Mathcenter Forum  

Go Back   Mathcenter Forum > คลายเครียด > ฟรีสไตล์
สมัครสมาชิก คู่มือการใช้ รายชื่อสมาชิก ปฏิทิน ข้อความวันนี้

ตั้งหัวข้อใหม่ Reply
 
เครื่องมือของหัวข้อ ค้นหาในหัวข้อนี้
  #1  
Old 14 มกราคม 2010, 20:03
SolitudE's Avatar
SolitudE SolitudE ไม่อยู่ในระบบ
กระบี่ประสานใจ
 
วันที่สมัครสมาชิก: 22 ตุลาคม 2009
ข้อความ: 845
SolitudE is on a distinguished road
Default สุริยุปราคาบางส่วน

สุริยุปราคาบางส่วน 15 มกราคม 2553




รูปที่ 1 : ภาพสุริยุปราคาวงแหวน (ภาพซ้าย) ภาพสุริยุปราคาบางส่วน (ภาพขวา)

สุริยุปราคาวงแหวนครั้งนี้ มีเส้นทางของแนวคราสวงแหวนกว้างกว่า 300 กิโลเมตร และเป็นระยะทางยาวกว่า 12,900 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางของแนวคราสใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง 45 นาที โดยแนวคราสดังกล่าวพาดผ่านผิวโลกคิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 0.87 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด บางส่วนของแนวคราสวงแหวนได้เริ่มต้นที่ทวีปแอฟริกา ผ่านประเทศชาด ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ประเทศสาธรณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา เคนยาและโซมาเลีย แล้วออกจากทวีปแอฟริกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย และที่ตำแหน่งละติจูด 1 องศา 37 ลิปดาเหนือ ลองจิจูด 69 องศา 17 ลิปดาตะวันออก ในมหาสมุทรอินเดียจะเป็นตำแหน่งที่เกิดสุริยุปราคานานที่สุด คือ 11 นาที 8 วินาที หลังจากนั้นจะผ่านเข้าสู่ทวีปเอเชีย ผ่านบังกลาเทศ อินเดีย พม่าและเข้าสู่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับปรากฏการณ์สุริยุปราคาบางส่วนสามารถมองเห็นได้เป็นบริเวณกว้างตามบริเวณที่เงามัวของดวงจันทร์พาดผ่าน เช่น ยุโรปตะวันออก ทวีปแอฟริกา เอเชียและประเทศอินโดนิเซีย




รูปที่ 2 แสดงแนวคราสวงแหวนพาดผ่านทวีปเอเชีย 15 มกราคม 2553


การเกิดสุริยุปราคาครั้งนี้ เป็นผลมาจากที่โลกเข้ามาอยู่ในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด (perihelion) ในวันที่ 3 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงอาทิตย์ใหญ่มากกว่าปกติ ในขณะเดียวกันดวงจันทร์ก็เคลื่อนไปอยู่ที่ตำแหน่งห่างจากโลกมากที่สุด (apogee) ในวันที่ 17 มกราคม ทำให้มองเห็นขนาดปรากฏของดวงจันทร์เล็กกว่าปกติ
แล้วเมื่อดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลกมาอยู่แนวเดียวกันในวันที่ 15 มกราคม 2553 ดวงจันทร์จึงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์และบังดวงอาทิตย์ไม่มิดทั้งดวง แต่จะมองเห็นดวงอาทิตย์สว่างเป็นวงแหวนโดยมีดวงจันทร์มืดอยู่ตรงกลาง จากปัจจัยหลายอย่างที่กล่าวมามีผลต่อลักษณะและความยาวนานของคราสที่พาดผ่านผิวโลกทั้งสิ้น

คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.narit.or.th/

ถ้าภาพเคลื่อนไหวไม่ติดก็ไปดูที่ http://www.most.go.th/main/index.php...-solar-eclipse

เฉี่ยวไทยไปนิดเดียว
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #2  
Old 17 มกราคม 2010, 18:03
astro29's Avatar
astro29 astro29 ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 29 พฤศจิกายน 2009
ข้อความ: 93
astro29 is on a distinguished road
Default

สุริยุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดที่ไทยก็ต้องรองตั้ง ปี 2613 นู่น
อีกตั้ง 60 ปี เรารอจนแก่แน่เลยTOT
__________________
If many good things happened today
Then I wish that many goods things will happen tomorrow, too
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #3  
Old 17 มกราคม 2010, 22:29
สอนผมทีงับ's Avatar
สอนผมทีงับ สอนผมทีงับ ไม่อยู่ในระบบ
จอมยุทธ์หน้าใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 10 สิงหาคม 2009
ข้อความ: 64
สอนผมทีงับ is on a distinguished road
Default

สงสัยผมคงได้ดู 2 รอบ แบบเต็มดวง เพราะผมอายุยืน 555
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #4  
Old 19 มกราคม 2010, 20:37
GoRdoN_BanksJunior's Avatar
GoRdoN_BanksJunior GoRdoN_BanksJunior ไม่อยู่ในระบบ
ลมปราณคุ้มครองร่าง
 
วันที่สมัครสมาชิก: 04 กันยายน 2009
ข้อความ: 327
GoRdoN_BanksJunior is on a distinguished road
Default

11 เมษายน 2613 08.07 ที่ ประจวบคีรีขันธ์
__________________
Next Mission (Impossible)

: Go To 7thTMO

: เข้าค่ายวิชาการนานาชาติ

คนเราต้องสู้ ถ้าไม่สู้ก็ไม่ชนะ (ถึงสู้ก็ไม่ชนะอยู่ดี)
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
  #5  
Old 26 มกราคม 2010, 20:01
neverdie_keen neverdie_keen ไม่อยู่ในระบบ
สมาชิกใหม่
 
วันที่สมัครสมาชิก: 17 พฤษภาคม 2009
ข้อความ: 9
neverdie_keen is on a distinguished road
Default

เข้าโลงแล้วชาตินี้ยังไม่ได้ดูเลย
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความนี้
ตั้งหัวข้อใหม่ Reply



กฎการส่งข้อความ
คุณ ไม่สามารถ ตั้งหัวข้อใหม่ได้
คุณ ไม่สามารถ ตอบหัวข้อได้
คุณ ไม่สามารถ แนบไฟล์และเอกสารได้
คุณ ไม่สามารถ แก้ไขข้อความของคุณเองได้

vB code is On
Smilies are On
[IMG] code is On
HTML code is Off
ทางลัดสู่ห้อง


เวลาที่แสดงทั้งหมด เป็นเวลาที่ประเทศไทย (GMT +7) ขณะนี้เป็นเวลา 10:14


Powered by vBulletin® Copyright ©2000 - 2024, Jelsoft Enterprises Ltd.
Modified by Jetsada Karnpracha