|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
||||
|
||||
[สอวน. สวนกุหลาบ 2559] ข้อสอบ สอวน.ค่าย1/2559 ศูนย์สวนกุหลาบวิทยาลัย
1. จงพิสูจน์ว่า $[a,b,c]=\displaystyle{\frac{abc(a,b,c)}{(a,b)(b,c)(c,a)}}$ สำหรับทุกจำนวนเต็มบวก $a,b,c$ 2. ให้ $a,b,d$ เป็นจำนวนเต็มบวก จงใช้หลักการจัดอันดับดีแล้ว (well-ordering principle) พิสูจน์ว่า $d=(a,b)$ ก็ต่อเมื่อ มีจำนวนเต็ม $x,y$ ที่ทำให้ $d=ax+by>0$ โดยที่ $d\left.\,\right| a$ และ $d\left.\,\right| b$ 3. ให้ $a,m,n$ เป็นจำนวนเต็มบวก จงหา $(a^{{2^m} -1} -1,a^{{2^n}-1} -1)$ 4. ให้ $n$ เป็นจำนวนเต็มคู่บวก และ $k_1,k_2,...,k_{2n}$ เป็นจำนวนเต็มที่แตกต่างกัน $2n$ ตัว ซึ่ง $2n\left.\,\right| (k_1+k_2+...+k_{2n})$ จงแสดงว่า จะมีจำนวนเต็ม $x$ ที่ทำให้ \[(x-k_1)(x-k_2)...(x-k_{2n})-(n!)^2=0\] 5. จงแสดงว่าสำหรับจำนวนเต็มบวก $n$ ไม่มีจำนวนเต็มบวก $k$ ที่ทำให้ $(n+1)!=k^3$ จงแสดงวิธีทำอย่างละเอียด 1. จงทำให้เป็นรูปอย่างง่าย $\displaystyle{\frac{1}{2\cdot 3\cdot 4}+\frac{2}{3\cdot 4\cdot 5}+...+\frac{n}{(n+1)(n+2)(n+3)}}$ 2. จงหาจำนวนนับ $m,n,p$ ที่ทำให้ $m+n+p=2008$ ซึ่งสอดคล้องกับ \[\frac{x}{y}+\frac{y}{x}=m, \frac{y}{z}+\frac{z}{y}=n, \frac{z}{x} +\frac{x}{z}=p\] เมื่อ $x,y,z$ เป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็นศูนย์ 3. จงหาคู่อันดับของจำนวนจริง $(a,b)$ ทั้งหมดที่สอดคล้องกับสมการ $x^2+ax+b=0$ เมื่อ ถ้ากำหนดให้ $\alpha$ เป็นรากของสมการดังกล่าวแล้ว $\alpha ^2 -2$ เป็นรากของสมการด้วย 4. กำหนดให้ $z_k = \cos\displaystyle{\frac{2k\pi }{7}} + i\sin\displaystyle{\frac{2k\pi }{7}}$ เมื่อ $k=1,2,3,4,5,6$ จงหาค่าของ $\sum_{k = 1}^{ุ6} \displaystyle{\frac{1}{(z_k +1)^2}}$ คำสั่ง จงแสดงวิธีทำทุกข้อโดยละเอียด โดยใช้อสมการหรือทฤษฎีบทในเอกสารประกอบการสอนวิชาอสมการ 1. ให้ $p$ และ $q$ เป็นจำนวนจริงบวกซึ่ง $p>2>q$ และ $\displaystyle{\frac{1}{p}+\frac{1}{q}=1}$ จงแสดงว่า $\displaystyle{\Big(\frac{p}{p-q}\Big)^{p-q} \leqslant \Big(\frac{q+1}{q}\Big)^{p+q}}$ 2. ให้ $a,b$ และ $c$ เป็นจำนวนจริงบวกซึ่ง $ab+bc+ca=abc$ จงแสดงว่า $\displaystyle{\frac{1}{a^2\displaystyle{\Big(\frac{1}{b}+\frac{1}{c}\Big)}}}+\displaystyle{\frac{1}{b^2\displaystyle{\Big(\frac {1}{c}+\frac{1}{a}\Big)}}}+\displaystyle{\frac{1}{c^2\displaystyle{\Big(\frac{1}{a}+\frac{1}{b}\Big)}}}\geqslant \frac{1}{2}$ 3. ให้ $n$ เป็นจำนวนนับ และ $a_1,a_2,...,a_n$ เป็นจำนวนจริงบวกซึ่ง $a_1a_2...a_n=1$ จงแสดงว่า $n^{a_1}+n^{a_2}+...+n^{a_n}\geqslant n^2$ 4. ให้ $a,b$ และ $c$ เป็นจำนวนจริงบวก จงแสดงว่า $\displaystyle{\frac{(\sqrt{a}+\sqrt{b}+\sqrt{c})^2}{ab+bc+ca}}\leqslant 2\displaystyle{\Big(\frac{1}{b+c}+\frac{1}{c+a}+\frac{1}{a+b}\Big)}$ 5. ให้ $a,b$ และ $c$ เป็นจำนวนจริงซึ่ง $\displaystyle{0<a,b,c<\displaystyle{\frac{1}{2}}}$ และ $\displaystyle{(1-2a)(1-2b)(1-2c)\geqslant \displaystyle{\frac{1}{8}}}$ จงเสดงว่่า $\displaystyle{\sqrt[3]{abc}\leqslant \displaystyle{\frac{1}{4}}}$ 1. ให้ $C_1$ และ $C_2$ เป็นวงกลมที่มีรัศมีเป็น $a$ และ $b$ หน่วย ตามลำดับ โดย $a<b$ จงเขียนขั้นตอนวิธีการสร้าง เส้นตรงที่สัมผัสวงกลมทั้งสองนี้ โดย $C_1$ และ $C_2$ อยู่คนละด้านของเส้นสัมผัสนี้ พร้อมทั้งแสดงเหตุผลประกอบ 2. ให้ $C_1$ เป็นวงกลมที่มี $K$ เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งสัมผัสด้าน $AB$ และด้าน $AC$ ของรูปสามเหลี่ยม $ABC$ จงพิสูจน์ว่า จุด $I,K$ และ $I_a$ เรียงตัวอยู่บนเส้นตรงเดียวกัน เมื่อ $I$ คือ จุดศูนย์กลางวงกลมแนบในรูปสามเหลี่ยม $ABC$ และ $I_a$ คือจุดศูนย์กลางวงกลมแนบนอกรูปสามเหลี่ยม $ABC$ ที่อยู่ตรงข้าม $\angle BAC$ 3. ให้รูปสามเหลี่ยม $ABC$ มี $\angle BAC =60^\circ$ และให้ $C_1$ เป็นวงกลมที่ไม่ใช่วงกลมล้อมรอบรูปสามเหลี่ยม $ABC$ แต่มีรัศมีเท่ากับวงกลมล้อมรอบรูปสามเหลี่ยม $ABC$ และมีด้าน $BC$ เป็นคอร์ด จงพิสูจน์ว่า จุด $I,S$ และ $H$ อยู่บนวงกลม $C_1$ เมื่อ $I$ คือ จุดศูนย์กลางวงกลมแนบในรูปสามเหลี่ยม $ABC$$,S$ คือ จุดศูนย์กลางวงกลมล้อมรอบรูปสามเหลี่ยม $ABC$ และ $H$ คือจุด orthocenter ของรูปสามเหลี่ยม $ABC$ ที่อยู่ตรงข้าม $\angle BAC$ (กำหนดให้ $\displaystyle{\sin30^\circ = \frac{1}{2} = \cos 60^\circ}$) 4. ให้ $I_a,I_B$ และ $I_c$ เป็นศูนย์กลางวงกลมแนบนอกรูปสามเหลี่ยม $ABC$ ที่อยู่ตรงข้าม $\angle BAC , \angle ABC$ และ $\angle ACB$ ตามลำดับ $r_a , r_b$ และ $r_c$ เป็นรัศมีวงกลมแนบนอกรูปสามเหลี่ยม $ABC$ ที่อยู่ตรงข้าม $\angle BAC , \angle ABC$ และ $\angle ACB$ ตามลำดับ และ $\rho_a , \rho_b$ และ $\rho_c$ เป็นรัศมีวงกลมแนบในรูปสามเหลี่ยม $I_aBC,$ รูปสามเหลี่ยม $I_bAC$ และ รูปสามเหลี่ยม $I_cAB$ ตามลำดับ 4.1 จงพิสูจน์ว่ารูปสามเหลี่ยม $I_aBC,$ รูปสามเหลี่ยม $I_bAC$ และ รูปสามเหลี่ยม $I_cAB$ คล้ายกันทั้งหมด 4.2 จงพิสูจน์ว่า $\displaystyle{\frac{\rho_a}{r_a}+\frac{\rho_b}{r_b}+\frac{\rho_c}{r_c}=1}$ 1. กำหนดให้รูปข้างล่างนี้เป็นตาข่ายลวด โดยเราเรียกจุดที่เส้นลวดแนวตั้งกับแนวนอนทับกันว่าพิกัดจุด เราระบุตำแหน่งของแต่ละพิกัดจุดบนตาข่ายลวดด้วยคู่อันดับ $(x,y)$ โดยที่ $x$ เป็นตำแหน่งในแนวนอนและ $y$ เป็นตำแน่งในแนวตั้ง ดังรูปที่ 1 ตั๊กแตนตัวหนึ่งเกาะอยู่ที่พิกัด $(0,0)$ ของตาข่ายลวด และจะกระโดดวินาทีละหนึ่งครั้งหลังจากนี้ โดยการกระโดด ของตั๊กแตนตัวนี้จะกระโดดไปมาบนพิกัดจุดของตาข่ายครั้งละหนึ่งหน่วย และจะกระโดดไปทางทิศเหนือ หรือ ทิศตะวันออกเท่านั้น จงระบุพิกัดจุด ที่มีโอกาสพบตั๊กแตนตัวนี้มากที่สุดหลังจากเวลาผ่านไป $6$ วินาที พร้อมทั้งระบุความน่าจะเป็นที่มากที่สุดดังกล่าวด้วย 2. จงแสดงว่า $\sum_{r = 1}^{n} (n+r-1)\displaystyle{\binom{r+1}{2}}=\displaystyle{\binom{n+3}{4}}$ 3. จุด $20$ จุด ถูกจัดเรียงเป็นแถว $4$ แถว และ หลัก $5$ หลักดังรูปที่ 2 จงหาจำนวนรูปสามเหลี่ยมที่มีพื้นที่ไม่เท่ากับศูนย์ โดยที่มุมแต่ละมุมของสามเหลี่ยมเหล่านี้อยู่บนจุดที่กำหนดมาให้ 4. จำนวนตั้งแต่ $1$ ถึง $250$ มีกี่จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปผลรวมของจำนวนไม่เกินสามจำนวน ในเซต ${3^0,3^1,3^2,3^3,3^4,3^5}$ โดยแต่ละรูปแบบของการเขียนไม่สามารถใช้สมาชิกในเซตนี้ได้ไม่เกินหนึ่งครั้ง เช่น $12$ ถือเป็นจำนวนที่สอดคล้องเงื่อนไข เพราะ $12=3^2+3^1$ แต่ $5$ จะไม่ใช่จำนวนที่สอดคล้องเนื่องจาก $5=3^0+3^0+3^1$ ซึ่งมีการใช้ $3^0$ เพียงหนึ่งครั้ง 5. ณเดชน์ต้องการซื้อไอสกรีมที่ร้านไอศกรีมแห่งหนึ่งทีเดียวพร้อมกัน $n$ ถ้วย เพื่อนำไปฝากญาติ หากกำหนดให้ว่า ร้านนี้มีไอศกรีมเพียง $2$ รสให้เลือกคือ ช็อกโกแลต และวนิลา ซึ่งไอศกรีมแต่ละถ้วย สามารถเลือกใส่ Topping ได้ $1$ ชนิดฟรี จาก Topping $k$ ชนิดที่ทางร้านมี หรือจะเลือกไม่ใส่ Topping เลยก็ได้ และในการสั่งไอศกรีมร้านนี้ จะต้องเริ่มสั่งรสไอศกรีมก่อนแล้วตามด้วย Topping ถ้าหากว่าไอศกรีมแต่ละถ้วยที่ณเดชน์จะซื้อนี้ ประกอบด้วยไอศกรีมเพียง $1$ รสชาติ และ Topping ไม่เกิน $1$ ชนิด จงหาจำนวนวิธีในการเลือกสั่งไอศกรีม $n$ ถ้วยนี้พร้อมกัน เมื่อ $n$ และ $k$ เป็นจำนวนเต็มใดๆ ที่มีค่ามากกว่า $4$ ใครจักใคร่ Hint ก็ Hint ใครจักใคร่ Solve ก็ Solve ไพร่ฟ้าหน้าใสผู้ใดแก้โจทย์แล้วอยากโพสต์ ช่วยซ่อนข้อความไว้ด้วย จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง วิธีการซ่อนข้อความ PDF ของข้อสอบ กดเพื่อดาวน์โหลด [Google Drive] 23 ตุลาคม 2016 10:35 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 6 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ หัวหมาหางสิงโต เหตุผล: เพิ่มข้อสอบ |
#2
|
||||
|
||||
ขอจุดชนวนก่อนแล้วกัน
อสมการ ข้อ 2 Modified Cauchy-Schwarz Inequality $\frac{\displaystyle{\Big(\sum x_i\Big)^2}}{\displaystyle{\sum y_i}}\leqslant \displaystyle{\sum \frac{x_i^2}{y_i}} ,i\in\left\{1,2,...,n\right\}$ เลือก $x_1=\displaystyle{\frac{1}{a}} , x_2=\displaystyle{\frac{1}{b}} , x_3=\displaystyle{\frac{1}{c}}$ เลือก $y_1=\displaystyle{\frac{1}{b}+\frac{1}{c}} , y_2=\displaystyle{\frac{1}{c}+\frac{1}{a}} , y_3=\displaystyle{\frac{1}{a}+\frac{1}{b}}$ และ $\because ab+bc+ca=abc \therefore \displaystyle{\frac{1}{a}+\frac{1}{b}+\frac{1}{c} =1}$ โดย Modified Cauchy-Schwarz Inequality จัดรูป ... โกโก้ครั้นช์!!! จบ |
#3
|
||||
|
||||
ชอบเรขาครับ ขอทำเรขาก่อนแล้วกัน
1. พิทากอรัส 2. จุดทั้งหลายอยู่บนเส้นแบ่งครึ่งมุม $\angle BAC$ 3. ไล่มุม จะได้ว่า $\angle BIC=\angle BSC=\angle BHC=120^{\circ}$ และใช้ Lemma Orthocenter 4.1 พิจารณารูปใหญ่ จะได้ว่า $AI_a,BI_b,CI_c$ เป็นเส้นส่วนสูง ไล่มุมนิดเดียว 4.2 ลองแสดงว่า $\frac{r}{h_a}+\frac{r}{h_b}+\frac{r}{h_c}=1$ โดยที่ $h_a,h_b,h_c$ เป็นความยาวของส่วนสูงทั้งสาม
__________________
I'm Back 22 ตุลาคม 2016 23:00 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Beatmania |
#4
|
|||
|
|||
ออกวงกลมแนบนอก 2 ข้อเลยหรอครับเนี่ย
|
#5
|
|||
|
|||
ปีนี้อสมการออกง่ายลงแฮะ
|
#7
|
||||
|
||||
number ข้อ 4 ให้ $n=2,k_1=-2,k_2=0,k_3=2,k_4=4$ จะได้ว่าไม่จริง
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ |
#8
|
|||
|
|||
คิดถึงโจทย์อสมการและโค้ด Hidden แฮะ
Weighted AM-GM $\left(\dfrac{p}{p-q}\right)^{\frac{p-q}{p+q}}\cdot (1)^{\frac{2q}{p+q}} \leq 1+\dfrac{q}{p+q}\leq 1+\dfrac{1}{q}$
__________________
site:mathcenter.net คำค้น |
#9
|
|||
|
|||
ต้องทำได้ประมาณกี่ข้อถึงจะติดหรอครับ
|
#10
|
||||
|
||||
เท่าที่ดู คิดว่า 60 คะแนนก็น่าจะติดแล้วครับ
ค่าย1 ถ้าตั้งใจเรียนจริงๆ ไม่ได้เข้าเล่นๆ โอกาสติดก็สูงมากแล้วครับ จะเริ่มวัดความเก่งจริงๆก็ตอนค่าย2
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ 23 ตุลาคม 2016 23:23 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กขฃคฅฆง |
#11
|
||||
|
||||
ตอนสอบนี่เขาแจกข้อสอบมาเลยใช่ป่าวครับ หรืออันนี้ช่วยกันจำออกมาหรือครับ (พอดีผมไม่รู้จริงๆ)
__________________
ปวดหัวละ |
#12
|
|||
|
|||
เค้าแจกออกมาครับ
|
#13
|
||||
|
||||
30(1+2*4)(1+2*8)(1+2*16)(1+2*32)(1+2*64)เฉลยละเอียดให้หน่อยครับ
|
#14
|
|||
|
|||
ลองพยายามเอาไปโยงกับ $a^2-b^2=(a-b)(a+b)$ ให้ได้ครับ
|
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
ข้อสอบ สอวน. 2559 | zTeamz | ข้อสอบโอลิมปิก | 8 | 21 กันยายน 2016 23:20 |
แข่งขันความสามารถทางคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2559สมาคมครูคณิต | naam | ข่าวคราวแวดวงประถม ปลาย | 0 | 13 กรกฎาคม 2016 01:06 |
ทุนญี่ปุ่น 2559-60 | ฟินิกซ์เหินฟ้า | ข้อสอบในโรงเรียน ม.ปลาย | 0 | 30 มิถุนายน 2016 21:56 |
ผลสอบ สพฐ. ระดับมัธยม รอบที่ 2 ปี 2559 | gon | ข่าวคราวแวดวง ม.ต้น | 0 | 05 เมษายน 2016 21:00 |
สอบแข่งขันของสมาคมคณิตศาสตณืประจำปี 2559 ประกาศแล้วครับ | poonnamar | ข่าวคราวแวดวงประถม ปลาย | 1 | 25 พฤษภาคม 2015 17:00 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|