|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#136
|
||||
|
||||
ในที่สุดก็ทำได้เเล้วครับ
นำสมการเเรกมาลบกับ สามเท่าของสมการที่สองจะได้ $x^3 - 3x^2+3xy^2-24xy-3y^2-49+24y+51x=0$ $(x^3-3x^2+3x-1)+(3xy^2-3y^2)-24xy+24y+51x-49-3x+1=0$ $(x-1)^3 + 3y^2 (x-1) - 24y(x-1) + 48(x-1)=0$ $(x-1)[(x-1)^2 + 3(y-4)^2] = 0$ เเยกกรณีได้ดังนี้ กรณีที่ 1 : $x-1=0$ หรือ $x=1$ เเทนเข้าไปในสมการเเรกจะได้ $y=4,-4$ กรณีที่ 2 : $(x-1)^2 + 3(y-4)^2 = 0$ จะได้ $x=1$ เเละ $y=4$ ดังนั้นคำตอบของระบบสมการคือ $(1,4)$ เเละ $(1,-4) $ ข้อ 102. ผมไปเจอ มันเป็นข้อสอบของ putnam 1969 A2 เเต่ผมอ่านไม่ค่อยเข้าใจตรงบรรทัดก่อนสุดท้ายอะครับ http://mks.mff.cuni.cz/kalva/putnam/psoln/psol692.html
__________________
ต้องสู้ถึงจะชนะ CCC Mathematic Fighting เครียด เลย 04 เมษายน 2013 02:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Suwiwat B เหตุผล: เพิ่ม link ข้อ 102. |
#137
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
$$\bmatrix{0 & 1 & 2 & 3 & \cdots & n-1 \\ 1 & 0 & 1 & 2 & \cdots & n-2 \\ 2 & 1 & 0 & 1 & \cdots & n-3 \\ \vdots & \vdots & \vdots & \vdots & \ddots & \vdots \\ n-1 & n-2 & n-3 & n-4 & \cdots & 0} $$ พอ Row Operation ทุกอย่างเสร็จ จะกลายเป็นแบบนี้ $$\bmatrix{0 & 2 & 0 & 0 & \cdots & 0 \\ 0 & 0 & 2 & 0 & \cdots & 0 \\ 0 & 0 & 0 & 2 & \cdots & 0 \\ \vdots & \vdots & \vdots & \vdots & \ddots & \vdots \\ n-1 & n-2 & n-3 & n-4 & \cdots & 0} $$ ดังนั้น หา Determinant โดยใช้วิธี CoFactor จะได้ $(-1)^{n-1}(n-1)$ คูณกับ det ของเมทริกซ์ตัวข้างล่าง $$\bmatrix{2 & 0 & 0 & \cdots & 0 \\ 0 & 2 & 0 & \cdots & 0 \\ 0 & 0 & 2 & \cdots & 0 \\ \vdots & \vdots & \vdots & \ddots & \vdots \\ 0 & 0 & 0& \cdots & 2} $$ ซึ่งก็คือ $2^{n-2}$ นั่นเองครับ
__________________
เมื่อไรเราจะเก่งเลขน้าาาาาา ~~~~ T T ไม่เก่งซักที ทำไงดี 04 เมษายน 2013 15:42 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ -InnoXenT- |
#138
|
||||
|
||||
106. จงหาค่าของ
$$\sum_{n = 1}^{\infty} \frac{1}{(3n-2)(3n+2)}$$ เมื่อกระจายผลบวกออกมาจะกลายเป็น $\displaystyle{\frac{1}{4}(\frac{1}{1}-\frac{1}{5}+\frac{1}{4}-\frac{1}{8}+...)}$ ซึ่งมีค่าเท่ากับการอินทิเกรต $\displaystyle{\int_{0}^{1} (1-x^4+x^3-x^7+...) \, dx}$ จัดรูปนิดหน่อยก็จะได้แบบลิงค์ข้างล่าง http://www.mathcenter.net/forum/show...&postcount=140 หลังจากนั้นก็ทำการอินทิเกรต จะได้ผลลัพธ์คือ $\displaystyle{\frac{1}{72}(9+2\sqrt{3}\pi)}$ 107. จงหาค่า $a$ ที่ทำให้ สมการนี้มีคำตอบ และแก้สมการ $$\sin^2{x} - \sin{x}\cos{x}-2\cos^2{x} = a$$ 108.จงหาจำนวนผลเฉลย ที่เป็นจำนวนเต็มบวกของสมการ $$(x_1+x_2+x_3)^2(y_1+y_2) = 2548$$ 109. จงหาค่าของ $$\sum_{k = 1}^{1273} (\frac{1}{1+\tan^{2548}{(\frac{k\pi}{2548})}})$$ 110. จงแก้สมการ $$\frac{2^x+2^{-x}}{3^x+3^{-x}} = \frac{4^x+4^{-x}}{9^x+9^{-x}}$$ 111. จงหาค่าของ $$\int_{2}^{8} \frac{(x+9)^{14}}{(x+9)^{14}+(x-19)^{14}} \, dx$$ ให้ $u = x-5$ จะได้ว่า $$\int_{2}^{8} \frac{(x+9)^{14}}{(x+9)^{14}+(x-19)^{14}} \, dx = \int_{-3}^{3} \frac{(u+14)^{14}}{(x+14)^{14}+(u-14)^{14}} \, du = I$$ ให้ $v = -u$ จะได้ว่า $$\int_{-3}^{3} \frac{(u+14)^{14}}{(x+14)^{14}+(u-14)^{14}} \, du = -\int_{3}^{-3} \frac{(-v+14)^{14}}{(-v+14)^{14}+(-v-14)^{14}} \, dv$$ $$= \int_{-3}^{3} \frac{(-v+14)^{14}}{(-v+14)^{14}+(-v-14)^{14}} \, dv$$ $$= \int_{-3}^{3} \frac{(v-14)^{14}}{(v-14)^{14}+(v+14)^{14}} \, dv$$ $$2I = \int_{-3}^{3}\frac{(u+14)^{14}+(u-14)^{14}}{(x+14)^{14}+(u-14)^{14}} \, du = \int_{-3}^{3} du = 6$$ $$I = 3$$ 112. กำหนดสามเหลี่ยม $ABC$ ที่มีคุณสมบัติ $6\sin{A} = 4\sin{B} = 3\sin{C}$ จงหา $\cos{C}$ 113. จงแก้ระบบสมการ $$x-4x^2y+y-4xy^2 = \frac{1}{4}$$ $$x^2+y^2 = 1$$ จากสมการที่สอง กำหนดให้ $x = \cos{\theta}$ และ $y = \sin{\theta}$ นำกลับไปแทนค่าในสมการแรก จัดรูปไปมาจะได้ $\cos{3\theta}-\sin{3\theta} = \frac{1}{4}$ $\theta = \frac{1}{3}(2\pi n_1-\frac{\pi}{4}+\cos^{-1}{(\frac{1}{4\sqrt{2}})}), \frac{1}{3}(2\pi n_1-\frac{\pi}{4}-\cos^{-1}{(\frac{1}{4\sqrt{2}})})$ นำ $\theta$ กลับเข้าไปแทนใน $x,y$ ก็จะได้คำตอบครับ $x \approx 0.979554266, y\approx 0.201180116$ $x \approx 0.74772882, y\approx -0.664004225$ 114. กำหนดให้ $a_1 = 1$ และ $a_n = a_{n-1}+\frac{1}{a_{n-1}}$ เมื่อ $n \geq 2$ จงพิสูจน์ว่า $71 < a_{2549} < 88$ 115. จงแก้สมการ $$343x(x+1)(x+2) = 120$$
__________________
เมื่อไรเราจะเก่งเลขน้าาาาาา ~~~~ T T ไม่เก่งซักที ทำไงดี 08 เมษายน 2013 00:18 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ -InnoXenT- |
#139
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
108.เนื่องจาก $2548=2^2\cdot 7^2\cdot 13$ กรณีที่ 1 $x_1+x_2+x_3 = 2$ ไม่มีผลเฉลยเพราะ $x_1+x_2+x_3 \geqslant 3$ กรณีที่ 2 $x_1+x_2+x_3 = 7$ และ $y_1+y_2 = 52$ จะได้จำนวนผลเฉลยคือ $51\binom{6}{4} = 765$ กรณีที่ 3 $x_1+x_2+x_3 = 14$ และ $y_1+y_2 = 13$ จะได้จำนวนผลเฉลยคือ $12\binom{13}{11}= 936$ จำนวนผลเฉลยทั้งหมดคือ $1701$ 110. ให้ $2^x=a,3^x=b$ จัดรูปนิดหน่อยจะได้เป็น $\dfrac{a+\frac{1}{a} }{b+\frac{1}{b}} =\dfrac{(a+\frac{1}{a})^2-2 }{(b+\frac{1}{b})^2-2}$ ให้ $a+\frac{1}{a} = p , b+\frac{1}{b} =q$ จะได้เป็น $\dfrac{p}{q} = \dfrac{p^2-2}{q^2-2} $ จัดรูปนิดหน่อยจะได้เป็น $(pq+2)(p-q) =0$ กรณีที่ 1 $pq=-2$ เห็นได้ชัดว่า $a,b >0$ เพราะฉะนั้นกรณีนี้จึงไม่มีคำตอบ กรณีที่ 2 $p=q$ จะได้ว่า $a+\frac{1}{a}= b+\frac{1}{b}$ จัดรูปนิดหน่อยจะได้เป็น $(ab-1)(b-a) =0$ 2.1 $ab=1,6^x=1$ จะได้ $x=0$ 2.2 $a=b,2^x=3^x$ จะได้ $x=0$ เช่นกัน
__________________
Med CMU I will be the good doctor Be freshy :> Proud of Med CmU I don't want you to be only a doctor but I also want you to be a man
|
#140
|
||||
|
||||
$x(x+1)(x+2) = \dfrac{120}{7^3} $ เห็นชัดเจนว่า $x$ ไม่ใช่จำนวนเต็มแน่นอน
สมมุติว่า $x+1$ สามารถเขียนในรูป $\dfrac{A}{7}$ $\dfrac{A-7}{7}(\dfrac{A}{7})(\dfrac{A+7}{7}) = \dfrac{120}{7^3} $ เหลือที่ต้องแก้สมการ $A^3-49A-120=0$ $(A+3)(A+5)(A-8) =0$ $A=-3,-5,8$ $\rightarrow$ $x=\dfrac{1}{7},\dfrac{-10}{7},\dfrac{-12}{7} $
__________________
Med CMU I will be the good doctor Be freshy :> Proud of Med CmU I don't want you to be only a doctor but I also want you to be a man
|
#141
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
$\dfrac{a}{\sin A}=\dfrac{b}{\sin B}=\dfrac{c}{\sin C} $ $6\sin A = 3\sin C$ จะได้ว่า $a=\dfrac{c}{2}$ $4\sin B = 3\sin C$ จะได้ว่า $b=\dfrac{3c}{4}$ กฎของ $\cos$ จะได้ว่า $c^2=\dfrac{c^2}{4}+\dfrac{9c^2}{16}-\dfrac{3}{4}c^2\cos C$ $\cos C = \dfrac{1}{4}$
__________________
Med CMU I will be the good doctor Be freshy :> Proud of Med CmU I don't want you to be only a doctor but I also want you to be a man
|
#142
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
จาก $a_n = a_{n-1}+\frac{1}{a_{n-1}}$ ยกกำลังสองจะได้ $a_n^2 = a_{n-1}^2+\frac{1}{a_{n-1}}^2 + 2$ จะได้ $a_{n-1}^2+2 < a_n^2 < a_{n-1}^2+3$ ดังนั้น $\displaystyle a_1^2 + 2 < a_2^2 < a_1^2 + 3$ $\displaystyle a_2^2 + 2 < a_3^2 < a_2^2 + 3$ $\displaystyle a_3^2 + 2 < a_4^2 < a_3^2 + 3$ ไปเรื่อยๆ จนถึง $\displaystyle a_{2548}^2 + 2 < a_{2549}^2 < a_1^2 + 3$ รวมทุกอสมการเข้าด้วยกันจะได้ $a_1^2 + 2(2548) < a_{2549}^2 < a_1^2 + 3(2548)$ $5069 < a_{2549}^2 < 7645$ $71.39 < a_{2549} < 87.43$ ดังนั้น $71 < a_{2549} < 88$
__________________
ต้องสู้ถึงจะชนะ CCC Mathematic Fighting เครียด เลย |
#143
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
$$\frac{1}{1+\tan^{2548}{(\frac{(1273-k)\pi}{2548})}} = \frac{1}{1+\cot^{2548}{(\frac{k\pi}{2548})}} = \frac{\tan^{2548}{(\frac{k\pi}{2548})}}{1+\tan^{2548}{(\frac{k\pi}{2548})}}$$ จึงได้ $$2\sum_{k = 1}^{1273} (\frac{1}{1+\tan^{2548}{(\frac{k\pi}{2548})}}) = \sum_{k = 1}^{1273}[\frac{1}{1+\tan^{2548}\frac{k\pi}{2548}}+ \frac{tan^2 {\frac{k\pi}{2548}}}{1+tan^2 {\frac{k\pi}{2548}}}] = 1273$$ ดังนั้น $\sum_{k = 1}^{1273} (\frac{1}{1+\tan^{2548}{(\frac{k\pi}{2548})}}) = \frac{1273}{2}$
__________________
ต้องสู้ถึงจะชนะ CCC Mathematic Fighting เครียด เลย |
#144
|
||||
|
||||
ตอบกันเร็วไปมั๊ยครับ
__________________
เมื่อไรเราจะเก่งเลขน้าาาาาา ~~~~ T T ไม่เก่งซักที ทำไงดี |
#145
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
$$sin^2x-cos^2x-sinxcosx-cos^2x = a$$ $$-cos2x - \frac{1}{2}sin2x - \frac{1}{2}(1+cos2x) = a$$ $$-\frac{1}{2}(3cos2x+sin2x) = a+\frac{1}{2}$$ $$-\frac{\sqrt{10} }{2}(\frac{3}{\sqrt{10}}cos2x+\frac{1}{\sqrt{10}}sin2x) = a+\frac{1}{2}$$ ให้ $sinA = \frac{3}{\sqrt{10}}$ $$sinAcos2x + sin2xcosA = -(a+\frac{1}{2})(\frac{2}{\sqrt{10}}) $$ $$sin(A+2x) = -(a+\frac{1}{2})(\frac{2}{\sqrt{10}})$$ จาก $-1\leqslant sin(A+2x)\leqslant 1$ ดังนั้น $$-1 \leqslant -(a+\frac{1}{2})(\frac{2}{\sqrt{10}}) \leqslant 1$$ $$-\frac{1}{2}(\sqrt{10}+1) \leqslant a \leqslant \frac{1}{2}(\sqrt{10}-1)$$
__________________
ต้องสู้ถึงจะชนะ CCC Mathematic Fighting เครียด เลย |
#146
|
||||
|
||||
116. กำหนดให้ $j = \sqrt{-1}$ จงหาพจน์ทั่วไปของ
$$\prod_{k = 0}^{n} (1+(\frac{1+j}{2})^{2^k})$$ 117. จงหาค่า $a$ ที่ทำให้ระบบสมการ มีคำตอบ $$\sin{x}\cos{(2y)} = a^2+1$$ $$\cos{x}\sin{(2y)} = a$$ 118. จงเขียนอนุกรม $$\sum_{k = 0}^{n} \frac{(-1)^k\binom{n}{k}}{k^3+9k^2+26k+24}$$ ในรูปของ $\frac{p(n)}{q(n)}$ โดยที่ $p(n),q(n)$ เป็นพหุนามที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็ม 119. สามเหลี่ยม $ABC$ มี $AD, BE$ และ $CF$ เป็นเส้นมัธยฐาน โดยที่ ด้าน $AD$ อยู่บนเส้นตรง $y = x+3$ ด้าน $BE$ อยู่บนเส้นตรง $y = 2x+4$ ด้าน $AB$ ยาว $60$ หน่วย และ $\hat{C} = 90^{\circ}$ จงหาพื้นที่สามเหลี่ยม $AC$ 120. จงแก้ อสมการ $\sqrt{3-x} - \sqrt{x+1} > \frac{1}{2}$
__________________
เมื่อไรเราจะเก่งเลขน้าาาาาา ~~~~ T T ไม่เก่งซักที ทำไงดี 12 เมษายน 2013 22:57 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ -InnoXenT- |
#147
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
$$\begin{array}{rcl} \prod_{k = 0}^{n} (1+(\frac{1+j}{2})^{2^k}) & = & \prod_{k = 0}^{n} (1+a^{2^k})\\ & = & \frac{1-a}{1-a}\cdot (1+a)(1+a^2)(1+a^4)...(1+a^{2^n}) \\ &= & \frac{1-a^{2^{n+1}}}{1-a}\end{array} $$ พิจารณา $1-a^{2^{n+1}}$ เมื่อ $n>0$ จะได้ว่า $$\begin{array}{rcl} 1-a^{2^{n+1}} & = & 1-\left(\, \frac{1}{\sqrt{2}}cis \frac{\pi}{4}\right) ^{2^{n+1}}\\ & = & 1-\left(\,\frac{1}{2}\right)^{2^{n}}cis(2^{n-1}\pi)\\ &=& 1-\frac{1}{2^{2^n}} \end{array} $$ แสดงว่า $$S=\prod_{k = 0}^{n} (1+(\frac{1+j}{2})^{2^k}) =\frac{2^{2^n}-1}{2^{2^{n}+1}}(1+j)$$ ผิดตรงไหนขออภัยด้วยครับ
__________________
...สีชมพูจะไม่จางด้วยเหงื่อ แต่จะจางด้วยนํ้าลาย... |
#148
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
แต่ $\sin(x+2y) \leqslant 1$ แสดงว่า $\sin(x+2y)=1=2a^2+1$ ดังนั้น $a=0$ เท่านั้น
__________________
...สีชมพูจะไม่จางด้วยเหงื่อ แต่จะจางด้วยนํ้าลาย... |
#149
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
พิจารณาว่า $\sqrt{3-x} > \sqrt{x+1}$ จะได้ $x<1$ ...(2) จากโจทย์ พบอีกว่า $\sqrt{3-x} - \sqrt{x+1} > \frac{1}{2}>0$ ยกกำลังสองทั้งสองข้างได้ $$(3-x)+(x+1)-2\sqrt{3-x}\sqrt{x+1} > \frac{1}{4}$$ $$\sqrt{3-x}\sqrt{x+1}<\frac{15}{8}$$ $$(3-x)(x+1)<\frac{225}{64}$$ $$x^2-2x-3+\frac{225}{64}>0$$ $$(x-(1+\frac{\sqrt{31}}{8}))(x-(1-\frac{\sqrt{31}}{8}))>0$$ $x<1-\frac{\sqrt{31}}{8}$ หรือ $x>1+\frac{\sqrt{31}}{8} .... (3)$ จาก (1),(2) เเละ (3) จะได้ว่า $-1\leqslant x<1-\frac{\sqrt{31}}{8}$ ข้อ 118 ผมเคยถามไว้เมื่อ ... ปลายปีที่เเล้วครับ สุดยอดมาก คำตอบคือ $\frac{1}{2(n+3)(n+4)}$ ลองดูจาก link นี้เลยครับ http://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=17864
__________________
ต้องสู้ถึงจะชนะ CCC Mathematic Fighting เครียด เลย 09 เมษายน 2013 15:56 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Suwiwat B เหตุผล: เติมข้อ 118 ครับ + ลืม link |
#150
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
|
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
Problems Collection (First Series) | passer-by | ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป | 110 | 24 พฤศจิกายน 2014 16:12 |
รวบโจทย์ MATH PROBLEM | คusักคณิm | ข้อสอบในโรงเรียน ประถมปลาย | 23 | 17 มีนาคม 2010 13:53 |
รวมโจทย์ MATH PROBLEM 2 | คusักคณิm | ข้อสอบในโรงเรียน ประถมปลาย | 11 | 17 พฤศจิกายน 2009 22:27 |
problem-solving math | promath | ฟรีสไตล์ | 3 | 17 พฤษภาคม 2005 23:20 |
!!! gmail math problem !!! | gon | ปัญหาคณิตศาสตร์ทั่วไป | 60 | 03 มกราคม 2005 17:19 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|