|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#256
|
||||
|
||||
76.จงพิสูจน์ว่ามีจำนวนนับ $n$ เพียงจำนวนเดียวที่ทำให้มีจำนวนเต็ม $a$ ซึ่ง $2^{n+1}\mid (a^{2^{n-1}}+1)$ แต่ไม่มีจำนวนนับ $n$ ที่ทำให้ $2^{n+2}\mid (a^{2^{n-1}}-1)$ ทุกจำนวนเต็มคี่ $a$
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ 30 กรกฎาคม 2015 16:46 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กขฃคฅฆง |
#257
|
||||
|
||||
76. 1) พิจารณา $n=1, a=3$ เป็นคำตอบ
สำหรับ $n>1$, $a^{2^{n-1}}+1 \equiv 1,2 \pmod 4 \Rightarrow 4 \nmid a^{2^{n-1}}+1 $ 2) $n=1$ เห็นได้ชัด ดังนั้นสมมติ $n>1$ เลือก $a=5$ จะได้ $a^{2^{n-1}}-1=(a-1)(a+1)(a^2+1)\cdots (a^{2^{n-2}}+1)$ จะได้ $a^{2^k}+1 \equiv 2 \pmod 4$ $\therefore 2^{n+1} \left\Vert\,\right. a^{2^{n-1}}-1 \Rightarrow 2^{n+2} \nmid a^{2^{n-1}}-1$
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล ---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้ |
#258
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
(ถ้าจะทำวิธีเดิมอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลขรวมถึง Wolframalpha ได้ครับ)
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล ---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้ 01 สิงหาคม 2015 21:58 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Thgx0312555 |
#259
|
||||
|
||||
77.
ขาไป $6773\mid 2(4847x+5683y)-6773(x+y) = 2921x+4593y$ ขากลับ $6773\mid 3387(2921x+4593y)-6773(1460x)-6773(2296y) = 4847x+5683y$
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ |
#260
|
||||
|
||||
78. จงหาคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มทั้งหมดของสมการ $x^3+y! = 5833$
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ |
#261
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
เท่านั้น ดังนั้น $2 \equiv 5833=x^3+y!\not\equiv 2\pmod {7}$ จึงเกิดข้อขัดเเย้ง ทำให้เราได้ว่า $y\le 6$ เเทนค่าจะได้ว่า $(x,y)=(18,0),(18,1)$
__________________
Vouloir c'est pouvoir 05 สิงหาคม 2015 10:59 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ จูกัดเหลียง |
#262
|
||||
|
||||
เขียนอะไรผิดไปรึเปล่า
|
#263
|
||||
|
||||
__________________
Vouloir c'est pouvoir |
#264
|
||||
|
||||
79. หาจำนวนเต็ม $x,y,z$ ทั้งหมดที่สอดคล้องสมการ $2x^3+3y^3+6z^3=18xyz$
80. หาจำนวนเต็ม $x,y,z \not= 0$ ทั้งหมดที่ทำให้ $x\sqrt{2}+y\sqrt{3}+z\sqrt{6}$ เป็นจำนวนเต็ม 81. หาจำนวนเต็ม $x,y \not= 0$ และ $a>0$ เป็น square free ที่ทำให้ $x\sqrt[3]{a}+y\sqrt[3]{a^2}$ เป็นจำนวนเต็ม ปล. ผมไม่ได้ล็อกอิน mathcenter มา 4 ปีเศษๆ ส่วนมากชะแว้บผ่านไปผ่านมา ไม่ได้ติดตาม แต่ช่วงนี้มีเรื่องให้เข้าบ่อยๆเลยล็อกอินแวะมาเยี่มเยียน และแจกโจทย์ให้ทำเล่นครับ จะมีใครเล่นกระทู้นี้ต่อไหมครับเนี่ย
__________________
keep your way.
|
#265
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
ชัดเจนว่า $(x,y,z)=(0,0,0)$ เป็นหนึ่งคำตอบ มี 1 ตัวแปรที่เป็น 0
มี 2 ตัวแปรที่เป็น 0
ไม่มีตัวใดเป็น 0
โดยสรุปแล้ว สมการนี้มีคำตอบเดียวคือ $(x,y,z)=(0,0,0)$ สมมติว่ามีจำนวนเต็ม $x,y,z \not=0$ และจำนวนเต็ม $k$ ที่ทำให้ \begin{align} x\sqrt{2}+y\sqrt{3}+z\sqrt{6} &= k\\[5pt] x\sqrt{2}+y\sqrt{3} &= k-z\sqrt{6}\\[5pt] 2x^2+3y^2+2xy\sqrt{6} &= k^2+6z^2-2kz\sqrt{6}\\[5pt] (2xy+2kz)\sqrt{6} &= k^2+6z^2-2x^2-3y^2 \end{align} เนื่องจาก $\sqrt{6}$ เป็นจำนวนอตรรกยะ แต่ $x,y,z,k$ ต่างเป็นจำนวนเต็ม จึงได้ว่ามีกรณีเดียวที่เป็นไปได้คือ $2xy+2kz=0$ และ $k^2+6z^2-2x^2-3y^2=0$ คูณสมการแรกด้วย $\sqrt{6}$ และบวกเข้ากับสมการสอง จัดรูปได้ว่า \begin{align} k^2+6z^2+(2\sqrt{6})kz &= 2x^2+3y^2-(2\sqrt{6})xy\\[5pt] (k+z\sqrt{6})^2 &= (x\sqrt{2}-y\sqrt{3})^2\\[5pt] k+z\sqrt{6} &= \pm (x\sqrt{2}-y\sqrt{3}) \end{align} กรณีเป็นบวก
กรณีเป็นลบ
ดังนั้น ไม่มีจำนวนเต็ม $x,y,z \not=0$ และ $k$ ตามต้องการ ให้ $a>0$ เป็น square-free สมมติว่า $a=p_1 p_2 \cdots p_n$ เมื่อ $p_1,p_2,\ldots,p_n$ เป็นจำนวนเฉพาะที่แตกต่างกัน สมมติว่ามีจำนวนเต็ม $x,y \not=0$ และจำนวนเต็ม $z$ ที่ลอดคล้องสมการ $x\sqrt[3]{a}+y\sqrt[3]{a^2}=z$ สังเกตว่าถ้า $z=0$ จะทำให้เกิด $-\frac{x}{y}=\sqrt[3]{a}$ เป็นข้อขัดแย้ง เพราะ $\sqrt[3]{a}$ เป็นจำนวนอตรรกยะ จึงสรุปได้ว่า $z \not=0$ เช่นกัน ยกกำลังสามโดยกระจายฝั่งซ้ายของสมการในรูป $(A+B)^3=A^3+B^3+3AB(A+B)$ ได้ว่า $$(x\sqrt[3]{a})^3+(y\sqrt[3]{a^2})^3+3(x\sqrt[3]{a})(y\sqrt[3]{a^2})(x\sqrt[3]{a}+y\sqrt[3]{a^2}) = z^3$$ เนื่องจาก $x\sqrt[3]{a}+y\sqrt[3]{a^2}=z$ แทนลงในวงเล็บขวาสุดของฝั่งซ้ายของสมการ ได้ว่า $$ax^3+a^2y^3+3axyz = z^3$$ เนื่องจากสมการนี้เป็นพหุนาม homogeneous ในทำนองเดียวกับข้อ 79 สมมติว่าคำตอบสอดคล้องเงื่อนไข $\gcd(x,y,z)=1$ จากสมการข้างต้น สังเกตว่า $a$ หารทุกพจน์ลงตัวหมดยกเว้น $z^3$ จึงได้ว่า $a \mid z^3$ ด้วยเช่นกัน แต่ $a=p_1 p_2 \cdots p_n$ แสดงว่า $p_i \mid z^3$ และทำให้ได้ $p_i \mid z$ ทุก $i=1,2,\ldots,n$ แต่ $p_i$ เป็นจำนวนเฉพาะที่แตกต่างกันหมด จึงได้ว่า $p_1 p_2 \cdots p_n \mid z$ หรือก็คือ $a \mid z$ กำหนดให้ $z=aw$ สำหรับบางจำนวนเต็ม $w \not= 0$ เมื่อแทนลงในสมการแล้วหารตลอดด้วย $a$ จะได้ว่า $$x^3+ay^3+3axyw = a^2w^3$$ ในทำนองเดียวกัน จะได้ว่า $a \mid x^3$ และใช้ความเป็น square-free ของ $a$ สรุปว่า $a \mid x$ ในแบบเดียวกับที่เพิ่งแสดงไป กำหนดให้ $x=au$ สำหรับบาง $u \not=0$ แทนในสมการแล้วหารตลอดด้วย $a$ ได้เป็น $$a^2u^3+y^3+3auyw = aw^3$$ เช่นเดียวกัน สังเกตว่า $a \mid y^3$ จึงทำให้ $a \mid y$ ได้ข้อสรุปว่า $a \mid x$, $a \mid y$ และ $a \mid z$ เกิดข้อขัดแย้งกับข้อสมมติที่ว่า $\gcd(x,y,z)=1$ ดังนั้น ไม่มีจำนวนเต็ม $x,y,z\not=0$ ตามต้องการ ปล. ความหมายในเชิง linear algebra ของข้อ 80 และ 81 ก็คือ $\{1,\sqrt{2},\sqrt{3},\sqrt{6}\}$ และ $\{1,\sqrt[3]{a},\sqrt[3]{a^2}\}$ ใน vector space $\mathbb{R}$ บนฟีลด์ $\mathbb{Q}$ ต่างเป็นเซตอิสระเชิงเส้น |
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 23: Number Theory once more | warut | คณิตศาสตร์อุดมศึกษา | 17 | 28 ธันวาคม 2011 20:38 |
ช่วยคิดหน่อยครับ เกี่ยวกับ Number Theory | kanji | ทฤษฎีจำนวน | 0 | 08 กันยายน 2006 18:22 |
ปัญหาชิงรางวัลข้อที่ 5: From Number Theory Marathon | warut | คณิตศาสตร์อุดมศึกษา | 9 | 17 มกราคม 2006 18:47 |
ปัญหา Number Theory | kanji | ทฤษฎีจำนวน | 4 | 16 พฤศจิกายน 2005 20:30 |
ขอลองตั้งคำถามบ้างครับ (Number theory) | Nay | ทฤษฎีจำนวน | 3 | 15 พฤษภาคม 2005 13:40 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|