|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
|||
|
|||
ขอถามโจทย์สมาคมปี47หน่อยครับ
ข้อ 28 เรื่องวงรี http://www.mathcenter.net/samakom/2547/2547p03.shtml
ข้อ 29 เรื่องตรีโกณ http://www.mathcenter.net/samakom/2547/2547p03.shtml ข้อ 34 จำนวนคี่ที่อยู่ระหว่าง 1000 ถึง 999..... http://www.mathcenter.net/samakom/2547/2547p04.shtml ขอโทษครับผมยังไม่คล่องการใช้โปรแกรมพิมพ์โจทย์เลข |
#3
|
||||
|
||||
จำนวนคี่ที่อยู่ระหว่าง 1000 และ 9999 ซึ่งเลขโดดในแต่ละหลักแตกต่างกันทั้งหมด หรือมีเลขโดดเพียง 2 ตำแหน่งเท่ากัน มีทั้งหมดกี่จำนวน
ข้อนี้ยากมากครับ. เพราะต้องแบ่งกรณียิบย่อยค่อนข้างเยอะ ใครคิดง่าย ๆ ได้ลองคิดดูครับ. หา n(A) : งานมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 : หลักหน่วยเลือกจำนวนมาเติมได้ 5 วิธี คือ 1, 3, 5, 7, 9 ขั้นที่ 2 : หลักพัน เลือกจำนวนอะไรก็ได้ที่ไม่ใช่ 0 และ ไม่ใช่จำนวนในขั้นที่ 1 จะเลือกได้ 8 วิธี ขั้นที่ 3 : หลักสิบ เลือกจำนวนอะไรก็ได้ จากจำนวนที่เหลือ เลือกได้ 8 วิธี ขั้นที่ 4 : หลักร้อย เลือกจำนวนอะไรก็ได้ จากจำนวนที่เหลือ เลือกได้ 7 วิธี โดยหลักการคูณ จะมีจำนวนคี่ 4 หลัก ดังกล่าวทั้งหมด 5 x 8 x 8 x 7 จำนวน หา n(B) : จะแบ่งงานออกเป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ ๆ ขั้นที่ 1 : หลักหน่วยเลือกจำนวนมาเติมได้ 5 วิธี คือ 1, 3, 5, 7, 9 ขั้นที่ 2 : การเลือกหลักที่เหลือจะแบ่งออกเป็น 3 กรณีใหญ่ ๆ คือ จำนวนที่ซ้ำกันคือ 00 , จำนวนที่ซ้ำกันตรงกับหลักหน่วย และ จำนวนที่ซ้ำกันไม่ใช่ 00 และ ไม่ตรงกับหลักหน่วย กรณีที่ 2.1 : จำนวนที่ซ้ำกันคือ 00 เลข 00 จะต้องถูกวางลงในหลักสิบและหลักร้อยเท่านั้น ดังนั้นจะเลือกเติมเลขในหลักพันได้ 8 วิธี (เป็น 0 และ ตรงกับหลักหน่วยไม่ได้) กรณีที่ 2.2 : จำนวนที่ซ้ำกันตรงกับหลักหน่วย แบ่งงานออกเป็น 2 กรณีย่อยคือ กรณีที่ 2.2.1 : จำนวนที่ซ้ำอีกตัวนั้นอยู่วางหลักพัน จะเหลืออีก 2 หลัก ซึ่งเติมได้ 9 x 8 = 72 วิธี กรณีที่ 2.2.2 : จำนวนที่ซ้ำอีกตัวนั้นอยู่วางหลักร้อยหรือสิบ จะเหลืออีก 2 หลัก ซึ่งเติมได้ 2 x 8 x 8 x = 128 วิธี \ ในกรณีที่ 2.2 จะมี 72 + 128 = 200 วิธี กรณีที่ 2.3 : จำนวนที่ซ้ำกันไม่ตรงกับหลักหน่วย ขั้นที่ 2.3.1 : เลือกว่าจะเอาจำนวนคู่ไหนซ้ำกัน เลือกได้ 8 วิธี ขั้นที่ 2.3.2: ในแต่ละขั้นที่ 2.3.1 จะแบ่งออกได้เป็น 2 กรณีย่อย คือ เมื่อคู่ที่ซ้ำกันวางอยู่หลักร้อยกับสิบ จะมีได้ 7 วิธี และ เมื่อวางอยู่หลักพันกับร้อย หรือ หลักพันกับสิบ จะมีได้ 2 x 8 วิธี \ ในกรณีที่ 2.3 จะมี 8(7 + 16) = 184 วิธี สรุปในขั้นที่ 2 จะมีได้ทั้งหมด 8 +200 + 184 = 392 วิธี \ โดยหลักการคูณจะมี n(B) = 5 x 392 = 1960 จำนวน \ รวมจำนวนทั้งของ n(A) และ n(B) ซึ่งไม่ซ้ำกันเลย ก็จะมีทั้งหมด 2240 + 1960 = 4200 จำนวน เรื่องคำตอบไม่ต้องห่วงครับ. ถูกแน่นอนเพราะพี่เขียนโปรแกรมตรวจสอบดูแล้วครับ. |
#4
|
|||
|
|||
ขอบคุณครับพี่gon
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|