือ เลข ป.4 (จากเวปต่างๆ รวมทั้งได้เจอเวปนี้) โอโห้ ทำมายมันยากจัง ไม่เหมือนในหนังสือเลย ไม่รู้จะเริ่มยังไงดีคะ หากใครมีประสบการณ์ รบกวนแชร์ให้บ้าง จักขอบพระคุณคะ
|
#2
|
|||
|
|||
เริ่มต้นก็ต้องเข้าห้องให้ถูกก่อนครับ
ป. 4 ต้องไปถามในห้องประถมปลายครับ
__________________
มาหาความรู้ไว้ติวหลาน แต่หลานไม่เอาเลขแล้ว เข้ามาทำเลขเอามันอย่างเดียว ความรู้เป็นสิ่งเดียวที่ยิ่งให้ ยิ่งมีมาก รู้อะไรไม่สู้ รู้จักพอ (ยกเว้นความรู้ ไม่ต้องพอก็ได้ หาไว้มากๆแหละดี) (แต่ก็อย่าให้มากจนท่วมหัว เอาตัวไม่รอด) |
#3
|
|||
|
|||
ขอบคุณคะ
แต่ก็ยังไปไม่ถูกคะ หมายถึงเริ่มต้นยังไงดีคะ หากต้องการเตรียมตัวให้ลูกสอบเข้า ม.1 รร รัฐบาล หรือว่าไปเรียนพิเศษเลย |
#4
|
||||
|
||||
แต่ละคนเริ่มไม่เหมือนกันครับ บางคนเริ่มที่บ้าน บางคนเริ่มที่โรงเรียน บางคนเริ่มที่โรงเรียนกวดวิชา
ไม่ว่าจะเริ่มยังไง ท้ายที่สุดก็หนีไม่พ้นกับการเพิ่มประสบการณ์แก้โจทย์ปัญหาด้วยตัวเองครับ The best way to learn mathematics is to do mathematics เริ่มที่บ้าน : ผู้ปกครองบางคนเริ่มต้นสอนเอง (ถ้าสอนได้ เช่นหลาน ๆ คุณ Banker ) จากนั้นก็เริ่มเห็นแววรุ่ง(หรือร่วง ) ปรากฏว่าปัญหาที่ต้องทำต่อนั้นยากขึ้นเรื่อย ๆ จนผู้ปกครองเริ่มสอนไม่ไหว เมื่อสอนไม่ไหว ก็มีอยู่หลายทางเลือก ทางเลือกที่ 1 : หาหนังสือที่รวมโจทย์ปัญหา ที่มีเฉลยละเอียด มาให้เด็กมานั่งทำดูเอง เด็กบางคนจะชอบทำโจทย์ที่บ้าน จนกว่าจะเริ่มเกิดปัญหา จึงเริ่มหาคนสอน ทางเลือกที่ 2 : เด็กบางคนต้องมีคนสอน ดังนั้นเลยต้องหาคนสอน การสอนก็มีทั้งแบบพบปะเจอตัว กับ ไม่เจอตัว แบบเจอตัวก็มีทั้งคอร์สใหญ่ ย่อย หรือสอนเดี่ยวตัวต่อตัว แบบไม่เจอตัวก็มีทั้งแบบดูวิดีโอที่โรงเรียนกวดวิชา หรือ ดูแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ แต่สำหรับเด็กเล็กแล้ว ไม่พ้นต้องมีคนกำกับ ดังนั้นผู้ปกครองเด็กจึงควรเริ่มสอนเองก่อนดีที่สุดครับ. ได้ไม่ได้ ดีไม่ดีค่อยเลือกทางต่อไปครับ.
__________________
The Lost Emic <<-- หนังสือเฉลยข้อสอบระดับประถมนานาชาติ EMIC ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 8 ชุดสุดท้าย หลงมา 16 สิงหาคม 2012 22:42 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon |
#5
|
|||
|
|||
ขอบคุณคะ สำหรับคำแนะนำ (ดีใจที่เจอเวปนี้)
ส่วนตัวก็อยากจะลองสอนดูคะ (ด้วยเวลา และ ค่าใช้จ่าย) แต่ก็ยังไปไม่ค่อยถูกจริงๆ เคยลองไปดูหนังสือเตรียมสอบเข้า ม.1 ส่วนใหญ่น้องก็ยังไม่ได้เรียน และยากมาก เพราะเค้ายังไม่ได้เรียนเลย ป.4 ตอนนี้ยังเรียน + - x / จำนวนที่มากกว่า 100,000 เอง ส่วน การวัด เงิน เวลา บวก ลบ คูณ หารระคนเบื้องต้น เมื่อเทอม 2 ของ ป.3 หรือว่าจะสอนตามหนังสือเรียน แต่ล่วงหน้าไปดี บอกตรงๆ ว่าไม่รู้จะเริ่มยังไง ตอนนี้ก็เพียงแต่ให้ แบบฝึกหัดเสริมเรื่องที่เค้าเรียน เช่น เรียน คูณ หาร ก็ให้แบบฝึกหัดเพิ่มเข้าไป จากที่เรียนที่โรงเรียนคะ ถ้าปล่อยให้เค้าเรียนตามหลักสูตรไปจนครบ (แต่เสริมไปในแต่ละบทเรียน) แล้ว ค่อยให้ทำโจทย์เตรียมสอบเข้า จะมีโอกาสเป็นไปได้หรือเปล่าคะ ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งคะ |
#6
|
||||
|
||||
ลองให้ทำโจทย์ข้อสอบแข่งขันของเด็ก ป.3 (ขอแนะนำข้อสอบ สสวท) ไปพลางๆก่อนครับ สำหรับการเริ่มต้น จะได้ไม่หนักกับทั้งน้องและตัวคุณแม่จนเกินไป แต่แม้ว่าจะเป็นข้อสอบของป.3 แน่นอนว่า เมื่อเป็นข้อสอบแข่งขัน ยังไงซะ น้องก็จะได้ฝึกการวิเคราะห์ การตีโจทย์ปัญหา ไปด้วยในตัว
__________________
จริงๆแล้ว ผมคือเด็กแว้นซ์ที่ปลอมตัวมาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ |
#7
|
||||
|
||||
การที่ผู้ปกครองสอนเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์มากในหลายๆด้านดังนี้
1. สามารถสอนได้ทุกเวลาที่พร้อมทั้งสองฝ่าย ไม่มีปิดเทอม 2. เข้าใจพื้นฐานความสามารถและจุดบอดของเด็กได้ง่าย 3. สามารถกระตุ้นชี้นำให้เด็กฝึกฝนได้ง่ายกว่าครูทั่วไป 4. ลดค่าใช่จ่ายที่เกินความจำเป็น แต่ต้องระวังผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นดังนี้ 1. อย่าหวังว่าผลการเรียนว่าจะสามารถพัฒนาได้รวดเร็วดั่งใจ 2. ควบคุมอารมณ์ทำได้ยาก จึงทำให้ล้มเหลวได้ง่าย 3. ถ้าไม่วางแผนการเรียนให้ดี จะวกไปวนมาหลงทางได้ง่าย 4. คุณครูมือใหม่อาจจะยังไม่รอบรู้ในเนื้อหาเพราะเป็นมือใหม่ทั้งคู่ หลักที่สำคัญในการสอนคือ 1. ปรับพื้นฐาน ฝึกฝนให้เข้าใจเนื้อหาที่เรียนและย้ำทำซ้ำจนจำได้แม่น 2. สร้างประสบการณ์ ต้องให้เด็กฝึกทำโจทย์และแก้ปัญหาด้วยตนเอง 3. เสริมจินตนาการ หาแนวคิดแปลกๆมาฝึกแก้ปัญหาด้านมิติและรูปทรง 4. เพิ่มเติมให้เพียงพอ สอนเสริมในส่วนที่มักจะพบในการสอบแต่ครูไม่สอน ขอให้โชคดีครับ เผื่อใน MCT จะมีคุณ Banker เพิ่มอีกคน |
#8
|
||||
|
||||
ความเห็นของผมนะครับ ผมคิดว่าก็ควรเริ่มจากในหนังสือเรียนก่อนล่ะครับ
แบบฝึกหัดในหนังสือเรียน ทำให้หมดทุกข้อเลยครับ ซึ่งถ้าคุณแม่จะสอนด้วยตัวเอง นั่นก็หมายความว่าคุณแม่ก็เสมือนว่าจะต้องเรียนไปพร้อมๆกับลูกด้วยครับ เค้าจะได้ไม่รู้สึกว่าโดนบังคับให้เรียน ซึ่งการเริ่มต้น หากว่าความถนัดทางคณิตศาสตร์ของน้องอยู่ในระดับที่ดีก็เริ่มจากชั้นเรียนของน้องได้เลย แต่ถ้ายังเห็นว่ายังไม่ดี ก็ควรถอยไปเริ่มในจุดที่น้องสามารถทำได้ก่อน แล้วค่อยๆยากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ สิ่งที่อยากเน้นสำหรับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ก็คือ พื้นฐานครับ พื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญมากในวิชาคณิตศาสตร์ เราไม่ควรเร่งรีบถ้าหากพื้นฐานยังไม่ดีพอ ช้าหน่อยไม่เป็นไร แต่ขอให้แน่นครับ ถ้าพื้นฐานแน่น อย่างอื่นก็สบายแล้วครับ สรุปง่ายๆ 1.เริ่มจากแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนในระดับชั้นหรือต่ำกว่าตามความสามมารถจริง 2.เรียนรู้ไปด้วยกับลูก ช่วยสร้างกำลังใจและสร้างทัศนะคติที่ดีต่อการเรียน 3.เน้นพื้นฐานให้แน่น ก่อนขึ้นเนื้อหาที่ยากขึ้น 4.ฝึกทำแบบฝึกหัดเป็นประจำสม่ำเสมอ(ช่วยในเรื่องความจำ เพราะการทำทุกวันมันจะจำได้เองโดยไม่ต้องท่อง) 5.เมื่อรู้สึกว่าแบบฝึกหัดในโรงเรียนเป็นเรื่องง่ายแล้ว จึงหาแบบฝึกหัดเสริม เช่นโจทย์สอบเข้า โจทย์แข่งขัน และทำตาม 4. ข้อเบื้องต้นต่อไปครับ ปล. อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ แต่คิดว่ามันจะดีมากครับ ถ้าทำได้
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม คณิตศาสตร์ คือ ความจริง ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่ https://youtube.com/@krupoper?si=-iA8pgGliomfAUPA |
#9
|
|||
|
|||
ขอบคุณคะ
ทุกคนในที่นี้มี เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา (ปราถนาให้ผู้อื่นมีความสุข พ้นทุกข์ และยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข) @ คุณ Whatshix จะลองไปหามาดูคะ @ คุณ Puriwatt ผลกระทบที่กล่าวถึง ใช่เลยคะ วกไปวนมาซักพัก ก็ใส่อารมณ์ จบลงที่งานกร่อยทุกที (ผมก็ตั้งใจเรียนในห้องแล้วนะครับแม่) รู้สึกผิดเหมือนกัน (ขอบคุณที่ช่วยเตือนสติคะ) @ คุณ Poper ข้อสรุปดีมากเลยคะ ขออนุญาติใช้ทั้ง 5 ข้อ เป็นแนวทาง ลองอีกซักตั้งก่อนหาผู้ช่วย พึ่งกวดวิชา ขอบคุณอีกครั้งนะคะสำหรับข้อแนะนำดีๆ ^.^ จะแวะเข้ามาอ่านทุกวันคะ ตอนนี้ก็แอบอ่านกระทู้ ที่ตัวเองพอจะทำความเข้าใจได้บ้าง |
#10
|
||||
|
||||
ถ้าโยนไปให้อาจารย์หรือครูสอนกวดวิชาเริ่มก่อน และเป็นกลุ่มใหญ่ ยิ่งยากจะรู้เลยหรือใช้เวลาค่อนข้างนานว่า เด็กคนนี้มีแววทางคณิตศาสตร์มากหรือน้อยแค่ไหนครับ
ผู้ปกครองเด็ก ซึ่งอยู่กับเด็กมาตั้งแต่เกิด ถ้าตั้งใจสังเกตก็น่าจะรู้และเข้าใจได้ง่ายกว่า การสอนเด็กประถมในตอนเริ่มต้นจากที่ไม่รู้อะไรเลย (สมมติว่าไม่รู้ด้วยว่ามีแววทางด้านนี้มากน้อยแค่ไหน) จึงยังไม่ควรคาดหวังมากครับว่าจะไปได้ถึงระดับไหน สิ่งสำคัญสำหรับผู้สอนเหมือนกับที่คุณ Puriwatt บอกไว้ แต่ข้อที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดก็คือ คนสอนต้องใจเย็นขั้นเทพครับ เพื่อไม่ให้เด็กเกิดความกลัวคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่เขามีโอกาสเผชิญเมื่อเจอกับปัญหาที่ยากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถ้ามีไม่มีความรักทางด้านนี้แล้ว โอกาสไปแบบไกล จะยากมากครับ. เด็ก ป.4 บางคน เรียนขยับเป็นขั้น ๆ ได้ แต่ไปเร็วมากไม่ได้ เพราะเขาอาจจะไม่ได้เกิดมาทางด้านนี้โดยตรง บางคนไปได้มากกว่านั้น อาจจะสอนไปถึงมัธยมต้นได้แล้ว เด็ก ป.5, ป.6 ก็เหมือนกันครับ ถ้ามีความสามารถทางด้านนี้โดยกำเนิดดี อาจจะสอนลุยไปจนถึงมัธยมปลาย+มหาวิทยาลัยได้เลย นี่เป็นตัวอย่างเอกสารที่ผมใช้สอนเด็กประถมที่เริ่มจากศูนย์ไม่รู้อะไรเลย ในเรื่องระบบจำนวน ซึ่งผมจะสอนให้เข้าใจถึงจำนวนเต็ม และการบวกลบ โดยใช้ความเข้าใจพื้นฐานจากในชีวิตประจำวัน วัตถุประสงค์หลักก็คือ ต้องการให้เข้าใจการบวกลบจำนวนเต็มอย่างง่าย วัตถุประสงค์รองคือ เด็กเข้าใจหรือเรียนรู้สมบัติของการสลับที่ของการบวก ได้ด้วยตนเอง มีเด็ก ป.4 คนหนึ่งลองทำชุดนี้ครั้งแรกได้คะแนนประมาณ 24/28 ซึ่งผมก็จะทำให้ซ้ำครั้งที่สองหรือสามในอีกช่วงหลายวันต่อมา จนกว่าจะถูกต้อง 100% |
#11
|
|||
|
|||
ขอบคุณ คุณgonคะ
^.^ |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|