|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รู้จักคำสั่ง LaTeX เบื้องต้น
เพื่อเป็นการเชิญชวนให้ น้องๆหลายคน ได้รู้จักกับคำสั่ง LaTeX สำหรับใช้งานในเว็บบอร์ด หรือในอนาคตอาจมีโอกาสได้ใช้อีกครั้ง จะขอแนะนำวิธีใช้ คำสั่ง LaTeX เบื้องต้นนะครับ
หมายเหตุ :
สัญลักษณ์พิเศษ สัญลักษณ์พิเศษของ LaTeX คือ สัญลักษณ์ที่สงวนไว้สำหรับโปรแกรม LaTeX เท่านั้น จึงไม่สามารถพิมพ์สัญลักษณ์เหล่านี้ ลงในข้อความตรงๆได้ แต่หากจำเป็นต้องใช้จริงๆให้ เพิ่มตัว "\" ไว้ข้างหน้าสัญลักษณ์พิเศษ สัญลักษณ์พิเศษได้แก่ $ & % # _ { } ~ ^ \ ตัวอย่างการใช้สัญลักษณ์ "\" นำหน้า สัญลักษณ์พิเศษ เช่น $ \$ \& \% \# \_ \{ \} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \$ \& \% \# \_ \{ \} \)หมายเหตุ : สัญลักษณ์พิเศษที่เหลือ ที่ไม่ได้เขียน ใช้ไม่ได้นะครับ ช่องว่าง หากน้องๆ เริ่มลองหัดใช้งานแล้ว จะสังเกตพบว่า ไม่ว่าน้องจะพิมพ์เว้นวรรคไปกี่ครั้ง หรือกด Tab ไปกี่ที ผลลัพธ์จาก LaTeX ที่ได้จะเป็นการเว้นวรรค เพียงครั้งเดียวเสมอ เช่น $ ดังนั้น x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น x = 1 \) จะสังเกตได้ว่า ระหว่างคำว่า "ดังนั้น" กับ "x" เว้นระยะไว้นิดเดียวเอง ดูแล้วไม่สวยงาม เพื่อแก้ปัญหานี้ LaTeX มีคำสั่งเกี่ยวกับ การเพิ่มระยะห่างของช่องว่าง เรียงจากเว้นน้อยไปมากดังนี้ครับ \ (หมายถึง ตามด้วยช่องว่าง หรือการเว้นวรรคหนึ่งครั้ง นะครับ) \, \; \quad \qquad ตัวอย่างเช่น $ ดังนั้น\ x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\ x = 1 \) $ ดังนั้น\, x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\, x = 1 \) $ ดังนั้น\; x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\; x = 1 \) $ ดังนั้น\quad x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\quad x = 1 \) $ ดังนั้น\qquad x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\qquad x = 1 \) หมายเหตุ : เท่าที่ทดลองดูจะพบว่า "\ "และ "\," ให้ผลลัพธ์เหมือนกัน นอกจากจะมีคำสั่งช่วย เพิ่มระยะห่างของช่องว่างแล้ว ยังมีอีกคำสั่งใช้ ลดระยะห่างของช่องว่าง คือ "\!" ตัวอย่างเช่น $ ดังนั้น\! x = 1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( ดังนั้น\! x = 1 \) การจัดกลุ่ม คำสั่ง LaTeX หลายคำสั่ง จะมีการจัดกลุ่ม เพื่อให้เห็นขอบเขตของคำสั่งชัดเจน ด้วยคำสั่ง "{}" แต่มีบางคำสั่ง เช่น คำสั่งทำตัวยก และตัวห้อย ที่ไม่จำเป็นต้องใช้การจัดกลุ่ม แต่จะมีขอบเขตของคำสั่ง เพียงอักษรตัวแรกที่ตามหลังคำสั่งเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการขยายขอบเขตของคำสั่งมากขึ้น จำเป็นต้องใช้การจัดกลุ่ม ลองดูตัวอย่างข้างล่าง เรื่องของ การทำตัวยกและตัวห้อย การทำตัวยกและตัวห้อย ตัวยกใช้คำสั่ง "^" และตัวห้อยใช้คำสั่ง "_" แต่ถ้ามีทั้งตัวยกและตัวห้อย จะใช้คำสั่งไหนขึ้นก่อนก็ได้ ตัวอย่างเช่น $ x^n $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^n \) $ x^n+1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^n+1 \) $ x^{n+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^{n+1} \) $ x_n $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_n \) $ x_n+1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_n+1 \) $ x_{n+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_{n+1} \) $ x_{123}^{456} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x_{123}^{456} \) $ x^{456}_{123} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^{456}_{123} \) หมายเหตุ : การเขียนคำสั่ง Limit และ Sum หากเราใช้เพียงคำสั่ง ตัวยกหรือตัวห้อยตามปกติ จะได้การแสดงผลที่ไม่ถูกต้อง (เราต้องการอยู่บนหรือข้างใต้ ไม่เยื้อง) เช่น $ lim_{x \to \infty} $ จะได้ผลลัพธ์ \( lim_{x \to \infty} \) $ sum_{n=1}^{\infty} n $ จะได้ผลลัพธ์ \( sum_{n=1}^{\infty} n \) ในกรณีนี้ เราจำเป็นต้องใช้คำสั่ง "\lim" หรือ "\sum" เพื่อบอกให้ LaTeX แสดงผลให้ถูกต้อง (นอกจากนี้ ชื่อฟังก์ชันจะมีลักษณะพิเศษ แสดงความแตกต่างจากตัวแปรทั่วไป) ตัวอย่างเช่น $ \lim_{x \to \infty} $ จะได้ผลลัพธ์ \[ \lim_{x \to \infty} \] $ \sum_{n=1}^{\infty} n $ จะได้ผลลัพธ์ \[ \sum_{n=1}^{\infty} n \] นอกจากนี้การยกกำลังซ้อน ให้ใส่วงเล็บปีกกาช่วยจัดกลุ่มด้วยเช่น $ x^{x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot}}}}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( x^{x^{x^{\cdot^{\cdot^{\cdot^{}}}}}} \) ฟังก์ชัน เพื่อให้แสดงชื่อฟังก์ชัน แตกต่างจากตัวแปร หรือเพื่อการจัดรูปสมการเพิ่มเติม LaTeX จึงมีคำสั่งเกี่ยวกับฟังก์ชันดังต่อไปนี้
ลองเปรียบเทียบ การเขียนชื่อฟังก์ชันแบบที่ไม่ได้ใช้คำสั่ง LaTeX (ชื่อฟังก์ชันจะแสดงออกมาเหมือนตัวแปรตัวอื่นๆ) กับที่ใช้คำสั่ง LaTeX สิครับ แล้วจะพบว่าเราควรจะเขียนชื่อฟังก์ชัน ด้วยคำสั่ง LaTeX จะดีกว่า เช่น $ tan (A+B) = \frac{tan A + tan B}{1 - tan A tan B} $ จะได้ผลลัพธ์ \( tan (A+B) = \frac{tan A + tan B}{1 - tan A tan B} \) $ \tan (A+B) = \frac{\tan A + \tan B}{1 - \tan A \tan B} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \tan (A+B) = \frac{\tan A + \tan B}{1 - \tan A \tan B} \) เครื่องหมายราก และเศษส่วน นอกจากฟังก์ชันดังกล่าวแล้ว ยังมีคำสั่งแสดงเครื่องหมายราก และเศษส่วน ดังนี้ $ \sqrt{ภายในราก} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt{ภายในราก} \) $ \sqrt[รากตัวที่]{ภายในราก} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt[รากตัวที่]{ภายในราก} \) $ \root รากตัวที่ \of {ภายในราก} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \root รากตัวที่ \of {ภายในราก} \) $ \frac{ตัวเศษ}{ตัวส่วน} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \frac{ตัวเศษ}{ตัวส่วน} \) การบังคับให้ไม่เปลี่ยนขนาดตัวอักษร หากเราเขียนตัวยก ตัวห้อย หรือเศษส่วน หรือคำสั่งอะไรก็แล้วแต่ แล้วมีผลให้ตัวอักษร มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ เพื่อความสวยงาม ในบางครั้งอาจทำให้อ่านได้ลำบากมาก ตัวอย่างเช่น $ 2^{1 - 2^{1 - 2^{1 - 2^n}}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( 2^{1 - 2^{1 - 2^{1 - 2^n}}} \) $ \sqrt[n]{x^2+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt[n]{x^2+1} \) จะเห็นว่า ตัวยกกำลังตัวบนๆ ตัวเล็กลงเรื่อยๆ อ่านได้ลำบาก หากต้องการให้ขนาดตัวอักษรคงเดิม ไม่เล็กลง ให้ใช้คำสั่ง "\displaystyle{}" ครอบเอาไว้ ตรงส่วนของคำสั่งที่ทำให้ตัวอักษรเล็กลง (เช่นคำสั่ง ตัวยก ตัวห้อย เศษส่วน ราก) ตัวอย่างเช่น $ 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^n}}}}}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^{\displaystyle{1 - 2^n}}}}}} \) $ \sqrt[\displaystyle{n}]{x^2+1} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sqrt[\displaystyle{n}]{x^2+1} \) หมายเหตุ : จริงๆแล้ว คำสั่ง "\displaystyle{}" เป็นคำสั่งเพื่อให้แสดงรูปแบบ เดียวกับการใช้คำสั่ง [ dtex ] [ /dtex ] ซ้ำอีกครั้ง ดังนั้นเมื่อนำมาใช้อีกครั้ง จึงแก้ปัญหาตัวอักษรเล็กลงได้ วงเล็บที่เปลี่ยนขนาดได้ วงเล็บที่ครอบสมการคณิตศาสตร์ หากเปลี่ยนขนาดตามสมการ จะสวยงามยิ่งขึ้น ตัวอย่างของวงเล็บธรรมดา ที่ไม่เปลี่ยนขนาด เช่น $ (\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}) $ จะได้ผลลัพธ์ \( (\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}) \) เพื่อให้วงเล็บเปลี่ยนขนาดได้จึง ต้องมีคำสั่งมานำหน้าวงเล็บตัวนั้น หากต้องการเปลี่ยนขนาด ของวงเล็บด้านซ้าย ให้ใช้ "\left" นำหน้า และหากต้องการเปลี่ยนขนาด ของวงเล็บด้านขวา ให้ใช้ "\right" นำหน้า แต่ทั้งนี้ เมื่อใช้คำสั่ง "\left" แล้วจะต้อง มีคำสั่ง "\right" ให้เข้าคู่กันด้วย เพื่อแก้ปัญหาที่ต้องการเปลี่ยนวงเล็บ เพียงด้านเดียว หากไม่ต้องการเปลี่ยนขนาดของ วงเล็บด้านซ้ายให้ใช้คำสั่ง "\left." และหากไม่ต้องการเปลี่ยนขนาดของ วงเล็บด้านขวาให้ใช้คำสั่ง "\right." ตัวอย่างเช่น $ \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) \) $ \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right. $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right. \) $ \left.\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left.\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}}\right) \) $ \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} , \frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} \right] $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} , \frac{1}{1-\frac{1}{1-\frac{1}{x}}} \right] \) หมายเหตุ : เกี่ยวกับเศษส่วนต่อเนื่อง หรือสมการอะไรก็แล้วแต่ ที่มีความสูงพอสมควร เราสามารถจัดสมการให้อยู่ระดับตรงกลางได้ด้วยคำสั่ง "\vcenter{}" ลองเปรียบเทียบ คำสั่งที่ใช้ และไม่ใช้ นะครับ $ \left( \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}} \right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left( \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}} \right) \) $ \left( \vcenter{\frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}}} \right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left( \vcenter{\frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1- \frac{1}{1-x}}}}} \right) \) การเขียนข้างบนหรือข้างใต้ คำสั่งได้แก่ "\overline{}", "\underline{}", "\overbrace{}^{}", "\underbrace{}_{}", "\overleftarrow{}", "\overrightarrow{}" วิธีใช้ดูจากตัวอย่างเลยละกัน ง่ายดี $ \overline{x+y+z} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overline{x+y+z} \) $ \underline{x+y+z} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \underline{x+y+z} \) $ \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} \) $ \underbrace{x+\cdots+x}_{\text{$k\;$ตัว}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \underbrace{x+\cdots+x}_{\text{$k\;$ตัว}} \) $ \overleftarrow{x_1+\cdots+x_k} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overleftarrow{x_1+\cdots+x_k} \) $ \overrightarrow{x_1+\cdots+x_k} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overrightarrow{x_1+\cdots+x_k} \) การแทรกข้อความ ปกติแล้ว LaTeX มีคำสั่ง "\textrm{}" สำหรับแทรกข้อความ ในสมการคณิตศาสตร์ แต่เนื่องจากนี่คือ LaTeX บนเว็บ ดังนั้น เราสามารถพิมพ์ข้อความ ภาษาไทยแทรกลงไปได้เลย แต่หากเป็นภาษาอังกฤษ หากแทรกไปตรงๆ ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นแบบตัวแปร และการเว้นระยะไม่ปกติ นอกจากนี้สำหรับภาษาไทยเอง หากตำแหน่งที่ตัวอักษรไทยปรากฎ เป็นตัวยกหรือตัวห้อย ก็แสดงผลได้ไม่ถูกต้อง คือจะโดนตัดขอบบน หรือล่างทิ้งไป ในกรณีเช่นนี้เรามีคำสั่ง "\text{}" ให้ใช้งานเท่านั้น (ไม่มีคำสั่ง "\textrm{}" นะครับ) ตัวอย่างเช่น $ Test x=1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( Test x=1 \) $ \text{Test } x=1 $ จะได้ผลลัพธ์ \( \text{Test } x=1 \) $ \overbrace{x+\cdots+x}^{k\; ตัว} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overbrace{x+\cdots+x}^{k\; ตัว} \) $ \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \overbrace{x+\cdots+x}^{\text{$k\;$ตัว}} \) หมายเหตุ : การใช้ตัวแปร หรือคำสั่ง LaTeX ใน "\text{}" ให้ล้อมรอบด้วยเครื่องหมาย "$$" จะทำให้ได้ตัวอักษร ขนาดเดียวกับข้อความ ใส่หมวก คำสั่งใส่หมวก สำหรับอักษรเพียง 1 ตัว โปรดศึกษาจากตัวอย่าง $ \hat a \quad \check a\quad \tilde a \quad \acute a \quad \grave a \quad \dot a \quad \ddot a \quad \breve a \quad \bar a \quad \vec a $ จะได้ผลลัพธ์ \( \hat a \quad \check a\quad \tilde a \quad \acute a \quad \grave a \quad \dot a \quad \ddot a \quad \breve a \quad \bar a \quad \vec a \) สำหรับอักษรเป็นกลุ่ม โปรดศึกษาจากตัวอย่าง $ \widehat x, \widetilde x \quad \widehat{xy}, \widetilde{xy} \quad \widehat{xyz}, \widetilde{xyz} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \widehat x, \widetilde x \quad \widehat{xy}, \widetilde{xy} \quad \widehat{xyz}, \widetilde{xyz} \) ทำตัวหนา ใช้คำสั่ง "\mathbf{}" ตัวอย่างเช่น $ \mathbf{CHNPQRZ} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \mathbf{CHNPQRZ} \) ตัวอักษร Unicode เราสามารถแสดงตัวอักษร unicode ใน LaTeX ได้ด้วยคำสั่ง \unicode{รหัส unicode} เช่น $ \unicode{8450} \unicode{8461} \unicode{8469} \unicode{8473} \unicode{8474} \unicode{8477} \unicode{8484} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \unicode{8450} \unicode{8461} \unicode{8469} \unicode{8473} \unicode{8474} \unicode{8477} \unicode{8484} \) เมตริกซ์และอาร์เรย์ เราสามารถจัดรูปแบบ เป็นเมตริกซ์ได้ด้วยคำสั่ง "\matrix{}" โดยมี "&" สำหรับแบ่งระว่างคอลัมน์ และ "\\" สำหรับขึ้นแถวใหม่ ตัวอย่างเช่น $ \matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \) หากเราต้องการวงเล็บด้านซ้ายและขวา ประกอบเข้ามาด้วย ก็อาจใช้การเขียนวงเล็บที่เปลี่ยนขนาดได้ หรือคำสั่งที่ช่วยให้พิมพ์ง่ายขึ้น ศึกษาเทคนิคจากตัวอย่างเลยละกัน $ \left[\matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab}\right] $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left[\matrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab}\right] \) $ \pmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \pmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \) $ \bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \) $ \Bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Bmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \) $ \vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \) $ \Vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Vmatrix{a^2-b^2& -1\\ 1& 2ab} \) $ \left(\matrix{n\\ r}\right) $ จะได้ผลลัพธ์ \( \left(\matrix{n\\ r}\right) \) $ {n \choose r} $ จะได้ผลลัพธ์ \( {n \choose r} \) $ {n \brack r} $ จะได้ผลลัพธ์ \( {n \brack r} \) $ {n \brace r} $ จะได้ผลลัพธ์ \( {n \brace r} \) $ f(x) = \left\{\matrix{x^2+1 & , x < 0\\ 1-x & , \text{ Otherwise}}\right. $ จะได้ผลลัพธ์ \( f(x) = \left\{\matrix{x^2+1 & , x < 0\\ 1-x & , \text{ Otherwise}}\right. \) $ f(x) = \cases{x^2+1 & , x<0 \cr 1 - x & , \text{ Otherwise}} $ จะได้ผลลัพธ์ \( f(x) = \cases{x^2+1 & , x<0 \cr 1 - x & , \text{ Otherwise}} \) สำหรับคำสั่งอาร์เรย์ ใช้จัดรูปของหลายๆสมการ ให้สวยงาม เช่นให้เครื่องหมาย "=" เรียงลงมาตรงกัน สมการอยู่ในแนวเดียวกัน รูปแบบของคำสั่งคือ \begin{array}{การวางตำแหน่งของแต่ละคอลัมน์} ข้อมูลในอาร์เรย์ (รูปแบบเดียวกับในคำสั่งเมตริกซ์) \end{array} การวางชิดซ้าย (Left) ใช้สัญลักษณ์ "l" การวางตรงกลาง (Center) ใช้สัญลักษณ์ "c" การวางชิดขวา (Right) ใช้สัญลักษณ์ "r" ตัวอย่างเช่นคำสั่ง $ \begin{array}{rcl}ax^2 + bx + c & = & 0 \\ x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} & = & 0 \\ \left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} & = & \frac{b^2}{4a^2} \\ \left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 & = & \frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \\ x + \frac{b}{2a} & = & \pm \frac{\sqrt{ b^2 - 4ac }}{2a} \\ x & = & \frac{-b \pm \sqrt{b^2 - 4ac} }{2a} \end{array} $ ตรงคำสั่ง "{rcl}" บอกให้รู้ว่า คอลัมน์แรกให้ชิดขวา (r) คอลัมน์ที่สองวางตรงกลาง (c) และคอลัมน์ที่สามให้ชิดซ้าย (l) ผลลัพธ์ของคำสั่งนี้คือ \[ \begin{array}{rcl}ax^2 + bx + c & = & 0 \\ x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} & = & 0 \\ \left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} & = & \frac{b^2}{4a^2} \\ \left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 & = & \frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \\ x + \frac{b}{2a} & = & \pm \frac{\sqrt{ b^2 - 4ac }}{2a} \\ x & = & \frac{-b \pm \sqrt{b^2 - 4ac} }{2a} \end{array} \] ลองดูอีกสักตัวอย่าง คำสั่ง $ \begin{array}{cl} & ax^2 + bx + c \\ = & x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} \\ = & \left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} -\frac{b^2}{4a^2} \\ = & \left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 -\frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \end{array} $ จะได้ผลลัพธ์เป็น \[ \begin{array}{cl} & ax^2 + bx + c \\ = & x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{c}{a} \\ = & \left(x^2 + \frac{b}{a}x + \frac{b^2}{4a^2}\right) + \frac{c}{a} -\frac{b^2}{4a^2} \\ = & \left(x + \frac{b}{2a}\right)^2 -\frac{b^2 - 4ac}{4a^2} \end{array} \] หมายเหตุ : เราอาจมองว่าคำสั่ง \matrix{} ก็คือ การใช้อาร์เรย์ที่มีการวางข้อมูล ในแต่ละคอลัมน์อยู่ตรงกลางเสมอ ตัวอักษรกรีก ตัวอักษรกรีกทั้งหมดที่มีได้แก่
สัญลักษณ์ถัดมา
สัญลักษณ์ถัดมา
สัญลักษณ์ถัดมา
สัญลักษณ์แสดงความสัมพันธ์
ลูกศร
วงเล็บ หรือ สัญลักษณ์ที่เปลี่ยนขนาดได้
หมายเหตุ : เราสามารถบังคับให้ วงเล็บเหล่านี้มีขนาดใหญ่ได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้เข้ากับสมการ ด้วยการใช้คำสั่งต่อไปนี้นำหน้า เรียงจากเล็กไปใหญ่ดังนี้ \big \Big \bigg \Bigg ตัวอย่างเช่น $ \big ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \big ( \) $ \Big ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Big ( \) $ \bigg ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \bigg ( \) $ \Bigg ( $ จะได้ผลลัพธ์ \( \Bigg ( \) ชื่ออื่นๆของสัญลักษณ์
TIPS : สัญลักษณ์บางอย่าง ได้จากการประยุกต์ใช้สัญลักษณ์เหล่านี้ เช่น วิธีเขียนตัวองศา ให้ใช้คำสั่ง "^\circ" เช่น $ \sin 30^\circ $ จะได้ผลลัพธ์ \( \sin 30^\circ \) ปล. ลองเปรียบเทียบสมการที่ท่านเห็นกับรูปภาพด้านล่าง หากได้ผลลัพธ์ต่างกัน แสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่าน ยังขาดฟอนต์ที่จำเป็นสำหรับการแสดง LaTeX ในเว็บบอร์ดนี้ ในกรณีนี้ให้ติดตั้งฟอนต์ ตัวนี้เพิ่มเติมนะครับ TeXfonts \[ \int_0^\infty e^{-x^2} dx = \frac{\sqrt{\pi}}{2} \] \[ \sum_{n=1}^\infty \frac{1}{n^6+1} = \frac{\pi}{6}\left( \coth\pi + \frac{\sinh\pi + \sqrt 3\sin\pi\sqrt 3}{\cosh\pi - \cos\pi\sqrt 3}\right) - \frac{1}{2} \]
__________________
The difference between school and life? In school, you're taught a lesson and then given a test. In life, you're given a test that teaches you a lesson. 22 พฤษภาคม 2013 22:26 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 27 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP |
#2
|
|||
|
|||
1.จะพิมพ์ภาษาไทยใน LATEX อย่างไร ตอนนี้ มี Thai Latex Expansion ในเครื่องแล้ว
ช่วยแนะนำด้วย 2. คำสั่งของ Latex ver. ที่เก่ากว่า สามารถนำมาใช้กับ ver. ที่ใหม่กว่าได้หรือไม่ ขอบคุณมากครับ |
#3
|
||||
|
||||
ใช้ package babel กับ thswitch ตามตัวอย่างข้างล่าง
LATEX Code:
ผมเคยใช้ LaTeX เพียงเวอร์ชันเดียวจึงบอกไม่ได้ แต่คิดว่ามันควรจะใช้กันได้ หากมี package ของมันลงไว้
__________________
The difference between school and life? In school, you're taught a lesson and then given a test. In life, you're given a test that teaches you a lesson. 28 มีนาคม 2007 15:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP |
#4
|
|||
|
|||
LATEX ขึ้นบรรทัดใหม่ยังไงครับ
__________________
[[:://R-Tummykung de Lamar\\::]] || (a,b,c > 0,a+b+c=3) $$\sqrt a+\sqrt b+\sqrt c\geq ab+ac+bc$$ 18 มีนาคม 2005 16:37 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ R-Tummykung de Lamar |
#5
|
||||
|
||||
ปกติแล้ว LaTeX จะใช้คำสั่ง \\ หรือ \newline หรือเคาะ enter 2 ครั้ง สำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ แต่การพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ใน LaTeX จัดว่าอยู่ในโหมดพิเศษ (คำสั่ง LaTeX ที่ใช้ในเว็บบอร์ดของเรา จึงเป็นคำสั่งสำหรับใช้ในโหมดพิเศษของ LaTeX เท่านั้น) และในโหมดพิเศษนี้เอง คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่ \\ จะใช้ตัวเดียวโดดๆไม่ได้ จะต้องใช้ประกอบกับคำสั่ง array หรือ matrix เท่านั้น เช่น
\bmatrix{a \\ b} หรือ \begin{array}{l} a \\ b \end{array} แนะนำว่า หากเราต้องการขึ้นบรรทัดใหม่ ก็ควรจะออกจากโหมดพิเศษซะก่อน แล้วจึงขึ้นบรรทัดใหม่เอง แล้วค่อยกลับเข้าสู่โหมดพิเศษอีกครั้ง เว้นเสียแต่ว่าอยากให้ แนวของสมการมันตรงกัน ก็ให้ใช้คู่กับคำสั่ง array ครับ ปล. มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ยังใช้คำสั่ง LaTeX ไม่คล่อง และสงสัยว่า แต่ละข้อความที่เขียนตอบกันไปมาในเว็บบอร์ดด้วยคำสั่ง LaTeX นั้น เขาเขียนกันอย่างไรบ้าง ให้ลองสังเกตไอคอนเครื่องหมายคำพูด ( "" ) ของทุกๆคำตอบ (เมื่อเรานำ mouse ไปวางเหนือไอคอนนี้จะขึ้นข้อความว่า "ตอบคำถาม โดยต่อท้ายคำตอบด้วยคำตอบของเขา" ) ให้เราคลิกที่ไอคอนนี้ครับ เพียงแค่นี้ เราก็จะพบกับคำสั่งทั้งหมดที่ใช้ในคำตอบนั้น รวมทั้งคำสั่ง LaTeX ด้วย
__________________
The difference between school and life? In school, you're taught a lesson and then given a test. In life, you're given a test that teaches you a lesson. 20 พฤษภาคม 2005 13:35 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ TOP |
#6
|
||||
|
||||
หากต้องการพิมพ์ตาราง(ที่ไม่ใช่ matrix)บนบอร์ดนี้ จะพิมพ์อย่างไรครับ เพราะลองใช้ tabular Environment แล้วไม่แสดงผล
__________________
คนไทยร่วมใจอย่าใช้ภาษาวิบัติ ฝึกพิมพ์สัญลักษณ์สักนิด ชีวิต(คนตอบและคนถาม)จะง่ายขึ้นเยอะ (จริงๆนะ) Stay Hungry. Stay Foolish. |
#7
|
||||
|
||||
คำสั่ง tabular environment ใช้ไม่ได้ครับ ผมคิดว่า เนื่องจากนี่ไม่ใช่คำสั่งใน mathematic mode ผู้เขียนสคริปต์ตัวนี้ จึงไม่ได้ใส่ไว้
คุณ nongtum หมายถึงตารางที่มีเส้นตารางตีล้อมรอบทุกช่องหรือเปล่าครับ ถ้าใช่ละก็ ตอนนี้ยังไม่มีคำสั่งใดทำได้ครับ มีเพียงแต่ตารางที่ไม่มีเส้นล้อมรอบใดๆเลย คำสั่งที่ใช้ก็เป็นคำสั่งของ UBB Code ในกลุ่ม [ table ] [ /table ] นั่นเอง หากต้องการคำสั่งลักษณะนี้ของ UBB Code ผมพอจะแก้ไขให้ได้ โดยอาจจะเพิ่ม option ให้กับคำสั่ง [ table ] [ /table ] ให้เลือกได้ว่าจะเอาเส้นตารางหรือไม่ แต่หากต้องการ tabular environment สำหรับใช้ใน \( LA\TeX{} \) ละก็ ผมก็จนปัญญาจริงๆ ผมเคยติดต่อกับเจ้าของสคริปต์ jsMath ตั้งแต่เวอร์ชัน 1.7b ช่วยหาบั๊กและทดสอบ เพื่อให้ใช้กับเว็บบอร์ดของเราได้อย่างไร้ปัญหา จนมันขึ้นมาเป็นเวอร์ชัน 1.7c 1.7d และ 1.7e ภายในเวลาไม่ถึงสัปดาห์ หลังจากนั้นเจ้าของสคริปต์เขาก็ไม่แก้ไขบั๊กที่เหลือให้ครับ บอกว่ามันเป็นบั๊กนิดๆหน่อยๆ และส่วนใหญ่เขาจะบ่นว่า มันเป็นบั๊กของ IE เท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าเขาจะเพิ่มคำสั่งอื่น หากลองไปดูที่หน้า Future Features of jsMath เขาบอกไว้ว่า ต่อไปจะเพิ่มคำสั่ง \( LA\TeX{} \) มากขึ้น เพิ่ม picture environment และเนื่องจาก picture environment ก็ไม่ได้อยู่ใน mathematic mode ผมจึงแน่ใจว่า จะมีคำสั่ง environment อื่นๆที่จะถูกเพิ่มเข้าไปด้วย มันจึงขึ้นกับว่าเขาจะมีเวลาทำหรือไม่ และทำเสร็จเมื่อไหร่
__________________
The difference between school and life? In school, you're taught a lesson and then given a test. In life, you're given a test that teaches you a lesson. |
#8
|
|||
|
|||
ขอบคุณที่ให้ความรู้ครับ
แต่พิมพ์คำสั่งภาษาไทยตามที่แนะนำมา มันไม่ออกครับ หรือว่าผมลงโปรแกรมไม่ครบ ช่วยแนะนำทีครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ |
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
เรื่อง latex | RedfoX | ซอฟต์แวร์คณิตศาสตร์ | 8 | 16 มิถุนายน 2008 20:54 |
Latex ไม่โหลด | au | ปัญหาการใช้เว็บบอร์ด | 3 | 16 ตุลาคม 2007 14:10 |
ปัญหา latex | sornchai | ปัญหาการใช้เว็บบอร์ด | 7 | 01 เมษายน 2007 15:43 |
อยากใช้โปรแกรม latex | sornchai | ซอฟต์แวร์คณิตศาสตร์ | 2 | 26 ธันวาคม 2006 05:49 |
ข้อเสนอบางอย่างเกี่ยวกับ Latex | R-Tummykung de Lamar | ปัญหาการใช้เว็บบอร์ด | 37 | 15 มกราคม 2006 01:38 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|