Mathcenter Forum

Mathcenter Forum (https://www.mathcenter.net/forum/index.php)
-   ข้อสอบโอลิมปิก (https://www.mathcenter.net/forum/forumdisplay.php?f=28)
-   -   มาแล้ว คณิตศาสตร์โอลิมปิก สอวน. ครั้งที่ 2 ที่ ม.อุบลฯ (https://www.mathcenter.net/forum/showthread.php?t=1155)

gon 11 พฤษภาคม 2005 21:56

ข้อ 5 วันแรก ผมได้ 4332 ครับ. เลขสวยทีเดียว แต่ไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า ใครมีเฉลยช่วยดูที


passer-by 12 พฤษภาคม 2005 03:05

ข้อ 5 ผมก็ได้ 4332 เหมือนคุณ gon ครับ ( ข้อนี้ ดูเหมือนถามง่ายๆ แต่ใช้แนวคิดอลังการมาก ไม่รู้เหมือนกันว่า ถ้าไม่ใช้ generating function หรือ inclusion-exclusion formula มาช่วย จะทำไงดี)

ข้อ 11 ที่คุณ gools บอกว่าไม่มีคำตอบ ผมว่า x = 22548-1 ก็สอดคล้องกับโจทย์ นะครับ แต่ผมไม่รู้ว่า เป็นตัวน้อยสุดหรือเปล่า ใครที่ expert ทาง number theory ช่วยมาชี้แจงแถลงไขด้วยครับ

อ้างอิง:

ข้อความเดิมของคุณ nooonuii:
ข้อ 16 ผลบวกของรากของสมการจะเท่ากับ - สปส. หน้าเทอม x2003
ข้อนี้ ต้องตอบว่า (-ส.ป.ส. หน้าเทอม x2003)/( ส.ป.ส. หน้าเทอม x2004) รึป่าวครับ รบกวนคุณ nooonuii ช่วย check ด้วยครับ

ท้ายสุด อยากจะบอกว่า เห็นกระทู้นี้แล้ว ตื้นตันในพลังสามัคคีจริงๆนะเนี่ย ;)

nooonuii 12 พฤษภาคม 2005 04:00

อืมแม่นแหล่วครับ ผมลืมดู สปส หน้าเทอม x2004 ไปเลย :( แก้แล้วครับ

warut 12 พฤษภาคม 2005 05:17

อ้างอิง:

ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
ข้อ 11 ที่คุณ gools บอกว่าไม่มีคำตอบ ผมว่า x = 22548-1 ก็สอดคล้องกับโจทย์ นะครับ แต่ผมไม่รู้ว่า เป็นตัวน้อยสุดหรือเปล่า
จาก x2005 + 1 = (x + 1)(x2004 - x2003 + ... + x2 - x + 1)
และ x2004 - x2003 + ... + x2 - x + 1 เป็นจำนวนคี่เสมอ
ดังนั้น 22548 จะหาร x2005 + 1 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ 22548 หาร x + 1 ลงตัว
นั่นคือคำตอบ x = 22548 - 1 ของคุณ passer-by เป็นคำตอบที่น้อยที่สุดแล้วครับ :)

nongtum 12 พฤษภาคม 2005 05:25

ง่ายกว่าที่คิดแฮะ ตอนนี้เหลือแต่ใครจะอึดแจง 128 สับเซตอย่างเป็นระบบ (ข้อ 8) กะเรียงคนอย่างเป็นระบบ (ข้อห้าวันที่สอง)
Edit1: ช้าไปนิดเดียว คุณ warut post คำตอบแล้ว omg...
Edit2: ลืมวงเล็บไปหนึ่งคู่ ...whew...

warut 12 พฤษภาคม 2005 07:52

อ้างอิง:

ข้อความเดิมของคุณ Rovers:
8. จัดเรียงสมาชิกในแต่ละสับเซตของ S = {1,2,3,4,5,6,7} ที่ไม่ใช่เซตว่างจากมากไปน้อย ใส่เครื่องหมายบวกและลบสลับกันหน้าสมาชิกแต่ละตัวของสับเซต โดยเริ่มจากเครื่องหมายบวกหน้าจำนวนที่มากที่สุดในสับเซตนั้น หาผลบวกของจำนวนเหล่านั้น (เช่น สับเซต T={7,4,2} เราได้ 7-4+2 = 5 เป็นผลลัพธ์ของสับเซต T) จงหาผลบวกของผลลัพธ์ของทุกสับเซต S
สมมติให้ผลบวกของผลลัพธ์ของทุกสับเซตของเซ็ต {1, 2, 3, 4, 5, 6} คือ x

เพื่อหาผลบวกของผลลัพธ์ของทุกสับเซตของ S เราจะแยกประเภทของสับเซตที่ไม่ใช่เซ็ตว่างของ S ออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

1. สับเซ็ตที่ไม่มีเลข 7 อยู่ สำหรับกรณีนี้จะได้ผลบวกของผลลัพธ์เท่ากับ x
2. สับเซ็ต {7} สำหรับกรณีนี้จะได้ผลบวกของผลลัพธ์เท่ากับ 7
3. สับเซ็ตที่เหลือ ซึ่งก็คือสับเซ็ตที่มีเลข 7 อยู่แต่ไม่ใช่ {7} ซึ่งมีอยู่ 26 - 1 = 63 สับเซ็ต ดังนั้นผลบวกของผลลัพธ์ในกรณีนี้คือ 7*63 - x (คงมองออกนะครับ ผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังไงเหมือนกัน)

ดังนั้นผลบวกของผลลัพธ์ของทุกสับเซตของ S จึงมีค่าเท่ากับ x + 7 + (7*63 - x) = 7*64 = 448 ครับ :)

warut 13 พฤษภาคม 2005 03:34

อ้างอิง:

ข้อความเดิมของคุณ passer-by:
ข้อ 5 ผมก็ได้ 4332 เหมือนคุณ gon ครับ ( ข้อนี้ ดูเหมือนถามง่ายๆ แต่ใช้แนวคิดอลังการมาก ไม่รู้เหมือนกันว่า ถ้าไม่ใช้ generating function หรือ inclusion-exclusion formula มาช่วย จะทำไงดี)
เท่าที่ผมเช็คดูได้ความว่าไม่ว่าจะทำแบบไหน (generating function, recurrence relation, etc.) ข้อนี้ก็เป็น pure calculation ครับ ถ้าใครมีสูตรหรือเทคนิคที่ช่วยให้ทำได้ง่ายๆล่ะก็จะถือว่าเป็นการค้นพบที่น่าสนใจมากครับ :D

passer-by 13 พฤษภาคม 2005 04:51

อ้างอิง:

ข้อความเดิมของคุณ warut:
เท่าที่ผมเช็คดูได้ความว่าไม่ว่าจะทำแบบไหน (generating function, recurrence relation, etc.) ข้อนี้ก็เป็น pure calculation ครับ ถ้าใครมีสูตรหรือเทคนิคที่ช่วยให้ทำได้ง่ายๆล่ะก็จะถือว่าเป็นการค้นพบที่น่าสนใจมากครับ
ไม่ว่าจะเป็น generating function หรือวิธีอื่นทาง combinatorics ก็ยังเป็น เพียงแค่ tool ที่มาช่วย solve ซึ่งก็ไม่ใช้เทคนิคลัดอะไรอย่างที่คุณ warut ว่านั่นแหละครับ
แต่ก็ยังดีกว่ามาไล่พิจารณาทีละกรณี หรือ solve แบบ Brute force calculation แน่นอน 100%
แวบแรกที่ผมเห็นข้อนี้ ผมสังเกตว่า โจทย์ต้องการ sum= 21 ซึ่งเป็นกึ่งกลางระหว่าง 6(min of sum) และ36 (max of sum) ก็นึกว่าต้องมีเทคนิคซักอย่างมาช่วยแน่ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความรู้อย่าง generating function หรืออะไรทำนองนี้ แต่ก็มืดแปดด้าน สุดท้ายก็ต้องกลับมาสู่วิธีทาง combinatorics นี่แหละครับ

ส่วนข้อ 8 ที่คุณ warut เฉลย พาลให้ผมนึกถึง คำถามข้อหนึ่ง
" ถ้านำจำนวนเต็มบวก 9 ตัว บรรจุในเมตริกซ์มิติ 3x3 โดยแต่ละ entry ต่างกันหมด จะได้ 9! เมตริกซ์ หาผลบวกของ determinant ของเมตริกซ์ทั้ง 9!เมตริกซ์ "
แม้จะคิดไม่เหมือนกับข้อ 8 ซะทีเดียว แต่ก็ให้อารมณ์คล้ายๆกัน และคำตอบข้อนี้ก็แค่เลขหลักเดียวซะด้วย

warut 13 พฤษภาคม 2005 08:07

โอ๊ยโย้ยโหยว...ผมชุ่ยอีกแล้ว คุณ passer-by ช่างสังเกตจัง ถ้าเป็นค่ากลางเนี่ยมีสูตรครับ แต่ในกรณีนี้คงไม่มีประโยชน์สำหรับผู้ทำสอบหรอก จะมีประโยชน์แต่ก็สำหรับผู้ออกข้อสอบไว้เช็คคำตอบมากกว่าครับ โยนลูกเต๋าลูกหนึ่ง $n$ ครั้ง สูตรสำหรับหาจำนวนวิธีทั้งหมดที่ทำให้แต้มรวมเป็นค่ากลางมีดังนี้ครับ $$ \sum_{k=0}^{\lfloor 5n/12\rfloor} (-1)^k{n \choose k}{n+\lfloor5n/2\rfloor-6k-1 \choose n-1} $$ ซึ่งก็คืออันที่คุณ gon ค้นพบนั่นเองครับ :)

TOP 13 พฤษภาคม 2005 09:40

ข้อโยนลูกเต๋า ใช้หลักการรวมเข้าและหักออก กับ Stars and Bar ก็ได้ครับ

จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) คือ \( {20 \choose 5} \)
จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) เมื่อมี \( x_i \) 1 ตัวที่กำหนด มีค่ามากกว่า 6 คือ \( {6 \choose 1} {14 \choose 5} \)
จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) เมื่อมี \( x_i \) 2 ตัวที่กำหนด มีค่ามากกว่า 6 คือ \( {6 \choose 2} {8 \choose 5} \)
\( \therefore \) จำนวนวิธีที่ต้องการคือ \( {20 \choose 5} - {6 \choose 1} {14 \choose 5} + {6 \choose 2} {8 \choose 5} = 4332 \)

warut 13 พฤษภาคม 2005 09:55

คิดไปคิดมาปรากฎว่าผมยังมองไม่ออกน่ะครับว่า \({6\choose1}{14\choose5}\) กับ \({6\choose2}{8\choose5}\) มันมาได้ยังไง แล้วทำไมอันนึงมันถึงหักออก ส่วนอีกอันรวมเข้าล่ะครับ ขอโทษนะครับถ้านี่เป็นคำถามโง่ๆ

TOP 13 พฤษภาคม 2005 13:03

จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( 0 < x_1, x_2, x_3, x_4, x_5, x_6 < 7 \)
= จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( 0 < x_1, x_2, x_3, x_4, x_5, x_6 \)
- จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i > 6 \)

จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( 0 < x_1, x_2, x_3, x_4, x_5, x_6 \) คิดตาม Stars and Bar จะได้จำนวนวิธีเป็น \( {20 \choose 5} \) วิธี

จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i > 6 \) คิดดังนี้

จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( x_1 > 6 \) หาได้ด้วยการหัก 6 ออกจาก 21 แล้วนำไปรวมกับ \( x_1 \) เลย จากนั้นคิดตาม Stars and Bar จะได้จำนวนวิธีเป็น \( {14 \choose 5} \) วิธี

ในทำนองเดียวกันกับ จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( x_2, x_3, x_4, x_5, x_6 > 6 \) ก็เป็น \( {14 \choose 5} \) วิธี

ดังนั้น จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i \) 1 ตัวที่กำหนด มีค่ามากกว่า 6 คือ \( {6 \choose 1}{14 \choose 5} \) วิธี

จำนวนวิธีที่นับได้นี้ ดูเหมือนว่าจะเป็นจำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i > 6 \) แต่มันไม่ใช่ เพราะเรามีการนับเกิน เช่น กรณีที่ \( x_1 = 7, x_2 = 8 \) จะถูกนับซ้ำ 2 ครั้ง

ครั้งหนึ่งคือ นับในกรณีที่ \( x_1 > 6 \)
และอีกครั้งในกรณีที่ \( x_2 > 6 \)

จึงต้องหักกรณีที่นับซ้ำออกไป นั่นก็คือ

จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( x_1, x_2 > 6 \) หาได้ด้วยการหัก 12 ออกจาก 21 แล้วนำไปรวมกับ \( x_1, x_2 \) ตัวละ \( 6 \) เลย จากนั้นคิดตาม Stars and Bar จะได้จำนวนวิธีเป็น \( {8 \choose 5} \) วิธี

ในทำนองเดียวกันกับ จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( x_1, x_3 > 6, x_1, x_4 > 6, x_1, x_5 > 6 \ldots \) ก็เป็น \( {8 \choose 5} \) วิธี

ดังนั้น จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i \) 2 ตัวที่กำหนด มีค่ามากกว่า 6 คือ \( {6 \choose 2}{8 \choose 5} \) วิธี

จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i > 6 \)
= จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i \) 1 ตัวที่กำหนด มีค่ามากกว่า 6
- จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่มี \( x_i \) 2 ตัวที่กำหนด มีค่ามากกว่า 6
= \( {6 \choose 1}{14 \choose 5} - {6 \choose 2}{8 \choose 5} \)

ดังนั้น จำนวนคำตอบที่เป็นจำนวนเต็มบวกของ \( x_1 + x_2 + x_3 + x_4 + x_5 + x_6 = 21 \) โดยที่ \( 0 < x_1, x_2, x_3, x_4, x_5, x_6 < 7 \)
= \( {20 \choose 5} - {6 \choose 1}{14 \choose 5} + {6 \choose 2}{8 \choose 5} = 4332 \)

หรือหากจะดูจากเฉลยของกร แล้วตีความหมายจาก \( {20 \choose 15} - {6 \choose 1}{14 \choose 9} + {6 \choose 2}{8 \choose 3} \) ก็ได้ จะได้ผลลัพธ์เดียวกัน :)

warut 13 พฤษภาคม 2005 13:54

โอ้ว...คราวนี้เคลียร์จริงๆแล้ว ขอบคุณมากครับ แย่จัง...ผมออกความเห็นอะไรผิดๆเกี่ยวกับข้อนี้ไปเยอะเลย ก็ไม่เคยเรียน combinatorics นี่นา :p

R-Tummykung de Lamar 13 พฤษภาคม 2005 19:49

sin 18 = 5+1 นี่ พิสูจน์ยังไงครับ :D

passer-by 13 พฤษภาคม 2005 20:29

sin 18 =1/(5+1) นะครับ
การพิสูจน์เท่าที่คิดออกตอนนี้ ทำได้ 2 วิธีครับ
วิธีที่ 1: ให้ 5q=3q+2q=90
ดังนั้น 2q=90- 3q
take cos both sides จะได้
cos 2q=sin 3q
เมื่อจัดรูปใหม่ จนสุดท้ายจะได้ 4x3 -2x2-3x+1=0 เมื่อ x= sinq และหลังจากแก้สมการจะได้

\( \huge x=sin(18^{\circ}) =\frac{\sqrt{5}-1}{4}=\frac{1}{\sqrt{5}+1}\)

วิธีที่ 2 ซึ่งไม่ต้องแก้สมการกำลังสาม ก็คือสร้างรูปสามเหลี่ยมที่มีเงือนไขเหมือนโจทย์ข้อ 3 วันแรก จากนั้นก็ใช้วิธีของผม กับคุณ nongtum มา mix รวมกัน ก็จะได้วิธี derive sin18 อีกอารมณ์หนึ่ง
จากคุณ nongtum จะได้ AB/BC= 1/(2sin18) (ใช้สมบัติสามเหลี่ยมหน้าจั่วมาอธิบาย)
และจากผม จะได้ AB/BC= (1+5)/2 (โดย law of sine ผสมกับแก้สมการกำลังสองนิดหน่อย ดังอธิบายไปแล้ว)
ก็จะ derive sin18 ได้ตามต้องการ


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 05:39

Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha