PDA

View Full Version : สิ่งประดิษฐ์ทางคณิตศาสตร์


Zigma F - 1
20 กรกฎาคม 2002, 19:17
ใครพอจะรู้จักหรือพอจะยกตัวอย่างได้ก็ลองบอกหน่อยนะครับ....เพื่อชื่อเสียงโรงเรียนของผม :D

Pich
20 กรกฎาคม 2002, 20:47
ถ้าในอดีตนะครับก็อาจมีการประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆเช่น Sliderule เป็นต้น
เห็นเขานำเสนออยู่เหมือนกันก็เป็นไม้บรรทัดที่สามารถทำได้หลายอย่าง เป็นวงเวียนก็ได้ เวลาใช้ตีตารางก็สะดวก ทำมุมอะไรๆก็สามารถทำได้รวดเร็วมาก เคยเห็นไหมครับ ลักษณะเป็นไม้บรรทัดมีล้อ(เป็นทรงกระบอก)มีรูเป็นระยะทุก 1 cm ครับ ;)
-------------
คุณ Zigma F - 1 ครับว่าแต่ที่นั่นมีการจัดอะไรกันเหรอครับ :D

gon
20 กรกฎาคม 2002, 21:12
นั่นสิครับงานไหน. ผมเองก็ยังนึกไม่ออกเลยว่าจะทำอะไรดี

Zigma F - 1
22 กรกฎาคม 2002, 19:01
พอดีว่าผมได้รับมอบหมายให้ train เด็กนักเรียน 2 คนให้ไปแข่งทักษะทางวิชาการเดือนสิงหาคมเนี้ยะ แต่ยังนึกไม่ออกเลยว่าจะประดิษฐ์อะไรดี :D

gon
23 กรกฎาคม 2002, 19:17
ต้องการความคิดใหม่ ๆ หรือ ซ้ำกับที่เขาเคยทำมาแล้วได้หรือเปล่าครับ. ว่าแต่คุณ Zigma ลองคิดอะไรไว้บ้างแล้วครับ. เผื่อผมจะมี Idia ปิ๊งต่ออีกที ใช้วัสดุอุปกรณ์หรือเทคโนโลยี ในระดับไหนครับ

Zigma F - 1
24 กรกฎาคม 2002, 19:22
คือว่านักเรียนที่ผมจะ train ให้ อยู่ระดับม.ต้นครับ เทคโนโลยีที่ใช้ก็ไม่ต้องมากแล้วก็ไม่ควรจะแพงด้วย (กลัวว่าแพงมาก ๆ แล้วจะตกรอบ) พี่จะเอาที่คนอื่นเคยคิดมาแล้ว หรือว่าเป็นของใหม่ก็ได้ ส่วนความคิดในหัวผมตอนนี้ว่างเปล่าครับ คิดอะไรไม่ค่อยออก แต่ถ้ายังไงก็จะลองเอาโครงงานคณิตศาสตร์ที่เคยเห็นมาลองปรับดูก็แล้วกัน ที่เคยเห็นบ้างก็เช่น เครื่องแยกเหรียญ หรือ แบบจำลองของลังใส่ขวดแบบรังผี้ง อะไรทำนองเนี้ย
OK นะครับ ช่วย ๆ ออกความคิดและวิธีการทำมาเยอะ ๆ หน่อย ผมมือใหม่จริง ๆ แล้วก็เพิ่งจะลงแข่งขันอะไรแบบนี้กะเขา ก็ครั้งแรกนี้แหละ

gon
25 กรกฎาคม 2002, 16:05
งั้นรอสัก 3 - 4 วันนะครับ. เดี๋ยวผมจะแบ่งพลังไปคิดให้

<Zigma-F1>
28 กรกฎาคม 2002, 13:24
ขอบคุณมากครับ..ผมจะรอ

gon
01 สิงหาคม 2002, 20:46
ผมไปลองดูในหนังสือ 101 โครงงานคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นหนังสืออ่านเสริมระดับมัธยม โดยที่กรมวิชาการ(มั้ง) ได้ให้อาจารย์ท่านหนึ่งแปลมาอีกที เนื้อหาโดยคร่าว ๆ เขาบอกว่าเหตุที่มีการทำโครงงานคณิตศาสต์ก็เพราะว่า นักเรียนที่เรียนเลขมักจะมีคำถามว่า เรียนแล้วเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง จึงมีการคิดที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการสอนให้สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบ ใช้ในชีวิตจริงได้
ทีนี้ในหนังสือเขาก็แบ่งเนื้อหาของประเภทของโครงงานออกเป็นประมาณ 10 กว่าประเภท เช่น นันทนาการ,ความคิดสร้างสรร , เทคโนโลยี , ... ผมก็ลองเปิดผ่าน ๆ อ่านดู ๆแล้วส่วนใหญ่ก็รู้สึกว่า มัน Children เกินไป คือ ดูแล้วเหมือนจะเหมาะกับเด็กระดับเล็ก ๆ ไม่เกิน ม.ต้นเสียมากกว่า ผมเปิดผ่านจนเบื่อเหมือนกัน จนมาถึงอันนึง ที่ผมรู้สึกว่าเออ อันนี้น่าสนใจ น่าไปทำจริง ๆ และมีประโยชน์จริง ๆ ได้ ก็ เรื่อง บาร์โค้ด ไงครับ.

คงรู้กันอยู่แล้วนะครับ เรื่องนี้ เนื้อหามันอยู่ใน เรื่อง ทฤษฎีจำนวน แต่รายละเอียดการคำนวณนั้นเด็กมัธยมที่คูณเลขเป็นหารเลขเป็น ก็สบายบรื๋อครับ. มันก็จะเป็นเลขสิบกว่า ตัว เช่น 9 52128 54781 0 ซึ่งแบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ คือด้านซ้ายและขวา อะไรอย่างนี้ รายระเอียดลงไป ดูเองนะครับ. เช่น ความหนา , ขอบดำขาว ด้านขวาหรือซ้ายมือแทนอะไร ถ้าสนใจจะนำไปทำ ทีนี้เลขมันก็ไม่ใข่ว่าตั้งสุ่มสี่สุ่มห้า มันจะมีอัลกอรึทึมของมัน เพื่อสามารถตรวจสอบได้ เช่น อาจจะเป็น (5 * 9 ) + (2*8) + (1*7) + ... (8 * 1) ต้อง = 0 mod 17 (สมมติ) หรืออาจจะะเป็นว่า ถ้าสุ่มตัวเลขมาแล้ว check ก็จะต้องสามารถตรวจสอบความถูกต้อง ได้

คราวนี้รายละเอียดที่น่าสนใจก็คือ เราสามารถให้เด็กนี่ไปเก็บบาร์โค้ดของสินค้าประเภทต่าง ๆ เช่น หนังสือ ภาษาไทย (และ TexT) , ผลิตภัณต์ต่าง ๆ เช่น ขนม, น้ำอัดลม ฯลฯ แล้วให้เด็กมาวิเคราะห์ดูว่า มันมีรูปแบบที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร จากนั้นเมื่อมีตัวอย่างมากพอจนเห็นรูปแบบ ก็อาจจะ classified ลงไปว่า หมวดผลิตภัณฑ์อย่าง ๆ นี้ จะมี รูปแบบอย่างนี้อย่างนั้น หรือ สินค้าที่ผลิตในอเมริกาจะต้องมี รหัสตัวแรก เป็นอย่างนี้ หรือ รหัส 3 ตัวต่อมาอาจจะเป็นชื่อบริษัทที่ผลิต ดังนั้นถ้ามีมากพอ เด็กก็จะมีความรู้ ถึงขนาดที่ว่าดูปั๊บรู้เลยว่ามาจากไหน ใครผลิต ฯลฯ

ต่อไปถ้ามีเวลาพอและเด็กมีความสามารถในการเขียนโปรแกรม ตรงนี้ก็น่าที่จะลองให้เด็กไปเขียนโปแกรมที่ใช้ติดต่อระหว่างบาร์ดโค้ด กับสินค้า ซึ่งตรงนี้ถ้าทำได้ เด็กก็จะมีความรู้ที่ใช้หากินได้ติดตัวไป เช่นอาจจะนำเขียนโปรแกรมให้เช่ายืมหนังสือการ์ตูน (โปรเจ็คผมในอนาคต เวลาว่างล่ะ) หรืออะไรซึ่งผมคิดว่ามันประยุกต์ได้มากมายเลย .

เอ๊ะ . เดี๋ยวผมตอบไม่ตรงคำถามล่ะมั้งนี่ สิ่งประดิษฐ์ อ๋อ. พวกที่ผมเปืดผ่านนั่นเอง เดี๋ยวจะแวะไปดูให้อีกที รู้สึกว่ามันจะมีนะ

Zigma F - 1
05 สิงหาคม 2002, 20:24
ก็ขอขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็น เยี่ยมเลยครับ..แต่ยากไปหน่อยมั้ง ตอนนี้ผมเจอตัวนักเรียนที่จะไปแข่งแล้ว เป็นเด็กม.5 สอบถามดูแล้วก็ปรากฎว่าเขาเพิ่งลงแข่งอะไรแบบเนี้ย ก็ครั้งแรกนี้แหละ ส่วนเรื่องการ programming อะไรนั้นเขาบอกว่าไม่เคยเรียนมาเลย (แค่ MS.Word)ยังไม่ถนัดเลย ผมว่าถ้าจะ train เรื่องนี้หรือฝึกให้เขาเขียนอัลกอริทึม คงจะฝึกให้ไม่ทันแน่
แต่ที่ผมได้ยินมา เวลาแข่งขันเขาจะให้อุปกรณ์มา แล้วคิดกันสด ๆ ว่าจะต้องประดิษฐ์เป็นอะไร รูปแบบไหน ใช้ทฤษฎีอะไร แล้วก็ในเวลาจำกัดด้วยครับ ถ้าคิดไม่ออกก็นั่งเอ๋อกันอยู่ตรงนั่นแหละครับ :D

gon
08 สิงหาคม 2002, 21:14
อ้าวยังงี้ เราก็ต้องคาดเดาว่าเขาจะให้อุกรณ์อะไรมาล่วงหน้าสิครับ. (อาหาร คือ การล่วงหน้าครึ่งก้าว : แบบเรื่องจอมโหดกระทะเหล็ก ) และ ก็ต้องเตรียมทฤษฎีที่จะใช้จากการคาดเดาล่วงหน้าไปด้วยเลย ถ้าไม่มีประวัติการแข่งเก่า คงต้องพึ่งความสามารถของเด็กล้วน ๆ แล้วมั้งครับ.