|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
|||
|
|||
Road to IMO 2017 to Infinity
1. จงพิสูจน์ว่าสำหรับทุก $a \in \mathbb{Z} $ จะมี $n \in \mathbb{N} $ ที่ทำให้ $2^{2^n}+a$ เป็นจำนวนประกอบบวก
20 ตุลาคม 2016 08:25 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Terry Tao |
#2
|
|||
|
|||
อันนี้สูตร useful cอยู่บนเส้นตรงผ่านzและขนานกับab ก็ต่อเมื่อ (z-c)\(b-a)เป็นจำนวนจริง
19 ตุลาคม 2016 12:45 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Terry Tao |
#3
|
|||
|
|||
อีกสูตร cอยู่บนเส้นตรงผ่านzตั้งฉากกับเส้นตรงab ก็ต่อเมื่อ $\frac{(z-c)}{(b-a)} \in i\mathbb{R}$
19 ตุลาคม 2016 12:51 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Terry Tao |
#4
|
|||
|
|||
Triangle $BCF$ has a right angle at $B$. Let $A$ be the point on line $CF$ such that $FA=FB$ and $F$ lies between $A$ and $C$. Point $D$ is chosen so that $DA=DC$ and $AC$ is the bisector of $\angle{DAB}$. Point $E$ is chosen so that $EA=ED$ and $AD$ is the bisector of $\angle{EAC}$. Let $M$ be the midpoint of $CF$. Let $X$ be the point such that $AMXE$ is a parallelogram. Prove that $BD,FX$ and $ME$ are concurrent.
IMO 2016 problem1 ผมhintให้ครับ1.ไล่มุม 2.วาดวงกลมล้อมรอบBCF 3.อะไรcollinearกันบ้าง 4.หาสี่เหลี่ยมด้านขนานเยอะๆ 19 ตุลาคม 2016 19:13 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Terry Tao |
#5
|
||||
|
||||
เอาจริงๆ เหรอครับ ผมว่าผมสู้พลานุภาพไม่ไหวแน่ๆ 555
แจก NT ให้ข้อนึงครับ ให้ $m,n$ เป็นจำนวนนับโดยที่ $\phi(5^m-1)=5^n-1$ จงแสดงว่า $gcd(m,n)>1$ ข้อแรกสุด ผมได้แต่แสดงว่ามีอ่ะครับ มีเป็นอนันต์คงจะยาก 555 กรณี $a$ เป็นเลขคู่ก็ไม่ต้องทำไรต่อแล้วครับ 555 กรณีเป็นเลขคี่ ลองให้ $a=2^vk+1$ โดย $k$ เป็นเลขคี่ ก่อนอื่น เราจะแสดงว่ามี $n$ ที่ทำให้ $2^{2^n}+a$ เป็นจำนวนประกอบ สมมุติขัดแย้งว่า ถ้าหากทุกๆ จำนวนนับ $n$ $p_n=2^{2^n}+a$ เป็นจำนวนเฉพาะ เราก็จะได้ว่า $p_v$ เป็นจำนวนเฉพาะด้วย พิจารณา $p_N$ โดย $N=\phi(\frac{p_v-1}{2^v})+v$ จะได้ว่า $p_N\equiv 0 (mod p_v)$ ขัดแย้งกับที่ว่า $p_N$ เป็นจำนวนเฉพาะ ดังนั้น จึงมีจำนวนนับ $n$ ที่ทำให้ $2^{2^n}+a$ เป็นจำนวนประกอบ
__________________
I'm Back 20 ตุลาคม 2016 02:00 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Beatmania |
#6
|
|||
|
|||
อ้างอิง:
|
#7
|
||||
|
||||
แจก Set เรขาเผื่อมีคนสนใจครับ
1. ให้ $ABC$ เป็นรูปสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าที่มีวงกลม $\Omega $ ล้อมรอบ เส้นแบ่งครึ่งมุมภายใน $BAC$ ตัดกับ $BC$ และ $\Omega$ ที่จุด E,F ตามลำดับ วงกลมแนบในสามเหลี่ยม $ABC$ สัมผัสด้าน $BC$ ที่จุด $D$ ให้ $\omega,\Gamma_A$ แทนวงกลมล้อมรอบ $DEF$ และวงกลมแนบนอกตรงข้ามมุม $A$ ถ้าหาก $\omega\cap \Omega=F,T$ และ $\omega\cap \Gamma_A=S_1,S_2$ จงแสดงว่า $A,T,S_1$ อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน หรือ $A,T,S_2$ อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน (USATST2016 #2) 2. ให้ $ABC$ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีวงกลม $\Omega $ ล้อมรอบ ให้ $\omega_A$ แทนวงกลมที่สัมผัสด้าน $AB,AC$ และสัมผัส $\Omega$ แบบภายในที่จุด $T_A$ เรานิยาม $\omega_B,\omega_C,T_B,T_C$ ในทำนองเดียวกัน จงแสดงว่า $AT_A,BT_B,CT_C$ ตัดกันที่จุดๆ เดียว (Japan MO 2007) 3. เราจะเรียกจุด $P$ ในสามเหลี่ยมมุมแหลมด้านไม่เท่า $ABC$ ว่า "มหัศจรรย์" ถ้าหากสองคล้องกับสมบัติสองข้อต่อไปนี้ 1.) ถ้าหากเราลาก $PX\perp BC,PY\perp CA,PZ\perp AB$ โดยที่ $X,Y,Z$ อยู่บนด้าน $BC,CA,AB$ แล้ว $AX,BY,CZ$ ตัดกันที่จุดเดียว 2.) $\angle PAB+\angle PBC+\angle PCA = \angle 90^{\circ}$ จงหาทางเดินจุด (โลคัส) ของจุดมหัศจรรย์ (USATST2016 #6) 4. ให้ $ABC$ เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีวงกลม $\Omega $ ล้อมรอบ เส้นแบ่งครึ่งมุมภายใน $ABC$ และมุม $BCA$ ตัดด้านตรงข้ามที่จุด $E,F$ ตามลำดับ เส้นตรง $EF$ ตัดกับ $\Omega$ ที่จุด $M,N$ ให้ $I$ เป็นจุดศูนย์กลางวงกลมแนบใน จงแสดงว่ารัศมีของวงกลมล้อมรอบ $MIN$ มีขนาดเป็นสองเท่าของรัศมี $\Omega $ (Russia 2006) 5. ให้ $ABC$ เป็นสามเหลี่ยมด้านไม่เท่าที่มี $I$ เป็นจุด ศก วงกลมแนบใน วงกลมแนบในสัมผัสด้าน $\overline{BC}$, $\overline{CA}$, $\overline{AB}$ ที่จุด $D$, $E$, $F$, ตามลำดับ ให้ $M$ เป็นจุดกึ่งกลางด้าน $\overline{BC}$, $Q$ เป็นจุดในวงกลมแนบในโดยที่ $\angle AQD = 90^{\circ}$ ให้ $P$ เป็นจุดภายในสามเหลี่ยมและอยู่บนเส้น $AI$ โดยที่ $MD = MP$ จงแสดงว่า $\angle PQE = 90^{\circ}$ หรือ $\angle PQF = 90^{\circ}$ (USATST2015 #1)
__________________
I'm Back 21 ตุลาคม 2016 11:54 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Beatmania |
#8
|
|||
|
|||
เรขาสอบไปครบแล้วครับ ขอเป็น Algebra+IE+FE หน่อยครับ
|
#9
|
||||
|
||||
ว่าแล้วว่าต้องเป็นน้องในค่าย 5555 จะจัดให้แบบไม่ผิดหวังแน่นอนครับๆ เอา I ไปก่อนแล้วกัน
1. ให้ $x_1\leq x_2\leq ...\leq x_n$ เป็นจำนวนจริงบวกโดยที่ $\frac{x_1}{1}\geq \frac{x_2}{2}\geq ... \geq \frac{x_n}{n}$ จงแสดงว่า $$\frac{x_1+x_2+...+x_n}{n\sqrt[n]{x_1x_2...x_n} }\leq \frac{n+1}{2\sqrt[n]{n!} }$$ (China TST 2015) 2. ให้ $a_1,a_2,...,a_n$ เป็นจำนวนจริงบวก จงแสดงว่า $$\left (\frac{\sum_{j=1}^{n} \left (\prod_{k=1}^{j}a_k \right )^{\frac{1}{j}}}{\sum_{j=1}^{n}a_j} \right )^{\frac{1}{n}}+\frac{\left (\prod_{i=1}^{n}a_i \right )^{\frac{1}{n}}}{\sum_{j=1}^{n} \left (\prod_{k=1}^{j}a_k \right )^{\frac{1}{j}}}\le \frac{n+1}{n}$$ (China TST 2015) 3. จงหาจำนวนจริงบวก $\lambda$ ที่น้อยที่สุดที่มีสมบัติว่า สำหรับจำนวนเชิงซ้อน $z_1,z_2,z_3$ ที่อยู่ภายในวงกลมหนึ่งหน่วย ถ้าหาก $z_1+z_2+z_3=0$ แล้ว $$|z_1z_2+z_2z_3+z_3z_1|^2+|z_1z_2z_3|^2<\lambda$$ (China TST 2016) 4. ให้ $z_1,z_2,...,z_n$ เป็นจำนวนเชิงซ้อนและ $r\in (0,1)$โดยที่ $|z_i-1|\leq r$ จงแสดงว่า $$|\sum_{i = 1}^{n} z_i||\sum_{i = 1}^{n} \frac{1}{z_i} |\geq n^2(1-r^2)$$ (China MO 2015 #1) 5. ให้ $x_1,x_2,...,x_n$ เป็นจำนวนจริงบวกโดยที่ $x_1+x_2+...+x_n=1$ จงแสดงว่า $$(\sum_{i = 1}^{n} \frac{1}{1-x_i} )(\sum_{1\leq i<j\leq n} x_ix_j)\leq \frac{n}{2} $$ (China Western MO 2015 #3)
__________________
I'm Back 20 ตุลาคม 2016 23:22 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Beatmania |
#10
|
||||
|
||||
อันนี้จะเป็น A นะครับ หาโจทย์ยากเหมือนกันนะ 55
1.) พิจารณาระบบสมการที่มี $x_1,x_2,x_3$ เป็นตัวแปรตามด้านล่าง $$a_{11}x_1+a_{12}x_2+a_{13}x_3=0$$ $$a_{21}x_1+a_{22}x_2+a_{23}x_3=0$$ $$a_{31}x_1+a_{32}x_2+a_{33}x_3=0$$ กำหนดให้ $a_{ij} > 0$ ก็ต่อเมื่อ $i=j$ และผลรวม สปส ในแต่ละสมการมีค่ามากกว่าศูนย์ จงแสดงว่าระบบสมการนี้มีคำตอบแค่หนึ่งชุดคือ $(x_1,x_2,x_3)=(0,0,0)$ (ISL 1965) 2.) กำหนดให้ $a_0<a_1<...$ เป็นลำดับอนันต์ของจำนวนนับ จงแสดงว่าจะมีจำนวนนับ $n$ เพียงจำนวนเดียวที่ทำให้ $$a_n<\frac{a_0+a_1+...+a_n}{n}<a_{n+1}$$ (IMO 2014 #1) 3.) สำหรับเซต $A,B$ ที่ไม่เป็นเซตว่าง เรากำหนดให้ $A+B=(a+b|a\in A,b\in B)$ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเขียน $\mathbb{Q}$ ในรูปของ $A\cup B\cup C$ โดยที่เซตทั้งสาม disjoint กัน และ $A+B,B+C,C+A$ disjoint กันเช่นกัน (ISL 2012 A2) 4.) กำหนดให้ $$f(x)=\sum_{i = 1}^{n} a_ix^i,g(x)=\sum_{i = 1}^{n} \frac{a_i}{2^i-1} x^i$$ โดยที่ $n$ เป็นจำนวนนับ $a_1,a_2,...,a_n$ เป็นจำนวนจริงและ $a_n\neq 0$ ถ้าหาก $1,2^{n+1}$ เป็นรากของ $g$ จงแสดงว่า $f$ มีรากที่เป็นบวกและมีค่าน้อยกว่า $2^n$ (USATST 2004) 5.) จงหาพหุนาม $P(x)$ ที่มี สปส เป็นจำนวนจริงทั้งหมดโดยที่ $$P(\sqrt{2}x)=P(x+\sqrt{1-x^2})$$ สำหรับทุกจำนวนจริง $x\in[-1,1]$ (USATSTST 2015 #3)
__________________
I'm Back 20 ตุลาคม 2016 11:28 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Beatmania |
#11
|
|||
|
|||
ขอบคุณครับ
|
#12
|
|||
|
|||
คุณ Beatmania ไม่ลองส่งพวกชีทแบบแยกเทคนิกให้น้องเขาดูละครับ
อย่าง Geo ก็จะมีหลายๆเทคนิกย่อย รวมทั้งพวก Dark Arts แบบเชิงซ้อน อัดแกนอะไรแบบนี้ ปล.หลังจากเลยช่วงทำโจทย์ส่วนนี้ไป แบบตอนน้องเขาสอบเสร็จแล้ว แบ่งๆกัน |
#13
|
||||
|
||||
มีคนขอ Combi มาครับ 555
1.) พิจารณาส่วนของเส้นตรง $n$ เส้นที่สองเส้นใดๆ ตัดกัน และไม่มีสามเส้นใดที่ตัดกันจุดเดียว เจฟจะวางกบที่ปลายส่วนของเส้นตรงแต่ละเส้น และวางหันหน้าไปยังปลายอีกด้านหนึ่งขอส่รวนของเส้นตรง เมื่อเจฟปรบมือ กบจะกระโดดโดยไปยังจุดตัดจุดแรกที่เจอ เขาต้องการวางกบโดยที่ไม่มีกบสองตัวใดๆ อยู่ในตำแหน่งเดียวกันหลังการปรบมือแต่ละครั้ง จงแสดงว่า เจฟจะสามารถวางกบตามที่เขาต้องการได้เสมอเมื่อ $n$ เป็นเลขคี่ และ เจฟจะไม่สามารถทำตามความต้องการเขาได้ ถ้าหาก $n$ เป็นจำนวนคู่ (IMO2016 #6) 2.) เราจะเรียกรูปหลายเหลี่ยม $P$ ว่า Lattice Polygon ถ้าหากความยาวด้านทุกด้านเป็นจำนวนนับ และสองด้านที่ติดกันใดๆ จะตั้งฉากกัน ถ้าหากเราสามารถปู Lattice Polygon P ได้ด้วย S-tetrominoes ได้ จงแสดงว่าไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ถ้าหากเราใช้ S-tetrominoes และ Z-tetrominoes ในการปู P เราจะต้องใช้ Z-tetrominoes เป็นจำนวนคู่ชิ้นเสมอ (ISL 2014 C3) ปล.ข้อนี้ไปหารูป tetrominoes กันเองนะครับๆ = =" แนบรูปไม่เป็น 3.) มีตารางขนาดอนันต์ แต่ละช่องจะถูกระบายด้วยสีสีหนึ่งจากสีทั้งหมด $1201$ สี โดยที่มีสมบัติว่า สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาวรอบรูป 100 ใดๆ ที่คลุมช่องในตารางสนิท จะไม่มีสองช่องใดๆ ในสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้ที่มีสีเดียวกัน จงแสดงว่า ข้อความด้านบนเป็นจริงสำหรับสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด $1\times1201$ และ $1201\times 1$ (Balkan MO 2016 #4) 4.) ให้ $x$ เป็นจำนวนอตรรกยะ จงแสดงว่ามีจำนวนเต็ม a,b โดยที่ $\frac{1}{2555}<ax+b<\frac{1}{2012}$ (TMO9 #10 / Special Case of Kronecker's Theorem) 5.) ให้ $X_1, X_2, \ldots, X_{100}$ เป็นสับเซตที่ไม่ใช่เซตว่างและแตกต่างกันของ $S$ สำหรับทุก $i=1,2,...,99$ , $X_i\cap X_{i+1}=\emptyset$ และ $X_i\cup X_{i+1}\neq S$ จงหาค่าที่น้อยที่สุดที่เป็นไปได้ของ $|S|$ (USAMO2016 #1)
__________________
I'm Back |
#14
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
พวกเรขาด้านมืดผมแทบไม่ค่อยได้แตะเลยครับ - -" อาจจะแนะนำตรงส่วนนี้ยังไม่ค่อยได้ ปกติผมจะชอบ Synthetic Geometry มากกว่าครับ เหมือนมันเห็นความสวยงามได้มากกว่า แต่ก็อาจจะมีตรีโกณนิดหน่อยตามความจำเป็น 555
__________________
I'm Back |
#15
|
|||
|
|||
IE แต่ละข้อดูป่าเถื่อนมากเลย แล้วอาจารย์ในค่ายเค้าชอบออกแนว 3-4 ตัวแปรด้วย
20 ตุลาคม 2016 17:38 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Pitchayut |
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
prove minkowski's inequality if p is infinity and essential supremum | rainbowpark | คณิตศาสตร์อุดมศึกษา | 0 | 20 สิงหาคม 2009 22:43 |
1^infinity ไม่เท่ากบ1เพราะ? | 000 | คณิตศาสตร์อุดมศึกษา | 3 | 03 มิถุนายน 2009 21:08 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|