Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 01 มิถุนายน 2010, 20:06
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default เด็กจากรับตรงเจ๋งกว่าแอดมิชชั่น

พอดีวันนี้อ่านข่าว จาก นสพ. เดลินิวส์ เลยเอามาฝากให้อ่านกันครับ

วันอังคาร ที่ 01 มิถุนายน 2553 เวลา 7:56 น
เด็กจากรับตรงเจ๋งกว่าแอดมิชชั่น

รศ.ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ในฐานะหัวหน้าโครงงานวิจัยผลสัมฤทธิ์ผู้สำเร็จการศึกษาที่เข้าศึกษาคณะ วิศวกรรมศาสตร์ระบบรับตรงกับผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดม ศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือ แอดมิชชั่นกลาง เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลนิสิตนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2550-2551 ของมหาวิทยาลัยรัฐ 12 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ธรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ม.เทคโนโลยี สุรนารี ม.นเรศวร ม.มหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เสร็จเรียบร้อยแล้ว

รศ.ดร.เสริมเกียรติ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลที่ได้พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนิสิตนักศึกษาที่ผ่านระบบรับตรงมีประสิทธิภาพมากกว่าที่ผ่านมา ทางระบบแอดมิชชั่น โดยดูได้จากตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ 1.การถูกรีไทร์ และการลาออกของนิสิตนักศึกษาจากระบบแอดมิชชั่นมีสูงกว่ารับตรง 2.คะแนนเฉลี่ยของวิชาพื้นฐานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เช่น แคลคูลัส เคมี ฟิสิกส์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ ของกลุ่มแอดมิชชั่น ต่ำกว่ากลุ่มรับตรง และ 3.คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ GPAX ของกลุ่มแอดมิชชั่นต่ำกว่ากลุ่มรับตรง

“ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า องค์ประกอบและค่าน้ำหนักที่นำมาใช้ในการแอดมิชชั่นของวิศวะขณะนี้ยังไม่ เหมาะสม ซึ่งผมได้เสนอต่อที่ประชุมสภาคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ว่า ในการแอดมิชชั่นปี 2556 ของกลุ่มวิศวะจะต้องมีการปรับองค์ประกอบและค่าน้ำหนักใหม่ โดยจะใช้ GPAX 10% การวัดความถนัดทั่วไป หรือ GAT 20% และ ความถนัดวิชาชีพ/วิชาการ หรือ PAT 70% แบ่งเป็น ความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ หรือ PAT1 20% และความถนัดทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือ PAT3 50% จากปัจจุบันที่ใช้ GPAX 20% คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET 30% GAT 15% และ PAT 35% แบ่งเป็นความถนัดทางวิทยาศาสตร์ หรือ PAT2 15% และ PAT3 20% โดยหวังว่า ทปอ.จะเห็นด้วยกับแนวทางนี้ แต่หากไม่เห็นด้วยคณะวิศวะมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ก็คงจะต้องรับผ่านระบบรับตรงมากขึ้นโดยอาจจะถึง 80-90% แล้วไปรับผ่านแอดมิชชั่นเพียง 10-20% เท่านั้น” รศ.ดร.เสริมเกียรติกล่าว.


ผมอ่านจากข่าว ยังไม่ได้มีโอกาสได้อ่านงานวิจัยฉบับเต็ม ผมเกรงว่าแม้แก้ตามที่เสนอก็ไม่ได้แก้ปัญหา 3 ด้านที่ใช้เป็นตัวชี้วัด ผมอยากจะบอกว่าเป็นที่รู้กันในหมู่เด็ก ม.ปลายว่าเด็กที่เข้ารับตรงไม่ได้ จะเป็นกลุ่มเด็กที่มีความรู้ทางวิชาการด้อยกว่าพวกที่เข้าไปก่อนแล้ว ไม่ได้เกี่ยวกับว่าจะต้องมาปรับสัดส่วนของวิชาเลย เพราะจะใช้วิธีไหนมาคัดก็เป็นกลุ่มคนที่เหลือจากเข้ารับตรงไม่ได้ ซึ่งพูดให้ง่ายก็เป็นกลุ่มที่มีคุณภาพทางวิชาการด้อยกว่า ถ้าอยากแก้ปัญหานี้จริง ต้องไปแก้ที่คุณภาพการศึกษา ซึ่งผมคิดว่าเป็นเรื่องใหญ๋และสำคัญ แต่ดูมาหลายปีแล้วยังไม่เห็นผู้มีบุญกลับชาติมาเกิดแล้วมาทำทางด้านนี้เลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 02 มิถุนายน 2010, 00:04
Slurpee's Avatar
Slurpee Slurpee ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าหยก
 
วันที่สมัครสมาชิก: 16 มีนาคม 2010
ข้อความ: 153
Slurpee is on a distinguished road
Default

เห็นด้วยครับ
__________________
ผมจะต้องเป็นครูที่เก่งและที่ดีให้ได้เลยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 02 มิถุนายน 2010, 18:24
GunUltimateID GunUltimateID ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ไว
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 เมษายน 2008
ข้อความ: 229
GunUltimateID is on a distinguished road
Default

ผมว่าpat 3 วัดผลได้ดีนะครับ ถึงจะมีข้อสอบผิด และก็เฉลยผิดบ้างก็ตาม
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 02 มิถุนายน 2010, 20:34
หยินหยาง's Avatar
หยินหยาง หยินหยาง ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่จักรวาล
 
วันที่สมัครสมาชิก: 06 มกราคม 2007
ข้อความ: 2,921
หยินหยาง is on a distinguished road
Default

#3
อันที่จริง pat 3 ก็ไม่ใช่ตัววัดที่ดีเท่าไรถ้าเทียบกับระบบ entrance ในสมัยก่อน เพราะ pat 3 เกิดจากการตกผลึกที่เป็นปัญหาของ A-NET จะเห็นว่า เนื้อหาของ pat 3 ก็ไม่ได้ครอบคลุมวิชาทั้งหมดที่เรียนในช่วงชั้น 4 และยังมีการผสมกับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวกับทางฟิสิกส์เข้าไปอีก 10-15% ถ้าเป็นสมัยที่ยังใช้ระบบ entrance อยู่คนที่จะเข้าวิศวะ จะสอบเพียง เลข เคมี ฟิสิกส์ อังกฤษ และความถนัดทางวิศวกรรม ทั้งเนื้อหาที่เข้มข้นและสัดส่วนล้วนสัมพันธ์กับวิชาที่จะไปต่อยอดในมหาวิทยาลัย แต่แน่นอนครับ ถ้าจัดสัดส่วนให้ pat 3 ถ่วงน้ำหนักมากขึ้น ย่อมคัดกรองได้ดีกว่าที่มีการถ่วงน้ำหนัก pat 3 น้อยกว่า (ทั้งนี้ข้อสอบต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพด้วย) แต่ที่ผมอ่านตามข่าวผมว่าไม่น่าจะแก้ได้ เพราะเด็ก ม.6 ส่วนใหญ่จะพยายามหาคณะเข้าก่อน ซึ่งการรับตรงก็เปิดรับก่อน แอดมิชชั่น ดังนั้นเด็กเก่งก็จะได้เข้าไปก่อน พอมาถึง แอดมิชชั่นแม้ว่าจะปรับสัดส่วน ให้เหมือนกับรับตรง ก็เหมือนกับว่าเราไปคัดคนเก่งจากของเหลือของรับตรง ดังนั้นเมื่อเข้าไปได้ ในทางตรรก ก็ไม่สามารถไปแข่งกับเด็กที่เข้าได้เพราะรับตรงอยู่ดี ยิ่งใช้ตัวชี้วัด 3 ด้านที่ว่าผมถึงบอกว่าไม่น่าจะแก้ได้ ยกเว้นจะมีเกณฑ์มาตรฐานว่าถ้าคะแนนไม่ถึง เท่าไร ไม่รับ ก็ดูอย่างปีที่ผ่านมาดูซิ เด็กวิศวะคอมคะแนนต่ำสุดยังไม่ถึง 15000 เลย

ปล. อย่าไปซีเรียสกับมันมากครับเพราะเดี๋ยวก็ผ่านไป แก้พวกนี้ไม่ง่ายครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 03 กรกฎาคม 2010, 13:15
Integrate(anti) Integrate(anti) ไม่อยู่ในระบบ
เริ่มฝึกวรยุทธ์
 
วันที่สมัครสมาชิก: 09 พฤศจิกายน 2008
ข้อความ: 13
Integrate(anti) is on a distinguished road
Default

เดี๋ยวผลคะแนนmidtermออก จะได้รู้กันครับ ว่ารุ่นนี้มันแตกต่างขนาดไหน
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 01:04


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha