Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์โอลิมปิก และอุดมศึกษา > พีชคณิต
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 27 สิงหาคม 2010, 11:41
monoguy monoguy ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 พฤษภาคม 2008
ข้อความ: 6
monoguy is on a distinguished road
Default เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนตรรกยะ

ผมค้นในเว็บบอร์ดแล้ว แต่หาไม่เจอว่ามีการถามกันไปบ้างหรือยัง ก็เลยตั้งกระทู้ถามครับ

ให้ a เป็นจำนวนจริง และพิจารณาปัญหานี้เฉพาะบนจำนวนจริงเท่านั้น ไม่ใช่จำนวนเชิงซ้อนนะครับ
ถามง่ายๆ ครับว่า $(a)^\frac22$ กับ $(a^2)^\frac12$ และ $(\sqrt{a})^2$ เท่ากันหรือไม่

เหตุที่ถามปัญหานี้เพราะว่า มีบทความใน mathcenter นี้ใช้ทฤษฏีบทคล้ายๆ กันนี้เขียนบทความที่ผมเข้าใจว่าผิดหลักทางคณิตศาสตร์ กล่าว คือ ในความเห็นของผมและจากการค้นคว้า พบว่า ทั้งสามอันข้างบนจะเท่ากันหมด เมื่อ $a^\frac12$ หาค่าได้เท่านั้น แต่ในบทความไม่ได้สนใจส่วนนี้เลย

ผมเลยอยากให้ท่านๆ ทั้งหลายช่วยกันไขความกระจ่างส่วนนี้หน่อยว่าผมเข้าใจผิดไปเองหรือเปล่าครับ

10 กันยายน 2010 18:39 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ monoguy
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 27 สิงหาคม 2010, 16:31
Onasdi's Avatar
Onasdi Onasdi ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2005
ข้อความ: 760
Onasdi is on a distinguished road
Default

ถ้า $a\ge 0$ ทั้งสามอันจะเท่ากันครับ เพราะเรารู้ว่า $(a^m)^n=a^{mn}$ สำหรับ $a\ge 0$
แต่ถ้าสมมติ $a=-1$ จะได้
  • $a^\frac{2}{2}=a=-1$
  • $(a^2)^\frac{1}{2}=1^\frac{1}{2}=1$
  • $(a^\frac{1}{2})^2=a=-1$
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 19 กันยายน 2011, 23:45
ดินสอจัง : ) ดินสอจัง : ) ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 67
ดินสอจัง : ) is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Onasdi View Post
ถ้า $a\ge 0$ ทั้งสามอันจะเท่ากันครับ เพราะเรารู้ว่า $(a^m)^n=a^{mn}$ สำหรับ $a\ge 0$
แต่ถ้าสมมติ $a=-1$ จะได้
  • $a^\frac{2}{2}=a=-1$
  • $(a^2)^\frac{1}{2}=1^\frac{1}{2}=1$
  • $(a^\frac{1}{2})^2=a=-1$
$(a^\frac{1}{2})^2=a=-1$

มันหาค่าได้หรอครับ แปลกๆนะ

(ผมก็อูส่ารื้อฟื้น) 5555
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 20 กันยายน 2011, 01:06
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

#3
ระวังหน่อยนะเดี๋ยวจะแปลกที่รื้อขึ้นมา ต้องดูบริบทด้วยนะครับ มันอาจไม่เหมือนที่เคยเห็นเร็วๆนี้ก็ได้นะ

แต่ถ้าจะให้รัดกุมหน่อยก็ตรง $a\ge 0$ ก็เปลี่ยนเป็น $a>0$ แต่พอเข้าใจเจตนาของคนที่อธิบายได้
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 20 กันยายน 2011, 13:07
Keehlzver's Avatar
Keehlzver Keehlzver ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มกราคม 2009
ข้อความ: 533
Keehlzver is on a distinguished road
Default

ก็นั่นแหละครับ สำหรับจำนวนจริง $a$ เราจะได้ว่า $a^{\frac{1}{2}}$ จะหาค่าได้ก็ต่อเมื่อ $a\geq 0$ ฉะนั้นแล้ว
$(a^m)^{n}=a^{mn}$ ก็ต่อเมื่อ $a^m$ หาค่าได้ ในกรณีที่คุณถามมามันคือกรณีที่ $n=\frac{1}{2}$ และ $m=2$ แต่ว่าถ้า $a=-1$ มันทำให้ $(-1)^{\frac{1}{2}}$ หาค่าไม่ได้ เลยไปอ้างสมบัติ $(a^m)^{n}=a^{mn}$ ไม่ได้ครับ

ก็สรุปว่า $(a^m)^{n}=a^{mn}$ ก็ต่อเมื่อ $a^m$ หาค่าได้ ในกรณีที่เป็นรากที่ 2,4,6 ก็พิจารณาแบบเดียวกัน
__________________
"ชั่วโมงหน้าต้องดีกว่าเดิม!"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 20 กันยายน 2011, 16:51
skybaron skybaron ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 11 กันยายน 2011
ข้อความ: 17
skybaron is on a distinguished road
Default

เลขชี้กำลังคูณกัน น่าจะต้องทำเป็นต้องเป็นเศษส่วนอย่างต่ำก่อน

$a = -1$

$(a^\frac{1}{2} )^2 = -1$

ผิดถูกตรงไหน เชิญท่านผู้รู้ชี้แนะด้วยครับ


ปล. ลองกับ wolfram alpha ก็ได้ เหมือนผมครับ
__________________
[Skyline_Baronmake]

20 กันยายน 2011 16:52 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ skybaron
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 20 กันยายน 2011, 21:27
Keehlzver's Avatar
Keehlzver Keehlzver ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มกราคม 2009
ข้อความ: 533
Keehlzver is on a distinguished road
Default

เพื่อความเข้าใจลองตอบคำถามข้อนี้ดู

1.ถ้า $a=-1$ จงหาค่าของ $a^{\frac{4}{6}}$ ใช่ 1 หรือเปล่า?
2.$(\sqrt{-1})^2=\sqrt{(-1)^2}$ จริงหรือไม่
__________________
"ชั่วโมงหน้าต้องดีกว่าเดิม!"

20 กันยายน 2011 21:28 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Keehlzver
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 20 กันยายน 2011, 21:47
PP_nine's Avatar
PP_nine PP_nine ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 24 เมษายน 2010
ข้อความ: 607
PP_nine is on a distinguished road
Default

ขอกระโดดไปถึงจำนวนเชิงซ้อนเลยละกัน ติดใจมานานแล้ว

อยากถามว่า เมื่อไหร่เราจะมองเลขชี้กำลังว่าเป็น "รากที่..." หรือ "ยกกำลัง..." ไปเลย

อย่างเช่น $(-1)^{2/3}=(e^{i \pi})^{2/3}=e^{i(2\pi/3)}=-\frac{1}{2}+i\frac{\sqrt{3}}{2}$

แต่ $(-1)^{1/3}=-1$ เพราะหมายถึงรากที่สาม ซึ่งถ้าคิดแบบข้างบนจะได้คำตอบไม่ตรงกัน

หรือว่าแยกกรณีแบบที่ผมทำก็ถูกแล้ว มึนงงจริง
__________________
keep your way.
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 20 กันยายน 2011, 22:09
Amankris's Avatar
Amankris Amankris ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 13 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,492
Amankris is on a distinguished road
Default

#8
$(-1)^{\frac{1}{3}}=\dfrac{1}{2}+\dfrac{\sqrt{3}}{2}i$

20 กันยายน 2011 22:10 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ Amankris
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 20 กันยายน 2011, 22:15
Keehlzver's Avatar
Keehlzver Keehlzver ไม่อยู่ในระบบ
บัณฑิตฟ้า
 
วันที่สมัครสมาชิก: 26 มกราคม 2009
ข้อความ: 533
Keehlzver is on a distinguished road
Default

สรุปว่าข้อ 1 ของผมตอบแบบที่คุณ pp_nine ทำครับ เป็น $e^{\frac{2\pi i}{3}}$
ข้อข้างล่างตอบว่าไม่เท่าครับ ข้างซ้ายได้ -1 ข้างขวาได้ 1

ถ้า $a$ เป็นจำนวนจริงใดๆแล้ว $\sqrt{a^2}=|a|$
ถ้า $a\geq 0,b\geq 0$ แล้ว $\sqrt{ab}=\sqrt{a}\sqrt{b}$
__________________
"ชั่วโมงหน้าต้องดีกว่าเดิม!"
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 22 กันยายน 2011, 21:14
ดินสอจัง : ) ดินสอจัง : ) ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 สิงหาคม 2011
ข้อความ: 67
ดินสอจัง : ) is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ หยินหยาง View Post
#3
ระวังหน่อยนะเดี๋ยวจะแปลกที่รื้อขึ้นมา ต้องดูบริบทด้วยนะครับ มันอาจไม่เหมือนที่เคยเห็นเร็วๆนี้ก็ได้นะ

แต่ถ้าจะให้รัดกุมหน่อยก็ตรง $a\ge 0$ ก็เปลี่ยนเป็น $a>0$ แต่พอเข้าใจเจตนาของคนที่อธิบายได้
งงอะครับ ขยายความหน่อย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 01 เมษายน 2012, 13:22
monoguy monoguy ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 พฤษภาคม 2008
ข้อความ: 6
monoguy is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ Keehlzver View Post
ก็นั่นแหละครับ สำหรับจำนวนจริง $a$ เราจะได้ว่า $a^{\frac{1}{2}}$ จะหาค่าได้ก็ต่อเมื่อ $a\geq 0$ ฉะนั้นแล้ว
$(a^m)^{n}=a^{mn}$ ก็ต่อเมื่อ $a^m$ หาค่าได้ ในกรณีที่คุณถามมามันคือกรณีที่ $n=\frac{1}{2}$ และ $m=2$ แต่ว่าถ้า $a=-1$ มันทำให้ $(-1)^{\frac{1}{2}}$ หาค่าไม่ได้ เลยไปอ้างสมบัติ $(a^m)^{n}=a^{mn}$ ไม่ได้ครับ

ก็สรุปว่า $(a^m)^{n}=a^{mn}$ ก็ต่อเมื่อ $a^m$ หาค่าได้ ในกรณีที่เป็นรากที่ 2,4,6 ก็พิจารณาแบบเดียวกัน

นั่นแหล่ะครับ ผมถึงได้ถาม คุณลองดูที่ url นี่สิ http://www.mathcenter.net/review/rev...iew10p01.shtml
ไม่ได้มีการบอกเงื่อนไขเลยว่าใช้ได้เมื่อไหร่
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 12:28


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha