|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
|||
|
|||
ข้อสอบคัดผู้แทนศูนย์มหิดล 2563
สอบวันที่ 18 มีนาคม 2563
ช่วงเช้า 8.30-12.00น. $1. \ ให้\ A,\ B\ เป็นเซตของจำนวนจริง\ โดยที่\ |A|=11 \ และ\ B=\left\{\,uv \ | \ u,v \in A \ และ \ u\not= v\right\}$ $จงแสดงว่า\ ค่าน้อยสุดของ\ |B|\ เป็น \ 17$ $2. \ ให้\ ABC \ เป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วที่ \ AB=AC \ และมี\ I \ เป็นจุดศูนย์กลางของวงกลมแนบใน\ วาดวงกลม\ 3\ วง\ ดังนี้$ $\Gamma _1 \ เป็นวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ \ A \ และมี \ AB \ เป็นรัศมี$ $\Gamma _2 \ เป็นวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ \ I \ และมี \ IB \ เป็นรัศมี$ $\Gamma _3 \ เป็นวงกลมที่ผ่านจุด \ I\ และ\ B \ โดยที่\ \Gamma _3 \ ตัดกับ\ \Gamma _1 \ และ\ \Gamma _2 \ ที่จุด \ P\ และ\ Q\ ตามลำดับ$ $ให้ \ R \ เป็นจุดตัดของ \ BQ \ กับ \ IP \ $ $จงพิสูจน์ว่า \ CR \ ตั้งฉากกับ\ BR$ $3.\ ให้\ f(x)\ เป็นพหุนาม\ ในแต่ละครั้งของการดำเนินการสามารถเลือกได้อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้$ $\quad (i)\ \ x^2\cdot f(\frac{1}{x} +1)\ $ $\quad (ii)\ (x-1)^2\cdot f(\frac{1}{x-1})\ $ $จงพิจารณาว่า\ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะดำเนินการกับพหุนาม\ x^2+4x+3\ เป็นจำนวนจำกัดครั้ง\ แล้วได้ผลลัพธ์เป็น\ x^2+10x+9$ $4.\ ให้\ a\ เป็นจำนวนนับ\ โดยที่\ a>1\ และ$ $S=\left\{\,a^2+a-1,a^3+a^2-1,a^4+a^3-1,...\right\}$ $จงแสดงว่า\ มีสับเซตอนันต์\ T\subset S\ ซึ่งแต่ละสมาชิกของ\ T\ เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กัน$ช่วงบ่าย 13.00-16.00น. $5.\ จงหาจำนวนเต็มบวก\ k\leqslant 105\ ทั้งหมดที่ทำให้\ \frac{1!2!3!...100!}{k!}\ เป็นกำลังสองสมบูรณ์$ $6.\ ให้\ x,y,z\ เป็นจำนวนจริงบวก\ โดยที่\ x,y,z\in\left[\frac{1}{2},2\right] $ $\quad 6.1\ จงพิสูจน์ว่า\ 4xy+4\leqslant 5x+5y$ $\quad \!6.2\ จงหาค่าต่ำสุดของ\ \frac{60x^2-1}{4xy+5z} +\frac{60y^2-1}{4yz+5x}+\frac{60z^2-1}{4zx+5y}$ $7.\ ให้\ f:\mathbb{R} \rightarrow \mathbb{R} \ เป็นฟังก์ชัน\ จงพิจารณาว่ามีฟังก์ชัน\ f\ ที่สอดคล้องกับ$ $3f(-n^2+3n+1)-2f(n)^2=5$ $สำหรับทุกๆ\ จำนวนเต็ม\ n\ หรือไม่\ เพราะเหตุใด\ ถ้ามี\ จงยกตัวอย่างฟังก์ชัน\ f\ ดังกล่าว$$8.\ กำหนด\ ABCDEF\ เป็นรูปหกเหลี่ยมนูนแนบในวงกลม\ โดยที่\ ACE\ เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม$ $ให้\ M,N,P,Q,R,S\ เป็นจุดกึ่งกลางของ\ AC,BD,CE,DF,EA,FB\ ตามลำดับ$ $ให้\ U,V\ เป็นจุดตัดของ\ AC\ กับ\ BD,BF\ ตามลำดับ$ $ให้\ W,X\ เป็นจุดตัดของ\ CE\ กับ\ DF,DB\ ตามลำดับ$ $ให้\ Y,Z\ เป็นจุดตัดของ\ EA\ กับ\ FD,FB\ ตามลำดับ$ $\quad 8.1\ จงแสดงว่า\ UX,VY,WZ\ ตัดกันที่จุดเดียว$ $\quad 8.2\ ถ้า\ M,N,P,Q,R,S\ มีวงกลมล้อมรอบ\ แล้วจงแสดงว่า\ EM,FN,AP,BQ,CR,DS\ ตัดกันที่จุดเดียว$ 07 พฤษภาคม 2020 09:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 6 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Leng เล้ง |
#2
|
|||
|
|||
ผู้แทนศูนย์ ตัดที่ 21 คะแนน
|
#3
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
การดำเนินการดังกล่าวกับพหุนามดีกรีไม่เกินสองนั้น จะได้ผลลัพธ์เป็นพหุนามดีกรีไม่เกินสองตลอด ดังนี้ (ตามลำดับ) (1) $\quad ax^2+bx+c \quad \mapsto \quad (a+b+c)x^2+(2a+b)x+a$ (2) $\quad ax^2+bx+c \quad \mapsto \quad cx^2+(b-2c)x+(a-b+c)$ เพื่อความสะดวก จะเขียนเฉพาะสัมประสิทธิ์ของพหุนาม ได้ว่าการดำเนินการเหล่านี้คือ (1) $\quad L_1 \quad : \quad (a,b,c) \quad \mapsto \quad (a+b+c,2a+b,a)$ (2) $\quad L_2 \quad : \quad (a,b,c) \quad \mapsto \quad (c,b-2c,a-b+c)$ สังเกตว่า $L_1L_2(a,b,c)=(a,b,c)$ และ $L_2L_1(a,b,c)=(a,b,c)$ หมายความว่าถ้ามีชุดการดำเนินการจำนวนจำกัดชุดหนึ่ง สุดท้ายมันจะตัดกันจนเหลือกำลังของการดำเนินการอันใดอันหนึ่ง เช่น $L_2 L_1 L_2 L_2 L_1 L_2 L_1 L_2 (a,b,c) = L_2^2 (a,b,c)$ ดังนั้น เราสามารถพิจารณาเพียงแค่กรณี $L_1^n(a,b,c)$ และ $L_2^n(a,b,c)$ เมื่อ $n \ge 1$ กรณี 1 $L_1^n(1,4,3)$ $$(1,4,3) \quad \to \quad (8,6,1) \quad \to \quad (15,22,8) \quad \to \quad (45,52,15) \quad \to \quad \cdots$$ สำหรับ $(a,b,c)=(1,4,3)$ ซึ่ง $a,b,c>0$ เมื่อทำการดำเนินการจะได้ว่าทุกตำแหน่งของ $(a+b+c,2a+b,a)$ เป็นบวกหมด นอกจากนี้แล้ว ตำแหน่งแรกของสามสิ่งอันดับหลังการดำเนินการมีค่าเพิ่มขึ้นทุกครั้ง เพราะ $a+b+c>a$ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทำการดำเนินการนี้ซ้ำๆแล้วจะจบที่ $(1,10,9)$ กรณี 2 $L_2^n(1,4,3)$ $$(1,4,3) \quad \to \quad (3,-2,0) \quad \to \quad (0,-2,7) \quad \to \quad (7,-16,9) \quad \to \quad \cdots$$ สังเกตว่าการดำเนินการซ้ำสามครั้งแรกยังไม่ให้ผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่หลังจากนี้ การดำเนินการนี้ซ้ำๆจะทำให้เกิดผลลัธ์ $(a,b,c)$ ซึ่ง $a,c>0$ และ $b<0$ เสมอ นั่นคือ ความเป็นบวกลบจะคงสภาพเดิม จึงไม่มีทางที่จะทำการดำเนินการนี้ซ้ำๆกับ $(7,-16,9)$ แล้วจบที่ $(1,10,9)$ สมมติว่า $a,c>0$ และ $b<0$ จะได้ว่า $(a',b',c'):=L_2(a,b,c)=(c,b-2c,a-b+c)$ โดยที่ $a'=c>0$, $b'=b-2c<0$ และ $c'=a-b+c>0$ เป็นอันจบการพิสูจน์ |
#4
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
แทน $n=1,3$ ได้ $3f(3)-2f(1)^2 = 5$ $3f(1)-2f(3)^2=5$ เพื่อความสะดวก ให้ $x=f(1)$ และ $y=f(3)$ นั่นคือ $3y-2x^2=5$ $3x-2y^2=5$ จัดรูป $y$ ให้อยู่ในรูปของ $x$ แล้วแทนค่าสงในอีกสมการ ได้ว่า $2(2x^2+5)^2-27x+45 = 0$ ต่อไปจะพิสูจน์ว่าไม่มีจำนวนจริง $x=f(1)$ ที่สอดคล้องสมการนี้ โดย AM-GM กับข้างในวงเล็บ ได้อสมการ $2(2x^2+5)^2-27x+45 \ge 2(4 \cdot 10x^2)-27x+45 = 80x^2-27x+95$ ซึ่งพหุนามกำลังสอง $80x^2-27x+95$ มี discriminant เป็น $\Delta = 27^2-4 \cdot 80 \cdot 95 < 0$ และสัมประสิทธ์นำเป็นบวก จึงได้ว่าพหุนามนี้มีค่ามากกว่า 0 เสมอ แสดงว่าไม่มีจำนวนจริง $x$ ที่สอดคล้องสมการดังกล่าว และทำให้ไม่มีฟังก์ชัน $f : \mathbb{R} \to \mathbb{R}$ ตามต้องการ |
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
IJSO รอบที่1 2563 | Hutchjang | ข้อสอบในโรงเรียน ม.ต้น | 8 | 12 กุมภาพันธ์ 2022 13:38 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|