|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
|||
|
|||
ข้อสอบสิรินธร ม.ต้น ครั้งที่ 15 10 ธันวาคม 2560
เดี๋ยวอัตนัยจะตามมาครับ
11 ธันวาคม 2017 16:33 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ -B- เหตุผล: paste page 2 |
#2
|
|||
|
|||
ขอบคุณมากครับ แต่หายไป 1 แผ่นครับ ข้อที่ 4 -7 ครับ
|
#3
|
|||
|
|||
#2
ขอบคุณที่บอกครับ 11 ธันวาคม 2017 16:29 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ -B- เหตุผล: cut page 2 |
#4
|
|||
|
|||
อัตนัย ข้อ 1 - 12
|
#5
|
|||
|
|||
ครบแล้วนะครับ
|
#6
|
||||
|
||||
ข้อ7ปรนัย มีบางอย่างผิดไหมครับ???
ดูโดยรวมไม่เหมือนข้อสอบระดับมัธยมต้นเลยครับ เหมือนเป็นข้อสอบสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ (ผมลองนั่งทำดูบางข้อรู้สึกว่ายังต้องดึงเทคนิคบางอย่างในระดับชั้นมัธยมปลายมาใช้...แต่สำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์เ ชื่อว่าเขาคงมีวิธี สำหรับเด็กทั่วไปถ้ามีความรู้ระดับมัธยมปลายน่าจะได้เปรียบกว่า) หลักการสำหรับข้อ7 ดูเหมือนไม่มีอะไร กระจายออกมาแล้วเทียบสัมประสิทธิ์ คือถ้าจะเอาเฉพาะคำตอบก็ใช่ครับ แต่จริงๆข้อนี้แฝงทฤษฎีทางพหุนามเอาไว้ลึกอยู่สำหรับมุมมองของผม จะวิเคราะห์ให้อ่านดังนี้ครับ.... 1.สมมติว่า p(x) และ g(x) เป็นพหุนามกำลังสามที่ไม่ใช่พหุนามเดียวกันหรือไม่เท่ากัน สมการ p(x)=g(x) หรือ p(x)-g(x)=0 ก็จะเป็นสมการพหุนามกำลังสาม ซึ่งจะให้คำตอบเป็นจำนวนจริงได้อย่างมากสุด 3 ค่า แต่จากโจทย์มีคำตอบอยู่ 4 ค่า ผมก็สรุปเลยว่าพหุนาม p(x) และ g(x) น่าจะเป็นพหุนามเดียวกันหรือเท่ากัน 2.วิธีที่ใช้หาคำตอบก็คือการเทียบสัมประสิทธ์ มี 4 ตัวแปร 4 สมการ แต่ถ้าจะเลี่ยงวิธีการแก้สมการให้ใช้การหารสังเคราะห์3ชั้นก็พอจะแก้ขัดไปได้ครับ ก่อนอื่นตั้งสมการ $p(x)=g(x)$ $(x-2)^3-2(x-2)^2-3(x-2)-7=a(x+2)^3+b(x+2)^2+c(x+2)+d$ แทน $x ด้วย x+2$ จะได้ $x^3-2x^2-3x-7=a(x+4)^3+b(x+4)^2+c(x+4)+d$ ก็คือเป็นการแปลงพหุนามกำลังรอบ x=0 ไปเป็นพหุนามกำลังรอบ x=-4 โดยใช้วิธีการหารสังเคราะห์3ชั้นด้วย -4 จะได้ a=1,b=-14 ,c=61 และ d=-91 $9a-3d+c-d=9(1)-3(-14)+61-(-91)=9+42+61+91=203 $
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต |
#7
|
||||
|
||||
ข้อที่26ปรนัย ก็เป็นอีกหนึ่งข้อนะครับที่ใช้เทคนิคการหารสังเคราะห์และเศษเหลือได้.....
....รายละเอียดของโจทย์เลื่อนขึ้นไปดูกันเองนะครับ ส่วนวิธีทำตามรูปซ่อนเลยครับ... คำอธิบาย:.ให้มองว่า...... พหุนามตัวตั้งคือ $2x^4+4x^3+5x^2+8x+8$ พหุนามตัวหารคือ $(x+1)^2$ พหุนามผลหารคือ $Ax^2+Bx+C$ พหุนามเศษคือ $2x+5$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต |
#8
|
||||
|
||||
ข้อ 9 อัตนัย
จะได้ ......$A+B=4.....,AB=2$ และ......$A^2+B^2=(A+B)^2-2AB=4^2-2(2)=12$ และ......$A^3+B^3=40$ เพราะฉะนั้น .......$A^7+A^4B^3+A^3B^4+B^7$ $=A^4(A^3+B^3)+B^4(A^3+B^3)$ $=(A^3+B^3)(A^4+B^4)$ $=(A^3+B^3)[(A^2+B^2)^2-2(AB)^2]$ $=(40)[12^2-2(2^2)]$ $=(40)(136)$ $=5440$........
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต |
#9
|
|||
|
|||
ตอน 1 ปรนัย ข้อ 25 ทำอย่างไรครับ
ใข้ความรู้เรื่องเซต? |
#10
|
||||
|
||||
วาดแผนภาพประมาณนี้แล้วตั้งสมการตามเงื่อนไขที่โจทย์ให้มากับโจทย์ต้องการครับ
จะได้ z=3x/2, y = 2x/3 ดังนั้นน่าจะตอบ 60 |
#11
|
|||
|
|||
ขอบคุณครับ
|
#12
|
||||
|
||||
ตรวจคำตอบกันหน่อยครับ ข้อไหนที่คิดว่าผิด โต้แย้งด้วยนะครับ.
ตอนที่ 1. $ \matrix{1)ค &&&& 2)ข &&&& 3)ง &&&& 4)ก, ข &&&& 5)ข}$ $ \matrix{6)ง &&&& 7)203 &&& 8)ค &&&&& 9)ง &&&& 10)ง}$ $ \matrix{11)ค &&& 12)ข &&&& 13)ก &&&& 14)ง &&&& 15)ค}$ $ \matrix{16)ข &&&17)ค &&&& 18)ก &&&& 19)ข &&&& 20)ง}$ $ \matrix{21)ค &&& 22)ก &&&& 23)- &&&& 24)ข &&&& 25)ค}$ $ \matrix{26)ง &&& 27)ก &&&& 28)ค &&&& 29)ข &&&& 30)ก}$ ตอนที่ 2. $ \matrix{1)1.4 &&&& 2)1/2 &&&& 3)15* &&&& 4)36* &&&& 5)156}$ $ \matrix{6)8 &&&& 7)424 &&&&& 8)90 &&&& 9)5440 &&& 10)-3}$ $ \matrix{11)- &&& 12)747 &&&& 13)79 &&&& 14)92 &&&& 15)248}$ $ \matrix{16)180 &&& 17)-3 &&&& 18)6 &&&& 19)80 &&&& 20)0.176}$ $ \matrix{21)- &&& 22)A=162.5, B=150 &&&& 23)71.32 &&&& 24)50\sqrt{3}-75 &&&& 25)5848}$ $ \matrix{26)2 &&&& 27)4 &&&&& 28)42 &&&& 29)14 หรือ -24 &&&& 30)24}$
__________________
The Lost Emic <<-- หนังสือเฉลยข้อสอบระดับประถมนานาชาติ EMIC ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 8 ชุดสุดท้าย หลงมา 13 มกราคม 2018 19:33 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon |
#13
|
||||
|
||||
ข้อที่น่าจะมีปัญหาก็คือ
ตอนที่ 1. ข้อ 4. ผลรวมได้ 117856 ซึ่งขาด 3 กับ 4 ตอบได้ทั้ง ก. หรือ ข. ข้อ 7. ได้ 203 ไม่มีในตัวเลือก ข้อ 23. ไม่น่าจะสร้างได้ ท่านใดทำได้ช่วยตอบด้วยครับ. ตอนที่ 2. ข้อ 3. ตอนนิยามค่า B ควรนิยาม ว่า B เป็นจำนวนคำตอบของอสมการ เพื่อให้ได้ว่า B = 0 ข้อ 4. โจทย์น่าจะแก้คำว่า หารด้วย เป็น หาร ข้อ 11. นิยามของ p(x) กับ q(x) ขัดแย้งกันเอง เช่น $(n-2)x^{2015}$ จะเห็นว่า 2015 + 2 = 2017 แต่พอมาถึง $(n-2015)x$ ตรงนี้จะเป็น 1 + 2015 = 2016 ซึ่งไม่เท่ากับ 2017 เป็นต้น. หรือท่านใดแก้ข้อนี้ได้ ช่วยตอบด้วยครับ. ข้อ 21. โจทย์ไม่ได้บอกว่า HGEF เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ดังนั้นคำตอบจะมีมากมายนับไม่ถ้วน ข้อ 29. คำตอบมีได้ 2 ค่า |
#14
|
|||
|
|||
ขอคำแนะนำ ข้อ 29 ปรนัย หน่อยครับ
|
#15
|
||||
|
||||
อย่าง a ก็ประมาณแบบนี้ครับ
$ (100)\frac{100}{2100} < \frac{100}{2001}+ ... + \frac{100}{2100}< (100)\frac{100}{2001}$ $4\frac{16}{21} < x< 4\frac{1996}{2001}$ ดังนั้น x มีค่าประมาณ 4.กว่า ๆ แสดงว่า a=4 เพราะว่า 4 < 4.กว่าๆ <=4+1
__________________
The Lost Emic <<-- หนังสือเฉลยข้อสอบระดับประถมนานาชาติ EMIC ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 8 ชุดสุดท้าย หลงมา 14 มกราคม 2018 18:28 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ gon |
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
[สอวน. ม.ขอนแก่น 2560] ข้อสอบ สอวน.คัดค่าย1/2560 ศูนย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น | Austin_Sota22 | ข้อสอบโอลิมปิก | 7 | 11 กันยายน 2017 22:22 |
[สอวน มอ.ปัตตานี 2560] ไม่ครบข้อ | sahaete | ข้อสอบโอลิมปิก | 5 | 28 สิงหาคม 2017 22:04 |
15 สค.2560 ย้ายระบบมาเซิพเวอร์ตัวใหม่ ถ้าพบปัญหาแจ้งด้วยครับ. | gon | ข่าวสารจากทางเว็บบอร์ด | 0 | 15 สิงหาคม 2017 06:12 |
ข้อสอบคัดผู้แทนศูนย์มหิดล 2560 | Leng เล้ง | ข้อสอบโอลิมปิก | 12 | 22 เมษายน 2017 22:43 |
ข้อสอบ สพฐ. รอบที่ 1 ปี 2560 (มัธยมต้น) | gon | ข้อสอบในโรงเรียน ม.ต้น | 25 | 28 มกราคม 2017 09:07 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|