|
สมัครสมาชิก | คู่มือการใช้ | รายชื่อสมาชิก | ปฏิทิน | ค้นหา | ข้อความวันนี้ | ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว |
|
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
#1
|
||||
|
||||
สอวน. ค่าย1 2560 ศูนย์สวนกุหลาบวิทยาลัย
ข้อละ 10 คะแนน 1. ให้รูปสามเหลี่ยม $ABC$ ใดๆ และจุด $D$ บนด้าน $BC$ โดยที่ $D$ อยู่ใกล้ $C$ มากกว่า $B$ จงอธิบายขั้นตอนวิธีการสร้างเพื่อหาจุด $E$ บนด้าน $AB$ ที่ทำให้ $DE$ แบ่งสามเหลี่ยม $ABC$ ออกเป็นสองส่วนที่มีพื้นที่เท่ากัน พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ 2. ในรูปสามเหลี่ยม $ABC$ ใดๆ ให้ $D$ เป็นจุดบนด้าน $BC$ หรือส่วนต่อ โดยที่ $AD$ คือส่วนสูงของสามเหลี่ยมจากจุดยอด $A$ และกำหนด $E$ เป็นจุดบนวงกลมล้อมรอบสามเหลี่ยม $ABC$ ซึ่ง $AE$ ขนานกับด้าน $BC$ จงพิสูจน์ว่าส่วนของเส้นตรง $DE$ ผ่านจุดเซนทรอยด์ของสามเหลี่ยม $ABC$ 3. ให้รูปสามเหลี่ยม $ABC$ ใดๆ โดยมีด้านตรงข้ามมุม $A,B,C$ ยาว $a,b,c$ ตามลำดับ มี $I$ เป็นจุดศูนย์กลางวงกลมแนบใน และ $D$ เป็นจุดตัดระหว่าง ส่วนต่อของ $AI$ และ $BC$ 3.1 จงพิสูจน์ว่า $\dfrac{AI}{ID} = \dfrac{b+c}{a} $ 3.2 กำหนด $b+c=2a$ และให้ $M$ เป็นจุดตัดระหว่างส่วนต่อของ $AD$ และวงกลมล้อมรอบสามเหลี่ยม $ABC$ จงแสดงว่า $AI=IM$ 4. ให้สามเหลี่ยม $ABC$ เป็นสามเหลี่ยมมุมแหลม และ $A',B',C'$ เป็นจุดกึ่งกลางด้าน $BC,CA,AB$ ตามลำดับ กำหนด $H$ เป็นจุดออร์โทเซนเตอร์ของสามเหลี่ยม $ABC$ และ $A_H,B_H,C_H$ เป็นจุดตัดของส่วนต่อของ $AH,BH,CH$ กับแต่ละด้านของสามเหลี่ยมตามลำดับ จงแสดงว่า $A_HB'+B'C_H+C_HA'+A'B_H+B_HC'+C'A_H$ มีค่าเท่ากับความยาวรอบรูปสามเหลี่ยม $ABC$ 5. จงหาพื้นที่ของสี่เหลี่ยมจัตุรัส $ABCD$ ที่มีจุด $P$ เป็นจุดภายใน โดยที่ $PA=5,PB=3,PC=7$ พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบ ข้อละ 10 คะแนน 1. ให้ $A$ เป็นเซตของสามสิ่งอันดับ $(x,y,z)$ ซึ่งเป็นจุดในสามมิติ โดยที่ $x,y,z$ เป็นจำนวนเต็มซึ่ง $-4\leqslant x\leqslant -2,-3\leqslant y\leqslant 1,-2\leqslant z\leqslant 4$ หากเลือกสุ่มจุดสองจุดในเซต $A$ มา จงหาความน่าจะเป็นที่จุดกึ่งกลางระหว่างจุดสองจุดดังกล่าวจะเป็นจุดที่อยู่ในเซต $A$ 2. แบ่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด $n\times n$ ออกเป็นช่องขนาด $1\times 1$ จำนวน $n^2$ ช่องเท่าๆกัน แล้วทาสีแต่ละช่องด้วยสีน้ำเงินหรือสีแดง จงหาความน่าจะเป็นที่ภายหลังการทาสีทุกช่องแล้ว จะได้สี่เหลี่ยมขนาด $(n-1)\times (n-1)$ โดยที่ทุกช่องของสี่เหลี่ยมนี้ถูกทาด้วยสีเดียวกัน 3. กำหนดให้ $n$ เป็นจำนวนเต็มบวก จงแสดงว่า $$\dfrac{1}{1\cdot 2}\binom{n}{1} - \dfrac{1}{2\cdot 3}\binom{n}{2}+\dfrac{1}{3\cdot 4}\binom{n}{3}-...+\dfrac{(-1)^{n+1}}{n\cdot (n+1)}\binom{n}{n}=\dfrac{1}{2}+\dfrac{1}{3}+...+\dfrac{1}{n+1} $$ 4. ทีมฟุตบอลทีมหนึ่ง ให้นักฟุตบอลทั้งหมด $11$ คน ได้ถ่ายรูปร่วมกันแบบยืนเรียงหน้ากระดานจำนวน $1$ รูปตอนนัดเปิดฤดูกาล ต่อมา ภายหลังจบนัดสุดท้ายของฤดูกาล ทีมฟุตบอลนี้สามารถคว้าแชมป์มาครองได้ นักฟุตบอลทั้ง $11$ คนในทีมนี้ จึงต้องการถ่ายรูปยืนเรียงหน้ากระดานรวมกันอีกครั้งเพื่อเป็นที่ระลึก 4.1 จงหาจำนวนวิธียืนถ่ายรูปของนักฟุตบอล $11$ คนนี้ โดยที่คนยืนติดด้านขวาของนักฟุตบอลแต่ละคนต้องไม่ใช่คนเดิมกับคนที่ถ่ายด้วยกันตอนเปิดฤดูกาล 4.2 ถ้าสมมติให้ทีมนี้มีผู้เล่น $n$ คน ($n\geqslant 11$) มายืนเรียงหน้ากระดานถ่ายรูปตอนเริ่มฤดูกาล และต้องการถ่ายรูปตอนปิดฤดูกาลอีกครั้งด้วยเงื่อนไขเดียวกับข้อ 4.1 จงแสดงว่าจำนวนวิธียืนถ่ายรูปนี้มีน้อยกว่าจำนวนวิธีที่มีคนบางคนยืนติดกับคนด้านขวาคนเดิม 5. ให้ $n$ เป็นจำนวนเต็มบวก จงหาจำนวนวิธีในการเขียน $n$ ให้อยู่ในรูปผลบวกใดๆ ของจำนวนเต็มบวกที่น้อยกว่า $n$ โดยลำดับของตัวเลขที่เขียนต่างกันจะถือว่าเป็นคนละวิธีกัน (เช่น มีวิธีเขียน $3$ ในรูปผลบวกดังกล่าวได้ $3$ วิธี ได้แก่ $1+1+1,1+2,2+1$) 1. (10 คะแนน) จงแสดงว่า $1-\dfrac{1}{2} +\dfrac{1}{3} -\dfrac{1}{4} +...+\dfrac{1}{2n-1} =\dfrac{1}{n} +\dfrac{1}{n+1}+\dfrac{1}{n+2}+...+\dfrac{1}{2n-1}$ ทุกจำนวนเต็มบวก $n$ 2. (12 คะแนน) ให้ $z$ เป็นจำนวนเชิงซ้อนซึ่ง $z+\dfrac{1}{z} =2cos\dfrac{\pi }{15}$ จงหาจำนวนเต็มที่น้อยที่สุดที่มากกว่า $z^{2000}+\dfrac{1}{z^{2000}}$ 3. (14 คะแนน) จงหาจำนวนจริง $a$ และ $b$ ที่ทำให้สมการ $x^3-5x^2+7x-a=0$ และ $x^3-8x+b=0$ มีรากซ้ำกันสองราก 4. (14 คะแนน) จงพิสูจน์ว่า $\sqrt{2} +\sqrt[3]{5} $ เป็นจำนวนอตรรกยะ ข้อละ 10 คะแนน 1. ให้ $a,b,c$ เป็นจำนวนจริงที่แตกต่างกันและมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ $1$ จงแสดงว่า $|a-b|+|b-c|+|c-a|+6\leqslant 2\sqrt{2} (a+b+c)$ 2. ให้ $a,b,c$ เป็นจำนวนจริงบวกซึ่ง $a^2+b^2+c^2=1$ จงแสดงว่า $ac(2a^3+b^3)+ab(2b^3+c^3)+bc(2c^3+a^3)\geqslant 3abc$ 3. ให้ $a,b,c$ เป็นจำนวนจริงที่มากกว่า $2$ ซึ่ง $\dfrac{1}{a-2}+\dfrac{1}{b-2}+\dfrac{1}{c-2} =1$ จงแสดงว่า $\dfrac{a^2}{\sqrt{a^2-1} } +\dfrac{b^2}{\sqrt{b^2-1} }+\dfrac{c^2}{\sqrt{c^2-1} }\geqslant 15$ 4. ให้ $a,b,c$ เป็นจำนวนจริงบวกซึ่ง $abc=1$ จงแสดงว่า $\dfrac{1}{a^4+b^4+c} +\dfrac{1}{b^4+c^4+a} +\dfrac{1}{c^4+a^4+b} \leqslant 1$ 5. ให้ $n$ เป็นจำนวนนับที่มากกว่า $1$ และ $a_1,a_2,...,a_n$ เป็นจำนวนจริงบวก ซึ่ง $a_1+a_2+...+a_n=1$ จงแสดงว่า $a_1^2+a_2^2+...+a_n^2\geqslant \dfrac{2}{n\sqrt{n-1} }[a_1(1-a_1)+a_2(1-a_2)+...+a_n(1-a_n)]$ ข้อละ 10 คะแนน 1. สำหรับทุกจำนวนเต็มบวก $a,b,c,d$ ซึ่ง $(a,b)=1=(c,d)$ จงพิสูจน์ว่า $(a,c)(b,d) \mid (ab,cd)$ 2. จำนวนเชิงสี่หน้า (tetrahedral numbers) คือจำนวนเต็มบวกที่อยู่ในรูป $T_n=\dfrac{n(n+1)(n+2)}{6} $ เมื่อ $n \in \mathbb{N} $ ให้ $S=\{T_{n_1},T_{n_2},...,T_{n_k}\}$ เป็นเซตของจำนวนเชิงสี่หน้าซึ่งสมาชิกใน $S$ เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กันทุกคู่ จงแสดงว่าจะมีจำนวนเชิงสี่หน้าเป็นจำนวนอนันต์ที่เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กันกับสมาชิกแต่ละตัวใน $S$ 3. ให้ $n$ เป็นจำนวนเต็มบวก จงแสดงว่า $\displaystyle{\sum_{d\mid n}\mu (d) (\dfrac{n}{d} )=\phi (n)}$ 4. ให้ $S=\{m^2+2n^2 \in \mathbb{N} | m,n \in \mathbb{Z} ,n \not= 0 \}$ จงแสดงว่าถ้า $p$ เป็นจำนวนเฉพาะซึ่ง $p^2 \in S$ แล้ว $p \in S$ 5. จงแสดงว่าไม่มีจำนวนเต็มบวก $n$ ที่ทำให้ $27(2^8)-2^9+2^n$ เป็นจำนวนกำลังสองสมบูรณ์
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ 23 ตุลาคม 2017 21:41 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กขฃคฅฆง |
#2
|
||||
|
||||
ลองทำบ้างละกันครับ ไม่ได้ทำเลขมาซักพักใหญ่ 55
ไล่อัตราส่วน Homothety ทบ.เส้นแบ่งครึ่งมุม+Ptolemy จุดเรียงขนาดนี้ต้อง Nine Point Circle แล้วแหละครับ โจทย์ สพฐ =_= ถ้า $(x_1,y_1,z_1),(x_2,y_2,z_2)\in A$ มีสมบัติดังกล่าว แล้ว $x_1,x_2;y_1,y_2;z_1,z_2$ มี parity เหมือนกัน วัดความรอบคอบมั้งครับ 555 แยกกรณี $n=1,2$ กับ $n>2$ กรณีหลังพิจารณาช่องเป็นตาราง 3x3 ที่ช่องตรงกลางเป็นสี่เหลี่ยมด้านละ $n-2$ มองเป็นลำดับเวียนเกิด ถ้าค่าเริ่มต้นและมีเงื่อนไขการเวียนเกิดเหมือนกัน ก็ควรจะเป็นลำดับเดียวกัน ตู้ม ไม่รู้ว่าคิดยากไปหรือเปล่า มองนักบอล $n$ คนเป็นหมายเลข $1,2,...,n$ ให้ $\sigma_{Good}$ คือการเรียงสับเปลี่ยนที่ตัวต่อไปของทุกตัวไม่ใช่ตัวเดิม และ $\sigma_{Bad}$ คือการเรียงสับเปลี่ยนที่มีบางตัวที่ตัวทางขวาเป็นตัวเดิม ให้ $f:\sigma_{Good}\rightarrow\sigma_{Bad}$ โดยนิยามเป็น Algorithm ดังนี้ ให้ $X=(x_1,x_2,...,x_n)\in\sigma_{Good}$ ถ้า $x_1\neq n$ ให้ $f(X)$ คือการสลับ $x_2$กับ $x_1+1$ ถ้า $x_1= n$ จะพิจารณา $x_2$ ถ้า $x_2\neq n-1$ ให้ $f(X)$ คือการสลับ $x_3$ กับ $x_2+1$ นิยามเช่นนี้เรื่อยๆ จนกระทั่งถึง $x_n$ และให้ $f((n,n-1,...,2,1))=(1,2,...,n)$ เหลือแสดงว่า $f$ 1-1 แต่ไม่ onto ซึ่งทำให้ได้ว่า $|\sigma_{Good}|<|\sigma_{Bad}|$ มองเป็นเลข $1$ $n$ ตัว แล้วหาอะไรมากั้นให้มัน $\frac{1}{2k}=\frac{1}{k}-\frac{1}{2k}$ $z^n+z^{-n}=2cis(\frac{n\pi}{15})$ ให้ $p,q$ เป็นรากซ้ำ จับสองสมการลบกัน จะหา $p+q$ ได้ แล้วเอาไปแก้กลับหา $a,b$ คล้ายสมาคมมอปลายหนิครับ 555 ให้ $x=\sqrt{2}+\sqrt[3]{5}$ หาพหุนามสัมประสิทธิ์เป็น $Z$ ที่มีดีกรีหกและมี $x$ เป็นราก
__________________
I'm Back 25 ตุลาคม 2017 22:09 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 7 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Beatmania |
#3
|
|||
|
|||
ถ้าข้อสอบประมาณนี้ควรจะได้ประมาณกี่ข้ออ่าครับ ถึงจะผ่านเข้าค่าย2 มีนา
|
#4
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
$ax^2+bx+c$ เป็นพหุนามหารร่วมมากของทั้งพหุนาม $x^3-5x^2+7x-a$และ $x^3-8x+b$ ใช้วิธีหาหรม.แบบยุคลิคคือ..... 1) นำ $x^3-5x^2+7x-a$ ไปหาร $x^3-8x+b$ ได้เศษ $5x^2-15x+(a+b)$ 2) นำเศษ $5x^2-15x+(a+b)$ ไปหาร $x^3-5x^2+7x-a$ ต่อได้เศษ $[1-\frac{(a+b)}{5} ]x+(\frac{2}{5}b-\frac{3}{5}a)$ 3) เมื่อ หรม.เป็นพหุนามกำลังสองแสดงว่าเศษ $[1-\frac{(a+b)}{5} ]x+(\frac{2}{5}b-\frac{3}{5}a)$ เท่ากับศูนย์ ...ได้ $[1-\frac{(a+b)}{5} ]=0 และ (\frac{2}{5}b-\frac{3}{5}a)=0$ แก้สมการได้ $a=2และ b=3$ ..............ขอบคุณครับสำหรับโจทย์ดีดี
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต 25 ตุลาคม 2017 13:10 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm |
#5
|
||||
|
||||
คิดว่า 60-70 คะแนนครับ
__________________
เหนือฟ้ายังมีอวกาศ |
#6
|
||||
|
||||
ออกน่าสนใจหลายข้อเหมือนกันครับ
Let $ p^2 = m^2 +2n^2$ Then $p^2-m^2 = 2n^2$ Then Let $n=2n'$ (ขั้นตอนนี้อาจจะข้ามได้ครับ แต่ถ้ามีจะง่ายขึ้น) 1) $abx+cdy=(ab,cd)$ 2) น่าจะ CRT อะครับ ไม่น่ามีอะไร แต่ตอนเขียนน่าจะยาวอยู่ครับ 3) หลักการเพิ่มเข้าตัดออก กับลองอ่านนิยามของ Mobius Function ดู 5) $x^2-25 \cdot 2^8 = 2^n$
__________________
----/---~Alice~ จงรับรู้ไว้ ชื่อแห่งสีสันหนึ่งเดียวที่แสดงผล ---/---- ~Blue~ นี่คือ สีแห่งความหลังอันกว้างใหญ่ของเว็บบอร์ดนี้ |
#7
|
|||
|
|||
|
#8
|
|||
|
|||
รบกวนแสดงวิธีคิดให้หน่อยครับ
|
#9
|
|||
|
|||
2. จำนวนเชิงสี่หน้า (tetrahedral numbers) คือจำนวนเต็มบวกที่อยู่ในรูป $T_n=\dfrac{n(n+1)(n+2)}{6} $ เมื่อ $n \in \mathbb{N} $
ให้ $S=\{T_{n_1},T_{n_2},...,T_{n_k}\}$ เป็นเซตของจำนวนเชิงสี่หน้าซึ่งสมาชิกใน $S$ เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กันทุกคู่ จงแสดงว่าจะมีจำนวนเชิงสี่หน้าเป็นจำนวนอนันต์ที่เป็นจำนวนเฉพาะสัมพัทธ์กันกับสมาชิกแต่ละตัวใน $S$ จะพิสูจน์ข้อความดังกล่าวโดย Induction on $k$ ให้ $S=\{T_{n_1},T_{n_2},\ldots, T_{n_k}\}$ ขั้นฐาน $k=1$ : ถ้า $T_{n_1}=1$ ข้อความเป็นจริง ถ้า $T_{n_1}\not=1$ ให้เลือก $T_l = \frac{l(l+1)(l+2)}{6} \equiv 1 (\bmod \frac {n(n+1)(n+2)}{6})$ ขั้นอุปนัย สมมุติว่าถ้า $k=l, S=\{T_{n_1},T_{n_2},\ldots, T_{n_l}\}$ แล้วข้อความดังกล่าวเป็นจริง ถ้า $k=l+1$, พิจารณา $S=\{T_{n_1},T_{n_2},\ldots, T_{n_{l+1}}\}$ และพิจารณาค่า $L \in \mathbb{N}$ ที่สอดคล้องกับ $S=\{T_{n_1},T_{n_2},\ldots, T_{n_l}\}$, $\frac{L(L+1)(L+2)}{6} \equiv 1 (\bmod T_{n_1}T_{n_2}\ldots T_{n_l})$ จากขั้นฐาน เราสามารถเลือก $\frac{M(M+1)(M+2)}{6} \equiv 1 (\bmod T_{n_{l+1}})$ โดย Chinese Remainder Theorem, จะมีค่า $S \in \mathbb{N}$ เสมอที่ $\frac{S(S+1)(S+2)}{6}\equiv\frac{L(L+1)(L+2)}{6}(\bmod T_{n_1}T_{n_2}\ldots T_{n_l})$ $\frac{S(S+1)(S+2)}{6}\equiv\frac{M(M+1)(M+2)}{6} \equiv 1(\bmod T_{n_{l+1}})$ ดังนั้น $\frac{S(S+1)(S+2)}{6}\equiv 1(\bmod T_{n_1}T_{n_2}\ldots T_{n_{l+1}})$ |
#10
|
|||
|
|||
รบกวนแสดงวิธีทำข้อนี้ให้หน่อยครับ
|
#11
|
|||
|
|||
C3. Induction ก็ได้นะ ลองทำดู
|
#12
|
|||
|
|||
อยากเห็นวิธีข้อ4โ nt.ครับโ รบกวนผูรู้หน่อยครับ
|
#13
|
|||
|
|||
พิจารณาค่า $p$ ที่ $p^2=m^2+2n^2$ จะได้ว่า $p^2-m^2=(p-m)(p+m)=2n^2$ จาก $\text{gcd}\;(p-m,p+m)=\text{gcd}\;(2p,p+m)=1$ หรือ $2$ จะมี $k, l$ ที่ $p-m = 2k^2, \;p+m = l^2$ หรือ $p-m = k^2, \;p+m = 2l^2$ จากทั้ง 2 กรณี จะได้ว่า $ 2p \in S$ ให้ $2p = k^2+2l^2$ จะได้ว่า $2\mid k$ ดังนั้น $p=2\left(\frac{k}{2}\right)^2+l^2$ |
#14
|
||||
|
||||
ให้ $A_n=\sum^n_{k=1}\frac{(-1)^{k+1}}{k(k+1)}\binom{n}{k}$ $\begin{array}{cl}&{ได้ว่า}\;A_{n+1}-A_n\\ =&\sum^{n+1}_{k=1}\frac{(-1)^{k+1}}{k(k+1)}\binom{n+1}{k}-\sum^n_{k=1}\frac{(-1)^{k+1}}{k(k+1)}\binom{n}{k}\\ =&\frac{(-1)^{n+2}}{(n+1)(n+2)}+\sum^{n}_{k=1}\frac{(-1)^{k+1}}{k(k+1)}\cdot\frac{n+1}{n+1-k}\binom{n}{k}-\sum^n_{k=1}\frac{(-1)^{k+1}}{k(k+1)}\binom{n}{k}\\ =&\frac{(-1)^{n+2}}{(n+1)(n+2)}+\sum^{n}_{k=1}\frac{(-1)^{k+1}}{k(k+1)}\cdot\frac{k}{n+1-k}\binom{n}{k}\\ =&\frac{(-1)^{n+2}}{(n+1)(n+2)}+\sum^{n}_{k=1}\frac{(-1)^{k+1}}{(k+1)(n+1-k)}\binom{n}{k}\\ =&\frac{(-1)^{n+2}}{(n+1)(n+2)}+\frac{1}{(n+1)(n+2)}\sum^{n}_{k=1}{(-1)^{k+1}}\binom{n+2}{k+1}\\ =&\frac{(-1)^{n+2}}{(n+1)(n+2)}+\frac{1}{(n+1)(n+2)}\sum^{n+1}_{k=2}{(-1)^{k}}\binom{n+2}{k}\\ =&\frac{(-1)^{n+2}}{(n+1)(n+2)}+\frac{1}{(n+1)(n+2)}[(\sum^{n+2}_{k=0}{(-1)^{k}}\binom{n+2}{k})-(1-(n+2)+(-1)^{n+2})]\\ =&\frac{(-1)^{n+2}}{(n+1)(n+2)}+\frac{1}{(n+1)(n+2)}[0-(1-(n+2)+(-1)^{n+2})]\\ =&\frac{1}{n+2}\end{array}$ $\begin{array}{cl}&{ดังนั้น}\;A_n-A_1\\ =&(A_n-A_{n-1})+(A_{n-1}-A_{n-2})+\cdots+(A_2-A_1)\\ =&\frac{1}{3}+\frac{1}{4}+\cdots+\frac{1}{n+1}\end{array}$ $\begin{array}{cl}&\therefore A_n\\ =&A_1+\frac{1}{3}+\frac{1}{4}+\cdots+\frac{1}{n+1}\\ =&\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+\frac{1}{4}+\cdots+\frac{1}{n+1}\end{array}$ ${จึงสรุปได้ว่า}\frac{1}{1\cdot 2}\binom{n}{1} - \frac{1}{2\cdot 3}\binom{n}{2}+\frac{1}{3\cdot 4}\binom{n}{3}-...+\frac{(-1)^{n+1}}{n\cdot (n+1)}\binom{n}{n}=\frac{1}{2}+\frac{1}{3}+...+\frac{1}{n+1}$ 23 พฤษภาคม 2019 19:42 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ จอมยุทธน้อย |
หัวข้อคล้ายคลึงกัน | ||||
หัวข้อ | ผู้ตั้งหัวข้อ | ห้อง | คำตอบ | ข้อความล่าสุด |
[สอวน. ม.ขอนแก่น 2560] ข้อสอบ สอวน.คัดค่าย1/2560 ศูนย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น | Austin_Sota22 | ข้อสอบโอลิมปิก | 7 | 11 กันยายน 2017 22:22 |
[สอวน มอ.ปัตตานี 2560] ไม่ครบข้อ | sahaete | ข้อสอบโอลิมปิก | 5 | 28 สิงหาคม 2017 22:04 |
15 สค.2560 ย้ายระบบมาเซิพเวอร์ตัวใหม่ ถ้าพบปัญหาแจ้งด้วยครับ. | gon | ข่าวสารจากทางเว็บบอร์ด | 0 | 15 สิงหาคม 2017 06:12 |
ข้อสอบคัดผู้แทนศูนย์มหิดล 2560 | Leng เล้ง | ข้อสอบโอลิมปิก | 12 | 22 เมษายน 2017 22:43 |
ข้อสอบ สพฐ. รอบที่ 1 ปี 2560 (มัธยมต้น) | gon | ข้อสอบในโรงเรียน ม.ต้น | 25 | 28 มกราคม 2017 09:07 |
เครื่องมือของหัวข้อ | ค้นหาในหัวข้อนี้ |
|
|