Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คณิตศาสตร์มัธยมศึกษา > ปัญหาคณิตศาสตร์ ม.ปลาย
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 22 สิงหาคม 2010, 22:07
*~Dai-Dai~*'s Avatar
*~Dai-Dai~* *~Dai-Dai~* ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 ธันวาคม 2008
ข้อความ: 24
*~Dai-Dai~* is on a distinguished road
Default การบ้านความน่าจะเป็น

ข้อ 1 มีหนังสือทั้งหมด 12 เล่ม เป็นอังกฤษ 4 เล่มเหมือนกัน ไทย 5 เล่มเหมือนกัน และฟิสิกส์ 3 เล่มเหมือนกัน จะมีวิธีจัดเรียงหนังสือทั้งหมดกี่วิธีเมื่อ ฟิสิกส์อยู่แยกกันทุกเล่ม

ข้อ 2 จงหาจำนวนวิธีที่จะจัดตัวอักษรในคำว่า ENTRANCE โดยตัวอักษร E ไม่อยู่ติดกัน

ข้อ 3 ถ้านำเลยโดด 0 2 2 4 4 4 5 มาสร้างเป็นจำนวนที่มีค่ามากกว่า 1,000,000 จะสร้างได้ทั้งหมดกี่จำนวน
__________________
Don't give up And Don't give in
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 23 สิงหาคม 2010, 00:12
tongkub tongkub ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 312
tongkub is on a distinguished road
Default

1. เราไม่สนฟิสิกก่อน จัดเรียงไทยกับอังกฤษแบบมั่วๆ ได้ $\frac{9!}{4!5!}$ แล้วในบรรดา 9 เล่มจะมี 10 ช่องว่างให้แทรก เราก็เลือกที่จะเลือก 3 เล่นนั้นด้วย $\binom{10}{3} $

รวมจะได้ $\frac{9!}{4!5!}\binom{10}{3}$ วิธีครับ

แต่ถ้า ฟิสิก 3 เล่มแตกต่างกัน ต้องอย่าลืมเพิ่ม 3! นะครับ จัดเรียงทีหลังด้วย

2. ไม่สนใจ E เช่นเดิมครับ เอาอักษร N T R A N C เรียงได้ 6! แล้ว เราก็เลือกช่องว่างมาแทรก E ได้ $\binom{7}{2} $

รวมจะได้ $\frac{6!}{2!}\binom{7}{2}$

3. เราใช้การแตกกิ่งครับ โดยพิจารณาหลักล้านก่อน ต้องเป็น 0 ไม่ได้ จะได้ 3 วิธีก่อน คือ 2 หรือ 4 หรือ 5 แต่ถ้าเราเลือกตัวใดตัวหนึ่งแล้ว น่าจะมีปัญหาตอนเรียง 6 ตัวหลัง ผมขอแยกกรณีดังนี้ครับ

กรณี 1 ขึ้นต้น ด้วย 2 จะต่อได้โดย เรียงสับเปลี่ยนของซ้ำ $\frac{6!}{1!1!3!1!}$ วิธีครับ
กรณี 2 ขึ้นต้น ด้วย 4 จะต่อโดย $\frac{6!}{1!2!2!1!}$ วิธีครับ
กรณี 3 ขึ้นต้น ด้วย 5 ได้ $\frac{6!}{1!2!3!}$ วิธีครับ

ถ้ามีผิดพลาดตรงไหน ก็ช่วยท้วงติงด้วยนะครับ

23 สิงหาคม 2010 17:30 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 4 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tongkub
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 23 สิงหาคม 2010, 07:19
*~Dai-Dai~*'s Avatar
*~Dai-Dai~* *~Dai-Dai~* ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 ธันวาคม 2008
ข้อความ: 24
*~Dai-Dai~* is on a distinguished road
Default

ข้อ 2 มี N ซ้ำอ่ะ่ค่ะ ต้องเป็น $\frac{6!}{2!} \binom{7}{2} $ หรือเปล่าคะ
__________________
Don't give up And Don't give in

23 สิงหาคม 2010 07:21 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ *~Dai-Dai~*
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 23 สิงหาคม 2010, 09:38
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ *~Dai-Dai~* View Post
ข้อ 2 มี N ซ้ำอ่ะ่ค่ะ ต้องเป็น $\frac{6!}{2!} \binom{7}{2} $ หรือเปล่าคะ
เข้าใจถูกแล้วครับ
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 23 สิงหาคม 2010, 11:51
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ข้อ2....คิดอีกแบบได้ว่า คิดวิธีการสลับทั้งหมดก่อนแล้วลบด้วยจำนวนที่เกิดจากการเอาEEติดกัน
จำนวนวิธีทั้งหมดคือ$\frac{8!}{2!2!}$
วิธีที่EEติดกัน$\frac{7!}{2!} $
วิธีที่Eไม่ติดกันเท่ากับ$\frac{8!}{2!2!}-\frac{7!}{2!} = 3\times \frac{7!}{2!}$
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #6  
Old 23 สิงหาคม 2010, 11:55
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

วิธีคิดในข้อ2ของน้องtongถูกแล้วครับ แต่ลืมไปว่ามันจะมีแบบที่นับซ้ำอย่างเช่น
$E_1 N T R A N C E_2$ กับ $E_2 N T R A N C E_1$
แต่เราจะเห็นเป็น$ENTRANCE$....เหมือนกัน จึงต้องเอา 2 หาร ไม่ได้หารเพราะว่ามีNซ้ำกัน 2 ตัว
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #7  
Old 23 สิงหาคม 2010, 12:09
poper's Avatar
poper poper ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 12 พฤษภาคม 2010
ข้อความ: 2,643
poper is on a distinguished road
Send a message via MSN to poper
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ กิตติ View Post
วิธีคิดในข้อ2ของน้องtongถูกแล้วครับ แต่ลืมไปว่ามันจะมีแบบที่นับซ้ำอย่างเช่น
$E_1 N T R A N C E_2$ กับ $E_2 N T R A N C E_1$
แต่เราจะเห็นเป็น$ENTRANCE$....เหมือนกัน จึงต้องเอา 2 หาร ไม่ได้หารเพราะว่ามีNซ้ำกัน 2 ตัว
ขอบคุณคุณกิตติครับ ที่ช่วยอธิบายความหมายให้เข้าใจกันถูกต้อง
แต่ถ้าจะให้จำกันง่ายๆก็จะจำกันว่าถ้ามีของเหมือนกันซ้ำกันจะต้องหารด้วยจำนวนของที่ซ้ำเสมอจึงมีสูตรนี้ครับ
$ถ้ามีสิ่งของ n สิ่ง โดยมี ของซ้ำ n_1,n_2,n_3,...n_k ชิ้น (n_1+n_2+n_3+...n_k=n)$
$จำนวนวิธีการเรียงสับเปลี่ยน =\frac{n!}{n_1!n_2!n_3!...n_k!}$
__________________
คณิตศาสตร์ คือ ภาษาสากล
คณิตศาสตร์ คือ ความสวยงาม
คณิตศาสตร์ คือ ความจริง
ติดตามชมคลิปวีดีโอได้ที่http://www.youtube.com/user/poperKM
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #8  
Old 23 สิงหาคม 2010, 12:57
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ถ้าผมจะเขียนต่อว่า เมื่อกี้ผมอธิบายผิด...เพราะลองกลับไปอ่านวิธีของน้องtongแล้ว ผมด่วนเขียนเกินไป วันนี้ท่าทางจะติ๊งต๋องแล้วผม
น้องเขาเอาตัวอักษรที่ไม่ใช่EEมาเรียงกันก่อน แล้วเลือกเอาที่ว่าง 2 ที่จากที่ว่าง 7 ที่มาให้EEลง เนื่องจากเป็นการเลือกที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับตำแหน่งก่อนหลัง จึงเลือกได้$\binom{7}{2} $ จากนั้นค่อยสลับตำแหน่งของตัวอักษรที่เหลืออีก 6 ตัวซึ่งมี N 2 ตัว จึงสลับกันได้$\frac{6!}{2!} $.....จึงตอบว่า$\frac{6!}{2!} \binom{7}{2} $

ขออภัยในความเบลอและความด่วนได้ใจเร็วของผมเองครับ

__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #9  
Old 23 สิงหาคม 2010, 14:13
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ข้อ3....คิดแบบง่ายๆคือ เรามีเลข 7 ตัว มีศูนย์หนึ่งตัว ตัวอื่นมีค่ามากกว่า 1ทั้งหมด เราจะสร้างตัวเลขที่มีค่ามากกว่าหนึ่งล้าน เราก็หาแบบอ้อมๆคือ หาดูว่ามีตัวเลขต่ำกว่าล้านกี่จำนวนแล้วเอาไปลบจากจำนวนตัวเลขทั้งหมดที่เกิดจากการจัดเรียง ตัวเลขที่น้อยกว่าล้านก็ต้องขึ้นต้นด้วยศูนย์ ดังนั้นจำนวนที่ได้คือ$\frac{6!}{2!3!} $
จำนวนที่เกิดได้ทั้งหมดเท่ากับ$\frac{7!}{2!3!} $
จำนวนที่เกิดจากการเรียงแล้วมีค่ามากว่าหนึ่งล้านคือ$\frac{7!}{2!3!} -\frac{6!}{2!3!} =3600$ จำนวน

ข้อนี้ถ้าเราลองให้มีเลขหนึ่งเข้ามาด้วย มีศูนย์อีกตัวหนึ่งกลายเป็นศูนย์สองตัว....กลายเป็น 1 2 2 4 0 0 5...จะมีกี่จำนวนที่เรียงกันแล้วได้มากกว่าหนึ่งล้าน ลองคิดดูไหมครับ
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)

25 สิงหาคม 2010 20:34 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 3 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ กิตติ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #10  
Old 23 สิงหาคม 2010, 17:30
tongkub tongkub ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 ธันวาคม 2009
ข้อความ: 312
tongkub is on a distinguished road
Default

ลืม N ตอนสับเปลี่ยนของ ENTRANCE

ขออภัยด้วยครับผม และขอบคุณเซียนทุกๆท่านมาตรวจสอบให้ครับ

23 สิงหาคม 2010 17:31 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ tongkub
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #11  
Old 25 สิงหาคม 2010, 17:49
*~Dai-Dai~*'s Avatar
*~Dai-Dai~* *~Dai-Dai~* ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 30 ธันวาคม 2008
ข้อความ: 24
*~Dai-Dai~* is on a distinguished road
Default

อ้างอิง:
ข้อความเดิมเขียนโดยคุณ กิตติ View Post
ข้อนี้ถ้าเราลองให้มีเลขหนึ่งเข้ามาด้วย มีศูนย์อีกตัวหนึ่งกลายเป็นศูนย์สองตัว....กลายเป็น 1 2 2 4 0 0 5...จะมีกี่จำนวนที่เรียงกันแล้วได้มากกว่าหนึ่งล้าน ลองคิดดูไหมครับ
ขึ้นต้นด้วย 1 ได้ $\frac{6!}{2!1!2!1!}$ จำนวน
ขึ้นต้นด้วย 2 ได้ $\frac{6!}{1!1!1!2!1!}$ จำนวน
ขึ้นต้นด้วย 4 ได้ $\frac{6!}{1!2!2!1!}$ จำนวน
ขึ้นต้นด้วย 5 ได้ $\frac{6!}{1!1!1!2!}$ จำนวน

รวมกันทั้งหมดได้ 1080 จำนวน

ใช่อย่างนี้มั้ยคะ
__________________
Don't give up And Don't give in

25 สิงหาคม 2010 17:50 : ข้อความนี้ถูกแก้ไขแล้ว 1 ครั้ง, ครั้งล่าสุดโดยคุณ *~Dai-Dai~*
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #12  
Old 25 สิงหาคม 2010, 20:36
กิตติ's Avatar
กิตติ กิตติ ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ธรรมชาติ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 08 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 2,723
กิตติ is on a distinguished road
Default

ใช่แล้วครับ แนวคิดแบบนี้
ดูตัวเลขที่ขึ้นต้นด้วย 5 ว่า น่าจะมีทั้งหมด$\frac{6!}{2!2!} $
เอาแต่ละกรณีมาบวกกัน
__________________
"ถ้าเราล้มบ่อยๆ ในที่สุดเราจะรู้ว่าถ้าจะล้ม ล้มท่าไหนจะเจ็บน้อยที่สุด และรู้อีกว่าต่อไปทำยังไงจะไม่ให้ล้มอีก
ดังนั้นจงอย่ากลัวที่จะล้ม
"...อาจารย์อำนวย ขนันไทย
ครั้งแรกในชีวิตที่สอบคณิตสมาคมคณิตศาสตร์เมื่อปี2533...ผมได้แค่24คะแนน(จากร้อยคะแนน)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 15:08


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha