Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบในโรงเรียน ม.ต้น (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=32)
-   -   ข้อสอบ เพชรยอดมงกุฎ ม.ต้น 2550 (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=3498)

Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 19:37

ข้อสอบ เพชรยอดมงกุฎ ม.ต้น 2550
 
ผมขอแนวคิด โจทย์ข้อสอบเพชรยอดมงกุฎ ม.ต้น ปี 2550 ด้วยนะครับ

ขอบคุณมากนะครับ :)


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 19:43


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 19:49


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 19:52


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 20:00


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 20:02


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 20:06


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 20:09


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 20:40


Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 20:44




bell18 15 พฤศจิกายน 2007 22:28

สงสัยคุณ Eddie จะมีปัญหาบางอย่าง ทำให้หน้าที่เหลือโพสต์ไม่ได้
ถ้าใครมีข้อสอบเพชรยอดมงกุฎของม.ปลาย ช่วยนำมาโพสต์ด้วยนะครับ

โจทย์สวยๆหลายข้อเลย แต่คล้ายข้อสอบสมาคมคณิตศาสตร์ที่นำมาดัดแปลงตัวเลขบางอย่าง
เอาแนวคิดไป 3 ข้อก่อนละกัน ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างคิดเลยครับ
ข้อ 33. ให้นำทั้งสามจำนวนนั้นยกกำลัง30 แล้วพิจารณาค่าที่ได้ ก็จะเปรียบเทียบกันได้ครับ
ข้อ 32. เจอบ่อยมาก ค่าของ 22/7 จะเป็นทศนิยมซ้ำชุดละ 6 ตัว คือ 3.142857142857142857...
ข้อ 29. 51+61+71+...+491 ใช้สูตรอนุกรมเลขคณิตได้เลยครับ (มี 45 พจน์)

Eddie 15 พฤศจิกายน 2007 22:55

ด้านล่างนี้เป็นเฉลยเฉพาะคำตอบนะครับ เขาไม่มีเฉลยแบบละเอียดให้น่ะครับ
ผมจึงต้องนำมาโพสถามพี่ๆ เพื่อนๆ ในบอร์ดแห่งนี้ เพราะต้องการแนวคิดในการแก้ปัญหา และต้องการตรวจสอบว่าตัวเองทำถูกหรือเปล่าด้วยครับ
โดยเฉพาะพี่ nongtum ที่ช่วยกรุณาให้แนวความคิด คำแนะนำ และช่วยเหลือผมเสมอมา ทุกกระทู้ที่ผมตั้งไว้
ผมต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ :)


nongtum 15 พฤศจิกายน 2007 23:03

ขอบคุณคุณ Eddie ที่เอาข้อสอบมาโพสต์อีกครั้งครับ อัพเดทกระทู้รวมลิงค์แล้วนะครับ
ผมเซฟไฟล์รูปไปแล้ว ถ้าไม่มีอะไรพลาด ผมจะมาโพสต์คำตอบตอนที่ได้ใช้เนตอีกทีพรุ่งนี้ครับ แต่ใครจะโพสต์แนวคิดก่อนก็เชิญได้เลยนะครับ

t.B. 16 พฤศจิกายน 2007 19:58

จะช่วยทยอยคิดให้เรื่อยๆนะครับ ผิดตรงไหนแย้งได้นะครับ

nongtum 16 พฤศจิกายน 2007 20:29

ข้อ 9 อาจลดภาระการคิดเลขได้อีกนิดถ้าทำแบบนี้ครับ
เทอมที่อยู่ในรูป $x:=\sqrt[3]{u+\sqrt{v}}+\sqrt[3]{u-\sqrt{v}}$ สามารถเขียนใหม่ได้เป็น $$x=\frac{2u}{x^2-3(u^2-v)^{1/3}}$$แล้วจึงจัดรูปเพื่อแทนค่าแก้สมการกำลังสามตามแบบคุณ t.B. ด้านบน

ผมลองคิดรอบนึงแล้ว ข้อที่ตอนนี้ผมยังมีปัญหา/คิดได้ไม่ตรงกับเฉลยมีดังนี้:
3,12,23,26-29,35,37-39
ส่วนที่เหลือเดี๋ยวผมจะค่อยๆพิมพ์ละกันครับ

ข้อ 38 ผมคิดแบบนี้ครับ:
เราทราบว่า $\sum a=4,\ \sum ab=2,\ abc=3$ ดังนั้น
$\begin{eqnarray}
\prod (1-a^2)(1-b^2)&=&\prod (1-a)\prod (1+a)\\
&=&(1-\sum a+\sum ab-abc)(1+\sum a+\sum ab+abc)\\
&=&(1-4+2+3)(1+4+2-3)\ =\ 8\\
\end{eqnarray}$

kanakon 16 พฤศจิกายน 2007 21:07

ข้อ 5 ไม่น่าจะมีคำตอบนะครับ

nongtum 16 พฤศจิกายน 2007 21:15

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kanakon (ข้อความที่ 24513)
ข้อ 5 ไม่น่าจะมีคำตอบนะครับ

ผมลองเอาคำตอบตามเฉลยไปแทนค่าดู ถ้าเรายอมรับว่า $1/\infty=0$ ละก็ เฉลยก็ถูกครับ แต่จริงๆมันไม่ใช่แบบนั้นน่ะสิครับ เพราะ $\infty$ ไม่ใช่จำนวนจริงครับ

ส่วนข้อสาม ผมคิดได้ว่า $A=2=-B$ ข้อนี้เลยน่าจะตอบตัวเลือก 1 มากกว่า

ส่วนแนวคิดตามขอและข้ออื่นๆผมค่้อยมาพิมพ์ต่อทีหลังละกัน หิวข้าวแล้ว

หยินหยาง 16 พฤศจิกายน 2007 21:28

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nongtum (ข้อความที่ 24512)
ผมลองคิดรอบนึงแล้ว ข้อที่ตอนนี้ผมยังมีปัญหา/คิดได้ไม่ตรงกับเฉลยมีดังนี้:
3,12,23,26-29,35,37-39
ส่วนที่เหลือเดี๋ยวผมจะค่อยๆพิมพ์ละกันครับ

เท่าที่ลองทำไป 3 ข้อ คือ 3,12,23 ก็ได้ตรงเฉลยครับ
ผมเลยชักไม่แน่ใจว่าผมทำผิดหรือเปล่า
ผมลองอธิบายคร่าวๆ ดังนี้
ข้อ 3. ใช้คอนจูเกตุบวกกับ telescoping จะได้ A = 2 ในทำนองเดียวกันก็ใช้ ใช้คอนจูเกตุบวกกับ telescoping ในการหา B ได้ = 2
แต่ต้องระวังเครื่องหมาย +, - ที่สลับกันอยู่ ก็จะได้ A-B = 0
ข้อ12. ใช้ดูจากกราฟเรื่อง exponential โดยเป็นฟังก์ชั่นลด ก็จะเปรียบเทียบค่า a,b,c ได้คือ $a\prec c \prec b$
ข้อ 23.ลูกบอลที่ไม่มี 2และ 3 เป็นตัวประกอบคือ 1,5,7,11,13,17,19,23,25ซึ่งมีจำนวนทั้งหมดเท่ากับ 121 ลูกส่วนลูกบอลทั้งหมด
มีเท่ากับ 1+2+3+...+25 = 325 ลูก ดังนั้นคำตอบคือ $\frac{121}{325} $

t.B. 16 พฤศจิกายน 2007 21:29

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nongtum (ข้อความที่ 24514)
ผมลองเอาคำตอบตามเฉลยไปแทนค่าดู ถ้าเรายอมรับว่า $1/\infty=0$ ละก็ เฉลยก็ถูกครับ แต่จริงๆมันไม่ใช่แบบนั้นน่ะสิครับ เพราะ $\infty$ ไม่ใช่จำนวนจริงครับ

ส่วนข้อสาม ผมคิดได้ว่า $A=2=-B$ ข้อนี้เลยน่าจะตอบตัวเลือก 1 มากกว่า

ส่วนแนวคิดตามขอและข้ออื่นๆผมค่้อยมาพิมพ์ต่อทีหลังละกัน หิวข้าวแล้ว

:huh: $\infty $ ไม่ใช่จำนวนจริงแล้วมันป็นจำนวนอะไรหรอครับ แล้วสัญลักษณ์ $\prod $ มันคืออะไรหรอครับไม่เคยเจอ:sweat:

หยินหยาง 16 พฤศจิกายน 2007 21:41

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kanakon (ข้อความที่ 24513)
ข้อ 5 ไม่น่าจะมีคำตอบนะครับ

ข้อนี้มีคำตอบครับ ถ้าพิจารณาแบบผ่านๆ ก็อาจคิดว่าไม่มี จุดประสงค์ของโจทย์คือการเล่นเศษส่วนในรูปแบบที่ซ่อนรูปอยู่ จากโจทย์เราสามารถแสดงวิธีทำได้ดังนี้
$1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+x}}} $
$=1+\frac{1}{1+\frac{1+x}{x+2}}$
$=1+\frac{x+2}{2x+3}$
ดังนั้น $ x จึงต้องเท่ากับ -2$
จะเห็นว่าส่วนไม่ใช่ 0 แต่เศษต่างหากที่เป็น 0

nongtum 16 พฤศจิกายน 2007 21:53

ข้อ 3 ผมทำ telescope ในส่วนของ B ดังนี้ครับ:
$B=(\sqrt2+\sqrt1)-(\sqrt3+\sqrt2)+\cdots-(\sqrt9+\sqrt8)=(\sqrt1-\sqrt9)=-2$
คราวนี้ก็เลยงงสิครับว่าไปส่องกล้องผิดตรงไหน

$\infty$ อนันต์ (infinity) เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่แสดงถึงค่าที่มากกว่าจำนวนใดๆ (ข้อความจากวิกิไทย)
ส่วนที่พิมพ์ $\prod$ เป็นการพิมพ์ผลคูณอย่างย่อ เมื่อเป็นที่เข้าใจกันว่ากำลังคำนวณด้วยตัวแปรใด เช่น หากใช้สามตัวแปร $x,y,z$ จะได้ว่า $\prod x=xyz$ หรือ $\prod (x-y)=(x-y)(y-z)(z-x)$ เป็นต้นครับ

kanakon 16 พฤศจิกายน 2007 22:02

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง (ข้อความที่ 24521)
ข้อนี้มีคำตอบครับ ถ้าพิจารณาแบบผ่านๆ ก็อาจคิดว่าไม่มี จุดประสงค์ของโจทย์คือการเล่นเศษส่วนในรูปแบบที่ซ่อนรูปอยู่ จากโจทย์เราสามารถแสดงวิธีทำได้ดังนี้
$1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+x}}} $
$=1+\frac{1}{1+\frac{1+x}{x+2}}$
$=1+\frac{x+2}{2x+3}$
ดังนั้น $ x จึงต้องเท่ากับ -2$
จะเห็นว่าส่วนไม่ใช่ 0 แต่เศษต่างหากที่เป็น 0


แล้วถ้าผมแทน $x=-2$ ตั้งแต่แรกทำไมไม่ได้คำตอบละครับ
อ้างอิง:

$=1+\frac{1}{1+\frac{1+x}{x+2}}$
แล้วการทำอย่างนนี้เราก็ต้องนิยาม $x\not= -2$ ก่อนไม่ใช่หรอคระบ

หยินหยาง 16 พฤศจิกายน 2007 22:25

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ nongtum (ข้อความที่ 24522)
ข้อ 3 ผมทำ telescope ในส่วนของ B ดังนี้ครับ:
$B=(\sqrt2+\sqrt1)-(\sqrt3+\sqrt2)+\cdots-(\sqrt9+\sqrt8)=(\sqrt1-\sqrt9)=-2$
คราวนี้ก็เลยงงสิครับว่าไปส่องกล้องผิดตรงไหน

น่าจะได้แบบนี้ครับ
$B=-(\sqrt2+\sqrt1)+(\sqrt3+\sqrt2)-\cdots+(\sqrt9+\sqrt8)=(-\sqrt1+\sqrt9)=2$
เพราะว่า$\frac{1}{\sqrt{1}- \sqrt{2}} *\frac{\sqrt{1}+\sqrt{2}}{\sqrt{1}+\sqrt{2}}=-(\sqrt2+\sqrt1)$

หยินหยาง 16 พฤศจิกายน 2007 22:34

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ kanakon (ข้อความที่ 24523)
แล้วถ้าผมแทน $x=-2$ ตั้งแต่แรกทำไมไม่ได้คำตอบละครับ

แล้วการทำอย่างนนี้เราก็ต้องนิยาม $x\not= -2$ ก่อนไม่ใช่หรอคระบ

ผมเข้าใจว่าโจทย์เดิมน่าจะเป็นรูป $1+\frac{x+2}{2x+3}$ ซึ่งถ้าแทน x ในที่นี้ก็จะไม่มีปัญหา แต่เพื่อให้เกิดความสวยงามทางคณิตศาสตร์จึง
แปลงให้อยู่ในรูปที่โจทย์ถามเพื่อให้มองผิวเผินเหมือนโจทย์มีปัญหา และถ้าจะนิยามก็ต้องนิยามจากโจทย์ที่ตั้งไว้แต่แรกคือ x ไม่เท่ากับ -1
ต้องขออภัยด้วยครับถ้าตอบไม่ตรงกับคำถาม

bell18 17 พฤศจิกายน 2007 11:04

ข้อ 5. นี่โจทย์ผิดพลาดแน่นอนครับ เพราะว่าเศษซ้อนหลังเลข 1 ไม่มีทางเป็น 0 ได้แน่นอน

titletam 17 พฤศจิกายน 2007 22:20

ขอข้อ7ครับ

t.B. 17 พฤศจิกายน 2007 23:36

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ titletam (ข้อความที่ 24573)
ขอข้อ7ครับ

Hint:
1.$100=10^2$
2.แจกหารดูเศษ
ปล.ตัว$\prod $มีชื่อเรียกว่าอะไรหรอครับ

Puriwatt 18 พฤศจิกายน 2007 23:19

ข้อ 23 ตอบ 3 ผมได้$\frac{121}{325}$ เหมือนเฉลย แต่ต้องระวังคำว่า "และ" ที่ใช้เชื่อมประโยค
ว่าไม่ใช่ทั้ง 2 และ 3 เป็นตัวประกอบพร้อมกัน

ข้อ 29 เฉลยผิด ตอบ 4 (ตามที่คุณ bell 18 คิดค้างไว้ 271x45 = 12,195)

ข้ออื่นๆถ้ามีเวลาจะช่วยคิดต่อครับ

Puriwatt 18 พฤศจิกายน 2007 23:48

สำหรับ ข้อ 5 ผมว่าคุณ kanakon และคุณ หยินหยาง ไม่น่าจะเสียเวลา
เพราะข้อนี้คุ้นมากว่าลอกมา โดยโจทย์เดิมเป็นประเภทลิมิต

เช่น $\frac{lim}{x\rightarrow 2} (1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+x}}}) = ? ซึ่งค่า x+2 \not= 0$

หรือ $\frac{lim}{x\rightarrow n} (1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+\frac{1}{1+x}}}) = 1 แล้ว n = ?$

อะไรทำนองนี้ละ จำไม่ได้แล้ว

Puriwatt 19 พฤศจิกายน 2007 22:48

1 ไฟล์และเอกสาร
ข้อ 27 นี้สวยมาก เลยลองหัดวาดรูปแล้วแนบมาให้ (ดูเบี้ยวไปหน่อย แต่คงพอดูรู้เรื่อง)

Attachment 388

เนื่องจากเป็นรูป 9 เหลี่ยม ด้านเท่ามุมเท่า ที่มีความยาวด้านเป็น a
ดังนั้น มุมAOB = 360/9 = 40 องศา และ มุมABO = มุมBAO = (180-40)/2 = 70 องศา

โจทย์กำหนดให้ BC = b และ AD = d ดังนั้น มุมAOD = 4(40) = 160 องศา และ มุมDAO = (180-160)/2 = 10 องศา

ดังนั้น มุมBAD = 70-10 = 60 องศา และ มุมBAF = (90-60) = 30 องศา

$sin 30 = \frac{BF}{BA} = \frac {(d-b)/2}{a} = \frac{1}{2}$ - -> (d-b) = a หรือ d = b+a ตอบข้อ 1. (ตรงกับเฉลย)

หยินหยาง 23 พฤศจิกายน 2007 22:26

ข้อ 40.

จอมยุทธแห่งบ้านหนองเข้ 27 พฤศจิกายน 2007 13:26

ข้อสอบ เพชรยอดมงกุฎ ม.ต้น 2550
 
ช่วยแสดงวิธีคิดข้อ 39
โจทย์ ในการเขียนจำนวนเต็มตั้งแต่ 1 ถึง 5555 จะต้องใช้ 0 ทั้งหมดกี่ตัว

Puriwatt 27 พฤศจิกายน 2007 23:17

:blood: ข้อ 38 ผมได้ 8 เหมือนคุณ Nongtum และไม่มีchoice ให้เลือกครับ โดยที่
$$ x = 3, \frac{1 + \sqrt{5}} {2} และ \frac{1 - \sqrt{5}}{2}$$

Puriwatt 28 พฤศจิกายน 2007 00:36

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ จอมยุทธแห่งบ้านหนองเข้ (ข้อความที่ 24908)
ช่วยแสดงวิธีคิดข้อ 39
โจทย์ ในการเขียนจำนวนเต็มตั้งแต่ 1 ถึง 5555 จะต้องใช้ 0 ทั้งหมดกี่ตัว

ข้อนี้สามารถคิดได้หลายวิธี แต่ผมเลือกวิธีที่น่าจะสั้นมาให้ดู
(1) 1-99 (1,2 หลัก) มีศูนย์อยู่ = 9 ตัว <-- $ x0 = \binom{9}{1}x1$
(2) 100-999 (3 หลัก) มีศูนย์อยู่ = 180 ตัว <-- $ xy0 หรือ x0y = \binom{9}{1}x\binom{9}{1} x \binom{2}{1} x 1ตัว$ และ$ x00 = \binom{9}{1} x 2 ตัว $
(3) 1000-4999 (4 หลัก) มีศูนย์อยู่ = 1200 ตัว <-- $มีศูนย์1ตัว = \binom{4}{1}x\binom{9}{1}x\binom{9}{1}\binom{3}{1}x1ตัว = 972 ตัว $ และ $มีศูนย์2ตัว= \binom{4}{1}x\binom{9}{1}x\binom{3}{2} x 2ตัว = 216 $ และ $มีศูนย์3ตัว= \binom{4}{1}x\binom{3}{3} x 3ตัว = 12 $
(4) 5000-5499 (4 หลัก) มีศูนย์อยู่ = 200 ตัว <-- $หลักร้อย=100 ตัว,หลักสิบ= 50ตัว,หลักหน่วย = 50ตัว$
(5) 5500-5555 (4 หลัก) มีศูนย์อยู่ = 16 ตัว <-- $หลักสิบ= 10 ตัว, หลักหน่วย = 6 ตัว$

รวมมีเลข 0 เท่ากับ 9+180+1200+200+16 = 1605 ตัว ตอบ 3. ตรงครับ

titletam 28 พฤศจิกายน 2007 10:07

\binom{9}{1} มันเเปลว่าอะไรหรอครับ

จอมยุทธแห่งบ้านหนองเข้ 28 พฤศจิกายน 2007 12:53

ข้อสอบ เพชรยอดมงกุฎ ม.ต้น 2550
 
ขอบคุณคุณ PURIWATT เป็นอย่างสูงที่ช่วยกรุณาให้แนวคิดข้อ39ฃึ่งจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ

Puriwatt 28 พฤศจิกายน 2007 22:55

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ titletam (ข้อความที่ 24929)
\binom{9}{1} มันเเปลว่าอะไรหรอครับ

$\binom{9}{1}$ หมายความว่า มีเลข 9 ตัว คือ 1,2,3...,9 เลือกมาใส่ที่หลักที่ต้องการเพียง 1 ตัว = 9

$\binom{2}{1}$ เลือกหลักที่ต้องการใส่ 0 มา 1 หลัก จาก ที่ใส่ได้ 2 หลัก = 2 แล้วอีกหลักให้เลือกเลขโดดมาวาง

ตอนลูกสาวอยู่ ป.6 ผมให้ใช้การจัดกลุ่มแล้วนับจริงๆเลย จากนั้นก็นำค่าที่นับได้ของแต่ละกลุ่มมารวมกัน

ข้อสังเกตุ- เลข 0 ที่อยู่ด้านหน้า จะไม่มีการเขียน เช่น 20 ไม่ใช่ 0020 ต้องระวังด้วย ผมลองทำหลายวิธีแล้ว
คิดว่าถ้าจับหลัก เลขโดด-ที่หลักด้านซ้ายสุดได้แล้ว จะใช้วิธีนี้ได้ไม่ยาก

หวังว่าคงพอที่จะเข้าใจได้ไม่ยาก และน่าที่จะลองศึกษาเพิ่มเติมเองได้ นะครับ:)

Puriwatt 28 พฤศจิกายน 2007 23:35

เช่น เลขสามหลัก 100 ถึง 999 โดยที่ x และ y เป็นเลขโดด 1 ถึง 9
มีกรณี xy0 อยู่ 9x9 = 81 กรณี, มีกรณี x0y อยู่ 9x9 = 81 กรณี เหมือนกัน
และ ยังมีกรณี x00 อีก 9 กรณี (แต่ละกรณี ใช้เลข 0 ถึง 2 ตัว)
ดังนั้น จะใช้เลข 0 ทั้งหมด 81+81+9x2 = 180 ตัว

หรือวิธีที่ 2
100-199 ช่วง 100-109 มี 0 อยู่ 11 ตัว และยังมี 110,120,...190 อีก 9 ตัว รวมทั้หมด 20ตัว
200-299 ต่างกับชุดบนแค่เลข 2 ดังนั้นมีเลข 0 เท่ากัน คือ 20 ตัว
300-399 ก็มี 20 ตัว
..........
900-999 ก็มี 20ตัว เหมือนกัน ดังนั้น 100-999 มีเลข 0 ทั้งหมด 20x9 = 180 ตัว เหมือนวิธีที่ 1 ด้านบน

หมายเหตุ - เลข 4 หลัก เช่น 1000-1999 ให้แยกเป็น 1000-1099 = 100+11+9 = 120 ตัว
และ1100-1999 = 180 ตัว (ปิดเลข 1 ด้านซ้าย แล้วจะเห็นเป็นเลข 100-999 เหมือนด้านบน = 180 ตัว)
รวมเป็น 300 ตัว หวังว่าคงทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วคิดต่อด้วยนะครับ

การฝึกฝนทำโจทย์ จะทำให้เกิดความชำนานทั้งการนำความรูที่มีออกมาใช้งาน และการสร้างรูปแบบแนวคิดใหม่ๆตุนเก็บ
สำหรับเป็นทุนไว้ใช้ในคราวต่อไปด้วย ยิ่งฝึกบ่อยๆ จะยิ่งเร็วขึ้นและแม่นยำขึ้นด้วย ขอให้พยายามเข้านะครับ:rolleyes:

jabza 07 กรกฎาคม 2008 08:08

อ้างอิง:

ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Eddie (ข้อความที่ 24488)




ผมอยากรู้ว่าข้อ35 มันเฉลยผิดหรือเปล่าคับ $เพราะว่า 1.> ผมหา จำนวนเฉพาะที่บวกกันแล้วมันไม่ได้ 29 ด้วย$
$2.> ผมคาดว่า น่าจะเป็น\frac{2}{11} หรือข้อ2 $



แต่ผมก็หาวิธีคิดไม่ได้เหมือนกันคับ ช่วยเฉลยหรือHinTที (เอาแบบเยอะๆ นะ เพราะไม่รู้จริงๆ :nooo:)

คusักคณิm 07 กรกฎาคม 2008 16:47



เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 10:52

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha