Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > พีชคณิต
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ค้นหา ข้อความวันนี้ ทำเครื่องหมายอ่านทุกห้องแล้ว

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 06 มิถุนายน 2018, 10:08
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default ลำดับพหุนาม

ลำดับพหุนามคือลำดับที่สามารถเขียนพจนทั่วไปได้เป็นฟังก์ชันพหุนามเช่น
1. ลำดับที่มีพจน์ทั่วไป$a_n=3n-1$เป็นลำดับที่สามารถเขียนพจน์ทั่วไปได้เป็นฟังก์ชันพหุนามดีกรี1
จึงเรียกลำดับ$a_n=3n-1$ว่าเป็นลำดับพหุนามอันดับที่1....หรือที่รู้จักกันในชื่อลำดับเลขคณิต
2.ลำดับที่มีพจน์ทั่วไป$a_n=n^2+3n-1$เป็นลำดับที่สามารถเขียนพจน์ทั่วไปได้เป็นฟังก์ชันพหุนามดีกรี2
จึงเรียกลำดับ$a_n=n^2+3n-1$ว่าเป็นลำดับพหุนามอันดับที่2....
หรือ3.ลำดับที่มีพจน์ทั่วไป$a_n=n^3-n^2+3n-1$เป็นลำดับที่สามารถเขียนพจน์ทั่วไปได้เป็นฟังก์ชันพหุนามดีกรี3
จึงเรียกลำดับ$a_n=n^3-n^2+3n-1$ว่าเป็นลำดับพหุนามอันดับที่3....เป็นต้น
ยกตัวอย่างเฉพาะเจาะจงลงไปเช่น จงหาพจน์ทั่วไปของลำดับ $5 , 19 , 42 , 76 , 123 ,...$
ซึ่งลำดับดังกล่าวเป็นลำดับพหุนามอันดับที่3เพราะมีคำตอบเป็น$[a_n=\frac{n^3}{3}+\frac{5}{2}^2+\frac{25}{6}n-2]$
วิธีการระบุว่าเป็นลำดับพหุนามอันดับที่3ได้อย่างไรและการหาพจน์ทั่วไปคืออะไรแสดงรายละเอียดตามภาพ...
ซึ่งจะนำไปสู่การหาอนุกรมของลำดับพหุนามได้ต่อไป
รูปภาพที่แนบมาด้วย
       
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 18 มิถุนายน 2018, 21:51
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

นอกจากวิธีเชิงเมตริซ์สามารถนำมาใช้หาพจน์ทั่วไปของลำดับที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปฟังก์ชันพหุนามได้แล้ว
ด้วยวิธีการเดียวกันนี้ยังสามารถใช้หาอนุกรมของลำดับนั้นได้ด้วยตัวอย่างเช่นอนุกรม
5+19+42+76+123+...+จนถึงnพจน์จะได้
$S_1=5,S_2=24,S_3=66,S_4=142,S_5=265,S_6=450,...$
นำลำดับของ$S_n$มาหาผลต่างพจน์เป็นชั้นๆจนได้ผลต่างคงที่แล้วนำมาดำเเนินการด้วยวิธีเชิงเมตริกซ์
จะสามารถหาพจน์ทั่วไปของอนุกรมได้ในที่สุด.....
รูปภาพที่แนบมาด้วย
   
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 30 กรกฎาคม 2018, 17:55
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การใช้เมตริกซ์เลื่อนพหุนาม

..สุดความสามารถแล้วครับ....พิจารณากันดู
รูปภาพที่แนบมาด้วย
   
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 31 ตุลาคม 2018, 13:36
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การใช้เมตริกซ์คูณพหุนาม

ความพยายามในการรวมมุมมองพหุนามเข้ากับเมตริกซ์-------(มีการแก้ไขครับ)
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

31 ตุลาคม 2018 15:47 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 2 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: แก้ไขรูป
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 31 ตุลาคม 2018, 15:56
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การใช้เมตริกซ์คูณพหุนาม

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ tngngoapm View Post
ความพยายามในการรวมมุมมองพหุนามเข้ากับเมตริกซ์-------(มีการแก้ไขครับ)
การคูณพหุนามในมุมมองพื้นฐานของเมตริกซ์ นำมาช่วยลดความซับซ้อนในการคูณพหุนามหลายๆพจน์ได้อย่างมีระบบมากขึ้น
รูปภาพที่แนบมาด้วย
   
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 01 พฤศจิกายน 2018, 19:25
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การคูณเลขฐานโดยใช้พหุนาม

ขอฟีดผลงานต่อเนื่องเลยล่ะกันครับ
รูปภาพที่แนบมาด้วย
 
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 10 กรกฎาคม 2019, 14:16
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default พหุนามของความสัมพันธ์เวียนเกิด

...ตัวอย่างเช่นความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้น...
$$a_n=\alpha a_{n-1}+\beta a_{n-2}$$
เมื่อnเป็นจำนวนนับที่มากกว่าหรือเท่ากับ3...
โดยมีพจน์ที่1และ2เป็น$a_1และa_2ตามลำดับ$

....จะได้ว่าความสัมพันธ์นี้จะมีพจน์ทั่วไปหรือ
$$a_n=A\frac{p_1^n}{p_1-p_2} +B\frac{p_2^n}{p_2-p_1} $$
เมื่อ$p_1,p_2เป็นรากของสมการ x^2-\alpha x-\beta =0$
และ$A=\frac{\vmatrix{a_1 & \frac{p_2}{p_2-p_1} \\ a_2 & \frac{p_2^2}{p_2-p_1} } }{\vmatrix{\frac{p_1}{p_1-p_2} & \frac{p_2}{p_2-p_1} \\ \frac{p_1^2}{p_1-p_2} & \frac{p_2^2}{p_2-p_1} } } $
$B=\frac{\vmatrix{ \frac{p_1}{p_1-p_2}&a_1 \\ \frac{p_1^2}{p_1-p_2}&a_2 } }{\vmatrix{\frac{p_1}{p_1-p_2} & \frac{p_2}{p_2-p_1} \\ \frac{p_1^2}{p_1-p_2} & \frac{p_2^2}{p_2-p_1} } } $
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 12 กรกฎาคม 2019, 09:58
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

...กรณีเฉพาะของความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้น...
$$a_n=\alpha a_{n-1}+\beta a_{n-2}$$
เมื่อnเป็นจำนวนนับที่มากกว่าหรือเท่ากับ3...
โดยมีพจน์ที่1และ2หรือ$a_1=1และa_2=\alpha ตามลำดับแล้ว$

...จะได้ว่าความสัมพันธ์นี้จะมีพจน์ทั่วไปหรือ
$$a_n=\frac{p_1^n}{p_1-p_2} +\frac{p_2^n}{p_2-p_1} $$
เมื่อ$p_1,p_2เป็นรากของสมการ x^2-\alpha x-\beta =0$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 15 กรกฎาคม 2019, 10:06
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default ♡พหุนามของความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้นย้อนหลังสามพจน์♡

...ความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้นและย้อนหลัง3พจน์หรือ...
$$a_n=\alpha a_{n-1}+\beta a_{n-2}+\gamma a_{n-3}$$
เมื่อnเป็นจำนวนนับที่มากกว่าหรือเท่ากับ4...
โดยมีพจน์ที่1,2และ3คือ$a_1=1,a_2=\alpha และa_3=\alpha ^2+\beta ตามลำดับแล้ว$

...จะได้ความสัมพันธ์นี้จะมีพจน์ทั่วไปหรือ
$$a_n=\frac{p_1^{(n+1)}}{(p_1-p_2)(p_1-p_3)} +\frac{p_2^{(n+1)}}{(p_2-p_1)(p_2-p_3)} +\frac{p_3^{(n+1)}}{(p_3-p_1)(p_3-p_2)} $$
เมื่อ$p_1,p_2และp_3เป็นรากของสมการ... x^3-\alpha x^2-\beta x-\gamma =0$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 25 กรกฎาคม 2019, 13:24
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default อนุกรมของความสัมพันธ์เวียนเกิด

"ลำดับที่มีความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้น...อนุกรมของลำดับนั้นจะมีความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้นด้วยเช่นกัน"
...ตัวอย่างเช่นลำดับฟิโบนาชี
$$a_n=a_{n-1}+a_{n-2}เมื่อa_1และa_2=1$$หรือ...
ลำดับในรูป ...1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,...
จะมีอนุกรมฟิโบนาชีเป็นความสัมพันธ์เวียนเกิดที่เขียนได้ในรูป
$$S_n=2S_{n-1}-S_{n-3}เมื่อS_1=1,S_2=2และS_3=4$$
โดย $S_n=a_1+a_2+...+a_n$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 26 กรกฎาคม 2019, 11:43
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default

...ความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้นย้อนหลัง2พจน์หรือ..
$$a_n=\alpha a_{n-1}+\beta a_{n-2},เมื่อมีพจน์ที่1และ2เท่ากับa_1และa_2ตามลำดับ$$
จะมีอนุกรมของความสัมพันธ์นั้นอยู่ในรูป...
$$S_n=(\alpha +1)S_{n-1}+(\beta -\alpha )S_{n-2}-\beta S_{n-3}$$
โดย$S_1=a_1$
$S_2=a_1+a_2$
และ$S_3=a_1+a_2+a_3$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 01 สิงหาคม 2019, 11:40
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default รากของพหุนามกับความสัมพันธ์เวียนเกิด

....พหุนามกำลัง3ที่มีรากของสมการอย่างน้อย1ค่าอยู่ระหว่าง0กับ1...และอยู่ในรูป
$$x^3=\alpha x^2+\beta x+\gamma $$
จะสามารถหารากของสมการโดยใช้ความสัมพันธ์เวียนเกิด...
$$a_n=\alpha a_{n-1}+\beta a_{n-2}+\gamma a_{n-3}$$
...โดย$a_1=1,a_2=\alpha และa_3=\alpha ^2+\beta $และรากของสมการกำลังสอง
$$\lim_{n \to \infty} [a_nx^2+(\beta a_{n-1}+\gamma a_{n-2})x+\gamma a_{n-1}]=0$$
โดย$0<x<1$จะเป็นคำตอบของสมการพหุนามกำลังสามนั้นด้วย
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #13  
Old 06 สิงหาคม 2019, 10:13
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default ลำดับเลขคณิต-เรขาคณิต

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ tngngoapm View Post
...กรณีเฉพาะของความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้น...
$$a_n=\alpha a_{n-1}+\beta a_{n-2}$$
เมื่อnเป็นจำนวนนับที่มากกว่าหรือเท่ากับ3...
โดยมีพจน์ที่1และ2หรือ$a_1=1และa_2=\alpha ตามลำดับแล้ว$

...จะได้ว่าความสัมพันธ์นี้จะมีพจน์ทั่วไปหรือ
$$a_n=\frac{p_1^n}{p_1-p_2} +\frac{p_2^n}{p_2-p_1} $$
เมื่อ$p_1,p_2เป็นรากของสมการ x^2-\alpha x-\beta =0$
กรณีที่พหุนามของความสัมพันธ์เวียนเกิด
$$a_n=\alpha a_{n-1}+\beta a_{n-2}$$
โดย$a_1=1และa_2=\alpha $
ซึ่งคือ$x^2=\alpha x+\beta $มีรากสมการเพียงค่าเดียวคือ$p$
ความสัมพันธ์นี้จะมีพจน์ทั่วไปคือ...
$$a_n=np^{n-1}$$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #14  
Old 14 สิงหาคม 2019, 10:48
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default ลำดับพหุนามกับความสัมพันธ์เวียนเกิด

"ลำดับที่มีพจน์ทั่วไปอยู่ในรูปฟังก์ชันพหุนาม...จะสามารถเขียนลำดับนั้นให้อยู่ในรูปความสัมพันธ์เวียนเกิดได้เสมอ"
เช่น...1.ลำดับ$a_n=3n-1$จะมีรูปแบบความสัมพันธ์เวียนเกิดคือ...
$$a_n=2a_{n-1}-a_{n-2}$$
$เมื่อa_1=2และa_2=5$
2.ลำดับ$a_n=n^2+3n-1$จะมีรูปแบบความสัมพันธ์เวียนเกิดคือ...
$$a_n=3a_{n-1}-3a_{n-2}+a_{n-3}$$
$เมื่อa_1=3,a_2=9และa_3=17$
...หรือ3.ลำดับ$a_n=n^3-n^2+3n-1$จะมีรูปแบบความสัมพันธ์เวียนเกิดคือ...
$$a_n=4a_{n-1}-6a_{n-2}+4a_{n-3}-a_{n-4}$$
$เมื่อa_1=2,a_2=9,a_3=26และa_4=59$
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #15  
Old 20 สิงหาคม 2019, 10:37
tngngoapm's Avatar
tngngoapm tngngoapm ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 พฤศจิกายน 2014
ข้อความ: 462
tngngoapm is on a distinguished road
Default การหาอันดับของความสัมพันธ์เวียนเกิดแบบเชิงเส้น

เช่นความสัมพันธ์$$a_n=3a_{n-1}-2a_{n-2}โดยa_1=1และa_2=2$$
$$หรือลำดับ1,2,4,8,16,...$$
...ถ้าดูอย่างผิวเผินจะเห็นว่าเป็นความสัมพันธ์ที่จำเป็นจะต้องรู้พจน์ก่อนหน้าพจน์ที่จะหาถึง2พจน์
แต่ถ้าพิจารณาให้ดีให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่าความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงนี้คือลำดับเรขาคณิตนั่นเอง..
แค่ทราบพจน์ก่อนหน้าพจน์ที่จะหาเพียงพจน์เดียวก็น่าจะเพียงพอแล้ว ..
หรือสามารถเขียนเป็นความสัมพันธ์แทนได้ว่า$a_n=2a_{n-1}เมื่อa_1=1$เท่านั้น..ถูกมั้ยครับ..
ทำให้บอกได้ว่าความสัมพันธ์$a_n=3a_{n-1}-2a_{n-2},a_1=1และa_2=2$...
สามารถลดรูปเหลือ$a_n=2a_{n-1},a_1=1$ได้...
ซึ่งก็คือความสัมพันธ์$a_n=3a_{n-1}-2a_{n-2},a_1=1และa_2=2$มีอันดับ(Ranking)เท่ากับ1
__________________
ประสบการณ์จะให้ประโยชน์อย่างเงียบๆ เมื่อเราสำนึกถึงข้อมูลในอดีต

21 สิงหาคม 2019 12:35 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 5 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tngngoapm
เหตุผล: ลองพิจารณาดู
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply


เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
ค้นหาในหัวข้อนี้:

ค้นหาขั้นสูง

กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 23:08


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha